โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัดพิษณุโลกและเป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ตั้งอยู่บนถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลก บึงแก่งใหญ่ มีเนื้อที่ 339 ไร่
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม | |
---|---|
ตราพระนารายณ์เหยียบโลก | |
ที่ตั้ง | |
1 หมู่ 8 ถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลก ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.พ. PP |
คำขวัญ | บาลี: วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (บุคคลล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร) |
สถาปนา | พ.ศ. 2442 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์ |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ผู้อำนวยการ | ประมวล วันมี |
สี | สีม่วง – สีขาว |
เพลง | พิทยาสถาพร |
เว็บไซต์ | www |
นอกจากนี้โรงเรียนได้พัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น กีฬาและภูมิทัศน์ของโรงเรียนโดยการสร้างสวนต่าง ๆ เช่น สวนวรรณคดี นอกจากนี้อาคาร 1 (วังจันทน์) และอาคาร 2 (ร่มเกล้านเรศวร) ของโรงเรียนยังเป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ โรงเรียนยังมีโครงการสร้างสะพานเชื่อมอาคารแต่ละอาคารเข้าด้วยกัน สร้างอาคารประกอบเพิ่มเติม หอประชุมใหม่ โรงยิม และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นเพิ่มเติมด้วย ในปัจจุบันทางเดินเชื่อมอาคารเรียนได้สร้างเสร็จแล้วและเปิดใช้มาเป็นเวลากว่า 2 ปีโดยประมาณ ซึ่งโรงเรียนก็ยังได้สร้างหอประชุมใหม่ขึ้นชื่อว่า "หอประชุมจักรกฤษณ์ นาคะรัต" ที่เปิดใช้ไปในปีการศึกษา 2550 ที่ผ่านมา และในขณะนี้โรงเรียนกำลังจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2552 "เปิดใช้งานแล้วชื่อว่า อาคารร่มเกล้าวิสุทธิ์กษัตริย์"
ปัจจุบันโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมได้ถูกกำหนดจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานระดับสากล เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1—6
ประวัติ
แก้ในปี พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองพิษณุโลกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑลพิษณุโลก โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์สิทธิศักดิ์ เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ได้อาราธนา พระครูอ่อน จากสำนักวัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี (เดิม) มาว่าการพระศาสนาประจำอยู่ ณ วัดนางพญา ท่านพระครูอ่อน มีความสนใจในการศึกษามากจึงได้เริ่มก่อตั้งสำนักศึกษาขึ้นที่วัดนางพญา ศาลาโรงโขน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร บริเวณเชิงสะพานนเรศวรด้านตะวันออกต่อมาพระครูอ่อนได้เลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล ในปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้ทรงจัดตั้ง โรงเรียนขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร ทางราชการเห็นว่าสำนักศึกษา ของพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล มีความเป็นปึกแผ่นดี จึงได้ยกฐานะสำนักศึกษาแห่งนี้ เป็นโรงเรียน มีชื่อว่า “โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก”และสร้างตัวโรงเรียนขึ้นใหม่ บริเวณทางใต้ของศาลาโรงโขนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตติดต่อวัดนางพญา (มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา) โดยมีพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาลเป็น “ครูใหญ่คนแรก” จึงนับได้ว่าโรงเรียนมีกำเนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442
สำนัก ณ วัดนางพญาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก" มีพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาลเป็นครูใหญ่คนแรก ในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก มีพระราชปรารภว่า "มีนักเรียนสนใจเรียนมาก แต่สถานที่คับแคบไม่พอกับความต้องการ"
ปี พ.ศ. 2473-2474 ทางราชการได้สร้างสะพานนเรศวรข้ามแม่น้ำน่าน บริเวณใต้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นเหตุให้ต้องย้ายโรงเรียนไปยังที่ตั้งทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นวัดที่ของวัดราชคฤห์ ซึ่งเป็นวัดร้าง (ปัจจุบันเป็นบริเวณโรงเรียนจ่าการบุญ และยังต้องยืมศาลาโรงโขนเรียนด้วยเป็นเวลากว่า 33 ปี) ในกลางปีต่อมาทางราชการได้สั่งย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูมูลพิษณุวิทยายนไปอยู่บริเวณสระแก้ว (บริเวณโรงพยาบาลพุทธชินราช) จึงยกอาคารสถานที่ในบริเวณ วังจันทน์ให้เป็นสมบัติของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมทั้งหมด โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมจึงย้ายครั้งที่ 2 มาตั้งอยู่ ณ พระราชวังจันทน์ ระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทางราชการยกเลิกมณฑล”เป็นเปลี่ยน "จังหวัด" ชื่อโรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดพิษณุโลก" ต่อมากระทรวงศึกษาธิการตั้งชื่อเฉพาะขึ้นใหม่เป็น “โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม” มาจนกระทั่งปัจจุบัน
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเคยเป็นโรงเรียนพี่เลี้ยงก่อตั้งโรงเรียนคือ ในปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนจ่านกร้อง ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวังจันทร์เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ทำให้โรงเรียนต้องย้ายสถานที่ทำการสอนไปยังที่ของกระทรวงเกษตร เพื่อให้กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะ
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมมีอายุกว่า 100 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการจัดสร้างวัตถุมงคล "นเรศวร 100 ปี พิษณุโลกพิทยาคม" มีการปรับปรุงถนนเข้าโรงเรียน การจัดทำคันดินรอบโรงเรียน การขุดสระน้ำ การปรับปรุงสภาพแวดล้อม สนามกีฬา และในปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมได้ย้ายออกจากเขตพระราชวังจันทร์แล้วเสร็จสิ้นไปยังบึงแก่งใหญ่ ปัจจุบันโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมได้กำหนดจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานระดับสากล[1]
สถานที่ตั้ง
แก้ครั้งก่อตั้งอยู่บริเวณ วัดนางพญา และศาลาโรงโขนของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ต่อมาย้ายไปตั้งบริเวณวัดราชคฤห์ (ด้านทิศตะวันออกของวัดนางพญา ปัจจุบันเป็นโรงเรียนจ่าการบุญ) และย้ายโรงเรียนอีกครั้งไปตั้งบริเวณโรงเรียนฝึกหัดครูมูล พิษณุโลกพิทยาคม เดิม ซึ่งก็คือ เขตพระราชวังจันทน์และเขตพระราชฐานสระสองห้องนั่นเอง
ปัจจุบันโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่บริเวณบึงแก่งใหญ่ บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนเลี่ยงเมือง-วงแหวนทิศตะวันตก)ใกล้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว
อาคารและสถานที่
แก้- อาคารเรียน
- อาคาร 1 อาคารวังจันทน์
- ชั้น 1 ประกอบด้วย ห้องประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานบริการ, กลุ่มงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, กลุ่มงานธุรการ, กลุ่มงานวิชาการ
- ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องผู้อำนวยการ, ห้องประชุม VIP, สำนักงานเลขานุการและแผนงาน, ห้องโสตทัศนูปกรณ์, ห้องประชุมไชยานุภาพ, ห้องศูนย์ข่าวเยาวชนไทย โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์, ห้องคอมพิวเตอร์
- ชั้น 4 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์
- อาคาร 2 อาคารร่มเกล้านเรศวร
- ชั้น 1 ประกอบด้วย หอประชุมพระนารายณ์, ห้องโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ
- ชั้น 2 ประกอบด้วย กลุ่มงานแนะแนว, ห้องสมุด
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.5
- ชั้น 4 ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.6
- อาคาร 3 อาคารร่มเกล้าเอกาทศรถ
- ชั้น 1 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (วิทย์ ม.ต้น), ห้องเรียนวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
- ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.4
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- ชั้น 4 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, โครงการห้องเรียนพิเศษ พสวท., ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- อาคาร 4 อาคารร่มเกล้าสุพรรณกัลยา
- ชั้น 1 ประกอบด้วย กลุ่มห้องเรียนโครงการการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Progarm)
- ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องคอมพิวเตอร์ (E.P.), ห้องเรียนโครงการ E.P., ห้องวิดีโอคอนเฟอเรนส์
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.3
- ชั้น 4 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- อาคาร 5 อาคารร่มเกล้ามหาธรรมราชา
- ชั้น 1 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องประชุมเอนกประสงค์
- ชั้น 2 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, ห้องภาษาฝรั่งเศส, ห้องภาษาญี่ปุ่น
- ชั้น 3 ประกอบด้วย กลุ่มโครงการห้องเรียนพิเศษโดยเน้นภาษาจีนเป็นสื่อ (Chinese Program), ห้องภาษาจีน, ห้องภาษาเกาหลี
- ชั้น 4 ประกอบด้วย โครงการห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (SMAT) ม.ต้น
- อาคาร 6 อาคารร่มเกล้าวิสุทธิ์กษัตริย์
- ชั้น 1 ประกอบด้วย โถง, ห้องศิลปะศึกษา
- ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.1
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- ชั้น 4 ประกอบด้วย ห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, ศูนย์ประสานงานระดับชั้น ม.2
- อาคาร 7 อาคารการงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ชั้น 1 ประกอบด้วย งานช่างยนต์, งานช่างเชื่อมโลหะ
- ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องงานประดิษฐ์, ห้องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องเขียนแบบ, งานช่างไฟฟ้า
- ชั้น 4 ประกอบด้วย ห้องพิมพ์ดีดภาษาไทย
- อาคาร 8 อาคารงานเกษตร
- อาคาร 9 อาคารงานบ้าน
- อาคาร 10 อาคาร ดนตรีไทย และ นาฏศิลป์
- อาคาร 11 อาคารดนตรีสากล
- อาคาร 12 อาคารวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
- ชั้น 1 ประกอบด้วย ศูนย์ประสานงานโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม สอวน. (SMTE), ห้องเรียนโครงการพิเศษ สอวน. (SMTE)
- ชั้น 2 ประกอบด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (วิทย์ ม.ปลาย), ห้องเรียนฟิสิกส์, ห้องเรียนดาราศาสตร์
- ชั้น 3 ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทางเคมี, ห้องเรียนเคมี
- ชั้น 4 ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา , ห้องเรียนชีววิทยา
- อาคารโดมเอกภาพันธ์
- อาคาร 1 อาคารวังจันทน์
- อาคารสวัสดิการและอาคารอื่น ๆ
- อาคารโภชนาการ
- เรือนพยาบาล
- ร้านค้าสวัสดิการโรงเรียน
- หอประชุมจักรกฤษณ์ นาคะรัต
- หอประชุมนเรศวร
- ศาลากรีฑา
- อาคารลูกเสือ และ เนตรนารี
- อาคารปกครอง
- หอสมุดระบิล สีตสุวรรณ
- ศูนย์กีฬาในร่ม
- ป้อมยาม
- ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
- ศาลสิ่งสักการบูชา
- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชองค์ยืน
- ลานพระพุทธวังจันทน์
- ลานพระนารายณ์เหยียบโลก
- ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และ สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา
- ศาลพ่อปู่ก๊อก
- สนาม
- สนามหน้าเสาธง (อาคารเอกภาพันธ์)
- สนามกีฬาวังจันทน์
- สถานที่ชุมนุม
- ห้องประชุม VIP
- ห้องประชุมไชยานุภาพ (ตึก 1)
- ห้องประชุมเอนกประสงค์ (ตึก 5)
- หอประชุมพระนารายณ์
- หอประชุมจักรกฤษณ์ นาคะรัต
- หอประชุมนเรศวร
- จุดทางเชื่อมระหว่างอาคาร
- จุดที่ 1 อาคาร 1 เชื่อมไปยัง อาคาร 2, 3, 4, 5 และ 6
- เชื่อมไปอาคาร 2 ได้ทุกชั้น
- เชื่อมไปอาคาร 3 ได้ที่ชั้น 3 และ 4
- เชื่อมไปอาคาร 4 ได้ที่ชั้น 3 และ 4
- จุดที่ 2 อาคาร 2 เชื่อมไปยังอาคาร 1 และ 3
- เชื่อมไปยังอาคาร 1 ได้ทุกชั้น
- เชื่อมไปยังอาคาร 3 ได้ที่ชั้น 2, 3 และ4
- จุดที่ 3 อาคาร 3 เชื่อมไปยังอาคาร 1 และ 2
- เชื่อมไปยังอาคาร 1 ได้ที่ชั้น 3 และ 4
- เชื่อมไปยังอาคาร 2 ได้ที่ชั้น 2, 3 และ 4
- จุดที่ 4 อาคาร 4 เชื่อมไปยังอาคาร 1
- เชื่อมไปยังอาคาร 1 ได้ที่ชั้น 3 และ 4
- จุดที่ 5 อาคาร 4 เชื่อมไปยังอาคาร 5
- เชื่อมไปยังอาคาร 5 ได้ที่ชั้น 3
- จุดที่ 6 อาคาร 4 เชื่อมไปยังอาคาร 6
- เชื่อมไปยังอาคาร 6 ได้ที่ชั้น 3
- จุดที่ 1 อาคาร 1 เชื่อมไปยัง อาคาร 2, 3, 4, 5 และ 6
- สถานที่พักผ่อน
- ลานหูกระจง
- บ่อเลี้ยงปลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- โรงอาหาร
- โดมอเนกประสงค์
- อาคารเอกภาพันธ์
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับที่ | รายนาม[2] | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล | พ.ศ. 2442 – 2453 |
2 | นายยศ ป. | พ.ศ. 2453 - 2455 |
3 | นายคำ ป.ป. | พ.ศ. 2455 - 2456 |
4 | นายพร ป.ป. | พ.ศ. 2456 - 2458 |
5 | นายจู ป.ป. | พ.ศ. 2458 - 2462 |
6 | ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ | พ.ศ. 2458 - 2458 |
7 | ขุนภารสาส์น (ปุ้ม คุปตวานิช) ป.ม. | พ.ศ. 2465 - 2465 |
8 | ขุนภารสิข | พ.ศ. 2456 - 2468 |
9 | ขุนวิทยาวุฒิ (นวม ชัยรัตน์) ป.ม. | พ.ศ. 2468 - 2469 |
10 | ขุนประเจตน์ดรุณพันธ์ (เกษม ศุขโรจน์) ป.ม. | พ.ศ. 2469 - 2476 |
11 | ขุนวิชาสรรค์ (น้อย เพทะวณิช) ป.ม. | พ.ศ. 2476 - 2477 |
12 | หลวงชุณหกสิการ | พ.ศ. 2477 - 2478 |
13 | นายโชค สุคันธวนิช ป.อ. | พ.ศ. 2478 - 2480 |
14 | นายสุวรรณ เผือกใจแผ้ว ป.ม., อ.บ. | พ.ศ. 2480 - 2487 |
15 | นายระบิล สีตะสุวรรณ ป.ม., B.S, M.S. | พ.ศ. 2487 - 2494 |
16 | นายเจษฎ์ ปรีชานนท์ ป.ม., ธ.บ. | พ.ศ. 2495 - 2501 |
17 | นายมานะ เอี่ยมสกุล ป.ม. | พ.ศ. 2501 - 2518 |
18 | นายสมนึก ทิมพงศ์ ป.ม., ธ.บ. | พ.ศ. 2518 - 2521 |
19 | นายจักรกฤษณ์ นาคะรัต B.S., M.S. | พ.ศ. 2521 - 2533 |
20 | นายชูชีพ มีจุ้ย พ.ม., กศ.บ. | พ.ศ. 2533 - 2534 |
21 | นายสาหร่าย แสงทอง กศ.บ. | พ.ศ. 2534 - 2535 |
22 | นายสงวน คงชู กศ.บ., ค.ม. (บริหารการศึกษา) | พ.ศ. 2535 - 2539 |
23 | นายปรีชา จาดศรี M.S. in Ed. | พ.ศ. 2539 - 2541 |
24 | นายละเอียด กันทริกา (กศ.ม. บริหารการศึกษา) | พ.ศ. 2542 - 2546 |
25 | นายวัฒนา ภาวะไพบูลย์ (กศ.ม. บริหารการศึกษา) | พ.ศ. 2546 - 2552 |
26 | นายทรงภรต ภู่กร (รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง) [รักษาการในตำแหน่ง] | พ.ศ. 2552 - 2553 |
26 | นายชูชาติ อุทะโก (กศ.ม. บริหารการศึกษา) | พ.ศ. 2553 - 2553 |
26 | นายทรงภรต ภู่กร (รองผู้อำนวยการฝ่ายปกครอง) [รักษาการในตำแหน่ง] | พ.ศ. 2553 - 2554 |
27 | นายถวิล ศรีวิชัย | พ.ศ. 2554 - 2554 |
28 | นายสัมฤทธิ์ ทองรัตน์ | พ.ศ. 2554 - 2558 |
29 | ดร.มานพ เกตุเมฆ | พ.ศ. 2558 - 2560 |
30 | นายชัยวัฒน์ ใจภักดี | พ.ศ. 2561 2561 |
31 | ดร.อรุณศรี เงินเสือ | พ.ศ. 2561 - 2562 |
32 | นายศักดิ์ชัย ทุ่งโพธิแดง | พ.ศ. 2562 - 2564 |
33 | นายสุริยา จันทิมา | พ.ศ. 2564 - 2565 |
34 | จ่าสิบเอก ประมวล วันมี | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ "โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม". www.pp.ac.th.
- ↑ "โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม". www.pp.ac.th.