เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น

เครื่องหมายวรรคตอน
วรรคตอน
อะพอสทรอฟี   '
วงเล็บ [ ]  ( )  { }  ⟨ ⟩
ทวิภาค :
จุลภาค ,  ،  
จุดไข่ปลา   ...  . . .      
อัศเจรีย์  !
มหัพภาค .
กิลเลอเมต ‹ ›  « »
ยัติภังค์ -
ยัติภาค   
ปรัศนี  ?
อัญประกาศ ‘ ’  “ ”  ' '  " "
อัฒภาค ;
ทับ /    
ตัวแบ่งคำ
อินเตอร์พังก์ ·
เว้นวรรค     
การพิมพ์ทั่วไป
แอมเพอร์แซนด์ &
ดอกจัน *
แอต @
แบ็กสแลช \
เบสิสพอยต์
บุลเลต
แคเรต ^
แดกเกอร์ † ‡ ⹋
องศา °
บุพสัญญา ” 〃
ดับเบิลไฮเฟน = ⸗
อัศเจรีย์กลับหัว ¡
ปรัศนีกลับหัว ¿
เครื่องหมายอ้างอิง
เครื่องหมายคูณ ×
นัมเบอร์, แฮชแท็ก #
นูเมอโร
ออเบอลุส ÷
ตัวบอกลำดับ º ª
สัญลักษณ์ร้อยละ (เปอร์เซ็นต์)  %
สัญลักษณ์พันละ (เปอร์มิลล์)
พิลโครว์
บวกและลบ + −
บวกหรือลบ ± ∓
ไพรม์     
เซกชัน §
ทิลเดอ, ตัวหนอน ~
อันเดอร์สกอร์ _
เส้นตั้ง |    ¦
ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์ ©
กอปปีเลฟต์ 🄯
ลิขสิทธิ์การอัดเสียง
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ®
เซอร์วิสมาร์ก
เครื่องหมายการค้า
สกุลเงิน
เครื่องหมายสัญลักษณ์สกุลเงิน ¤

؋฿¢$֏ƒ£元 圆 圓 ¥

การพิมพ์เฉพาะทาง
แอสเทอริซึม
ฟลอวรอน
ดัชนี
อินเทอร์รอแบง
วรรคตอนไอเรอนี
ลอซินจ์
ไท
ที่เกี่ยวข้อง
ในภาษาอื่น ๆ
ในภาษาไทย
โคมูตร
ตีนครุ
ไปยาลน้อย
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ฟองมัน
ไม้ยมก
อังคั่น , ฯะ, , ๚ะ

ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้นจะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน

เครื่องหมายวรรคตอนภาษาไทย

แก้

ในเอกสารโบราณของไทยมีเครื่องหมายวรรคตอนของไทยอยู่หลายตัว และบางตัวนิยมใช้มาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์การใช้งาน ดังนี้

  1. เครื่องหมายกำกับเสียง ได้แก่
    1. ไม้ยมก: ใช้เพื่อซ้ำเสียงเดิม
    2. ทัณฑฆาต: ใช้เพื่อฆ่าเสียง หรือเพื่อไม่ออกเสียงพยัญชนะที่กำกับไว้
    3. ยามักการ: ใช้เพื่อควบกล้ำเสียงพยัญชนะ
  2. เครื่องหมายกำกับวรรคตอน ได้แก่
    1. ไปยาลน้อย: ใช้ย่อคำ
    2. ไปยาลใหญ่: ใช้ละข้อความ
    3. ฟองมัน: ใช้ขึ้นต้นข้อความ
    4. อังคั่นเดี่ยว (ขั้นเดี่ยว): ใช้เขียนเมื่อจบประโยค หรือเป็นเครื่องหมายบอกวันเดือนทางจันทรคติ
    5. อังคั่นคู่ (ขั้นคู่): ใช้เขียนเมื่อจบข้อความใหญ่ หรือจบตอน
    6. อังคั่นวิสรรชนีย์: ใช้เขียนเมื่อจบเรื่อง
    7. โคมูตร: ใช้เมื่อสิ้นสุดข้อความ หรือบทกลอน
    8. มหัพภาค: ใช้ย่อคำ
    9. เสมอภาค: ใช้สำหรับตัวเลขที่เท่ากัน

หรือแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์ที่มา

    1. เครื่องหมายวรรคตอนที่เป็นของไทยแต่เดิม ได้แก่ ตาไก่ โคมูตร เป็นต้น
    2. เครื่องหมายวรรคตอนที่รับอิทธิพลการเขียนจากต่างประเทศ เช่น จุลภาค มหัพภาค เป็นต้น