สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร

พระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร
(เปลี่ยนทางจาก คามิลลา)

สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร หรือ พระนามเดิม คามิลลา โรสแมรี แชนด์ (อังกฤษ: Camilla Rosemary Shand) หรือเป็นที่รู้จักในพระนาม คามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ (อังกฤษ: Camilla Parker Bowles) เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

คามิลลา
พระฉายาลักษณ์ พ.ศ. 2567
สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร
และเครือจักรภพ
ดำรงพระยศ8 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน
(2 ปี 70 วัน)
ราชาภิเษก6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าฟิลิป
(พระราชสวามี)
พระราชสมภพ17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (77 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ สหราชอาณาจักร
คามิลลา โรสแมรี แชนด์
คู่อภิเษกแอนดรูว์ พาร์กเกอร์-โบลส์ (2516–2538)
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร (2548–ปัจจุบัน)
พระบุตรทอม พาร์กเกอร์-โบลส์
ลอรา โลปส์
ราชวงศ์ราชวงศ์วินด์เซอร์ (เสกสมรส)
พระราชบิดาบรูซ แชนด์
พระราชมารดาโรซาลินด์ แชนด์

สมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชสมภพที่อีสต์ซัสเซ็กซ์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทรงเป็นธิดาของนายบรูซ แชนด์และนางโรซาลินด์ แชนด์ (สกุลเดิม คิวบิต) พระราชมารดาของพระองค์เป็นธิดาของโรแลนด์ คิวบิตที่ 3 บารอนแห่งอาซท์คอมบี้ และเติบโตขึ้นมาในชนชั้นสูงของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2516 พระองค์ทรงสมรสกับทหารในกองทัพอังกฤษชื่อแอนดรูว์ พาร์กเกอร์-โบลส์ ทั้งคู่มีบุตรสองคน ก่อนหย่าร้างใน พ.ศ. 2538

ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์

แก้

ความสัมพันธ์ของคามิลลาและเจ้าชายชาลส์ (พระอิสริยยศขณะนั้น) ตกเป็นข่าวดังขึ้น ในที่สุดสำนักงานพระตำหนักแคลเรนซ์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ว่าเจ้าชายชาลส์และคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ จะอภิเษกสมรสในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การอภิเษกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าชายชาลส์ต้องเสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพระศพ

หลังจากอภิเษกสมรสคามิลลาดำรงพระอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness the Duchess of Cornwall) และเป็นพระวิมาดาของเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ และเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ พระโอรสทั้ง 2 พระองค์ของพระสวามีกับไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ อดีตพระชายา

สมเด็จพระราชินี

แก้

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ทำให้เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระสวามี ทรงสืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และคามิลลาทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชินี (Queen Consort) [1] วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565 ทรงเข้าร่วมพิธีการประกาศสืบราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยทรงเป็นสักขีพยานในพิธีร่วมกับ เจ้าชายวิลเลียม[2]

หลังทรงดำรงพระอิสริยยศแล้ว สมเด็จพระราชินีมีพระราชเสาวนีย์ ทรงแทนที่ตำแหน่งนางสนองพระโอษฐ์ ด้วยตำแหน่งที่ทันสมัยและเป็นทางการน้อยกว่า คือ สหายราชินี[3]

 
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา พร้อมด้วย ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และภริยา ในการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรัชกาล

วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566 สมเด็จพระราชินีคามิลลา โดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ในการเสด็จเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นการเสด็จเยือนครั้บแรกในฐานะพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีของทั้งสองพระองค์[4] ในตอนต้นนั้น จะเสด็จเยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสก่อนจะเสด็จไปเยอรมนี แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนกันยายนปีเดียวกัน เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบกรณีการปฏิรูประบบบำนาญในฝรั่งเศส[5]

พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา จัดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้รับการสวมพระมหามงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือโดยสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี[6]

ฐานันดรและพระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินีคามิลลา
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลHer Majesty (ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การขานรับYour Majesty (พระเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1 (ฝ่ายใน)

พระอิสริยยศ

แก้
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 – 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2516: นางสาวคามิลลา โรสแมรี แชนด์ (Miss Camilla Rosemary Shand)
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538: นางแอนดรูว์ พาร์กเกอร์ โบลส์ (Mrs Andrew Parker Bowles)
  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2538 – 9 เมษายน พ.ศ. 2548: นางคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ (Mrs Camilla Parker Bowles)
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2548 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall)
  • 9 เมษายน พ.ศ. 2564 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565: เฮอร์รอยัลไฮเนส ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (Her Royal Highness The Duchess of Edinburgh)
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2565 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสี (Her Majesty The Queen Consort)
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน: เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินี (Her Majesty The Queen)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในเครือจักรภพ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. Saunt, Raven (11 September 2022). "Camilla, Queen Consort: The duties that come with her new royal title". The Telegraph.
  2. Ward, Victoria (10 September 2022). "What happens at the Accession Council? The meeting where Charles will be proclaimed King". The Telegraph.
  3. Coughlan, Sean (27 November 2022). "Camilla scraps ladies-in-waiting in modernising move". BBC News. สืบค้นเมื่อ 27 November 2022.
  4. "King Charles III arrives in Germany for first overseas visit as monarch". CNN. 23 March 2023. สืบค้นเมื่อ 23 March 2023.
  5. "King Charles's France visit postponed after pension protests". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 24 March 2023. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
  6. "King Charles and Camilla to be crowned on 6 May". BBC News. 11 October 2022. สืบค้นเมื่อ 13 October 2022.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร ถัดไป
เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
ในฐานะเจ้าชายพระราชสวามี
  สมเด็จพระราชินีเเห่งสหราชอาณาจักร
(8 กันยายน 2565 – ปัจจุบัน)

  ยังดำรงตำแหน่ง
ไม่มี   ลำดับโปเจียม (ฝ่ายใน)
แห่งสหราชอาณาจักร

  เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ไดอานา สเปนเซอร์    
เจ้าหญิงแห่งเวลส์
  แคเธอรีน มิดเดิลตัน
ไดอานา สเปนเซอร์    
ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์
ใน เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งคอร์นวอลล์

  แคเธอรีน มิดเดิลตัน
ไดอานา สเปนเซอร์    
ดัชเชสแห่งรอธเซย์
ใน เจ้าชายชาลส์ ดยุกแห่งรอธเซย์

  แคเธอรีน มิดเดิลตัน