ประเสริฐ นาสกุล
นายประเสริฐ นาสกุล อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์
ประเสริฐ นาสกุล | |
---|---|
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ | |
ดำรงตำแหน่ง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 – 7 กันยายน พ.ศ. 2544 (1 ปี 208 วัน) | |
ก่อนหน้า | เชาวน์ สายเชื้อ |
ถัดไป | อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ |
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มกราคม พ.ศ. 2534 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534 (0 ปี 262 วัน) | |
ก่อนหน้า | อมร จันทรสมบูรณ์ |
ถัดไป | วัฒนา รัตนวิจิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กันยายน พ.ศ. 2474 |
เสียชีวิต | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 (77 ปี 305 วัน) |
การศึกษา
แก้- มัธยม โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ภาษีเจริญ
- ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี Victoria University of Wellington นิวซีแลนด์
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 26
การทำงาน
แก้- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2534
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 - 7 กันยายน พ.ศ. 2544)[1]
ผลงานที่เป็นที่จดจำ
แก้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะที่มีนายประเสริฐ เป็นประธานนั้นได้มีมติตัดสินให้ยกฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฟ้อง จากคดีจงใจปกปิดทรัพย์สิน (คดีซุกหุ้น 1) ด้วยมติ 8 ต่อ 7 เสียง แต่นายประเสริฐซึ่งเป็นประธานนั้นมีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิด (ถือเป็นตุลาการเสียงข้างน้อย) และเป็นผู้อ่านคำวินิจฉัยเป็นคนสุดท้าย[2]
ชีวิตส่วนตัว
แก้นายประเสริฐ นาสกุล ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่มีความสมถะและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมาก และได้ชื่อในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ภายหลังเกษียณ ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก แต่เมื่อไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลใด ๆ ก็ไม่เคยใช้อภิสิทธิ์เหนือบุคคลทั่วไป[3]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้นายประเสริฐ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ด้วยโรคหัวใจ สิริอายุได้ 78 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ณ วัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- ↑ ประเสริฐ นาสกุล ไม้บรรทัด ผู้สมถะ ที่จากไป จากไทยโพสต์
- ↑ ประเสริฐ นาสกุล ไม้บรรทัด ผู้สมถะ ที่จากไป จากไทยโพสต์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗๗, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
ก่อนหน้า | ประเสริฐ นาสกุล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เชาวน์ สายเชื้อ | ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 – 7 กันยายน พ.ศ. 2544) |
อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ |