ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตแล้วไหลมาทางทิศใต้ผ่าน 6 ประเทศ ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่บริเวณนี้ โดยบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้นพบว่าแม่น้ำโขงมีการแตกออกเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา

แผนที่แสดงตำแหน่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีความกว้างของดินดอนสามเหลี่ยมใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของโลกและกินพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นมีการพัดพาของน้ำมาประมาณ 470 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งน้ำที่ไหลมาในบริเวณนี้ได้พัดพาตะกอนมาตกสะสมประมาณ 790,000–810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี

นอกจากนี้พบว่าเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีการพอกของตะกอนในบริเวณนี้ในลักษณะการพอกคืบเข้าไปในทะเลคิดเป็น 200 กิโลเมตร รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้น มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่กินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้มีการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ โดยพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10,000 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้นอกจากจะมีความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาแล้วยังมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของพื้นที่

จากการสะสมตัวของตะกอนพบว่าตะกอนที่สะสมตัวในหุบเขาซึ่งทับอยู่บนชั้นตะกอนที่มีอายุสมัยไพลสโตซีน นั้นเกิดการสะสมตัวในช่วงที่มีเกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วครั้งล่าสุด ซึ่งพบว่าแม่น้ำโขงในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดหรือเมื่อประมาณ 18,000 ปีมาแล้วนั้น ตำแหน่งของทางน้ำอยู่ทางตะวันออกของบริเวณที่เป็นหุบเขาทำให้บริเวณหุบเขามีลักษณะเป็นปากแม่น้ำ ขณะที่น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดการสะสมตัวของตะกอนที่เป็นตะกอนปากแม่น้ำ เมื่อน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นปากแม่น้ำจึงย้ายเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้นทำให้บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางทะเลมากขึ้น จึงเกิดการสะสมตัวของที่ราบที่ได้รับผลจากน้ำขึ้น-น้ำลง หลังจากนั้นพบว่าเกิดการสะสมตัวของตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและกำลังเริ่มลดลงเรื่อย ๆ ทำให้พบลักษณะการเพิ่มขึ้นของขนาดเม็ดตะกอนเมื่อใกล้พื้นผิวมากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงออกเป็น 2 บริเวณตามอิทธิพลหลักที่มีผลต่อการสะสมตัวของตะกอนในแต่ละบริเวณ คือ

  1. ส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อยู่ด้านใกล้แผ่นดิน พบว่าเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางแม่น้ำและน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นหลัก
  2. ส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่อยู่ด้านใกล้ทะเล พบว่าเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทะเลคือคลื่นและน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นหลัก

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

แก้
 
ภาพถ่ายทางอากาศแสดงลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกของนครโฮจิมินห์ โดยมีการสะสมตัวของตะกอนเกิดเป็นรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมซึ่งกินพื่นที่เป็นบริเวณกว้าง กล่าวคือพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเตี่ยนยางทางทิศตะวันออกถึงจังหวัดอันยางและจังหวัดเกียนยางทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยถ้ามองสัดส่วนที่กว้างขึ้นเราจะพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม

นอกจากนี้ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงยังพบว่าเป็นบริเวณที่มีภูมิประเทศที่หลากหลายมาก โดยบริเวณนี้พบทั้งภูเขาและพื้นที่สูงทางทิศเหนือและทิศตะวันตก และพบลักษณะของที่ราบน้ำท่วมถึงบริเวณทิศใต้ นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะภูมิประเทศบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีผลของการเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นอินเดียและแผ่นยูเรเซียเมื่อประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว

ลักษณะของตะกอนทรายที่พบบริเวณตอนล่างของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีการพัดพามาโดยแม่น้ำโขงเป็นหลัก ซึ่งการสะสมตัวของตะกอนในบริเวณนี้เริ่มเกิดขึ้นมามากกว่าล้านปีแล้ว

สภาพภูมิอากาศ

แก้

เนื่องมาจากบริเวณนี้เป็นบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีความชันไม่มาก จึงทำให้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีการท่วมของน้ำอันเนื่องมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาของสถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอของประเทศเวียดนามพบว่าจากการศึกษาสามารถคาดคะเนได้ว่าหลายจังหวัดในประเทศเวียดนามจะจมอยู่ใต้น้ำในปี 2030 โดยพื้นที่เสี่ยงที่สุดคือจังหวัดเบ๊นแตรและจังหวัดลองอัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้ามีการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลประมาณ 1 เมตร ทั้งสองจังหวัดนี้มีความเสี่ยงต่อการท่วมของน้ำสูงถึง 51% และ 49% ตามลำดับ

ลักษณะทางธรณีวิทยา

แก้
 
แผนที่แสดงลักษณะทางธรณีวิทยาบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

จากการศึกษาถึงลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงพบว่าบริเวณนี้มีการแบ่งหลัก ๆ ออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือพื้นที่ที่อยู่เหนือน้ำและพื้นที่ที่อยู่ใตน้ำ

  1. ส่วนของพื้นที่ที่อยู่เหนือน้ำ พบว่าสามารถแบ่งย่อยโดยอาศัยความสูงต่ำของพื้นที่เป็นตัวแบ่งได้อีกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำส่วนบนหรือส่วนนอกซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำเป็นหลัก และส่วนของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำส่วนล่างหรือส่วนนอกซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากการกระทำของทะเลเป็นหลัก พื้นที่ที่อยู่เหนือน้ำของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้พบว่าเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนในช่วง 6,000–7,000 ปีที่ผ่านมาหรือหลังจากช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดในสมัยโฮโลซีนตอนกลาง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนนี้ยังรวมส่วนที่เป็นชายหาดซึ่งพบว่าได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นหลัก โดยบริเวณนี้น้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 3.2–3.8 เมตร
  2. ส่วนของพื้นที่ที่อยู่ใต้น้ำ พบว่าสามารถแบ่งย่อยโดยอาศัยความสูงต่ำของพื้นที่เป็นตัวแบ่งได้อีกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นที่ราบที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลงซึ่งพบว่าส่วนนี้มีความหนาของตะกอนประมาณ 6 เมตร และกว้างประมาณ 5–20 กิโลเมตร และส่วนที่เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทื่ยื่นออกไปสู่ทะเล

หน้าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตแล้วไหลมาทางทิศใต้ผ่าน 6 ประเทศ ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่บริเวณนี้ โดยบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้นพบว่าแม่น้ำโขงมีการแตกออกเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา

ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีความกว้างของดินดอนสามเหลี่ยมใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของโลกและกินพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นมีการพัดพาของน้ำมาประมาณ 470 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งน้ำที่ไหลมาในบริเวณนี้ได้พัดพาตะกอนมาตกสะสมประมาณ 790,000–810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี

นอกจากนี้พบว่าเมื่อประมาณ 6000 ปีที่ผ่านมา มีการพอกของตะกอนในบริเวณนี้ในลักษณะการพอกคืบเข้าไปในทะเลคิดเป็น 200 กิโลเมตร รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้น มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่กินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้มีการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ โดยพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10,000 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้นอกจากจะมีความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาแล้วยังมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของพื้นที่

การลำดับชั้นตะกอน

แก้
 
ภาพแสดงลักษณะการลำดับชั้นหินบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

ในบริเวณนี้พบว่าจากการเจาะศึกษาตะกอน สามารถแบ่งตะกอนได้ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  1. ตะกอนที่มีลักษณะไม่ชัดเจนแต่มีอายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย โดยพบว่าตะกอนกลุ่มนี้ปรากฏอยู่ตอนล่างสุดของหลุมเจาะ โดยมีลักษณะเป็นตะกอนแข็งเหนียวของทรายแป้งและทรายที่มีเม็ดตะกอนขนาดเล็ก มีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนบางส่วน เราจึงพบชั้นที่เป็นศิลาแลงปนอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบชั้นตะกอนที่มีการกระจายตัวของควอตซ์ขนาดใหญ่ และพบลักษณะของการวางตัวของชั้นตะกอนแบบขนานปนกับแบบลิ่ม ซึ่งจากการหาอายุของตะกอนโดยใช้คาร์บอนไอโซโทปพบว่าตะกอนชั้นนี้มีอายุประมาณ 43,500–50,500 ปี ซึ่งตะกอนกลุ่มนี้วางตัวอยู่ใต้ ตะกอนที่มีอายุสมัยโฮโลซีนและพบลักษณะรอยชั้นไม่ต่อเนื่องด้วย
  2. ตะกอนกลุ่มที่เกิดการสะสมตัวบริเวณหุบเขาในช่วงน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น โดยตะกอนกลุ่มนี้วางตัวอยู่บนตะกอนกลุ่มแรกโดยพบลักษณะชัดเจนที่หลุมบีที 2 ซึ่งแสดงการตัดเข้ามาของหุบเขา ในช่วงยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายหรือเมื่อประมาณ 18,000 ปีมาแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นพบว่าเกิดการละลายของธารน้ำแข็งทำให้มีการเพิ่มขึ้นของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วประกอบกับการตัดเข้ามาของหุบเขาในบริเวณนี้ทำให้มีการเพิ่มพื้นที่สะสมตัวของตะกอนจึงพบการสะสมตัวของตะกอนเป็นปริมาณมากซึ่งประกอบด้วยตะกอนทรายขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตะกอนขนาดทรายแป้ง และตะกอนโคลน บางส่วนพบว่ามีการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดเป็นชั้นบาง ๆ ของศิลาแลง บางส่วนเกิดการพอกเป็นชั้นของคาร์บอเนต พบการวางตัวของชั้นตะกอนทั้งแบบขนานและแบบทำมุม นอกจากนี้พบซากบรรพชีวินหลายชนิดที่สามารถบ่งบอกสภาพแวดล้อมการสะสมตัวของตะกอนได้เป็นแบบทะเล แบบน้ำกร่อยและแบบน้ำจืด
  3. ตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสมัยโฮโลซีนโดยตะกอนกลุ่มนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการตกสะสมตัวที่แสดงการพอกของตะกอนในทิศออกสู่ทะเล โดยเราจะพบว่าเม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อใกล้ระดับพื้นผิว โดยตะกอนที่พบมีขนาดหลากหลาย เช่น ตะกอนทรายขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ตะกอนทรายแป้ง ตะกอนโคลน เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบซากบรรพชีวิน เช่น เศษชิ้นส่วนของเปลือกหอย แพลงตอน ไดอะตอม เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาซากบรรพชีวินเหล่านี้พบว่าแสดงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมสอดคล้องกับการพอกของตะกอนในทิศออกสู่ทะเล

ประวัติศาสตร์และความสำคัญ

แก้
 
เทวรูปพระวิษณุในสมัยอาณาจักรขอม

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในสมัยโบราณเคยเป็นอาณาเขตของอาณาจักรขอม โดยมีหลักฐานเป็นวัตถุโบราณต่าง ๆ มีภูมิประเทศเป็นหนองบึง และป่าไม้ ก่อนที่ชาวอาณานิคมพวกแรกที่เข้ามาทางทะเลจะมาถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของตระกูลเหวียน ได้มีการปรับปรุงสภาพหนองบึงผืนใหญ่ และสร้างเครือข่ายลำคลองเล็ก ๆ มากมาย จนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้มีการขุดคลองใหญ่ขึ้น 2 สาย คือ คลองไทฮวา ซึ่งเชื่อมเมืองร้ากยากับเมืองลองเสวียน และคลองวิงห์เตซึ่งเชื่อมเมืองเจาด๊ก[1]

ปัจจุบันดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนับได้ว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่กระแสน้ำพัดมามาทับถมไว้ ซึ่งที่นี่สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศเวียดนาม ซึ่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีชื่อเรียกในภาษาเวียดนามว่า "đồng bằng sông Cửu Long" (หวงเต่าซองกิ๋วล่อง หมายถึง "ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำ 9 มังกร")[2]

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

10°00′32″N 105°49′26″E / 10.009°N 105.824°E / 10.009; 105.824