อำเภอยะรัง

อำเภอในจังหวัดปัตตานี ประเทศไทย

ยะรัง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี

อำเภอยะรัง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Yarang
ภายในเขตเทศบาลตำบลยะรังในอำเภอยะรัง
ภายในเขตเทศบาลตำบลยะรังในอำเภอยะรัง
คำขวัญ: 
ยะรังเมืองเก่า นกเขาเสียงดี ขึ้นชื่อลูกหยี ทุเรียนดีหมอนทอง ลองกองหวานอร่อย
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอยะรัง
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอยะรัง
พิกัด: 6°45′37″N 101°17′36″E / 6.76028°N 101.29333°E / 6.76028; 101.29333
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด184.0 ตร.กม. (71.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด96,506 คน
 • ความหนาแน่น524.48 คน/ตร.กม. (1,358.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94160
รหัสภูมิศาสตร์9410
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอยะรัง ถนนสิโรรส ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอยะรังตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

ยะรัง เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า "ลังกาสุกะ" หรือ "ลังยาเสียว" ตามที่มีหลักฐานปรากฏในเอกสารของจีน ชวา มลายูและอาหรับ ลักษณะของเมืองโบราณยะรังสันนิษฐานว่ามีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร ผลจากการศึกษาทางโบราณคดี ที่พบหลักฐานยุคสมัยเดียวกันที่เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี แหล่งโบราณคดีบริเวณบ้านท่าสาป -เขากำปั่น อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา และเมืองโบราณบูจังค์ วัลเลย์ (Bujang Valley) ที่รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อาจมีเส้นทางข้ามคาบสมุทรทางบก (Transpeninsular route) ที่ใช้ติดต่อเดินทางระหว่างเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตก (มหาสมุทรอินเดีย) และชายฝั่งทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้) มาอย่างน้อยตั้งแต่เมื่อราว 1,000 กว่าปีมาแล้ว เมืองโบราณจาเละเป็นเมืองที่มีความเจริญในช่วงปี พ.ศ  700 -1400 ซึ่งมีทิศเหนือ ติดต่อเมืองสงขลา และพัทลุง ทิศใต้ แผ่ไปจนถึงแหลมมลายู ทิศตะวันตกและทิศตะวันออก จรดชายฝั่งทะเลมีซากโบราณและโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยและทวารวดี เมืองโบราณยะรังเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างมาก อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักร ‘ลังกาสุกะ’ ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งบนคาบสมุทรมลายู มีหลักฐานอยู่ในเอกสารจีน อาหรับ ชวา และมลายู ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และสันนิษฐานว่าน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณจังหวัดปัตตานีในปัจจุบันและอาจมีอิทธิพลคลุมไปถึงรัฐมาเลเซียด้วย อีกทั้งจะต้องเป็นเมืองท่าที่สำคัญตั้งอยู่ใกล้ทะเล และเป็นดินแดนที่มั่งคง มีบทบาททางการเมือง ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับดินแดนใกล้เคียงอยู่เสมอและได้ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12

อำเภอยะรัง คำว่า "ยะรัง" สันนิษฐานว่าเป็นคำแผลงมาจากคำว่า "บราแว" ในภาษามลายูท้องถิ่น ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า "พะวัง" หรือ "พระราช วัง" สาเหตุที่ได้เรียกพื้นที่แถบนี้ว่า "บราแว" หรือ "พระราชวัง" นั้น เนื่องมาจากว่ามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อ "โกตามาหาลิไฆ" ปัจจุบันยังมีซากกำแพงดิน คูเมือง สระ (บ่อโบราณ) และซากปรักหักพังของโบราณสถานหลายแห่งในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านปราแว ตำบลยะรัง จากคำว่า "ปราแว" ซึ่งแปลว่า "พระราชวัง" หรือ "พระวัง" หลายร้อยปี ต่อมาก็กลายเป็น "ยะรัง" เมื่อตั้งชื่ออำเภอก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของอำเภอ

  • วันที่ 1 สิงหาคม 2452 สร้างศาลาขึ้นที่เขาตูม ท้องที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[1]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลคลองใหม่ แยกออกจากตำบลกระโด และตำบลปิตูมุดี ตั้งตำบลเมาะมาวี แยกออกจากตำบลกระโด และตำบลกอลำ ตั้งตำบลวัด แยกออกจากตำบลระแว้ง[2]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลยะรัง ในท้องที่บางส่วนของตำบลยะรัง และบางส่วนของตำบลปิตูมุดี[3]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลยะรัง เป็นเทศบาลตำบลยะรัง[4] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
พื้นที่ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง

การปกครองท้องที่

แก้

อำเภอยะรังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 72 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ยะรัง (Yarang) 6 หมู่บ้าน 7. วัด (Wat) 5 หมู่บ้าน
2. สะดาวา (Sadawa) 8 หมู่บ้าน 8. กระโด (Krado) 5 หมู่บ้าน
3. ประจัน (Prachan) 9 หมู่บ้าน 9. คลองใหม่ (Khlong Mai) 6 หมู่บ้าน
4. สะนอ (Sano) 4 หมู่บ้าน 10. เมาะมาวี (Mo Mawi) 6 หมู่บ้าน
5. ระแว้ง (Rawaeng) 6 หมู่บ้าน 11. กอลำ (Kolam) 5 หมู่บ้าน
6. ปิตูมุดี (Pitu Mudi) 5 หมู่บ้าน 12. เขาตูม (Khao Tum) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอยะรังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลยะรัง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยะรังและตำบลปิตูมุดี
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยะรัง (นอกเขตเทศบาลตำบลยะรัง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะดาวาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประจันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะนอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะนอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลระแว้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระแว้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปิตูมุดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปิตูมุดี (นอกเขตเทศบาลตำบลยะรัง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระโด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระโดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมาะมาวีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกอลำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกอลำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาตูมทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างศาลาขึ้นที่เขาตูม ท้องที่อำเภอยะรังเมืองปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 946–947. August 1, 1909.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 41-42. November 28, 1956.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-22.