ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สลิ่ม"
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
Conan 7569 (คุย | ส่วนร่วม) เพิ่มเติมที่มา, คำจำกัดความ, การใช้คำ พร้อมเรียบเรียงคำใหม่เล็กน้อย |
||
บรรทัด 1:
{{pp|small=yes}}
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=กลุ่มคน|สำหรับ=ขนม|ดูที่=ซ่าหริ่ม}}
== ที่มา ==
คำนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นในช่วง[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553]] ซึ่งกลุ่มผู้สนับสนุนการเมืองกลุ่มต่าง ๆ ใช้สีเสื้อในการระบุอัตลักษณ์ของตัวเอง เช่น [[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ที่ใส่เสื้อสีเหลือง และ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]ที่ใส่เสื้อสีแดง โดยกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซึ่งรวมตัวครั้งแรกเมื่อ 13 เมษายน 2553 เพื่อคัดค้านการที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี [[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] ยุบสภา<ref>มาลีรัตน์. "กลุ่มพิทักษ์สถาบัน ฯ ชุมนุมอยู่ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ." พลังหญิง. 13 เม.ย. 2553. (เข้าถึง 2 มี.ค. 2563) http://oknation.nationtv.tv/blog/maleerat/2010/04/13/entry-1</ref> จึงเรียกตัวเองอย่างลำลองว่า "กลุ่มเสื้อหลากสี" เพื่อแยกตัวเองออกมาจากกลุ่มการเมืองก่อนหน้า
== คำจำกัดความ ==
มีความพยายามในการให้คำจำกัดความและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ในทางการเมืองเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์<ref name=":3">{{Cite web|title=ข้อสังเกตบางประการในการทำความเข้าใจ “สลิ่ม”|url=https://prachatai.com/journal/2010/09/31238|website=prachatai.com|language=th}}</ref>
กันยายน 2553 ทัศนะ ธีรวัฒน์ภิรมย์ ได้อธิบายลักษณะร่วมบางประการของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่เป็น[[พวกคลั่งเจ้า|ผู้เกินกว่าราชา (Ultra-Royalist)]], เป็นคนที่มีการศึกษาสูงแต่จะเลือกเชื่อแต่สิ่งที่ได้รับการศึกษาในระบบมาเท่านั้น, เป็นคนที่เชื่อคนยากแต่จะเลือกเชื่อคนที่ดูดีมีความรู้, เป็นคนที่มีศีลธรรมจรรยา, เป็นคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องการเมืองและมอง[[ทักษิณ ชินวัตร]]เป็นปัญหาของการเมืองไทยมาโดยตลอด, เป็นผู้มีอันจะกินมีกำลังซื้อมากและชอบนำเทรนด์, และเป็นคนที่มีความย้อนแย้งในตัวเองสูง<ref name=":3" />
ตุลาคม 2554 พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย http://thaipolitionary.com ได้ให้ความหมายของคำนี้ว่าเป็น "บุคคลที่หลงคิดว่าตนมีสติปัญญา คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือจริยธรรมเหนือกว่าผู้อื่น ทว่าแท้จริงกลับไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่สามารถใช้ตรรกะหรือแสดงเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ จึงมักอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือมีความเชื่อที่ผิดอยู่เสมอ ทั้งยังปากว่าตาขยิบ มีอคติและความดัดจริตสูง เกลียดนักการเมือง และไม่ชอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน"<ref>{{Cite web|title=พจนานุกรมศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย|url=https://www.facebook.com/thaipolitictionary/posts/310697568942756|website=www.facebook.com|language=th}}</ref>
พฤศจิกายน 2554 Faris Yothasamuth ได้อธิบายลักษณะเฉพาะของสลิ่มในบทความของประชาไท โดยสรุปได้เป็นนัยว่า สลิ่มมีลักษณะที่เกลียดชังทักษิณ, ฝักใฝ่ลัทธิกษัตริย์นิยม, โหยหาทหาร, ไม่เชื่อมั่นประชาธิปไตยในระบบ, ขาดเหตุผลและความรู้, และมีความหลงผิดว่าตนเองดีเลิศและสูงส่งกว่าคนอื่น<ref name=":2" /><ref>{{Cite web|title=อะไรคือสลิ่ม? ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ|url=https://prachatai.com/journal/2011/11/37957|website=prachatai.com|language=th}}</ref>
ในช่วง[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563]] เริ่มมีการใช้คำว่าสลิ่มกันในวงกว้างขึ้นและทำให้สื่อทั้งในและต่างประเทศต่างให้ความหมายที่ร่วมกันว่า เป็นคำที่ถูกใช้ในทางเย้ยหยันหรือเหยียดหยาม (derogatory)<ref>{{Cite web|date=2020-09-18|title=Thailand’s protesters take on ‘salim’ as Bangkok prepares for rally|url=https://www.scmp.com/week-asia/politics/article/3101992/thailand-its-protesters-versus-salim-bangkok-prepares-mass-rally|website=South China Morning Post|language=en}}</ref><ref>{{Cite web|title=ที่มาและความหมายของคำว่า "สลิ่ม" ศัพท์การเมืองที่หลายคนรู้จัก|url=https://www.sanook.com/campus/1399431/|website=www.sanook.com/campus|language=th}}</ref> เรียกกลุ่มคนพวกอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง (ultraconservative), ผู้เกินกว่าราชา (ultra-royalist)<ref>{{Cite web|title=Uni defends heartthrob Mario Maurer’s pro-govt thesis|url=http://nationthailand/news/30394639?utm_source=category&utm_medium=internal_referral|website=https://www.nationthailand.com|language=en-US}}</ref>, และผู้สนับสนุนรัฐบาลของ[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] (pro-establishment)<ref>{{Cite web|last=Welle (www.dw.com)|first=Deutsche|title=Thailand protests reveal growing generational gap on political issues {{!}} DW {{!}} 27.10.2020|url=https://www.dw.com/en/thailand-protests-reveal-growing-generational-gap-on-political-issues/a-55410906|website=DW.COM|language=en-GB}}</ref><ref>{{Cite web|title=How Thailand’s New Protest Movement Influences Dating|url=https://www.vice.com/en/article/y3zanm/how-thailands-protest-movement-influences-dating|website=www.vice.com|language=en}}</ref>
== การใช้คำ ==
ในช่วงก่อน[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การประท้วง 2563]] มีนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์ทางการเมืองหลายคนใช้คำนี้เช่น [[นิธิ เอียวศรีวงศ์]]<ref>{{Cite web|last=เอียวศรีวงศ์|first=นิธิ|date=2017-02-23|title=นิธิ เอียวศรีวงศ์ : หากทรัมป์ยังอยู่|url=https://www.matichonweekly.com/in-depth/article_25883|website=มติชนสุดสัปดาห์|language=th}}</ref> [[คำ ผกา]]<ref>{{Cite web|last=ผกา|first=คำ|date=2016-04-21|title=คำ ผกา : วังเวงในเบื้องหน้า|url=https://www.matichonweekly.com/uncategorized/article_396|website=มติชนสุดสัปดาห์|language=th}}</ref> แต่ในช่วงการประท้วง 2563 เริ่มปรากฏการใช้คำนี้ในสื่อกระแสหลักมากขึ้น
== อ้างอิง ==
|