กลุ่มภาษาไท
กลุ่มภาษาไท (อังกฤษ: Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ไท (Zhuang–Tai languages)[2] เป็นกลุ่มภาษาย่อยกลุ่มหนึ่งของตระกูลภาษาขร้า-ไท ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐชานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้
กลุ่มภาษาไท | |
---|---|
จ้วง-ไท | |
ภูมิภาค: | ภาคใต้ของจีน (โดยเฉพาะกว่างซี, กุ้ยโจว, ยูนนาน และกว่างตง), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ) |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | ขร้า-ไท
|
ภาษาดั้งเดิม: | ไทดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: |
|
ISO 639-2 / 5: | tai |
กลอตโตลอก: | daic1237[1] |
การกระจายของภาษากลุ่มไท: ไทเหนือ / จ้วงเหนือ
ไทกลาง / จ้วงใต้
ไทตะวันตกเฉียงใต้ / ไทย |
ตารางการเปรียบเทียบ
แก้ข้างล่างคือตารางเทียบกลุ่มภาษาไท
ไทย | ไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม[3] | สัทอักษรไทย | ลาว | คำเมือง | ไทลื้อ | ไทใหญ่ | อาหม | จ้วงมาตรฐาน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลม | *lom | /lōm/ | /lóm/ | /lōm/ | /lôm/ | /lóm/ | lum | /ɣum˧˩/ |
เมือง | *mɯaŋ | /mɯ̄aŋ/ | /mɯ́aŋ/ | /mɯ̄aŋ/ | /mɤ̂ŋ/ | /mɤ́ŋ/ | mvng | /mɯŋ˧/ |
ดิน | *ʔdin | /dīn/ | /dìn/ | /dīn/ | /dín/ | /lǐn/ | nin | /dei˧/ |
ไฟ | *vai/aɯ | /fāj/ | /fáj/ | /fāj/ | /fâj/ | /pʰáj/ or /fáj/ | phai | /fei˧˩/ |
หัวใจ | *čai/aɯ | /hǔa tɕāj/ | /hǔa tɕàj/ | /hǔa tɕǎj/ | /hó tɕáj/ | /hǒ tsǎɰ/ | chau | /sim/ |
รัก | *rak | /rák/ | /hāk/ | /hák/ | /hak/ | /hâk/ | rak | /gyai˧˩/ |
น้ำ | *naam | /náːm/ | /nâm/ | /nám/ | /nà̄m/ | /nâm/ | nam | /ɣaem˦˨/ |
รายชื่อภาษา
แก้- กลุ่มภาษาไทเหนือ
- ภาษาแสก (ลาว)
- ภาษาจ้วงเหนือ (จีน)
- ภาษาปู้อี (Buyi) (จีน)
- ภาษาไทแมน (ลาว)
- E (จีน)
- กลุ่มภาษาไทกลาง
- ภาษาจ้วงใต้ (จีน)
- ภาษาม่านเชาลาน (เวียดนาม)
- ภาษานุง (เวียดนาม)
- ภาษาตั่ย (เวียดนาม)
- ภาษาซึนลาว (Ts'ün-Lao) (เวียดนาม)
- ภาษานาง (เวียดนาม)
- กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
- ภาษาไทหย่า (จีน)
- ภาษาพูโก (ลาว)
- ภาษาปาดี (จีน)
- ภาษาไททัญ (เวียดนาม)
- ภาษาตั่ยซาปา (เวียดนาม)
- ภาษาไทโหลง (ไทหลวง) (ลาว)
- ภาษาไทฮ้องจีน (จีน)
- ภาษาตุรุง (อินเดีย)
- ภาษายอง (ไทย)
- ภาษาไทยถิ่นใต้ (ปักษ์ใต้) (ไทย)
- กลุ่มภาษาไทกลาง-ตะวันออก
- ภาษาเชียงแสน
- ภาษาไทดำ (เวียดนาม)
- ภาษาไทยถิ่นเหนือ (ภาษาล้านนา, ภาษาไทยวน) (ไทย, ลาว, พม่า)
- ภาษาไทโซ่ง (ไทย)
- ภาษาไทย (ไทย)
- ภาษาไทฮ่างตง (เวียดนาม)
- ภาษาไทขาว (ภาษาไทด่อน) (เวียดนาม)
- ภาษาไทแดง (ภาษาไทโด) (เวียดนาม)
- ภาษาไทเติ๊ก (เวียดนาม)
- ภาษาทูลาว (เวียดนาม)
- ภาษาลาว-ผู้ไท
- ภาษาไทตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ)
- ภาษาอาหม (รัฐอัสสัม - สูญแล้ว ภาษาอัสสัมสมัยใหม่จัดอยู่ในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน)
- ภาษาอ่ายตน (รัฐอัสสัม)
- ภาษาลื้อ (ภาษาไทลื้อ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว, พม่า)
- ภาษาคำตี่ (รัฐอัสสัม, พม่า)
- ภาษาเขิน (พม่า)
- ภาษาคำยัง (รัฐอัสสัม)
- ภาษาพ่าเก (รัฐอัสสัม)
- ภาษาไทใหญ่ (ภาษาชาน) (พม่า)
- ภาษาไทใต้คง (ภาษาไทเหนือ) (จีน, เวียดนาม, ไทย, ลาว)
- ภาษาเชียงแสน
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Daic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Diller, 2008. The Tai–Kadai Languages, p. 7.
- ↑ Thai Lexicography Resources