ยุรนันท์ ภมรมนตรี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยุรนันท์ ภมรมนตรี (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2506) ชื่อเล่น แซม เป็นนักแสดง นายแบบ พิธีกร นักร้อง อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวไทย โดยมีผลงานการแสดงทั้งภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ที่โดดเด่น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ปีกมาร (พ.ศ. 2530) แสดงคู่กับ นาถยา แดงบุหงา, ละครเรื่อง สวรรค์เบี่ยง (พ.ศ. 2531 ทางช่อง 7) แสดงคู่กับ มนฤดี ยมาภัย, ละครเรื่อง มายาตวัน (พ.ศ. 2538 ทางช่อง 7) แสดงคู่กับ ชฎาพร รัตนากร เป็นต้น
ยุรนันท์ ภมรมนตรี | |
---|---|
ยุรนันท์ เมื่อธันวาคม 2566 | |
เกิด | 2 มกราคม พ.ศ. 2506 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2524–พ.ศ. 2567 |
ส่วนสูง | 180 cm (5 ft 11 in) |
ความเกี่ยวข้อง ทางการเมืองอื่น ๆ | ไทยรักไทย (2548–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2563) |
คู่สมรส | มาริษา สุจริตกุล (2537–ปัจจุบัน) |
บุตร | 2 คน |
บิดามารดา |
|
ครอบครัว | ยอดมนู ภมรมนตรี (พี่ชาย) |
อาชีพแสดง | |
ผลงานเด่น | คาวี – สวรรค์เบี่ยง (2531) รุจ – เคหาสน์สีแดง (2532) ลาน – สองฝั่งคลอง (2535) ท่านชายวสวัตดีมาร – เงา (2543) |
รางวัล | |
เมขลา | ผู้แสดงนำชายดีเด่น พ.ศ. 2531 – สวรรค์เบี่ยง พ.ศ. 2535 – คนบาป พ.ศ. 2536 – คนละโลก พ.ศ. 2538 – ความรักสีดำ พ.ศ. 2539 – สาบนรสิงห์ พ.ศ. 2541 – ไฟริษยา |
พิฆเนศวร | นักแสดงกิตติมศักดิ์ชายยอดเยี่ยม พ.ศ.2566 – ฟ้า/ทาน/ตะวัน |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
ยุรนันท์ ภมรมนตรี (ชื่อเล่น: แซม) เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2506 ที่จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) เป็นบุตรชายของ พลโท ประยูร ภมรมนตรี และเรณู ภมรมนตรี มีพี่ชายร่วมสายโลหิตคือ ยอดมนู ภมรมนตรี (ชื่อเล่น: ยอด)
ยุรนันท์ สมรสกับมาริษา ภมรมนตรี (ชื่อเล่น: มุก) มีบุตรชาย คือ ยุรการ ภมรมนตรี และบุตรสาว คือ ยุรริษา ภมรมนตรี ซึ่งยุรนันท์และมาริษา ได้นำชื่อจริงของทั้งบุตรชายและบุตรสาว มาตั้งเป็นชื่อบริษัทของทั้งสองคนด้วย
การศึกษา
ยุรนันท์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จบการโฆษณา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จบปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาในระดับปริญญาเอก Ph.D. Candidate สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย แต่เพราะมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง จึงทำให้ต้องหยุดการศึกษาต่อด้านนี้ไป และได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Program in Anti-Aging and Regenerative Science) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ปริญญากิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
การทำงาน
การทำงานปัจจุบัน
ปัจจุบันยุรนันท์ได้มาทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเป็นคณะกรรมการบริษัทพานาซี เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด นอกจากนี้ ยุรนันท์ยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่การวิจัย (CCO) ของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด โดยเป็น 1 ใน 3 นักแสดงที่ดำรงตำแหน่งในบริษัทนี้ ร่วมกับ กันต์ กันตถาวร และ มิน - พีชญา วัฒนามนตรี[1]
คดีความ
กระทั่งวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ยุรนันท์ได้ถูกจับพร้อมกับ กันต์ และพีชญา ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ[2]
การทำงานด้านการเมือง
ยุรนันท์ เริ่มเล่นการเมืองด้วยการเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยใน พ.ศ. 2548
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 พรรคเพื่อไทย ได้ส่งยุรนันท์ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ได้คะแนนมา 611,669 คะแนน โดยได้พ่ายแพ้ให้กับหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ได้คะแนนไป 934,602 คะแนน
และยุรนันท์เคยได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ) ในปี พ.ศ. 2556[3]
วงการบันเทิง
ในวงการบันเทิงยุรนันท์ได้มีผลงานมากมายทั้งด้านการแสดง พิธีกร และนักร้อง จนเป็นที่รู้จักในชื่อว่า "แซม ยุรนันท์" ยุรนันท์มีผลงานการแสดงครั้งแรก คือ ภาพยนตร์เรื่อง "กำแพงหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2524 โดยรับบทเป็นน้องชายของ จารุณี สุขสวัสดิ์ จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเต็มตัว มีผลงานทั้งภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ถ่ายแบบ และร้องเพลง
ต่อมายุรนันท์ได้เข้ามาเป็นนักแสดงในสังกัดของอัครเศรณี ของ พิศาล อัครเศรณี ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับบทพระเอกภาพยนตร์ครั้งแรก ในเรื่อง นางเสือดาว คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร ซึ่งเป็นนักแสดงร่วมสังกัด โดยพิศาลมีความตั้งใจหมายมั่นปั้นมือให้ทั้งสองเป็นพระนางคู่ขวัญ
หลังจากนั้นชื่อของแซม ยุรนันท์ก็โด่งดังขึ้นมาอย่างรวดเร็วขึ้นมาเป็นพระเอกแถวหน้า ยุรนันท์เป็นที่ชื่นชอบของคนดูในยุคนั้น และเป็นที่ต้องการของเหล่าบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์เป็นอย่างมาก จนเคยออกมาให้สัมภาษณ์ถึงชีวิตในช่วงแสดงภาพยนตร์ที่เคยต้องวิ่งรอกถ่ายทำถึง 3 เรื่องในวันเดียว
ในปี พ.ศ. 2529 หลังจากที่ ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท ออกฉาย ทำให้เกิดกระแสคู่ขวัญระหว่าง ยุรนันท์ กับ นาถยา แดงบุหงา จนทำให้ทั้งสองมีผลงานภาพยนตร์ที่ได้แสดงคู่กันตามมาอีกหลายเรื่อง โดยมักเป็นภาพยนตร์แนวตบจูบชิงรักหักสวาท
แม้จะโด่งดังมีผลงานภาพยนตร์ และผลงานเพลงมากมาย แต่ยุรนันท์ก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการทำงานเป็นอย่างมาก ประกอบกับเป็นช่วงที่ละครโทรทัศน์เฟื่องฟูขึ้นมา จนทำให้มีนักแสดงภาพยนตร์หันมารับงานละครกันหลายคน ในปี พ.ศ. 2531 ยุรนันท์ได้กลับมาแสดงละครอีกครั้ง ในเรื่อง สวรรค์เบี่ยง ทางช่อง 7 คู่กับ มนฤดี ยมาภัย ละครประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้ชื่อของยุรนันท์โด่งดังติดลมบน มีผลงานกับทางช่อง 7 ติดต่อกันหลายเรื่อง จนถือเป็นพระเอกแถวหน้าของช่อง 7 ในช่วงเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งเป็นพิธีกรรายการ 7 สีคอนเสิร์ต ที่มารับช่วงต่อจาก ธงไชย แมคอินไตย์
แซม ยุรนันท์ นับเป็นพระเอกและคนบันเทิงระดับแถวหน้าของวงการบันเทิงไทยที่มากทั้งชื่อเสียงและความสามารถรอบด้าน มีผลงานมากมาย ทั้ง ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ พิธีกร เพลง ทั้งนี้ด้วยชื่อเสียงและความหล่อเหลา ทำให้มียุคที่แซม ยุรนันท์ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ผู้คนมักนำมาเปรียบเปรยถึงความหล่อ อีกทั้งยังถูกยกให้เป็นพระเอกที่หล่อที่สุดคนหนึ่งของวงการ
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีของการเป็นพระเอก ยุรนันท์ได้มีโอกาสแสดงคู่กับนางเอกในวงการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มยุรา ธนบุตร, อาภาพร กรทิพย์, วรรณิศา ศรีวิเชียร, จินตหรา สุขพัฒน์, นาถยา แดงบุหงา, สินจัย เปล่งพานิช, จารุณี สุขสวัสดิ์, มาช่า วัฒนพานิช, เพ็ญ พิสุทธิ์, จริยา แอนโฟเน่, ธิดา ธีรรัตน์, มนฤดี ยมาภัย, ธนาภรณ์ รัตนเสน, ชไมพร จตุรภุช, สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์, แสงระวี อัศวรักษ์, ภัสสร บุณยเกียรติ, ปรียานุช ปานประดับ, ลีลาวดี วัชโรบล, สุธิตา เกตานนท์, ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี, ชฎาพร รัตนากร, แคทรียา อิงลิช, กุลณัฐ กุลปรียาวัฒน์, วรนุช ภิรมย์ภักดี, รามาวดี สิริสุขะ, เมทินี กิ่งโพยม, กุลสตรี ศิริพงศ์ปรีดา และคัทลียา แมคอินทอช เป็นต้น
ผลงานในวงการบันเทิง
ผลงานภาพยนตร์
- กำแพงหัวใจ (2524) *ผลงานเรื่องแรกของ ยุรนันท์
- แก้วกลางดง (2528) คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์
- นางเสือดาว (2528) คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร
- นางฟ้ากับซาตาน (2528) คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร
- ไปรษณีย์สื่อรัก (2529) คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์
- เมียแต่ง (2529) คู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์
- ชมพูแก้มแหม่ม (2529) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- น.ส.กาเหว่า (2529) คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร
- เสี้ยนเสน่หา (2529) คู่กับ คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- สิ้นสวาท (2529) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- โกยมหาสนุก (2529) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท (2529) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- วุ่นที่สุด สะดุดรัก (2530)
- ฟ้าสีทอง (2530) คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช
- ลุ้นอลเวง (2530) คู่กับ เพ็ญ พิสุทธิ์
- เปิดโลกวัยทะเล้น (2530) คู่กับ เพ็ญ พิสุทธิ์
- ตะวันเพลิง (2530)
- ไฟเสน่หา (2530)
- ปีกมาร (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- ชะตาฟ้า (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- ร่านดอกงิ้ว (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- เมียนอกหัวใจ (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- แรงปรารถนา (2530) คู่กับ จริยา แอนโฟเน่
- คาวน้ำผึ้ง (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- ผู้พันเรือพ่วง (2530) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- ไฟหนาว (2530) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- เมียคนใหม่ (2530) คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์
- ภุมรีสีทอง (2531) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- วิวาห์จำแลง (2531) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- เพชรลุยเพลิง (2531) คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร
- ตะลุยโรงหมอ (2531) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- รักมหาเฮง (2531) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- ซอสามสาย (2531) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- ตัณหาเถื่อน (2531) คู่กับ วรรณิศา ศรีวิเชียร
- คนกลางเมือง (2531) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- เศรษฐีเงินผ่อน (2531) คู่กับ นาถยา แดงบุหงา
- พยัคฆ์นางพญา (2531) คู่กับ ธิดา ธีรรัตน์
- หนองบัวแดง (2531) คู่กับ ธิดา ธีรรัตน์
- เก่งจริงนะแม่คุณ (2532) คู่กับ สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์
- หัวใจห้องที่ 5 (2533) คู่กับ ภัสสร บุณยเกียรติ
- แรงฤทธิ์พิษสวาท (2533) คู่กับ ชไมพร จตุรภุช
- รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533) คู่กับ สินจัย เปล่งพานิช
- ปอบผีฟ้า (2534) คู่กับ ธิดา ธีรรัตน์
- ดอกไม้ร่วงที่สันทราย (2535) คู่กับ ธิดา ธีรรัตน์
- ผ่าโลกเพลงลูกทุ่ง (2536) คู่กับ ชุดาภา จันทเขตต์
- ดิฉันไม่ใช่โสเภณี (2536) คู่กับ ธิดา ธีรรัตน์
- เธอของเรา ของเขา หรือของใคร (2536)
ผลงานละครโทรทัศน์
ละครสั้น
- 2535 ปากกาทอง ตอน เลือดก้อนหนึ่ง ช่อง 7
พิธีกรรายการโทรทัศน์
- 7 สีคอนเสิร์ต (2531-2536)
- เที่ยงวันกันเอง
- พยากรณ์ พยาเกม
- นี่สิ ช่อง 9
- รักจั๊กจี้
- ลุ้นข้ามโลก
- ห้าให้ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น 5 มหารวย)
- เกมนานาชาติ
- หลังคาเดียวกัน
ผลงานเพลง
อัลบั้ม: หนึ่งในดวงใจ
หนึ่งในดวงใจ 1
- คีรีบูนบิน
- บาดหัวใจ
- วิญญานในภาพถ่าย
- แจกันรัก
- คำคน
- หนึ่งในร้อย
- รักอย่ารู้คลาย
- คนพิการรัก
- คุณจะงอนมากไปแล้ว
- เจอะคุณเข้าอีกแล้ว
หนึ่งในดวงใจ 2
- คาวหัวใจ
- หักใจไม่ลืม
- นางใจ
- รอ
- เท่านี้ก็ตรม
- ไกลบ้าน
- ครวญ
- ไม่มีวัน
- รักคุณไม่เห็นเป็นไร
- รักคุณเข้าแล้ว
หนึ่งในดวงใจ 3
- ดอกแก้ว
- แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา
- อาลัยรัก
- อย่าเห็นกันดีกว่า
- เพ้อ
- หยาดเพชร
- จะคอยขวัญใจ
- เหมือนคนละฟากฟ้า
- พ่อแง่แม่งอน
- ทำบุญด้วยอะไร
อัลบั้ม: พรายพราว
- หยาดเพชร
- หากรู้สักนิด
- คืนหนึ่ง
- ในโลกแห่งความฝัน
- ชั่วฟ้าดินสลาย
- รักคุณเข้าแล้ว
- เสน่หา
- เก็บรัก
- รักที่อยากลืม
- เคหาสน์แดง
- สวรรค์เบี่ยง
- พายุใจ
อัลบั้ม: ลูกทุ่งซูเปอร์ฮิต
- สามสิบยังแจ๋ว
- รักแม่ม่าย
- ชวนน้องแต่งงาน
- ไก่นาตาฟาง
- คนสวยหน้างอ
- พี่มีเท่านี้
- ร้องไห้กับเดือน
- ขันหมากเศรษฐี
- ลาสาวแม่กลอง
- พายุใจ
- จูบเย้ยจันทร์
อัลบั้ม: ลูกทุ่งซูเปอร์ฮิต 2
- มองทำไม
- ผู้หญิงหน้าเงิน
- น้ำตาไอ้หนุ่ม
- ฝนตกฟ้าร้อง
- ผู้เสียสละ
- หนุ่มนารอนาง
- รักต่างไซส์
- รักเธอเท่าฟ้า
- หิ้วกระเป๋า
- รักกับพี่ดีแน่
อัลบั้ม: Super Boom
- One way ticket
- Sealed with a kiss
- Because
- Killing me softly with her song
- Daddy's home
- Oh..carol
- Pepito
- Feelings
- I wanna be free
- You're got a friend
- Raining in my heart
- The twelfth of never
อัลบั้ม: เพลงทองของพระเอก
- กนกลายโบตั๋น
- สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
- ดวงตาสวรรค์
- สองฝั่งคลอง
- แม่หญิง
- คนบาป
- ชีวิตละคร
- เพียงความทรงจำ
- พฤกษาสวาท
- รอยเท้าที่แยกทาง
- ขอสวรรค์
- คนละคน
- หัวใจไร้สารตะกั่ว
- จับเธอโฆษณา
- จู๊ดเกเร
- เต้นรำหมาป่า
อัลบั้ม: ไม่อยากเป็นดาว
- ไม่อยากเป็นดาว
- ผู้คุ้มภัย
- หัวใจกระดาษ
- น้ำตาลูกผู้ชาย
- เว้นวรรค..รักไว้
- สักคำที่ตรงใจ
- ขอใจเธอคืน
- คนไม่มีหัวใจ
- ทิ้งไว้ในอดีต
- ตามหาความรัก
อัลบั้ม: มนุษย์หมาป่า
- มนุษย์หมาป่า
- แทงข้างหลัง
- ขอสวรรค์
- หัวใจไร้สารตะกั่ว
- รอยเท้าที่แยกทาง
- แม่หญิง
- จู๊ดเกเร
- ปิดหัวใจ
- จับเธอโฆษณา
- คนละคน
อัลบั้ม: คู่ขวัญ ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ สาธิยา ศิลาเกษ
- คู่ขวัญ
- แว่วกริ่งกังสดาล
- หนี้รัก
- เธออยู่ไหนเมื่อไฟดับ
- มะลิเจ้าเอ๋ย
- ระแวงรัก
- รักที่ต้องจำ
- ระฆังรัก
- ข้องจิต
- เพื่อเธอ เพื่อเธอ
- คืนหนึ่ง
- จนจริงไม่จนรัก
อัลบั้ม: อัลบั้มรัก จาก แซม
- รักที่อยากลืม
- สายสวาท
- ลาทีความระทม
- น้ำตาแสงไต้
- คิดถึง
- ดังฟ้าสาป
- พฤกษาสวาท (ร้องคู่ สาธิยา ศิลาเกษ)
- ม่าย
- อย่ารักผมเลย
- ในโลกแห่งความฝัน
- จุมพิตนวลปราง
- นึกถึง
อัลบั้มเพลงประกอบละคร (ชุดพิเศษ)
ขับร้องโดย แซม ยุรนันท์ ของค่าย Poly Gram
- ชีวิตเหมือนฝัน,ช่อง3
- เพื่อเธอ (ชีวิตเหมือนฝัน),ช่อง 3
- สาบนรสิงห์,ช่อง 5
- ผู้มีแต่ให้ (รายการ เที่ยงวันกันเอง),ช่อง 5
- ตามหาความรัก(ก้านกฤษณา),ช่อง 3
- ชีวิตเหมือนฝัน (บรรเลง)
- เพื่อเธอ (บรรเลง)
- สาบนรสิงห์ (บรรเลง)
- ผู้มีแต่ให้ (บรรเลง)
- ตามหาความรัก (บรรเลง)
รางวัลการแสดงละครโทรทัศน์
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร สวรรค์เบี่ยง ปี 2531
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร คนบาป ปี 2535
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร คนละโลก ปี 2536
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร ความรักสีดำ ปี 2538
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร สาบนรสิงห์ ปี 2539
- รางวัลเมขลา ผู้แสดงนำชายดีเด่น จากละคร ไฟริษยา ปี 2541
รางวัลทางสังคม
- รางวัลลูกกตัญญู
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2[6]
ลำดับสาแหรก
พงศาวลีของยุรนันท์ ภมรมนตรี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ "ส่องธุรกิจ 3 บอส 'กันต์ - มีน พิชญา - แซม ยุรนันท์' แห่งอาณาจักร 'ดิไอคอนกรุ๊ป'". กรุงเทพธุรกิจ. 9 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2024.
- ↑ "เปิดนาทีตำรวจรวบ "แซม ยุรนันท์" โดน 2 ข้อหาใหญ่ คดีดิไอคอน". ไทยรัฐ. 16 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2024.
- ↑ คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔๕๓/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยุรนันท์ ภมรมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓๘, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒๔, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒