สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

สถานีรถไฟของประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก สถานีรถไฟหัวลำโพง)

สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) หรือ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นอดีตสถานีกลางของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร

สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง1 ถนนรองเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
พิกัด13°44′20″N 100°31′0″E / 13.73889°N 100.51667°E / 13.73889; 100.51667
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา12 ชานชาลาราง (ตัวสถานี)
8 ชานชาลาราง (โรงรถดีเซลราง)
การเชื่อมต่อ หัวลำโพง
Bus interchange รถโดยสารประจำทาง
เรือข้ามฟาก เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม
แท็กซี่ / มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลาชั้นพิเศษ
ที่จอดรถด้านข้างสถานี
สถาปนิกมารีโอ ตามัญโญและอันนีบาเล ริกอตติ
รูปแบบสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ใหม่
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1001 (กท.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ25 มิถุนายน พ.ศ. 2459; 108 ปีก่อน (2459-06-25)
ผู้โดยสาร
พ.ศ. 254460,000+ คนต่อวัน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายเหนือ
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ยมราช
มุ่งหน้า พิษณุโลก
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ยมราช
มุ่งหน้า สุรินทร์
สายใต้
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ยมราช
สายตะวันออก อุรุพงษ์
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
วัดมังกร
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล
เชื่อมต่อที่ หัวลำโพง
สามย่าน
มุ่งหน้า ท่าพระ
กรุงเทพ (หัวลำโพง)
Bangkok
กิโลเมตรที่ 0
หัวลำโพง
Hua Lamphong
−0.10 กม.1
ยมราช
Yommaraj
+2.17 กม.
อรุพงษ์
Urupong
+2.64 กม.2
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง
1: ^ เกาะกลางถนนพระรามที่ 4
2: ^ สายตะวันออก
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง

ก่อนปี พ.ศ. 2566 สถานีกรุงเทพเคยมีรถไฟกว่า 100 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561) และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันมีเพียงรถไฟขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวนเท่านั้น ที่ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ ส่วนขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ รวมจำนวน 52 ขบวน ได้ย้ายไปเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[1]

ประวัติ

แก้

สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

การเปิดใช้งานสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์

แก้
 
ป้ายรณรงค์คัดค้านการปิดสถานีของสหภาพฯ ที่สถานีนครลำปาง

เมื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2564 และกลายเป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้สถานีกรุงเทพต้องลดสถานะเป็นสถานีรองแทน ซึ่งในอนาคตสถานีกรุงเทพจะเป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มช่วง บางซื่อ-หัวลำโพง และจะพัฒนาพื้นที่เป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟไทยและศูนย์การเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มคนบางส่วนที่คัดค้าน เช่น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เนื่องจากการยกเลิกสถานีกรุงเทพนั้นจะทำให้คนที่ต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองโดยใช้รถไฟทุกวันได้รับความเดือดร้อน สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี ได้ร่วมแถลงการณ์คัดค้านนโยบายการปิดสถานีกรุงเทพ ขอให้มีการจัดมรดกทางวัฒนธรรมของสถานีกรุงเทพให้ชัดเจน เป็นต้น

โดยในช่วงแรกที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้ จะมีเพียงรถไฟทางไกลบางขบวนเท่านั้นที่สามารถขึ้นไปใช้ได้ เช่น ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น JR-West Blue train (บนท.ป.JR) ที่ปรับปรุงใหม่ซึ่งจะพ่วงกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car), ขบวนรถนั่งและนอนปรับอากาศรุ่น CNR ชุด 115 คันซึ่งมีห้องน้ำเป็นระบบปิดและมีรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.Power Car) อยู่ในริ้วขบวน ส่วนรถไฟทางไกลขบวนอื่น ๆ จะยังคงใช้สถานีกรุงเทพต่อไปจนกว่าจะปรับปรุงห้องน้ำในตู้โดยสารเป็นระบบปิดจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะทยอยไปรวมที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ต่อไป

โดยในปี พ.ศ. 2565 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกล 28 ขบวนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์อีกครั้งในวันที่ 1 กันยายน[2] แต่สุดท้ายแผนก็ได้เลื่อนออกไป จนกระทั่งในวันที่ 27 ธันวาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศย้ายจุดเริ่มต้นของรถไฟทางไกลกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวนไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[3] ส่วนขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยวจำนวน 62 ขบวน ยังคงให้บริการที่สถานีรถไฟกรุงเทพตามเดิม[1] ทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของ สถานีรถไฟกรุงเทพ เป็น สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อป้องกันการสับสน

ลักษณะของสถานี

แก้

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้านนอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป

เมื่อก่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. 2459 ในช่วงแรก ๆ บริเวณอาคารมุขหน้าของสถานีจะเขียนว่า "สถานีรถไฟหลวง สายเหนือ" ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นคำว่า "สถานีกรุงเทพ" ในภายหลัง

บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิทัล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอยมีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ

ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีการจัดงาน Clash de Cartier ซึ่งเป็นงานปาร์ตี้พร้อมการจัดแสดงเครื่องเพชรของคาร์เทียร์ ที่สถานีกรุงเทพ[4]

การให้บริการ

แก้

กิจการรถไฟ ข้อมูลเมื่อ 19 มกราคม 2566 (2566 -01-19) มีเส้นทางที่ออกจากสถานีกรุงเทพ จำนวน 4 สาย ได้แก่

เที่ยวขึ้น

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง สถานีกรุงเทพ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช303 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.15 ต้นทาง ลพบุรี 07.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช339 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.05 ต้นทาง ชุมทางแก่งคอย 08.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
น909 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.30 ต้นทาง น้ำตกไทรไยคน้อย 11.30 เฉพาะวันหยุดราชการ
น911 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.30 ต้นทาง สวนสนประดิพัทธ์ 11.33 เฉพาะวันหยุดราชการ
ธ275 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.55 ต้นทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 11.17
ธ283 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 ต้นทาง จุกเสม็ด 11.20
ธ281 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.00 ต้นทาง กบินทร์บุรี 11.35
ธ261 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.20 ต้นทาง สวนสนประดิพัทธ์ 14.00
ธ201 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.30 ต้นทาง พิษณุโลก 17.55
ธ367 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.10 ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา 11.45
ธ209 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.15 ต้นทาง บ้านตาคลี 15.40
ธ233 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.30 ต้นทาง สุรินทร์ 20.00
ช389 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10 ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา 13.30
ธ279 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 13.05 ต้นทาง ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 17.27
ธ211 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.55 ต้นทาง ตะพานหิน 19.15
ธ207 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.10 ต้นทาง นครสวรรค์ 19.35
ธ277 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 15.25 ต้นทาง กบินทร์บุรี 18.20
ช301 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.30 ต้นทาง ลพบุรี 19.40
ช391 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.35 ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา 17.55
ช341 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.00 ต้นทาง ชุมทางแก่งคอย 20.00
ช355 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.40 ต้นทาง สุพรรณบุรี 20.04
ช317 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.30 ต้นทาง ลพบุรี 20.20 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช371 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.40 ต้นทาง ปราจีนบุรี 20.55 บชส.76-มีเดินทุกวัน
ช313 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.20 ต้นทาง ชุมทางบ้านภาชี 20.30 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช383 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.25 ต้นทาง ชุมทางฉะเชิงเทรา 20.05
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง สถานีกรุงเทพ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช314 ชุมทางบ้านภาชี 04.45 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช302 ลพบุรี 04.30 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07.35
ช356 สุพรรณบุรี 04.00 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.05
ช342 ชุมทางแก่งคอย 05.30 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.30
ช318 ลพบุรี 06.00 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ208 นครสวรรค์ 05.00 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ช304 ลพบุรี 08.00 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.30
ช340 ชุมทางแก่งคอย 08.45 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.10 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ212 ตะพานหิน 05.30 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10
ธ202 พิษณุโลก 06.05 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.05
ธ234 สุรินทร์ 05.20 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.25
ธ262 สวนสนประดิพัทธ์ 14.35 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.20
น910 น้ำตกไทรไยคน้อย 14.25 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.25 เฉพาะวันหยุดราชการ
น912 สวนสนประดิพัทธ์ 16.28 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 21.40 เฉพาะวันหยุดราชการ
ธ210 บ้านตาคลี 16.00 ปลายทาง กรุงเทพ (หัวลําโพง) 20.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

การเชื่อมต่อ

แก้

ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพจะมีทางเดินเชื่อมไปยังสถานีหัวลำโพง ในเส้นทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ

แผนผังสถานี

แก้
G
ชานชาลารถไฟทางไกล
ชานชาลา 14
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 13
ชานชาลา 12
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 11
ชานชาลา 10
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 9
ชานชาลา 8
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 7
ชานชาลา 6
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 5
ชานชาลา 4
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 3
ชานชาลา 2
ชานชาลาเกาะกลาง
ชานชาลา 1
G
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางออก
B1-B2
ส่วนของสถานีรถไฟฟ้ามหานคร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางเดินเชื่อมไปยัง   สถานีหัวลำโพง, ชั้นขายบัตรโดยสาร, ชานชาลาสถานี

อุบัติเหตุ

แก้

สมุดภาพ

แก้

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

แก้

การคมนาคม

แก้
รถไฟฟ้ามหานคร
เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม
  • ท่าหัวลำโพง
  • ท่านพวงศ์
  • ท่ายศเส
เรือด่วนเจ้าพระยาและไทย สมายล์ โบ้ท
  • ท่ากรมเจ้าท่า
เรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา
  • ท่าสวัสดี
สะพาน

หน่วยงานราชการ

แก้
  • สำนักประนอมข้อพิพาทแรงงาน
  • สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1
  • สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2

รัฐวิสาหกิจ

แก้

สถานศึกษา

แก้
  • โรงเรียนอนุบาลจิดาภา
  • โรงเรียนกุหลาบวิทยา
  • โรงเรียนไทยคริสเตียนสะพานเหลือง
  • โรงเรียนสีตบุตรบำรุง
  • โรงเรียนประเสริฐธรรมวิทยา
  • โรงเรียนวัดสระบัว
  • โรงเรียนวัดดวงแข
  • โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
  • โรงเรียนวัดปทุมคงคา
  • โรงเรียนมหาวีรานุวัตร

สถานพยาบาล

แก้

สถานพยาบาลสัตว์

แก้
  • โรงพยาบาลสัตว์ศิริเวช

ศาสนสถานและสุสาน

แก้
ศาสนาพุทธ
  • วัดชัยภูมิการาม
  • วัดอุภัยราชบำรุง
ศาสนาอิสลาม
  • มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก
ศาสนาคริสต์
ความเชื่ออื่น ๆ

อนุสรณ์สถาน

แก้

พิพิธภัณฑ์

แก้
  • พิพิธภัณฑ์รถไฟไทย
  • พิพิธตลาดน้อย

สวนสาธารณะ

แก้

สนามกีฬา

แก้

ธุรกิจ

แก้

ตลาดและศูนย์การค้า

แก้

องค์กรไม่แสวงหากำไร

แก้

สถานที่ทางธรรมชาติ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "ดีเดย์ 'ศักดิ์สยาม' นำทีมเดินทางเที่ยวปฐมฤกษ์สถานีกลางฯ-มธ.รังสิต". ไทยโพสต์. 2023-01-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-19.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ดีเดย์ 1 ก.ย.นี้! รถไฟทางไกลให้บริการ @สถานีกลางบางซื่อ 28 ขบวน www.dailynews.co.th สืบค้นเมื่อ 29-05-2565.
  3. "ดีเดย์ 19 ม.ค.66 รถไฟทางไกล 52 ขบวน เปิดหวูด สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "โอดี้ NEWS ข่าวส่งเสริมสังคม – คาร์เทียร์เนรมิตงานปาร์ตี้ Clash de Cartier สุดยิ่งใหญ่แห่งปี เผยความงามที่อยู่เหนือความคาดหมายของเครื่องประดับที่ฉีกทุกกรอบ ทลายทุกกฏ".
  5. "ระทึก! ไฟไหม้หลังคาสถานีรถไฟหัวลำโพง โชคดีไร้เจ็บ คาดไฟฟ้าลัดวงจร(มีคลิป)". mgronline.com. 2016-05-08.
  6. "ผลสอบเหตุระเบิดสถานีรถไฟหัวลำโพงเกิดจากความประมาท". Thai PBS.
  • กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
  • ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ เก็บถาวร 2007-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้