ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ

(เปลี่ยนทางจาก ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ)

ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 漆黒の追跡者(チェイサー)โรมาจิMeitantei Conan Shikkoku no Chasar(CHASER)) ; (อังกฤษ: Detective Conan: The Raven Chaser) เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 13 ของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เข้าฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยก่อนหน้านั้นมีการฉายรอบปฐมทัศน์ทางแอนิแมกซ์[3] ภาพยนตร์ทำรายได้ในประเทศทั้งสิ้น 3.9 พันล้านเยน ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันที่ทำรายได้สูงที่สุดในขณะนั้น[4] ส่วนในประเทศไทย ภาพยนตร์เข้าฉายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552[5] ภาพยนตร์นี้เป็นภาคที่สองของยอดนักสืบจิ๋วโคนันที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์กรชุดดำ[1] ต่อจากคดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ สมาชิกองค์กรชุดดำคนใหม่ที่ทราบว่า คุโด้ ชินอิจิ ได้รับยา APTX4869 จนร่างกายหดเล็กลงกลายเป็นโคนัน การสืบค้นครั้งทำให้เกิดเหตุการณ์อันตรายจากองค์กรชุดดำตามมา ภาพยนตร์นี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเจแปนอะคาเดมีประจำปี 2553[6]

ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่
เขียนบทโกโช อาโอยามะ
เนื้อเรื่องโคอุจิ คาซึนาริ[1]
สร้างจากยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
โดย โกโช อาโอยามะ
วันฉาย18 เมษายน พ.ศ. 2552
ความยาว111 นาที
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น
ทำเงิน39,664,359 ดอลลาร์[2]
ก่อนหน้านี้ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย
ต่อจากนี้ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า

ตัวละคร

แก้

ตัวละครหลัก

แก้
ตำรวจ
  • สารวัตรเมงูเระ จูโซ
  • หมวดชิราโทริ นินซาบุโร่
  • หมวดทาคางิ วาตารุ
  • หมวดซาโต้ มิวาโกะ
  • ผู้กำกับมัตซึโมโตะ คิโยนางะ
  • สารวัตรโยโคมิโซะ ซังโง
  • สารวัตรโยโคมิโซะ จูโง
  • สารวัตรยามามูระ มิซาโอะ
  • หมวดชิบะ คาซึโนบุ
  • สารวัตรยามาโตะ คันซึเกะ
  • สารวัตรโอกิโนะ อายามิ
  • สารวัตรอายาโนะโอจิ ฟูมิมาโร่
  • หมวดอุเอฮาระ ยูอิ
  • ผู้กำกับมัตซึโมโตะ คิโยนางะ
องค์กรชุดดำ
  • ยิน
  • วอดก้า
  • เบลม็อท (คริส วินยาร์ต)
  • กอร์น
  • เคียนติ
  • ไอริช (ปลอมตัวเป็นผู้กำกับมัตซึโมโตะ คิโยนางะ)

ตัวละครที่ปรากฏในภาคนี้

แก้
  • มิซึทานิ โคสึเกะ เป็นนักเขียนอิสระและเป็นแฟนของฮอนโจ นานาโกะที่หนีตามกันมาจากชิบะ
  • ฮอนโจ นานาโกะ แฟนของมิซึทานิ โคสึเกะที่หนีตามกันมาจากชิบะ ในคืนวันทานาบาตะเมื่อหนึ่งปีก่อนได้เสียชีวิตลงเนื่องจากสำลักควัน สาเหตุมาจากเธอสละที่ในลิฟท์ให้กับคนอื่น
  • ฮอนโจ คาซึกิ พี่ชายของฮอนโจ นานาโกะเขาเป็นคนก่อคดีขึ้น เพราะแค้นที่พวกเขาทำให้นานาโกะต้องสละที่ในลิฟท์ให้ ทำให้เธอต้องเสียชีวิต
  • ฟุคาเสะ มิโนรุ (อายุ 27 ปี) เป็นคนที่มีประกาศจับด้วยข้อหาที่แทงชินโนะ จูเฮที่ถูกฆ่าตายที่อูซุยโทเงะจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเมื่อ1ปีก่อน
  • โยชิอิ ริสะ (อายุ 21 ปี) แฟนของฟุคาเสะ มิโนรุ ทำงานอยู่ที่ร้านเหล้าเมืองนางาโนะ
  • ซาวามูระ ชู อาศัยอยู่ข้างห้องของมิซึทานิ โคสึเกะกับฮอนโจ นานาโกะ

เพลงประกอบและสื่อ

แก้
 
โตเกียวทาวเวอร์ สถานที่ต้นแบบของ "โทโตะทาวเวอร์" ซึ่งเป็นสถานที่หลักในภาพยนตร์เรื่องนี้

เพลงประกอบประจำภาคนี้คือ "พัซเซิล" ขับร้องโดยมาอิ คูรากิ เป็นเพลงที่ถูกเผยแพร่ออกมาพร้อมกับเพลงเปิดอนิเมะลำดับที่ 25 อย่าง "รีไวฟ์" เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552[1] ภาพยนตร์เรื่องนี้นับเป็นเรื่องที่สามที่มีเพลงประกอบขับร้องโดยมาอิ คูรากิ ต่อจาก คดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ และ คดีฆาตกรรมแห่งเมืองปริศนา

อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552 ส่วนดีวีดีแบบปกติ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[7] และแผ่นบลูเรย์ ได้รับรางวัล Best Interactivity Award จากกลุ่มบันเทิงดิจิตัลญี่ปุ่น[8]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "名探偵コナン 漆黒の追跡者(チェイサー) Official Site" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-03-11.
  2. https://boxofficemojo.com/movies/intl/?page=&id=_fMEITANTEICONANSH01
  3. 劇場版「名探偵コナン漆黒の追跡者」公開記念 名探偵コナン朝まで6時間連続放送 (ภาษาญี่ปุ่น). Animax. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  4. "Highest grossing movies". Motion Picture Producers Association of Japan. สืบค้นเมื่อ April 9, 2010.
  5. "เปิดจองแล้ววันนี้ บัตรภาพยนตร์โคนันเดอะมูวี่ แถมฟรี ส่วนลด 50 บาท". TigaTime.com. 10 November 2009. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.
  6. https://www.imdb.com/event/ev0000372/2010
  7. "劇場版 名探偵コナン 漆黒の追跡者 スタンダード・エディション". สืบค้นเมื่อ 2015-03-15.
  8. "Ponyo, Bakemonogatari, Conan Win Japanese BD Prizes". Anime News Network. February 18, 2010. สืบค้นเมื่อ February 20, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้