จินตนา สุขสถิตย์
จินตนา สุขสถิตย์ หรือ จินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (เกิด 6 ธันวาคม พ.ศ. 2481) เป็นนักร้องหญิงเพลงไทยสากลชาวไทย มีผลงานบันทึกเสียงเป็นที่รู้จักในเพลง "สักขีแม่ปิง", "ฝากรักเอาไว้ในเพลง", "คิดจะปลูกต้นรักอีกกอ", "ไม่เคยรักใครเท่าเธอ" และเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยอีกจำนวนมาก และยังมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งเนื้อร้องภาษาไทย และเนื้อร้องภาษาอังกฤษ
จินตนา สุขสถิตย์ | |
---|---|
จินตนา สุขสถิตย์ | |
เกิด | จินตนา สุขสถิตย์ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ตำบลบางขุนพรหม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | จินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสตรีวิทยา โรงเรียนพณิชยการพระนคร |
อาชีพ | นักร้อง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2500–ปัจจุบัน |
คู่สมรส | ภูมินทร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
บุตร | 3 คน |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | เพลงไทยสากล |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ค่ายเพลง | คาเธ่ย์, กมลสุโกศล, เมโทร |
ศิลปินแห่งชาติ | พ.ศ. 2547 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) |
จินตนา สุขสถิตย์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) พ.ศ. 2547
ประวัติ
แก้จินตนา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขสถิตย์) เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร เป็นธิดาของกมล กับพยุง สุขสถิตย์ สมรสกับบดินทร์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา มีธิดา 3 คน
ประวัติการศึกษา
แก้จินตนา สุขสถิตย์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสตรีวิทยา และระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง จากโรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ประวัติชีวิตและผลงาน
แก้จินตนา สุขสถิตย์ เริ่มเข้าสู่วงการเพลง เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยได้รับการสนับสนุนจากเชาว์ แคล่วคล่อง หัวหน้าวงดนตรีวายุบุตร ซึ่งเป็นวงดนตรีของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลให้มาฝึกขับร้องเพลงเวลาหลังเลิกเรียน หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วได้มาเป็นนักร้องประจำอยู่ในวงดนตรีวายุบุตร ได้ขับร้องเพลงในงานการกุศลต่าง ๆ เช่น งานกาชาด งานช่วยเหลือทหาร ตำรวจชายแดน คนพิการ เด็กอนาถา เป็นประจำทุกปี จนถึงปี พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นได้ออกไปประกอบอาชีพเป็นนักร้องตามไนท์คลับ ห้องอาหารในโรงแรมต่าง ๆ และสถานที่อื่น ๆ ทั่วไป
จินตนา สุขสถิตย์ เป็นนักร้องที่มีน้ำเสียงที่ไพเราะ จึงทำให้มีผู้แต่งเพลงหลายคน เช่น บุญช่วย กมลวาทิน, สง่า อารัมภีร, สมาน กาญจนะผลิน ชาลี อินทรวิจิตร และ เชาว์ แคล่วคล่อง เห็นความสามารถดังกล่าว ได้แต่งเพลงให้ร้องจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียงในสมัยอยู่กับวงดนตรีวายุบุตร คือ เพลงสักขีแม่ปิง ขับร้องคู่กับชรินทร์ นันทนาคร หลังจากนั้นได้มีผลงานเพลงอีกมากมาย
เธอยังได้ร้องเพลงประกอบในฉากภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ หนึ่งในทรวง (2506), มือเสือ (2506), อรุณเบิกฟ้า (2509), ไฟรัก (2518)
ผลงานเพลงขับร้องและบันทึกแผ่นเสียง
แก้จินตนา สุขสถิตย์ มีผลงานเพลงที่ขับร้องอยู่มากมาย และขับร้องได้อย่างยอดเยี่ยมมาก ได้แก่
- สักขีแม่ปิง
- กุลสตรี
- ลุ่มเจ้าพระยา
- แม่ปิงสะอื้น
- ฝนสั่งฟ้า
- คิดไปใจหาย
- เธอกับฉันคือเพลง
- ฝากรักเอาไว้ในเพลง
- คิดจะปลูกต้นรักสักกอ
- คิดถึง
- ดาวเคียงเดือน
- กล้วยไม้
- ลุ่มเจ้าพระยา
- อยากจะรักสักครั้ง
- ใจสนองใจ
- ศัตรูหัวใจ
- ลมจ๋าลม
- สายทิพย์
- ทั้ง ๆ ที่รู้
- ถามดาว
- หลงเพ้อ
- ไม่เคยรักใครเท่าเธอ
- พรุ่งนี้ฉันจะรักเธอจนตาย
- คืนหนึ่ง
- ตะวันลา
- กระซิบรัก
- หัวใจเถื่อน
- เหยื่อโลกีย์
- ชุมทางชีวิต
- เปลวไฟรัก
- รักระทมใจ
- สาส์นรัก
- ไม่ขอลืม
- สายรัก - สายใต้
- คิดถึงถิ่นเหนือ
- วันนั้น
- จุฬาตรีคูณ
- วอลทซ์นาวี
- ชมประดู่
- วิมานไฟ
- นกเอี้ยง
- ตำหนักเพชร
- กล่อม
- เริงจักรยาน
- เงาบัว
- ช่วยไม่ได้
- กาสะลองบานแล้ว
- มองเข้าไปในชีวิต
- โนรี
- มาลัยหัวใจ
- โสนน้อยเรือนงาม
- สวรรค์วันเพ็ญ
- หนาวรัก
- ไก่นา
- วังสวาทนิราศรัก
เนื่องจาก จินตนา สุขสถิตย์ เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงในด้านการร้องเพลง และมีน้ำเสียงเป็นอมตะ จึงได้ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกหลายเพลง เพลงประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง และยังได้รับเชิญจากรัฐบาลไทยให้ร่วมขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" และเพลง "เดอะซาวน์ออฟมิวสิค (The Sound of music)" กับวงดุริยางค์แห่งสถานีวิทยุเซาท์เวสต์ของประเทศเยอรมนี ที่มาเปิดการแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2515
ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ที่ขับร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
แก้- แสงเทียน
- ชะตาชีวิต
- สายฝน
- ลมหนาว
- อาทิตย์อับแสง
- ใกล้รุ่ง
- ดวงใจกับความรัก
- รักคืนเรือน
- ภิรมย์รัก
- แว่ว
- เกาะในฝัน
- แผ่นดินของเรา
- แสงเดือน
- ในดวงใจนิรันดร์
- ยามค่ำ
- แก้วตาขวัญใจ
- ความฝันอันสูงสุด
- Candlelight blues
- H.M. Blues
- Falling rain
- Love in spring
- Blue day
- Near dawn
- Never mind the hungry men's blue
- Love over again
- A love story
- Echo
- Dream island
- Alexandra
- Magic beams
- Still on my mind
- Twilight
- Love light in my heart
- When
- Love at sun down
- Smiles
- Lullaby
- No moon
- Oh I say
เกียรติคุณ
แก้- พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะนักร้องยอดเยี่ยมฝ่ายหญิง จากการขับร้องเพลง "คิดจะปลูกต้นรักสักกอ" ผลงานของ บุญช่วย กมลวาทิน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
- พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ประเภทเพลงปลุกใจ จากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากการขับร้องเพลง "ฝากใจไปรบ" ผลงานของ สมโภชน์ ล้ำพงศ์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
- ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำ จากการขับร้องเพลง "คิดถึง"
- ได้รับรางวัลเพลงยอดนิยม จากเพลง "ใจสนองใจ" ของสถานีวิทยุ ท.ท.ท.
- ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ จากการกุศลต่าง ๆ
- ได้เข้าเฝ้าฯ ขับร้องเพลงถวายพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันครบรอบราชาภิเษกสมรส งานสโมสรสันนิบาต และในบางโอกาส ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขับร้องเพลงถวายขณะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลอย่างยิ่ง
- พ.ศ. 2547 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ขับร้อง) พ.ศ. 2547
จินตนา สุขสถิตย์ มีความตั้งใจปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ได้ไปขับร้องเพลงกล่อมขวัญทหาร ตำรวจชายแดน ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดปัตตานี เป็นต้น และไปขับร้องเพลงในงานกุศลต่าง ๆ อยู่เป็นประจำทุกปีจวบจนปัจจุบัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
อ้างอิง
แก้- คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2547. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), พ.ศ. 2548. 176 หน้า. หน้า 120 - 131. ISBN 974-7103-59-1
- ไพบูลย์ สำราญภูติ. เพลงลูกกรุง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 168 หน้า. ISBN 978-974-8218-82-3