ทราวิฑ หรือ ทราวิฑะ (สันสกฤต: Drāviḍa) หรือ มิลักขะ (สันสกฤต: Milakkha) หรือ ดราวิเดียน (อังกฤษ: Dravidian) เป็นคำที่ชาวอารยัน (ชาวอิหร่านโบราณ) ใช้เรียกชาวทมิฬ ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดีย[2] โดยดูถูกว่า ชาวพื้นเมืองที่มีความล้าหลัง มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่แปลกประหลาด และเป็นที่เกลียดชังของชาวอารยันผู้ดำรงอารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกจากนี้ มีคำกล่าวว่า "เรารับความเกลียดชังมิลักขะมาจากพระสงฆ์ในศาสนาลังกาวงศ์"[3]

ทราวิฑ
ทราวิฑะ, มิลักขะ, ดราวิเดียน
ภูมิภาค:เอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในอินเดียใต้และศรีลังกา
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลของภาษาหลักของโลก
ภาษาดั้งเดิม:ภาษาทราวิฑดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
  • เหนือ
  • กลาง
  • ใต้
  • กลางตอนใต้
ISO 639-2 / 5:dra
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:49= (phylozone)
กลอตโตลอก:drav1251[1]
{{{mapalt}}}
กลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาทราวิฑ:
ชาวทราวิฑ
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 245 ล้าน
ภาษา
ตระกูลภาษาดราวิเดียน
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู, พื้นบ้าน และอื่น ๆ: เชน, พุทธ, อิสลาม, คริสต์, ยูดาย

ประวัติศาสตร์

แก้

ก่อนที่ชาวอารยัน (ชาวตะวันตกเรียกว่าชาวเปอร์เซีย) ซึ่งเป็นชาวอิหร่านโบราณ จะอพยพเข้ามาในดินแดนชมพูทวีป มีชาวทราวิฑะ หมายถึง ชาวทมิฬเดิมอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธุมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล

มีทั้งภาษาทมิฬ และอักษรทมิฬ บ่งบอกถึงความเป็นรัฐชาติในอดีต ปัจจุบันกลายเป็นชนกลุ่มน้อย ที่มีภาษาตนเองอย่างเป็นทางการใน อินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์

ประชากร

แก้
  1. ในอินเดีย ประมาณ 300 ล้านคน ร้อยละ 25
  2. ในศรีลังกา ประมาณ 1.6 ล้านคน ร้อยละ 8
  3. ในสิงคโปร์ ประมาณ 0.4 ล้านคน ร้อยละ 8.1

อ้างอิง

แก้
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Dravidian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. ทราวิฑะ
  3. มิลักขะ