เจ้าแก้วนวรัฐ
นายพลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (29 กันยายน พ.ศ. 2405 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร[1] องค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ และเป็นต้นราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ที่สืบสายตรงจากเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
---|---|
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ | |
ครองราชย์ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 |
ราชาภิเษก | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 |
รัชกาล | 29 ปี 131 วัน |
ก่อนหน้า | เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
ประสูติ | 29 กันยายน พ.ศ. 2405 |
พิราลัย | 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 (76 ปี) |
ชายา | แม่เจ้าจามรีวงศ์ แม่เจ้าไผ่ หม่อมบัวเขียว หม่อมแส |
พระบุตร | 6 พระองค์ |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
พระบิดา | พระเจ้าอินทวิชยานนท์ |
พระมารดา | แม่เจ้าเขียว |
ลายพระอภิไธย |
พระประวัติ
แก้เจ้าแก้วนวรัฐ มีนามเดิมว่าเจ้าแก้ว ประสูติที่คุ้มหลวงนครเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2405 เป็นโอรสในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ประสูติแต่หม่อมเขียว เจ้าแก้วนวรัฐมีเจ้าพี่น้อง 10 องค์ ตามลำดับดังนี้
- เจ้าน้อยโตน
- เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ)
- เจ้านางคำต่าย
- เจ้าแก้วปราบเมือง
- เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
- เจ้าแก้วนวรัฐ
- เจ้าจอมจันทร์
- เจ้านางคำห้าง
- เจ้านางจันทรโสภา
- เจ้าดารารัศมี พระราชชายา
โดยเจ้าจอมจันทร์เป็นเจ้าน้องร่วมหม่อมมารดาเพียงองค์เดียว[2]
เจ้าแก้วได้เลื่อนอิสริยยศและตำแหน่งตามลำดับดังนี้
- 17 เมษายน พ.ศ. 2434 เจ้าราชภาคิไนย[3]
- 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทานเป็นเจ้าสุริยวงษ์[4]
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 โปรดให้ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทานให้เป็นเจ้าราชวงษ์เมืองนครเชียงใหม่[5]
- พ.ศ. 2443 มหาดไทยเมืองเชียงใหม่[6]
- 6 มีนาคม พ.ศ. 2447 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่[7]
เมื่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงทราบความที่ เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ถวายบังคมลาไปประทับที่นครเชียงใหม่ก่อนแล้ว จึงมีพระราชดำรัสกับเจ้าดารารัศมีให้เลือกผู้แทนเจ้าอินทวโรรส ที่ว่า
ในการเลือกเจ้านครเชียงใหม่แทนเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ตามกฎต้องให้ทายาทผู้สืบตระกูลรับตำแหน่งนี้ ซึ่งควรจะต้องได้แก่เจ้าราชบุตร (เลาแก้ว) ทายาทแต่ผู้เดียว แต่ในตำแหน่งนี้จะต้องเป็นพระอภิบาลเจ้าดารารัศมี พระราชยายาในรัชกาลที่ 5 ด้วย ในขณะนี้เจ้าราชบุตรยังอายุน้อยอยู่ ฉะนั้นพระราชชายาเจ้าดารารัศมีจึงขอเลือกเจ้าอุปราชแก้ว รับหน้าที่นี้ก่อน...
— วชิราวุธ ป.ร.
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนอิสริยยศ เจ้าอุปราช (เจ้าแก้ว) เจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่ [8] ขึ้นเป็น "เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่" และได้รับการเฉลิมพระนามตามตำแหน่งว่า ... " เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธ์อินทนันทพงษ์ ดำรงนพิสีนครเขตร ทศลักษณเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษ์ปัจฉิมานุทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงษาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ " ... [9]
ถึง พ.ศ. 2462 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์พิเศษ[10] และนายทหารพิเศษประจำกองทัพบกไทย
บั้นปลายชีวิต
แก้เจ้าแก้วนวรัฐ เริ่มประชวรตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2481 แต่ก็ยังเสด็จไปยังกรุงเทพมหานครเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนคร ต่อมาปรากฏว่าพระอาการพระวักกะและพระยกนะอักเสบที่ประชวรอยู่ยังไม่ทันจะหายดี ก็พบพระอาการพระปับผาสะบวมขึ้นอีก จนพิราลัย เมื่อเวลา 21.40 น. ของวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 28 ปี สิริชันษา 76 ปี
ข่าวการพิราลัยแพร่ออกไป บรรดาบุคคลสำคัญก็ได้มีโทรเลขและจดหมายถวายความอาลัยมาเป็นจำนวนมาก เช่น คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ส่งมาถวายเจ้าราชบุตร ดังความว่า
เจ้าราชบุตร
เชียงใหม่
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทราบข่าวด้วยความเศร้าสลดใจว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้ถึงแก่พิราลัยเสียแล้ว จึงขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังบรรดาบุตรและธิดาโดยทั่วกัน..
— อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.พิชเยนทร์โยธิน
เรียน พ.ท.เจ้าราชบุตร
เชียงใหม่
ผมได้รับโทรเลขของเจ้า แจ้งว่า พล.ต.เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้ถึงแก่พิราลัยแล้ว ในนามของรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในนามของผมเอง ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งมายังเจ้าและญาติทั้งหลายด้วย..
— พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
ในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ มีนาวาอากาศเอกถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้แทนของรัฐบาลและได้มาเป็นประธานในงานพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ โดยรถไฟกระบวนพิเศษ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมพระราชพิธี มีพระยาราชโกษา เป็นหัวหน้านำโกศ ฉัตร แตร และกลองชนะ พระราชทานเป็นพระเกียรติยศ แต่พระราชทานลองมณฑปมีเฟืองประกอบโกศเป็นเกียรติยศพิเศษ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการประโคม
สำหรับการพระราชกุศล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสดับปกรณ์และพระสวดพระอภิธรรมกำหนด 7 วัน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบครึ่งยศไว้ทุกข์ถวาย และทางราชการได้สั่งให้ข้าราชการฝ่ายเหนือ ไว้ทุกข์ถวาย มีกำหนด 7 วัน
รายนามชายา โอรส และธิดา
แก้ภรรยา
แก้เจ้าแก้วนวรัฐ มีชายา 4 องค์ คือ
ภรรยาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ | ||||
ภาพ | นาม | ชาติตระกูล | โอรสธิดา | |
---|---|---|---|---|
1. แม่เจ้าจามรีวงศ์ | พระธิดาของเจ้าราชภาคินัย (แผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่) กับเจ้าเรือนคำ สิโรรส | · เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) · เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ · เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) | ||
2. แม่เจ้าไผ่ ณ เชียงใหม่ (เจ้าหญิงไผ่) |
ไม่ปรากฏ | ไม่มี | ||
3. หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ | ไม่ปรากฏ | · เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ · เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ · เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ | ||
4. หม่อมแส ณ เชียงใหม่ | ไม่ปรากฏ | ไม่มี |
โอรสธิดา
แก้เจ้าแก้วนวรัฐมีโอรสและธิดารวม 6 องค์ อยู่ในสกุล ณ เชียงใหม่ มีนามตามลำดับ ดังนี้
โอรสและธิดา | ||||||
ภาพ | ชื่อ | เจ้ามารดา | เกิด | เสียชีวิต | สถานภาพ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) | เจ้าจามรีวงศ์ | พ.ศ. 2423 | 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 (33 ปี) | สมรสกับ เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ ไม่มีโอรส-ธิดา | ||
2. เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ | เจ้าจามรีวงศ์ | ไม่ปรากฏ | ไม่ปรากฏ |
| ||
3. เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) | เจ้าจามรีวงศ์ | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (86 ปี) |
| ||
4. เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ | หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ | 13 มีนาคม พ.ศ. 2447 | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 (85 ปี) |
| ||
5. เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ | หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2444 | 25 มกราคม พ.ศ. 2482 (37 ปี) | สมรสกับเจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีโอรส-ธิดา 3 องค์ | ||
6. เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ | หม่อมบัวเขียว ณ เชียงใหม่ | พ.ศ. 2453 | พ.ศ. 2534 (81 ปี) | สมรสกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง มีโอรส-ธิดา 5 องค์ |
พระกรณียกิจสำคัญ
แก้เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร | |
---|---|
พระเจ้ากาวิละ | |
พระยาธรรมลังกา | |
พระยาคำฟั่น | |
พระยาพุทธวงศ์ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ เริ่มเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2420 ขณะมีพระชันษาได้ 15 ปี ในสมัยที่พระบิดาของท่าน คือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ซึ่งมีสิทธิ์ในการปกครองอย่างเจ้าประเทศราชที่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นเครื่องราชบรรณาการทุก 3 ปี
ผลงานที่สำคัญ ได้แก่
การปกครอง
แก้- พ.ศ. 2420 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้คุมราษฎรจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ประมาณ 300 ครัวเรือน ขึ้นไปตั้งภูมิลำเนาที่เมืองเชียงแสนซึ่งเป็นเมืองร้าง[11]
- พ.ศ. 2429 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์ควบคุมเครื่องราชบรรณาการและต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไปทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2433 ปราบกบฏพญาผาบ[11] นายแคว้นสันทรายที่ก่อกบฏขึ้น โดยรวบรวมชาวบ้านติดอาวุธโดยว่าจะเข้ามาฆ่านายอากรชาวจีนและข้าราชการชาวไทย อันเนื่องมาจากไม่พอใจที่ราษฏรถูกขูดรีดเรื่องภาษีจนถึงขั้นทำร้ายราษฏร
- พ.ศ. 2445 ทรงนำกำลังจับกุมผู้ร้ายปล้นที่ว่าการอำเภอหางดง และระงับเหตุเงี้ยวเมืองฝางก่อจลาจล
- พ.ศ. 2453 รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เดินทางไปร่วมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2469 เจ้าแก้วนวรัฐ ทรงนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ครั้งเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ
การพลังงาน
แก้- พ.ศ. 2464 ดำริให้มีการขุดบ่อกักเก็บน้ำมันที่อำเภอฝาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการถือกำเนิดบ่อน้ำมันฝาง[12]
การสาธารณสุข
แก้- พ.ศ. 2472 บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ให้เป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น[13]
การคมนาคม
แก้- พ.ศ. 2476 เป็นนายกองสร้างถนนหลายสาย เพื่อเชื่อมการคมนาคมอำเภอรอบนอกกับในเมือง ถนนสายสำคัญที่ท่านมีส่วนร่วม ได้แก่ ถนนสายสันทราย-ดอยสะเก็ด ปัจจุบันเรียก ถนนแก้วนวรัฐ ถนนสายขึ้นดอยสุเทพร่วมกับครูบาศรีวิชัย ซึ่งท่านเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และเป็นผู้ขุดเป็นปฐมฤกษ์[11] เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477
- พ.ศ. 2464 ทรงสร้างสะพานนวรัฐ ขึ้นเป็นสะพานไม้เพื่อเชื่อมสองฝั่งแม่น้ำปิง
การศาสนา
แก้เจ้าแก้วนวรัฐ มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ท่านได้สนับสนุนให้เจ้าน้อยศุขเกษมไปบวชในพระพุทธศาสนา และได้ทะนุบำรุงศาสนาอีกจำนวนมาก เช่น
- สร้างธรรมหาเวสสันดรและชาดกต่างๆ ถวายไว้ที่วัดหัวข่วง และนิมนต์ไปแสดงพระธรรมเทศนาที่คุ้มหลวงทุกวันพระ
- พ.ศ. 2440 โปรดให้สร้างพระพุทธรูปถวายวัดเชียงยืน
- โปรดให้บูรณะวัดโลกเหนือเวียง (วัดโลกโมฬี ในปัจจุบัน)
- โปรดให้สร้างพระวิหารวัดเชตุพน
การได้รับพระราชทานนามสกุล
แก้เจ้าแก้วนวรัฐ ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ เชียงใหม่ (อักษรโรมัน: na Chiengmai) ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,161 จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457[14] โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[15] ต่อมาภายหลังตระกูล ณ เชียงใหม่ ยังคงเป็นตระกูลที่มีบทบาทและได้รับการยกย่องจากระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในฐานะส่วนหนึ่งของพิธีการต่าง ๆ เพื่อรับรองนโบายการปกครองที่ดำเนินมานับแต่ พ.ศ. 2442[16] อาทิ เป็นหนึ่งในสิบตระกูลที่ได้เข้าเฝ้าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493[17] การเตรียมการรับเสด็จราชอาคันตุกะทุก ๆ คราว[18] และการถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
ภายหลังการการพิราลัยของเจ้าหลวงแก้วนวรัฐ เหล่าทายาท ณ เชียงใหม่ สายตรงในเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ผู้เป็นบุตรหลาน ยังคงมีบทบาททางสังคมอย่างต่อเนื่องในการสืบสานภารกิจของราชตระกูลในด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีผู้สืบเครื่องราชย์ฯ สืบตระกูล ได้แก่ เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่), เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ และปัจจุบันคือ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (หลานชาย) ตามลำดับ ซึ่งต่อมามีการดำเนินกิจกรรมในนามมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือและมูลนิธิกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ (วัดสวนดอก) อันเป็น 2 มูลนิธิหลักของเจ้านายฝ่ายเหนือที่ดำเนินกิจกรรมสาธารณกุศลมากว่า 30 ปี
อนุสาวรีย์
แก้ในปี พ.ศ. 2561 วัดศรีนวรัฐ ได้จัดสร้างรูปหล่อเหมือนเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระคุณของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
แก้- สะพานนวรัฐ เดิมเป็นสะพานไม้สัก กระทั่งได้ก่อสร้างสะพานเหล็กทดแทนในปี พ.ศ. 2508 และให้ชื่อว่า "นวรัฐ" เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่เจ้าแก้วนวรัฐ
- ถนนแก้วนวรัฐ
- วัดศรีนวรัฐ บ้านทุ่งเสี้ยว ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าแก้วนวรัฐ ได้มีดำริให้บูรณะขึ้นใหม่ และอัญเชิญ พระพุทธรูปไม้สัก "พระเจ้าอกล้ง" กลับมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้[19]
- โรงเรียนทุ่งเสี้ยว (นวรัฐ) เป็นโรงเรียนที่เจ้าแก้วนวรัฐ บริจาคที่ดินเพื่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2466
พระยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าแก้วนวรัฐ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าบาท |
การแทนตน | ข้าบาทเจ้า |
การขานรับ | บาทเจ้า |
ลำดับโปเจียม | 1 |
พระยศพลเรือน
แก้- มหาอำมาตย์โท[20]
พระยศทหาร
แก้- 19 มิถุนายน 2454 – นายพันเอก ในกรมทหารบก[21]
- 25 ตุลาคม 2462 – นายพลตรี[10][22]
- 11 พฤศจิกายน 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศพลตรี[23]
พระยศเสือป่า
แก้- – นายหมู่เอก
- 13 ตุลาคม 2456 – นายกองตรี[24]
- นายกองเอก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[25]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[26]
- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2463 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[27]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[28]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[29]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของเจ้าแก้วนวรัฐ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 1 อักษร ก, หน้า 381
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ เสด็จออกแขกเมืองประเทศราช (หน้า 525)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน, เล่ม 14, ตอน 47, 20 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 116, หน้า 932
- ↑ ส่งสัญญาบัตร์ไปพระราชทาน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน, เล่ม 21, ตอน 50, 12 มีนาคม ร.ศ. 123, หน้า 932
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้เจ้าอุปราช (เจ้าแก้ว) ว่าที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่, เล่ม 26, 23 มกราคม ร.ศ. 128, หน้า 2415
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130, หน้า 1811
- ↑ 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ 11.0 11.1 11.2 บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) อดีตลานนา กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์
- ↑ [npdc.mod.go.th/เรองเลาเมอวนวาน/ความเปนมาของกจการนำมนฝาง.aspx ความเป็นมาของบ่อน้ำมันฝาง]
- ↑ "ประวัติโรงพยาบาลแมคคอร์มิค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-13. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 14 (ลำดับที่ 1156 ถึงลำดับที่ 1182)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 วันที่ 5 เมษายน 2457 หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 19 ธันวาคม พ.ศ. 2458, หน้า 395
- ↑ ธเนศวร์ เจริญเมือง. คนเมือง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์. 2544. หน้า 83
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-12-11.
- ↑ หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) ณ เมรุวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ หน้า (13)
- ↑ "ประวัติวัดศรีนวรัฐ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-11.
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30: 1509. 12 ตุลาคม 2456. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43: 3994. 6 กุมภาพันธ์ 2469. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31: 2373. 10 มกราคม 2457. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน
- ↑ "รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในพระราชพิธีฉัตรมงคล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 31: 1851. 15 พฤศจิกายน 2457. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). 55: 2960. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บรรณานุกรม
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เจ้าวงศ์สัก ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539. ISBN 974-8364-00-3
- นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
- สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
- ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย เล่ม 1 อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549. 434 หน้า. หน้า 381-2. ISBN 974-9588-63-0
ก่อนหน้า | เจ้าแก้วนวรัฐ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | เจ้านครเชียงใหม่ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482) |
ยกเลิกตำแหน่ง ผู้สืบตระกูล: เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) |