หลวงอาสาสำแดง (แตง)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
หลวงอาสาสำแดง นามเดิม แตง (พ.ศ. 2320 — พ.ศ. 2395) เป็นพระชนกในสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยมในรัชกาลที่ 4) และเป็นขรัวตาในพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 5 ถึง 3 พระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระปัยกาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลวงอาสาสำแดง (แตง สุจริตกุล) | |
---|---|
เกิด | แตง พ.ศ. 2320 อาณาจักรธนบุรี |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2395 ประเทศสยาม |
มีชื่อเสียงจาก | ต้นราชินิกุลสุจริตกุล |
คู่สมรส | ท้าวสุจริตธำรง |
บุตร | • เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี • ท้าววนิดาพิจาริณี • สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา • พระยาราชภักดี • นายรองพันธ์ • ปุก สุจริตกุล • เหมือน สุจริตกุล • สุด สุจริตกุล |
บิดามารดา |
|
ญาติ | เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (ปู่) |
ประวัติ
แก้หลวงอาสาสำแดง มีนามเดิมว่า แตง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2320 เป็นบุตรพระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) ต้นสกุลนรรัตน์ เป็นหลานปู่เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสืบเชื้อสายจากมาแต่พระมหาราชครู พระราชปุโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงส์ องค์ปุริโสดมพรหมญาณวิบุลสิลสุจริต วิวิทธเวทยพรหมพุทธาจารย์ปุโรหิต (พราหมณ์ศิริวัฒนะ) ราชปุโรหิตในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อท่านเติบใหญ่ขึ้น ท่านบิดาได้ฝากตัวให้รับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ท่านรับราชการจนมีความชอบ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สุดท้ายที่หลวงอาสาสำแดง
เมื่อปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลวงอาสาสำแดง (แตง) ได้ลาออกจากราชการ เพื่อเป็นอุปัฏฐากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จทรงผนวช โดยท่านทำหน้าที่ควบคุมเรือพระที่นั่งไม่ว่าเสด็จไปที่ใดก็ตาม ท่านเป็นอุปัฏฐากมาตลอดที่เจ้าฟ้าวชิรญาณภิขุทรงดำรงสมณเพศ
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการเป็นเจ้ากรมเรือต้นซ้าย
ครอบครัว
แก้หลวงอาสาสำแดง (แตง) สมรสกับคุณนาค ธิดาของบิดาเป็นคหบดีเชื้อสายจีนแห่งปากน้ำโพ นครสวรรค์ และได้ตั้งนิวาสสถานบนถนนตีทอง ข้างวัดสุทัศน์เทพวราราม
หลวงอาสาสำแดงมีบุตรธิดากับท้าวสุจริตธำรง (นาค) รวม 9 คนตามลำดับอายุได้แก่
- ธิดาคนโตไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์)
- ธิดาคนรองไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์)
- เจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล) มีบุตรธิดา 16 คน ที่สำคัญคือ หม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ)
- ท้าววนิดาพิจาริณี (เหม สุจริตกุล) (ถึงแก่กรรม 10 สิงหาคม พ.ศ. 2464[1])
- สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ถวายตัวเป็นบาทจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระราชมารดา/พระมารดาของ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
- สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
- สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
- สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- พระยาราชภักดี (โค สุจริตกุล) มีบุตรธิดาคือ
- นายรองพันธ์ (หล่อ สุจริตกุล)
- ปุก สุจริตกุล (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
- เหมือน สุจริตกุล (ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์)
นอกจากนี้ยังมีบุตรธิดากับภรรยาอื่น แต่ที่มีปรากฏนามคือธิดาคนหนึ่งชื่อว่า สุด หรือรู้จักในนาม ขรัวนายสุด ซึ่งท้าวสุจริตธำรง (นาค) ได้รับอุปการะมาแต่เยาว์วัยโดยเลี้ยงคู่มากับเจ้าพระยาสิริรัตนมนตรี (หงส์ สุจริตกุล) ภายหลังคุณสุดได้ติดตามสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสาวเข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อช่วยอภิบาลพระราชโอรส-พระราชธิดาที่ยังทรงพระเยาว์อีกด้วย
ถึงแก่กรรมและพระมหากรุณาธิคุณต่อครอบครัว
แก้หลวงอาสาสำแดง (แตง) ถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อปี พ.ศ. 2395 อันเป็นปีที่ 1 ของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุได้ 75 ปี
ภายหลังจากที่หลวงอาสาสำแดง (แตง) ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระเมตตาต่อครอบครัวของคุณหลวง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณนาคเข้ารับราชการโดยรับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่ ท้าวทองพยศ นายวิเสทกลางสำรับหวาน พร้อมรับพระราชทานเบี้ยหวัด 2 ชั่ง และโปรดเกล้าฯ ให้ควบคุมเลกวัดสุทัศน์เทพวรารามอีกด้วย และทรงอุปถัมภ์บุตรธิดาของคุณหลวงทุกคน
ซึ่งต่อมาเมื่อท้าวทองพยศ (นาค) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น ท้าวสุจริตธำรง มีบรรดาศักดิ์เสมอด้วยท้าวสนองพระโอษฐ์ ถือศักดินา 1000 และโปรดฯ พระราชทานหีบหมากทองคำใหญ่ จำหลักเชิงชายเครื่องในพร้อมสำรับ 1, กาทองคำจำหลักเชิงชาย 1,หีบหมากทองคำเล็กจำหลักสรรพางค์ 1, โต๊ะเงินคู่ 1 แลพระราชทานโกศรองศพเพิ่มขึ้นเป็นเกียรติยศ ในฐานะพระประยูรญาติชั้นผู้ใหญ่ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี พระนางเจ้าพระวรราชเทวี และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร (พระยศขณะนั้น)
และหลวงอาสาสำแดง (แตง) ถือเป็นบรรพบุรุษของราชินีกุลสุจริตกุล
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของหลวงอาสาสำแดง (แตง) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. ISBN 974-9687-35-3
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับสมบูรณ์ (ภาคจบ). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครหลวงฯ:รุ่งวัฒนา. 2515, หน้า 305
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับสมบูรณ์ (ภาคจบ). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครหลวงฯ:รุ่งวัฒนา. 2515, หน้า 306
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 211
- สกุลไทย - 'ชื่อสกุล ที่มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน'
- ราชกิจจานุเบกษา, หมายตั้งท้าวสุจริตธำรง, เล่ม ๘, ตอน ๔๗, ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๔, หน้า ๔๒๘