ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย
ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ชื่อเล่น ปอป้อ (เกิดวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2535) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย[4] ปัจจุบันครองอันดับ 1 ของโลก, เจ้าของเหรียญเงิน และเหรียญทองรายการชิงแชมป์โลก ในปี 2019 และ 2021 ตามลำดับ ประเภทคู่ผสมร่วมกับเดชาพล พัววรานุเคราะห์ ซึ่งเป็นคู่ผสมคู่แรกของไทยที่ได้แชมป์โลก[5][6][7] นอกจากนี้ยังชนะเลิศรายการในเวิลด์ทัวร์ 3 รายการติดต่อกัน 2 ครั้งภายใน 1 ปี คือต้นปี 2021 ที่ประเทศไทย และในปลายปีที่ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย[8][9]
ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทรัพย์สิรี เมื่อปี 2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเล่น | ปอป้อ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเทศ | ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | 18 เมษายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.69 m (5 ft 7 in) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 55 kg (121 lb) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มือที่ถนัด | ขวา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หญิงคู่และคู่ผสม[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับโลกสูงสุด | 14 (หญิงเดี่ยว 12 กันยายน 2556) 9 (หญิงคู่ ร่วมกับ พุธิตา สุภจิรกุล 16 กุมภาพันธ์ 2560) 1 (คู่ผสม ร่วมกับ เดชาพล พัววรานุเคราะห์ 7 ธันวาคม 2564)[2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับโลกปัจจุบัน | 6 (คู่ผสม ร่วมกับ เดชาพล พัววรานุเคราะห์ 16 กรกฎาคม 2567) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
BWF profile |
ทรัพย์สิรีเป็นนักกีฬาคนแรกของโลกที่ชนะเลิศการแข่งขันระดับกรังด์ปรีซ์โกลด์ครบทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ และคู่ผสม ทรัพย์สิรี ได้เหรียญทองแบดมินตันในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ในประเภทหญิงเดี่ยว[10][11] และเหรียญเงินจากแบดมินตันในเอเชียนเกมส์ 2010 ในประเภททีมหญิง[12] รวมทั้งเป็นตัวแทนทีมชาติไทยผู้เข้าแข่งขันรายการเจแปนซูเปอร์ซีรีส์ 2012[13]
ประวัติ
แก้ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย เข้าแข่งขันแบดมินตันในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ซึ่งเธอเป็นฝ่ายชนะนักแบดมินตันจากเวียดนามแล้วเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศโดยได้พบกับเติ้งสวน จากจีน[14] ที่ซึ่งทรัพย์สิรีเป็นฝ่ายชนะด้วยคะแนน 21-14, 21-17 และได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดังกล่าว[15]
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการแบดมินตันชิงแชมป์เอเชีย 2011 รอบ 16 คน ที่ซึ่งเธอเป็นฝ่ายชนะฟรานซิสกา รัตนาซารี จากอินโดนีเซีย ด้วยคะแนน 21-15, 21-19 และผ่านเข้ารอบไปพบกับหวัง ยี ฮาน ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 3 จากจีน[16]
วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการเซอร์กิตโลก "เอสซีจีไทยแลนด์โอเพ่นกรังด์ปรีซ์โกลด์ 2012" ซึ่งจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในประเภทหญิงเดี่ยว เธอเป็นฝ่ายชนะคาโอริ อิมาเบปปู จากญี่ปุ่น 2-1 เกม ที่คะแนน 20-22, 21-19, 21-15 และผ่านเข้าสู่รอบ 8 คนสุดท้ายโดยได้พบกับไซนา เนวาล จากอินเดียซึ่งเป็นมือวางอันดับ 1 ของรายการ ส่วนในประเภทคู่ผสม เธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และทั้งคู่เป็นฝ่ายแพ้ชอย ฮาย อิน กับโซ ยอง คิม จากเกาหลีใต้ที่คะแนน 22-20, 15-21, 9-21[17]
วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการหลี่หนิงไชน่ามาสเตอร์ซูเปอร์ซีรีส์ 2012 ที่ฉางโจว ประเทศจีน โดยในประเภทหญิงเดี่ยว เธอเป็นฝ่ายชนะมินัตสึ มิตานิ จากญี่ปุ่น 2-0 เกม ที่คะแนน 21-13, 21-13[18] ส่วนในประเภทหญิงคู่ เธอจับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย ที่ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ต่อเหยา ยี่ซิน กับซง เสี้ยวซิน คู่มือวางอันดับ 5 ของโลกจากจีน 1-2 เกม ด้วยคะแนน 15-21, 21-19, 16-21[19]
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ทรัพย์สิรีเข้าแข่งขันรายการเดนมาร์กโอเพ่นพรีเมียร์ซูเปอร์ซีรีส์ 2012 ที่โอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก โดยเธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และสามารถเป็นฝ่ายชนะหยาน พูนล็อง กับซื่อ หยิงซู่ จากฮ่องกง ซึ่งเป็นมือวางอันดับ 18 ของโลก 2-0 เกม ที่คะแนน 21-11, 21-8[20] และในช่วงระหว่างวันที่ 23-28 ตุลาคม ของปีเดียวกันนี้ ทรัพย์สิรีได้ร่วมแข่งขันรายการโยเน็กซ์เฟรนช์โอเพ่น 2012 โดยเธอได้พบกับคริสตินา กวานโฮล์ท จากสาธารณรัฐเช็ก ในประเภทหญิงเดี่ยว ส่วนในประเภทหญิงคู่ เธอได้จับคู่กับสาวิตรี อมิตรพ่าย และได้พบกับ เก็บบี อิมาวาน กับทิอารา นูไรดาห์ จากอินโดนีเซีย[21]
ครั้งหนึ่ง ได้มีการจัดการแข่งขันแบดมินตันรายการเอสซีจีแบดมินตันสตาร์ชาลเลนจ์ ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างนักแบดมินตันทีมชาติกับดารานักแสดง ที่ซึ่งเธอได้พบกับณัฐฐาวีรนุช ทองมี ในประเภทหญิงเดี่ยว[22]
ผลงาน
แก้บีดับเบิลยูเอฟ ชิงแชมป์โลก
แก้คู่ผสม
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2019 | St. Jakobshalle, บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ |
เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
8–21, 12–21 | เหรียญเงิน |
2021 | Palacio de los Deportes Carolina Marín, Huelva, สเปน |
เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
21–13, 21–14 | เหรียญทอง[23][24][25] |
ชิงแชมป์เอเชีย
แก้คู่ผสม
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2017 | อู่ฮั่นยิมเนเซียม, อู่ฮั่น, จีน |
เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | หลู ไค หวง หย่าฉยง |
18–21, 11–21 | เหรียญเงิน |
2019 | หวัง อี้ลวี่ หวง ตงผิง |
21–23, 10–21 | เหรียญทองแดง |
ซีเกมส์
แก้หญิงคู่
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2013 | Wunna Theikdi Indoor Stadium, เนปยีดอ, เมียนมา |
พุธิตา สุภจิรกุล | นิตยา กริชินดา มาเฮสวารี เกรย์เซีย โปลี |
7–21, 11–21 | เหรียญทองแดง |
2017 | Axiata Arena, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย |
จงกลพรรณ กิติธรากุล รวินดา ประจงใจ |
16–21, 8–7 ถอนตัว (บาดเจ็บ) | เหรียญเงิน |
คู่ผสม
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2013 | Wunna Theikdi Indoor Stadium, เนปยีดอ, เมียนมา |
มณีพงศ์ จงจิตร | มูฮัมมัด ริจาล เด็บบี้ ซูซานโต |
18–21, 19–21 | เหรียญเงิน |
2015 | สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์, ประเทศสิงคโปร์ |
สุดเขต ประภากมล | ปราวีน จอร์แดน เด็บบี้ ซูซานโต |
13–21, 21–8, 14–21 | เหรียญทองแดง |
2017 | Axiata Arena, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย |
เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | โก๊ะ ซุน ฮวด เชวอน เจมี ไล |
21–15, 22–20 | เหรียญทอง |
โอลิมปิกเยาวชน
แก้หญิงเดี่ยว
ปี | สถานที่ | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2010 | สนามกีฬาในร่มสิงคโปร์, ประเทศสิงคโปร์ |
เติ้ง ฉวน | 21–14, 21–17 | เหรียญทอง |
บีดับเบิลยูเอฟ เยาวชนชิงแชมป์โลก
แก้เยาวชน หญิงคู่
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2009 | Stadium Sultan Abdul Halim, อาโลร์เซอตาร์, มาเลเซีย |
รจนา จุฑาบัณฑิตกุล | ทัง จินหัว เชีย ฮวน |
7–21, 15–21 | เหรียญทองแดง |
เยาวชนชิงแชมป์เอเชีย
แก้เยาวชน หญิงเดี่ยว
ปี | สถานที่ | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2010 | Stadium Juara, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย | Suo Di | 13–21, 11–21 | เหรียญเงิน |
เยาวชน หญิงคู่
ปี | สถานที่ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2009 | Stadium Juara, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย |
รจนา จุฑาบัณฑิตกุล | ลั่ว หยิง ลั่ว หยู |
16–21, 10–21 | เหรียญทองแดง |
บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ (17 แชมป์, 10 รองแชมป์)
แก้บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2017 และเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2018[26] เป็นรายการแข่งขันแบดมินตันระดับชั้นนำ รับรองโดย สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) ทัวร์นาเมนต์ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับ ได้แก่ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์, ซูเปอร์ 1000, ซูเปอร์ 750, ซูเปอร์ 500, ซูเปอร์ 300 (ส่วนหนึ่งของ HSBC World Tour) และ ซูเปอร์ 100 [27]
หญิงคู่
ปี | รายการ | ระดับ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
2019 | ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 300 | พุธิตา สุภจิรกุล | Li Wenmei เจิ้ง อวี่ |
15–21, 21–15, 21–10 | ชนะเลิศ |
คู่ผสม
ปี | รายการ | ระดับ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
2018 | เดนมาร์ก โอเพ่น | ซูเปอร์ 750 | เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
16–21, 13–21 | รองชนะเลิศ |
2019 | ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 300 | ชาน เป็ง ซุน โก๊ะ หลิว หยิง |
16–21, 15–21 | รองชนะเลิศ | |
2019 | มาเลเซีย มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 500 | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
18–21, 18–21 | รองชนะเลิศ | |
2019 | สิงคโปร์ มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 500 | ตัน เคียน เหม็ง ไล่ เป่ย จิง |
21–14, 21–6 | ชนะเลิศ | |
2019 | โคเรีย โอเพ่น | ซูเปอร์ 500 | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
21–14, 21–13 | ชนะเลิศ | |
2019 | มาเก๊า โอเพ่น | ซูเปอร์ 300 | หวัง ฉีหลิน เจิ้ง ฉีหยา |
21–11, 21–8 | ชนะเลิศ | |
2020 | ออลอิงแลนด์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 1000 | ปราวีน จอร์แดน เมลาตี ดาเอวา อ็อกตาเวียนติ |
15–21, 21–17, 8–21 | รองชนะเลิศ | |
2020 (I) | ไทยแลนด์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 1000 | 21–3, 20–22, 21–18 | ชนะเลิศ | ||
2020 (II) | ไทยแลนด์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 1000 | ซอ ซึง-แจ แช ยู-จุง |
21–16, 22–20 | ชนะเลิศ | |
2020 | บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | 21–18, 8–21, 21–8 | ชนะเลิศ | ||
2021 | เดนมาร์ก โอเพ่น | ซูเปอร์ 1000 | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
18–21, 9–21 | รองชนะเลิศ | |
2021 | ไฮโล โอเพ่น | ซูเปอร์ 500 | ปราวีน จอร์แดน เมลาตี ดาเอวา อ็อกตาเวียนติ |
22–20, 21–14 | ชนะเลิศ | |
2021 | อินโดนีเซีย มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 750 | ถัง ชุน หมัน เซียะ อิ๋ง เสว่ |
21–11, 21–12 | ชนะเลิศ | |
2021 | อินโดนีเซีย โอเพ่น | ซูเปอร์ 1000 | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
21–12, 21–13 | ชนะเลิศ | |
2021 | บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | 21–19, 21–11 | ชนะเลิศ | ||
2022 | เยอรมัน โอเพ่น | ซูเปอร์ 300 | ตัน เคียน เหม็ง ไล่ เป่ย จิง |
21–11, 21–18 | ชนะเลิศ[28] | |
2022 | ไทยแลนด์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 500 | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
12–21, 21–18, 14–21 | รองชนะเลิศ | |
2022 | มาเลเซีย โอเพ่น | ซูเปอร์ 750 | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
13–21, 18–21 | รองชนะเลิศ | |
2022 | สิงคโปร์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 500 | หวัง อี้ลวี่ หวง ตงผิง |
21–12, 21–17 | ชนะเลิศ | |
2022 | เจแปน โอเพน | ซูเปอร์ 750 | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
16–21, 23–21, 21–18 | ชนะเลิศ | |
2022 | บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | เวิลด์ทัวร์ไฟนัลส์ | เจิ้ง ซีเหวย์ หวง หย่าฉยง |
19–21, 21–18, 13–21 | รองชนะเลิศ | |
2023 | มาเลเซีย มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 500 | Feng Yanzhe Huang Dongping |
16–21, 21–13, 21–18 | ชนะเลิศ | |
2023 | ไทยแลนด์ โอเพ่น | ซูเปอร์ 500 | Kim Won-ho Jeong Na-eun |
21–11, 19–21, 20–22 | รองชนะเลิศ | |
2023 | เจแปน โอเพ่น | ซูเปอร์ 750 | ยูตะ วาตานาเบะ อาริสะ ฮิงาชิโนะ |
21–17, 16–21, 15–21 | รองชนะเลิศ | |
2024 | อินเดีย โอเพ่น | ซูเปอร์ 750 | Jiang Zhenbang Wei Yaxin |
21–16, 21–16 | ชนะเลิศ | |
ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส | ซูเปอร์ 300 | Chen Tang Jie Toh Ee Wei |
21–12, 21–18 | ชนะเลิศ |
บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ (1 รองแชมป์)
แก้บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และดำเนินการเมื่อปี 2007[29] เป็นรายการแข่งขันแบดมินตันระดับชั้นนำ รับรองโดย สหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) โดยระดับของซูเปอร์ซีรีส์ ได้แก่ ซูเปอร์ซีรีส์ และซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์ ในแต่ละฤดูกาลประกอบไปด้วย 12 ทัวร์นาเมนต์ทั่วโลก ซึ่งถูกเปิดตัวตั้งแต่ปี 2011[30] ผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จจะเข้าไปแข่งขันในซูเปอร์ซีรีส์ ไฟนัลส์ ซึ่งจะจัดขึ้นในทุก ๆ สิ้นปี
คู่ผสม
ปี | รายการ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2017 | สิงคโปร์ โอเพ่น | เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | หลู ไค หวง หย่าฉยง |
21–19, 16–21, 11–21 | รองชนะเลิศ |
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ไฟนัลส์
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์ พรีเมียร์
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ ซูเปอร์ซีรีส์
บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ (4 แชมป์, 9 รองแชมป์)
แก้บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ มีทั้งหมด 2 ระดับ คือ กรังปรีซ์ และกรังปรีซ์ โกลด์ ซึ่งเป็นซีรีส์ของการแข่งขันแบดมินตัน รับรองโดสหพันธ์แบดมินตันโลก (BWF) มีการแข่งขันในระหว่าง ค.ศ. 2017 และ 2017
หญิงเดี่ยว
ปี | รายการ | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2013 | U.S. โอเพ่น | ยูกะ คุสึโนเสะ | 21–12, 21–13 | ชนะเลิศ |
หญิงคู่
ปี | รายการ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2012 | อินเดีย กรังปรีซ์ โกลด์ | สาวิตรี อมิตรพ่าย | โกมาลา เดวี เจนนา โกซาลี |
21–12, 21–6 | ชนะเลิศ |
2013 | ออสเตรเลีย โอเพ่น | Vita Marissa Aprilsasi Putri Lejarsar Variella |
19–21, 15–21 | รองชนะเลิศ | |
2014 | U.S. โอเพ่น | พุธิตา สุภจิรกุล | Shendy Puspa Irawati Vita Marissa |
15–21, 10–21 | รองชนะเลิศ |
2015 | เม็กซิโกซิตี กรังปรีซ์ | ชิสึกะ มัตสึโอะ มามิ นาอิโตะ |
17–21, 21–16, 10–21 | รองชนะเลิศ | |
2016 | เยอรมัน โอเพ่น | หวง หย่าฉยง ทัง จินหัว |
14–21, 18–21 | รองชนะเลิศ | |
2016 | ไทยแลนด์ โอเพ่น | มายู มัตสึโมโตะ วากานะ นางาฮาระ |
21–12, 21–17 | ชนะเลิศ | |
2017 | ไทยแลนด์ มาร์สเตอร์ส | เฉิน ชิงเฉิน เจี่ย อี้ฝาน |
16–21, 15–21 | รองชนะเลิศ |
คู่ผสม
ปี | รายการ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2014 | U.S. โอเพ่น | มณีพงศ์ จงจิตร | Muhammad Rijal Vita Marissa |
16–21, 19–21 | รองชนะเลิศ |
2016 | ไซเอ็ด โมดี้ อินเตอร์เนชั่นแนล | เดชาพล พัววรานุเคราะห์ | ปราวีน จอร์แดน เด็บบี้ ซูซานโต |
25–23, 9–21, 16–21 | รองชนะเลิศ |
2016 | โคเรีย มาสเตอร์ส | โก ซอง-ฮยอน คิม ฮา-นา |
19–21, 16–21 | รองชนะเลิศ | |
2017 | ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส | จาง หนาน หลี่ หยิน ฮุ่ย |
11–21, 22–20, 13–21 | รองชนะเลิศ | |
2017 | สวิส โอเพ่น | ปราวีน จอร์แดน เด็บบี้ ซูซานโต |
21–18, 21–15 | ชนะเลิศ |
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์ โกลด์
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ กรังปรีซ์
บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ชาลเลนจ์/ซีรีส์ (3 แชมป์, 2 รองแชมป์)
แก้หญิงเดี่ยว
ปี | รายการ | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|
2009 | มาเลเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล | รัชนก อินทนนท์ | 21–11, 19–21, 22–20 | ชนะเลิศ |
2011 | เวียดนาม อินเตอร์เนชั่นแนล | ที จิง ยี่ | 19–21, 15–21 | รองชนะเลิศ |
หญิงคู่
ปี | รายการ | คู่นักกีฬา | คู่ต่อสู้ | คะแนน | ผลการแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|
2009 | การการแข่งขันแบดมินตันนานาชาติ ปุ้มปุ้ยแชมเปี้ยนชิพ | พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข | P. C. Thulasi N. Siki Reddy |
21–19, 21–17 | ชนะเลิศ |
2015 | USA อินเตอร์เนชั่นแนล | พุธิตา สุภจิรกุล | เฮเธอร์ โอลเวอร์ ลอเรน สมิธ |
21–18, 19–21, 19–21 | รองชนะเลิศ |
2016 | โปลิช โอเพ่น | โจว เหม่ย ควาน ลี เมิง เยียน |
21–7, 21–17 | ชนะเลิศ |
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ชาลเลนจ์
- การแข่งขัน บีดับเบิลยูเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล ซีรีส์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[31]
อ้างอิง
แก้- ↑ ฉันท์ชมา (6 February 2021). "ทำความรู้จัก "ปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย" นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย". True ID. สืบค้นเมื่อ 8 December 2021.
- ↑ ""เดชาพล-ทรัพย์สิรี" ผงาดเบอร์ 1 โลกอย่างเป็นทางการ". MGR. 7 December 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2021. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ "BWF contents". BWF-Tournament Software. สืบค้นเมื่อ 9 October 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Thailand shuttling to the top - China Daily (อังกฤษ)
- ↑ "มอบของขวัญส่งท้ายปี! บาส -ปอป้อ คว้า8 แชมป์ในปี 2021 ครองมือวางอันดับ1ของโลก". True ID. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Badminton mixed doubles win first world championship" (ภาษาอังกฤษ). bangkokpost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Dechapol and Sapsiree make history" (ภาษาอังกฤษ). bangkokpost. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Mixed doubles Thai badminton stars retain World Tour Finals crown" (ภาษาอังกฤษ). thethaiger.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Dechapol and Sapsiree reach first Super Series final" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "ClubXcite เปิดใจน้อง ปอป้อ ดาวรุ่งวงการลูกขนไก่ไทย - ผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ มั่นใจ 'พิสิษฐ์-ทรัพย์สิรี' มีเฮในโอลิมปิก2016 - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
- ↑ 2 แบดดาวรุ่ง ความหวังจุฬา
- ↑ BWF Tournament
- ↑ YOUTH OLYMPICS SF – Sapsiree makes up for Intanon's absence เก็บถาวร 2012-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ YOUTH OLYMPICS Finals – Thai for two and two for Thais (อังกฤษ)
- ↑ "8 นักแบดฯไทยโชว์ฟอร์มเยี่ยม ชิงแชมป์เอเชีย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ แบดคู่ผสม สุดเขต-สราลีย์ผ่านฉลุย รัชนก-พรทิพย์-ทรัพย์สิรีเข้ารอบ บุญศักดิ์พ่าย เอสซีจีโอเพ่น
- ↑ "รัชนกต้านมือ 1 โลกไม่ไหวพ่ายตกรอบ! คมชัดลึก : กีฬา : กีฬาในประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
- ↑ เมย์ต้านสาวจีนไม่ไหว, ปอป้อพลิกโค่นสาวยุ่น - เดลินิวส์
- ↑ "สาวิตรี-ทรัพย์สิรีตบทะลุก่อนรองฯหวดคู่แบดฯโคนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง » น้องเมย์สบายโยเน็กซ์เฟรนช์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เครือซิเมนต์ไทย...ทำ (ให้) กรี๊ด...จัดนักตบลูกขนไก่ปะทะดาราดัง - สยามดารา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ "BREAKTHROUGH TITLES FOR THAILAND, JAPAN". /bwfworldchampionships.bwfbadminton.com (ภาษาอังกฤษ). BWF. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
- ↑ "ประวัติศาสตร์! "บาส-ปอป้อ" ขยี้คู่ญี่ปุ่น2เกม ผงาดแชมป์โลกยิ่งใหญ่". www.siamsport.co.th. siamsport. สืบค้นเมื่อ 20 December 2021.
- ↑ "กระหึ่มโลก! "บาส-ปอป้อ" ท็อปฟอร์มคว่ำคู่ญี่ปุ่น คว้าแชมป์โลกแบดฯคู่ผสม". www.bangkokbiznews.com. bangkokbiznews.
- ↑ Alleyne, Gayle (19 March 2017). "BWF Launches New Events Structure". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ Sukumar, Dev (10 January 2018). "Action-Packed Season Ahead!". Badminton World Federation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2018. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
- ↑ บาส-ปอป้อ ไล่ถลุงคู่จีนยับซิวแชมป์แบดเยอรมัน โอเพ่น
- ↑ "BWF Launches Super Series". Badminton Australia (ภาษาอังกฤษ). 15 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2007.
- ↑ "Yonex All England Elevated To BWF Premier Super Series Event". IBadmintonstore (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 September 2013.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ที่ BWF.tournamentsoftware.com (ในภาษาอังกฤษ) (alternate link)