กระเฉด

(เปลี่ยนทางจาก ผักกระเฉด)
กระเฉด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Mimosoideae
เผ่า: Mimoseae
สกุล: Neptunia
สปีชีส์: N.  oleracea
ชื่อทวินาม
Neptunia oleracea
Lour.
ชื่อพ้อง
  • Neptunia natans (Druce)
  • Neptunia prostrata (Baillon)

กระเฉด เป็นพืชล้มลุก ลำต้นลอยน้ำหรือเลื้อยแผ่ใกล้ฝั่ง มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้), ผักรู้นอน (ภาคกลาง)[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

กระเฉดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลมเนื้อนิ่ม ใบประกอบคล้ายใบกระถิน ใบจะหุบลงในเวลากลางคืน จึงเรียกว่า"ผักรู้นอน" ระหว่างข้อมีปล้องเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้น ช่วยพยุงให้กระเฉดลอยน้ำได้และช่วยดึงไนโตรเจนจากอากาศไปเลี้ยงยอด[2] เรียกว่า "นมผักกระเฉด" มีรากงอกออกตามข้อ ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลืองเป็นพืชที่มีโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต และมีแร่ธาตุ วิตามินหลายชนิด ผลเป็นฝัก มีลักษณะแบน มีเมล็ด 4–10 เมล็ด

การปรุง

แก้

กระเฉด เป็นผักที่ใช้ปรุงในเมนูอาหารไทยได้หลากหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด หรือเป็นส่วนประกอบในยำ, แกงส้ม หรือผัดผักกระเฉด[3] ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คือ ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ และปริมาณเนื้อที่ปลูกทั้งจังหวัด 2,500 ไร่[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2010.
  2. 2.0 2.1 "สารคดีเกษตร: ปลูกผักกระเฉด". ช่อง 7. 19 ธันวาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2014.
  3. "Nutritional composition of traditional Thai foods used local vegetables" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2014.

บรรณานุกรม

แก้
  • วุฒิ วุฒิธรรมเวช (1997). กระเฉด. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย (1 ed.). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ISBN 974-277-385-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้