โลกตะวันออก เป็นวัฒนธรรมหรือโครงสร้างทางสังคมและระบบปรัชญาหลายอย่างแล้วแต่บริบท ซึ่งบ่อยครั้งรวมอย่างน้อยทวีปเอเชียบางส่วนหรือประเทศและวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทวีปยุโรป ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนและโลกอาหรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทประวัติศาสตร์ (ก่อนสมัยใหม่) และในสมัยใหม่ในบริบทของคตินิยมแบบตะวันออก (Orientalism)[1]

คำนี้ปกติไม่ใช้โดยประชากรในโลกตะวันออกเอง เนื่องจากโลกตะวันออกนี้เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ซับซ้อนและเป็นพลวัต สามัญการได้ยาก แม้ประเทศและภูมิภาคเหล่านี้มีสายใยร่วมกัน แต่ในอดีตประเทศเหล่านี้ไม่เคยจำเป็นต้องนิยามตนเองร่วมกันเพื่อต่อสู้กับเอนทิตีอื่น ไม่ว่าจริงหรือโดยผิวเผิน[2]

คำนี้เดิมทีมีความหมายทางภูมิศาสตร์ตามอักษร โดยหมายความถึงส่วนตะวันออกของโลกเก่า ซึ่งระบุความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและอารยธรรมของทวีปเอเชียกับยุโรป (โลกตะวันตก) แต่เดิมโลกตะวันออกรวมเอเชียกลาง เอเชียเหนือ เอเชียตะวันออก (ตะวันออกไกล) เอเชียตะวันตก (ตะวันออกกลาง) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ (อนุทวีปอินเดีย)

ในมโนทัศน์ เขตแดนระหว่างตะวันออกและตะวันตกเป็นเรื่องของวัฒนธรรมมากกว่าภูมิศาสตรฺ ผลทำให้ออสเตรเลียมักถูกจัดเป็นโลกตะวันตก ส่วนชาติอิสลามและอดีตสหภาพโซเวียตหลายประเทศไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใดจัดเป็นตะวันออก[3] นอกจากทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรปกลืนสังคมโอเชียเนียและทวีปอเมริกาเกือบทั้งหมดเข้าสู่โลกตะวันตก[4][5] ประเทศตุรกี ฟิลิปปินส์ อิสราเอลและญี่ปุ่นซึ่งในทางภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ในซีกโลกตะวันออก ถือว่ากลายเป็นตะวันตกบางส่วนเนื่องจากอิทธิพลทางวัฒนธรรมของทวีปยุโรป[6][7][8][9]

อ้างอิง

แก้
  1. Thompson, William; Joseph Hickey (2005). Society in Focus. Boston, MA: Pearson. 0-205-41365-X.
  2. Lee, Sandra S. Mouth, Joanna. Barbara, Koening A. The Meanings of Race in the New Genomics: Implications for Health Disparities Research. Yale University. 2001. October 26, 2006. [1] เก็บถาวร 2006-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Meštrovic, Stjepan (1994). Balkanization of the West: The Confluence of Postmodernism and Postcommunism. Routledge. p. 61. ISBN 0-203-34464-2.
  4. "Embassy of Brazil - Ottawa". Brasembottawa.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  5. Falcoff, Mark. "Chile Moves On". AEI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  6. Sheldon Kirshner (2013-10-16). "Is Israel Really a Western Nation?". Sheldon Kirshner Journal. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
  7. "EU-Turkey relations". European Information on Enlargement & Neighbours. EurActiv.com. 23 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-06. สืบค้นเมื่อ 26 August 2008.
  8. "Fifty Years On, Turkey Still Pines to Become European". TIME. 8 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 8 September 2009.
  9. Japan and the West: The Meiji Restoration (1868-1912) http://afe.easia.columbia.edu/main_pop/kpct/kp_meiji.htm เก็บถาวร 2019-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน