เดสทินีส์ไชลด์
เดสทินีส์ไชลด์ (อังกฤษ: Destiny's Child) เป็นวงหญิงล้วนแนวอาร์แอนด์บี และป็อป มีสมาชิกคือ นักร้องนำ บียอนเซ่ โนวส์ เคลลี โรว์แลนด์ และ มิเชลล์ วิลเลียมส์ ออกผลงานอัลบั้มหลัก 4 สตูดิโออัลบั้ม และ มีซิงเกิลอันดับ 1 ในอเมริกา 4 ซิงเกิล รวมทั้งออกผลงานเดี่ยวแล้ว พวกเธอมียอดขาย 50 ล้านชุดทั่วโลก และ 17.5 ล้านชุดในสหรัฐอเมริกา[1][2] และจากการอ้างโดยเวิลด์มิวสิกอวอร์ดส พวกเธอเป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[3][4] นิตยสารบิลบอร์ดจัดอันดับศิลปินกลุ่ม 3 คน พวกเธอก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ดนตรีที่ดีที่สุดตลอดกาล[5][6]
เดสทินีส์ไชลด์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | อาร์แอนด์บี, ฮิปฮอป ,ป็อป, โซล |
ช่วงปี | 1990–2006 |
ค่ายเพลง | โคลัมเบียเรเคิดส์ |
อดีตสมาชิก | บียอนเซ่ โนวส์ (1990-2006) เคลลี โรว์แลนด์ (1990-2006) มิเชลล์ วิลเลียมส์(1999-2006) ลาทาเวีย โรเบอร์สัน (1990–2000) เลโทย่า ลักเก็ตต์ (1992–2000) ฟาร์ราห์ แฟรงคลิน (2000) |
หลังจากก่อตั้งวงในปี 1990 ในฮิวส์ตัน รัฐเท็กซัส เดสทินีส์ไชลด์เริ่มต้นในวงการดนตรีด้วยความอุตสาหะ กับวงสาวแรกรุ่น มีสมาชิก เด็กหญิง 6 คนภายใต้ชื่อ เกิร์ลสไทม์ (Girls' Tyme) หลังจากความพยายามมาหลายปี พวกเธอก็ได้เซ็นสัญญากับโคลัมเบียเรเคิดส์และเปลี่ยนชื่อวง โดยมีผลงานชุดแรกในชื่อวง และประสบความสำเร็จพอควร แต่หลังจากออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ในปี 199 ชื่อชุด เดอะไรติงส์ออนเดอะวอลล์ ที่ทำให้พวกเธอเป็นที่รู้จักในกระแสหลัก มีซิงเกิลฮิตอย่างเช่น "Bills, Bills, Bills", "Bug a Boo" และ "Say My Name" อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยความสำเร็จทางด้านคำวิจารณ์และยอดขายที่ดี กลุ่มก็เกิดความขัดแย้งภายในและความวุ่นวายเกี่ยวกับกฎหมาย สมาชิกในวงอย่าง ลาทาเวีย โรเบอร์สัน และ เลโทยา ลักเก็ตต์ พยายามจะไล่ผู้จัดการของวงออก (พ่อของโนวส์) ชื่อแมททิว โนวส์ โดยอ้างถึงความลำเอียงกับโนวส์และโรว์แลนด์ ในที่สุดพวกเธอก็ออกไปและ วิลเลียมส์และฟาร์ราห์ แฟรงคลิน ก็เข้ามาแทน แต่ต่อมาปี 2000 แฟรงคลินก็ออกจากวงไป จนเป็นกลุ่มศิลปิน 3 คน
ในอัลบั้มที่ 3 ชุด เซอร์ไวเวอร์ ซึ่งมีผลงานฮิตโด่งดังทั่วโลกอย่างเช่น "Independent Women", "Survivor" และ "Bootylicious" ต่อมาในปี 2002 เดสทินีส์ไชลด์ ออกมาประกาศแยกทางชั่วคราว และพวกเธอก็กลับมารวมตัวอีกครั้งในปี 2004 กับอัลบั้มชุด เดสทินีฟูล์ฟิลด์ 1 ปีต่อมาได้ออกเวิลด์ทัวร์ จนออกมาประกาศว่าแตกวงถาวร และพวกเธอก็ออกผลงานเดี่ยวทั้งด้านดนตรี ละครเวที รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์
ประวัติ
แก้เดสทินีส์ไชลด์ก่อตั้งวงขึ้นในปี 1990 ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในตอนแรกเดสทินีส์ไชลด์ มีสมาชิก 6 คน โดยใช้ชื่อ เกิร์ลสไทม์ (Girls' Tyme) พวกเธอได้ขึ้นเวทีครั้งแรกในรายการ Star Search ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงชื่อดังในขณะนั้น แต่ผลออกมาไม่ค่อยดี เพราะการแสดงออกมายังไม่ค่อยสมบูรณ์แบบเท่าไหร่นัก ในปี 1993 ได้มีสมาชิกใหม่เข้ามาในวงคือ เลโทย่า ลัคเก็ท ต่อมาก็คัดเหลือ 4 คน และเปลี่ยนชื่อวงเป็นเดสทินีส์ไชลด์
ปี 1995 เป็นปีที่สำคัญของวงนี้ จากการฝึกฝนอย่างหนักพวกเธอได้รับโอกาสออดิชั่นเข้าในสังกัดค่ายเพลงอีเลกตราเรเคิดส์ หลังจากเข้าสังกัดค่ายเพลงดังกล่าว เดสทินีส์ไชลด์ ได้รับงานโชว์ตามงานต่างๆ ต่อมาในปี 1997 ก็ได้รับโอกาสเซ็นสัญญากับค่ายเพลง โคลัมเบียเรเคิดส์
เดสทินีส์ไชลด์มีซิงเกิลแรกคือเพลง "คิลลิงไทม์" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เม็นอินแบล็ค ไม่นานก็ได้ออกอัลบั้มชุดแรกโดยใช้ชื่อเหมือนชื่อวงคือ เดสทินีส์ไชลด์ ในปี 1998 ซิงเกิลแรกเพลง "โน,โน,โน" ได้รับ 3 รางวัลจากเวทีงานประกาศผลรางวัลโซลเทรนมิวสิกอวอร์ดส อัลบั้มนี้ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก จนมาถึงอัลบั้ม เดอะไรติงส์ออนเดอะวอลล์ ในปี 1999 อัลบั้มชุดที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จด้วยยอดขายกว่า 13 ล้านชุดทั่วโลก ซิงเกิลที่ออกมาล้วนเป็นที่นิยมเช่นเพลง "บิลส์, บิลส์, บิลส์" ซิงเกิลอันดับ 1 เพลงแรก และเพลง "จัมพิน', จัมพิน'" รวมถึงเพลงที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของวงจนถึงปัจจุบันนี้อย่างเพลง "เซย์มายเนม" ซึ่งในปีนั้นคว้ารางวัลแกรมมีมาถึง 2 รางวัล[7] จากอัลบั้มนี้ทำให้พวกเธอเป็นที่จับตามองของสื่อและผู้คนมากมาย ในฐานะกลุ่มศิลปินหญิงหน้าใหม่ในยุคนั้น
แต่ก็เกิดปัญหา เมื่อสมาชิกในวงได้มีการเปลี่ยนตัว หลังจาก เลโทย่า และ โรเบอร์สัน ถูกปลดออกจากวง ก็ได้มีสมาชิกใหม่เข้ามาคือ มิเชล วิลเลียม และ ฟาร์ราห์ แฟรงคลิน ต่อมาได้ 5 เดือน ฟาร์ราห์ ได้ลาออกจากวงเนื่องจากปัญหาส่วนตัว ทำให้เดสทินีส์ไชลด์เหลือสมาชิกเพียง 3 คนคือ โนวส์, โรว์แลนด์, และวิลเลียม
ในปี 2000 พวกเธอได้ออกซิงเกิลเพลงประกอบภาพยนตร์ นางฟ้าชาลี ประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการขึ้นอันดับ 1 ถึง 7 สัปดาห์ นั่นคือเพลง "อินดีเพนเดนท์วูแมนพาร์ท1" อัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเธอ เซอร์ไวเวอร์ วางขายในปี 2001 ติดอันดับบนชาร์ทบิลบอร์ด 200 ที่อันดับ 1 ด้วยยอดขายกว่า 663,000 ชุดในสัปดาห์แรก[8] และขายได้มากกว่า 10 ล้านชุดทั่วโลก และยังมีซิงเกิลที่ฮิตติดชาร์ทอีกมากมายอย่างเพลง "เซอร์ไวเวอร์" และ "บูตีลิเชียส" จากอัลบั้มนี้ทำให้พวกเธอคว้ารางวัลแกรมมีมาได้อีก 1 รางวัล[9] ต่อมาพวกเธอได้มีอัลบั้ม 8 เดส์ออฟคริสต์มาส ซึ่งวางขายในปี 2001 เช่นกัน ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส หลังจากวางขายอัลบั้มแล้ว ก็ได้มีการพักงานชั่วคราว เพื่อที่สมาชิกแต่ละคนจะได้ออกผลงานเดี่ยวของตน
หลังจาก 3 ปีที่พวกเธอได้ทำผลงานเดี่ยว พวกเธอก็ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในอัลบั้มชุดที่ 4 เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ซึ่งวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ปี 2004 [10] อัลบั้มนี้สามารถขึ้นไปสูงสุดในอันดับอัลบั้มของบิลบอร์ดได้ในอันดับที่ 2 มีซิงเกิลที่ฮิตอย่างเพลง "ลอสมายบรีท" , "โซล์เดอร์" , "เกิร์ล" , และ "คาเตอร์ทูยู" ต่อมาได้มีคอนเสิร์ตทัวร์ เดสทินีฟูล์ฟิลด์ ... แอนด์เลิฟวิน'อิทเวิลด์ทัวร์ ช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายน ปี 2005 ในปีเดียวกันก็ได้ออกอัลบั้มรวมฮิตชุดแรก #1's ที่รวบรวมซิงเกิลอันดับ 1 และเพลงฮิตทั้งหมดที่ทุกคนรู้จักตั้งแต่ก่อตั้งวงนี้มา รวมถึงเพลงพิเศษอย่าง "สแตนด์อัพฟอร์เลิฟ" ในปี 2005 จากความสำเร็จอย่างมากมาย
ความทุ่มเทในการทำงานของพวกเธอทำให้ได้รับการจารึกชื่อวง เดสทินีส์ไชลด์ลงบน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม ในเดือนมีนาคม ปี 2006[11] และในที่สุดวงนี้ก็ได้ประกาศยุบตัวลง เพื่อสมาชิกแต่ละคนจะได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองสนใจ เหลือเพียงตำนานและชื่อเสียงที่น่าจดจำของ กลุ่มศิลปินหญิงที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล[12][13] และยังได้ตำแหน่ง 100 ศิลปินตลอดกาลที่บิลบอร์ดจัดขึ้นในปี 2008[14]
ผลงาน
แก้
สตูดิโออัลบั้มแก้
อัลบั้มอื่นๆแก้
|
วิดีโอแก้
ทัวร์คอนเสิร์ตแก้
|
ซิงเกิล
แก้ปี | ชื่อ | อันดับ | อัลบั้ม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
U.S. [15][16] |
UK | AUS [17] |
CAN | IRE | NZ | FRA | |||
1997 | "No, No, No" (ร่วมกับ Wyclef Jean) | เดสทินีส์ไชลด์ | |||||||
1998 | "With Me" (ร่วมกับ Jermaine Dupri) | ||||||||
"Get on the Bus" (ร่วมกับ Timbaland) | เดอะไรติงส์ออนเดอะวอลล์ | ||||||||
1999 | "Bills, Bills, Bills" | ||||||||
"Bug a Boo" | |||||||||
2000 | "Say My Name" | ||||||||
"Jumpin', Jumpin'" | |||||||||
"Independent Women Part I" | เซอร์ไวเวอร์ | ||||||||
2001 | "Survivor" | ||||||||
"Bootylicious" | |||||||||
"Emotion" | |||||||||
2002 | "Nasty Girl" | ||||||||
"8 Days of Christmas" | 8 เดส์ออฟคริสต์มาส | ||||||||
2004 | "Rudolph the Red-Nosed Reindeer" | ||||||||
"Lose My Breath" | เดสทินีฟูล์ฟิลด์ | ||||||||
"Soldier" (ร่วมกับ T.I. และ Lil Wayne) | |||||||||
2005 | "Girl" | ||||||||
"Cater 2 U" | |||||||||
"Stand Up for Love" | นัมเบอร์วันส์ | ||||||||
เพลงที่ติดอับดับหนึ่ง | 4 | 2 | 1 | 2 | 4 | 3 | 1 | ||
เพลงที่อยู่ใน 10 อันดับแรก | 10 | 12 | 9 | 12 | 11 | 13 | 8 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "R&B stars Destiny's Child split". British Broadcasting Corporation. 2005-06-13. สืบค้นเมื่อ 2008-10-04.
- ↑ "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-24.
- ↑ "Beyonce Knowles". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
- ↑ Keller, Julie (2005-09-01). "Destiny's World Domination". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
- ↑ "Beyonce Knowles". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
- ↑ Keller, Julie (2005-09-01). "Destiny's World Domination". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
- ↑ 43th Grammy Awards - 2001 rockonthenet.com
- ↑ Destiny's Child Shoot Straight To No. 1 Billboard (Nielsen Business Media, Inc.)
- ↑ 44th Grammy Awards - 2002 rockonthenet.com
- ↑ Destiny's Child's Long Road To Fame (The Song Isn't Called 'Survivor' For Nothing) เก็บถาวร 2009-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtv.com
- ↑ Destiny's Child gets Walk of Fame star msnbc.msn.com
- ↑ "Beyonce Knowles". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-12.
- ↑ Keller, Julie (2005-09-01). "Destiny's World Domination". Yahoo! Music. สืบค้นเมื่อ 2006-12-28.
- ↑ "The Billboard Hot 100 All-Time Top Artists". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
- ↑ "Artist Chart History - Destiny's Child". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
- ↑ "Destiny's Child: Billboard Singles". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAUSChart