นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 30 ประการดังนี้
- เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
- อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
- เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด 1 เดือน
- ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
- รับจีวรจากมือของภิกษุณี
- ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
- รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
- พูดทำนองขอจีวรดี ๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
- พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดี ๆ มาถวาย
- ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
- หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
- หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
- ใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
- หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง 6 ปี
- เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
- นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
- ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
- รับเงินทองที่ได้จากการถวายของคฤหัสถ์
- ซื้อ-ขายด้วยเงินทอง
- ซื้อขายโดยใช้ของแลก
- เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน 10 วัน
- ขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน 5 แห่ง
- เก็บเภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน 7 วัน
- แสวงหาและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด 1 เดือนก่อนหน้าฝน
- ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วแต่กลับชิงคืนในภายหลัง
- ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
- กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
- เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
- อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน
- น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
คำว่า สัคคิยปาจิตตีย์ แปลว่า อาบัติประเภทที่พระภิกษุผู้กระทำผิดโดยการรับหรือได้ของอย่างหนึ่งมา จะต้องทำการสละของนั้นก่อนจึงจะแสดงอาบัติได้ กล่าวคือเมื่อพระภิกษุได้ทำการครองครอบสิ่งของจตุปัจจัย เช่น เงินทอง จีวร บาตร เป็นต้นอย่างมากเกินความจำเป็นจึงถือว่ามีโทษอาบัติ การจะปลงอาบัติสัคคิยปาจิตตีย์ได้นั้นจะต้องทำการสละสิ่งของที่มีอยู่ แล้วทำการปลงอาบัติได้
อ้างอิง
แก้- อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘
- http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-sila_08.htm เก็บถาวร 2016-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน