การเพิ่มจำนวนอาวุธปืนในประเทศไทย
ข้อมูลปี 2549 ประมาณว่าประเทศไทยมีจำนวนอาวุธปืนในความครอบครองของพลเรือน 10 ล้านกระบอก ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ในจำนวนนี้มีปืนขึ้นทะเบียนเพียง 3.87 ล้านกระบอก ส่วนที่เหลือเป็นปืนที่มีการครอบครองอย่างผิดกฎหมาย[1]
ใน พ.ศ. 2543 มีรายงานคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืนเป็นจำนวน 20,032 ครั้ง นับเป็นหนึ่งในจำนวนมากที่สุดในโลก[2]
จำนวนการครอบครองปืนสูงเป็นพิเศษในแถบจังหวัดภาคใต้ รวมถึง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งอยู่ภายใต้ความไม่สงบตั้งแต่ พ.ศ. 2547 [3]
สาเหตุ
แก้ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อ้างว่าสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยมีอาวุธปืนมากขึ้นเป็นเพราะนโยบายของชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่คิดให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิซื้อปืนสวัสดิการ จึงเกิดความหละหลวม พร้อมทั้งเสนอให้มีการกวดขันปืนเถื่อนและให้ลงทะเบียนปืนในราชการทั้งหมด[4]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อัตราการถูกทำร้าย
แก้แม้อัตราการถูกทำร้ายในประเทศไทยจะลดลงมาจาก 10.0 เป็น 5.9 ต่อประชากร 100,000 คนเทียบจากปี 2546 จนถึง 2551[5] รายงานในปี 2554 พบว่าใน 6 ปีที่ผ่านมามีการตายจากกระประทะติดอาวุธมากกว่า 4,000 ศพ[6] นอกจากนี้ ยังมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 6892 รายจากการประทะเหล่านี้[7]
อาชญากรรมจากอาวุธปืน
แก้นอกจากเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 แล้ว ยังมีการก่อเหตุกราดยิงอีกหลายกรณี ได้แก่ เหตุกราดยิงที่โรงพยาบาลสนามจังหวัดปทุมธานีเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เหตุกราดยิงที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 และเหตุกราดยิงหัวรถจักร รถเร็วกรุงเทพ-สุไหงโกลก เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565[8] และเหตุกราดยิงที่กรมยุทธศึกษาทหารบกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2565
เหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปี พ.ศ. 2565 นับเป็นการฆาตกรรมหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดโดยผู้ก่อการคนเดียวเท่าที่เคยบันทึกในประเทศไทย[9] ส่วนเหตุกราดยิงที่สยามพารากอนในปีถัดจากนั้น เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในย่านธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ, มีการใช้ปืนที่ดัดแปลงจากสิ่งเทียมอาวุธ และผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน
ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ
แก้ปฏิญญาเจนีวาว่าด้วยความรุนแรงทางอาวุธและการพัฒนา (Geneva Declaration on Armed Violence and Development) รายงานในปี 2541 ชี้ว่าในประเทศไทยการเสียชีวิตด้วยเหตุจากความรุนแรงสร้างความเสียหายรวมต่อ GDP เป็นจำนวน 5,503 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในทางเดียวกัน ค่ารักษาพยาบาลจากความรุนแรงในปี 2548 ได้รับการประมาณไว้ที่ 1.3 พันล้านบาท (40.3 ล้านดอลลาร์สรหัฐ) ค่ารักษาพยาบาลโดยอ้อมมากกว่าประมาณ 10 เท่า อยู่ที่ 14.4 พันล้านบาท (432.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[10]
ความพยายามปัจจุบัน
แก้ประเทศไทยมุ่งที่จะสนับสนุน ยอมรับ และ นำโครงการขององค์กรของสหประชาชาติไปปฏิบัติ เพื่อต่อสู้ ป้องกัน และกำจัดการค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย[11] โครงการยุติความรุนแรงนานาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Nonviolence International South East Asia, NVISEA) องค์การนอกภาครัฐที่ไม่แสวงหากำไรกำลังทำงานเพื่อพยายามหยุดยั้งความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับวาวุธในประเทศ[12]
หลังเหตุกราดยิงที่สยามพารากอนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 กระทรวงมหาดไทยได้ออกมาตรการระยะสั้น เช่น ห้ามการนำเข้าสิ่งเทียมอาวุธปืน, ห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าสนามยิงปืน ยกเว้นนักกีฬายิงปืนทีมชาติ, ระงับการนำเข้าปืนและการออกใบอนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว, และขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปราบปรามและปิดเว็บไซต์ เพจออนไลน์ซื้อขายอาวุธปืนเถื่อนและสิ่งเทียมอาวุธปืน เป็นต้น ส่วนมาตรการระยะยาวคือการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490[13]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Completing the Count: Civilian firearms. Small Arms Survey 2007: Guns and the City. Cambridge:Cambridge University Press, 27 August" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
- ↑ "Seventh United Nations Survey of Crime Trends and Operations of Criminal Justice Systems 1998-2000" (PDF).
- ↑ Beech, Hannah (23 November 2009). "Thailand: Aiming For Parity". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Paywall)เมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ ""โทนี่" แฉ 2 สาเหตุต้นตอกราดยิง ท้า "บิ๊กตู่" ดึงไปช่วยงาน 6 เดือน ปราบยา-ปืนได้". ไทยรัฐ. 11 October 2022. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
- ↑ "United Nations Office on Drugs and Crimes: International Statistics on Crime and Justice" (PDF).
- ↑ "Amnesty International 2010 Annual Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ "Rule By The Gun: Armed Civilians and Firearms Proliferation in Southern Thailand NONVIOLENCE INTERNATIONAL SOUTHEAST ASIA May 2009 report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ "จาก "กราดยิงอุบล" สู่ย้อนรอยเหตุกราดยิงในไทย และโทษ "ครอบครองปืนเถื่อน"". กรุงเทพธุรกิจ. 4 August 2022. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
- ↑ [://www.bangkokpost.com/thailand/general/2408603/mass-murder-at-childcare-centre-35-confirmed-slain "Mass murder at childcare centre, 35 confirmed slain"]. Bangkok Post. 6 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 October 2022.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "Global Burden of Armed Violence Report 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ "United Nation General Assembly 2001. 'Programme of Action to Prevent, Combat and Eradicate the Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons in All Its Aspects.'" (PDF).
- ↑ "Nonviolence International Southeast Asia Core Programs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ "เคาะ 8 มาตรการระยะสั้นคุมอาวุธปืน-สิ่งเทียมปืน "อนุทิน" สั่งเข้มใช้กฎหมาย". www.thairath.co.th. 2023-10-05.