อ่าวไทย
อ่าวไทย (เดิมชื่อ อ่าวสยาม) เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม
อ่าวไทย | |
---|---|
| |
อ่าวไทย | |
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 09°30′N 102°00′E / 9.500°N 102.000°E |
ชนิด | อ่าว |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | ทะเลจีนใต้ |
เปิดสู่มหาสมุทร/ทะเล | มหาสมุทรแปซิฟิก |
ประเทศในลุ่มน้ำ | |
พื้นที่พื้นน้ำ | 320,000 km2 (120,000 sq mi) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 58 m (190 ft) |
ความลึกสูงสุด | 85 m (279 ft) |
อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำมันและแก๊สแต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทย
ประวัติศาสตร์
แก้อ่าวไทยได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในแผนที่โลกของทอเลมีในชื่อ แมกนัสไซนัส (Magnus Sinus) หรืออ่าวที่กว้างไกลในภาษากรีก ซึ่งทะเลมีได้รวบรวมคำบรรยายจากพ่อค้าวาณิชที่เดินเรือไปอาณาจักรฟูนาน ซึ่งทำให้ทอเลมีอธิบายว่า หากเดินเรือจากอ่าวคงคา ผ่านแหลมทองคำ (Golden Chersonese) ขึ้นไปทางเหนือจะเจอปากอ่าวที่มีขนาดใหญ่มาก มีชายฝั่งคดเคี้ยวและมีแม่น้ำหลายสายไหลลงมาที่อ่าวนึ้[1] ซึ่งแม่น้ำหลายสายที่ว่าอาจหมายถึง แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง โดยหากเดินเรือผ่านพื้นที่จังหวัดตราดลงไปอีกก็จะเจอเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรฟูนาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่แหล่งโบราณคดีโอเคีย ตำบลเตินเชิว จังหวัดอานซาง ประเทศเวียดนาม
ในจดหมายเหตุจีนสมัยโบราณยุคอาณาจักรพัน - พันหรือสุวรรณภูมิ อ่าวไทยมีชื่อว่า อ่าวจินหลิน[2] (Chin Lin) หมายถึงดินแดนทอง และทอเลมีเรียกชื่อบริเวณปากอ่าวไทยว่าไคร้เส (Chrysê)[3]
พื้นที่
แก้อ่าวไทยมีพื้นที่ 300,858.76 ตารางกิโลเมตร[4] เขตแดนของอ่าวไทยกำหนดด้วยเส้นที่ลากจากแหลมกาเมา ทางตอนใต้ของเวียดนาม ไปยังเมืองโกตาบารูในชายฝั่งมาเลเซีย ซึ่งอยู่ห่างกัน 381 กิโลเมตร โดยจุดเหนือสุดของอ่าวไทย ตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา นิยมเรียกกันว่า "อ่าวประวัติศาสตร์รูปตัว ก" ซึ่งต่างชาติเรียก "อ่าวกรุงเทพฯ"
ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทอดยาว 1,840 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 58 เมตร (190 ฟุต)[5] จุดที่ลึกที่สุด 85 เมตร (279 ฟุต)[5] จึงทำให้การแลกเปลี่ยนระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มเป็นไปอย่างเชื่องช้า น้ำจืดจำนวนมากที่ไหลมาจากแม่น้ำต่าง ๆ ทำให้น้ำทะเลในอ่าวไทยมีระดับความเค็มต่ำประมาณร้อยละ 3.05-3.25 และมีตะกอนสูง แต่บริเวณที่ลึกกว่า 50 เมตร มีความเค็มสูงกว่านี้ประมาณร้อยละ 3.4% ซึ่งเกิดจากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาจากทะเลจีนใต้
อาณาเขตของอ่าวไทย
แก้ความสำคัญ
แก้อาณาเขตของอ่าวไทยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักเรื่องดินแดนตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่ง หยุด แสงอุทัย ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า[6]
"ประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้หลักดินแดน...'หลักดินแดน' หมายความว่า กฎหมายของรัฐใด ย่อมใช้บังคับแก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นภายในเขตของรัฐนั้น ทั้งนี้...เพราะรัฐทุกรัฐมีอธิปไตยเหนืออาณาเขตของตน"
ตามกฎหมายไทยแล้ว มีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคหนึ่ง ว่า "ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย" และ ววรรคสองว่า "การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร" ดังนั้น "ราชอาณาจักรไทย" ตามประมวลกฎหมายอาญาจึงหมายความถึง[6]
- พื้นดินและพื้นน้ำในอาณาเขตประเทศไทย
- ทะเลห่างจากดินแดนที่เป็นประเทศไทยไม่เกินสิบสองไมล์ทะเล
- ทะเลอันเป็นอ่าวไทย ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502[7]
- พื้นอากาศเหนือ 1. 2. และ 3.
- อากาศยานไทย และเรือไทย
ทะเลอันเป็นอ่าวไทย
แก้พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502[7] เป็นพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเมื่อ 23 กันยายน พ.ศ. 2502 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 76 ตอนที่ 92 หน้าที่ 430 วันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้ เนื่องจากเขตจังหวัดต่าง ๆ ทางทะเลในอ่าวไทยตอนในยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติบางประการจึงควรจะได้กำหนดเสียให้เป็นที่ชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ในการปกครองและความสะดวกของประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
โดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดเขตอ่าวไทยไว้ดังต่อไปนี้ (ดูแผนที่ด้านขวาประกอบ)
จังหวัดเพชรบุรี
แก้จากจุดอักษร ก. ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; แล้วขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (3), ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จังหวัดสมุทรสงคราม
แก้จากจุดอักษร ข. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับจังหวัดสมุทรสงครามไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวัออก
จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จังหวัดสมุทรสาคร
แก้จากจุดอักษร ค. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสงครามกับจังหวัดสมุทรสาครไปถึงจุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (2) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-10 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จังหวัดธนบุรี
แก้จากจุดอักษร ง. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดธนบุรีไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
สำหรับพื้นที่จังหวัดธนบุรีในแผนที่นั้น ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรปราการ
แก้จากจุดอักษร จ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดสมุทรปราการ ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจุด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จังหวัดฉะเชิงเทรา
แก้จากจุดอักษร ฉ. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทราไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จังหวัดชลบุรี
แก้จากจุดอักษร ช. บนเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดฉะเชิงเทรากับจังหวัดชลบุรีไปถึงจุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดอักษร ซ. แหลมบ้านช่องแสมสาน ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-57 ลิปดา-45 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปถึงจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข (1) ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา-45 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นลองจิจูดไปถึงจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก
จากจุดหมายเลข (3) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก; ขนานกับเส้นละติจูดไปบรรจบกันที่จุดหมายเลข (4) ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 พิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-45 ลิปดา-00 พิลิปดาตะวันออก
สายน้ำในอ่าวไทย
แก้แม่น้ำสายหลักที่น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนที่แยกสาขาออกมา แม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่อ่าวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตาปีที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
น้ำอุ่นในอ่าวไทยทำให้เกิดแนวปะการังที่สวยงาม โดยสถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะสมุย และเกาะเต่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทรัพยากรธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย คือ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ
ฤดูปิดอ่าว
แก้ทุกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ของทุกปี อันเป็นช่วงที่สัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยเฉพาะปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ วางไข่ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนและเจริญเติบโต เป็นฤดูปิดอ่าว กรมประมงจะประกาศควบคุมการทำประมงตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร[8]
การประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวนี้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ถ้าชาวประมงรายใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ[9]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ The Encyclopædia of Geography: Comprising a Complete Description of the Earth, Physical, Statistical, Civil, and Political, Volume 1
- ↑ ขจร สุขพานิช. "สุวรรณภูมิและทวารวดีอยู่ที่ไหน", นิตยสารศิลปากร, 1(2), (กรกฎาคม 2500): 66. อ้างใน จดหมายเหตุจีน.
- ต้วน ลี เซิง. (2537). พลิกต้นตระกูลไทยประวัติศาสตร์ไทยในทัศนะของชาวจีน. กรุงเทพฯ: พิราบ. 253 หน้า. หน้า 6. ISBN 978-974-7-43009-7
- ครองชัย หัตถา. (2551). ประวัติศาสตร์ปัตตานี: สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 229 หน้า. หน้า 1. ISBN 978-974-0-32060-9
- มนัส โอภากุล. (2547). ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน. 358 หน้า. หน้า 256. ISBN 978-974-3-23303-6
- ↑ วารสารศิลปากร, 40(4)(กรกฎาคม-สิงหาคม 2540). "ในบันทึกจดหมายเหตุจีนก็กล่าวว่า บริเวณปากอ่าวไทยที่ปโตเลมีเรียก ไคร้เส (Chrysê) คือ อ่าวจินหลิน (Chin Lin) ซึ่งก็แปลว่า “ดินแดนทอง” ตรงกัน และคําว่า “สุพรรณบุรี” ก็เป็นการถ่ายคํามาจาก “สุพรรณภูมิ” หรือ “สุวรรณภูมิ” โดยตรงนั่นเอง"
- ↑ ข้อมูลอุทกศาสตร์น่านน้ำไทย, 2550 : ออนไลน์.
- ↑ 5.0 5.1 Khongchai, Narongsak; Vibunpant, Somchai; Eiamsa-ard, Monton; Supongpan, Mala. "Preliminary Analysis of Demersal Fish Assemblages in Coastal Waters of the Gulf of Thailand" (PDF). Worldfish. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 19 Feb 2015., หน้า 250
- ↑ 6.0 6.1 หยุด แสงอุทัย, 2551 : 18.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502
- ↑ "ปิดอ่าวไทย 3 เดือน อนุรักษ์ปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ", 2549 : ออนไลน์.
- ↑ "กรมประมงสั่งปิดฝั่ง 'อ่าวไทย' 3 เดือน ห้ามจับสัตว์น้ำฤดูวางไข่-ตั้งแต่ประจวบฯถึงสุราษฏร์", 2 แนวหน้า, 2551 : ออนไลน์.
อ้างอิง
แก้- "กรมประมงสั่งปิดฝั่ง 'อ่าวไทย' 3 เดือน ห้ามจับสัตว์น้ำฤดูวางไข่-ตั้งแต่ประจวบฯ ถึงสุราษฏร์". (2551, 13 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- "ข้อมูลอุทกศาสตร์น่านน้ำไทย." (2550). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- "ปิดอ่าวไทย 3 เดือน อนุรักษ์ปลาทูและสัตว์น้ำอื่น ๆ". (2549, 10 กุมภาพันธ์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- (2549, 6 กรกฎาคม). พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1 เก็บถาวร 2004-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- (2551, 11 กุมภาพันธ์). ประมวลกฎหมายอาญา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1 เก็บถาวร 2004-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- หยุด แสงอุทัย. (2551). กฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 20, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789749000413.
- Hugh Murray, William Wallace, Robert Jameson, Sir William Jackson Hooker, William Swainson. (1843) "The Encyclopædia of Geography: Comprising a Complete Description of the Earth, Physical, Statistical, Civil, and Political, Volume 1 " บรรทัดที่5 ถึง 15 หน้า57 E-book link by Google