ทหารรับจ้าง
ทหารรับจ้าง (อังกฤษ: mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยมีความประสงค์ส่วนตัวในค่าตอบแทนที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะมากกว่านายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพของผู้ว่าจ้างนั้น" (พิธีสารพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม)[1][2]
ผู้ที่เป็นทหารอาชีพของกองทัพตามปกติไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพสู้รบเพื่อเงินตอบแทน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบ ถึงแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้นก็ตาม
ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือ เพราะจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่าง ที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม ค.ศ. 1949 แต่ก็ได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อ 47 ข้อย่อย (ก), (ค), (ง),(จ) และ (ฉ) แต่จะอย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวบางคนก็ยังใช้คำว่า “ทหารรับจ้าง” ในการกล่าวถึงกองทหารสองกลุ่มนี้[3][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ Protocol Additional to the Geneva Conventions of 12 August 1949, and relating to the Protection of Victims of International Armed Conflicts (Protocol 1) Article 47
- ↑ "mercenary" in Webster's Dictionary. "one that serves merely for wages; especially a soldier hired into foreign service."
- ↑ Hall, Macer. Student joins Foreign Legion for his gap year เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sunday Telegraph, 19 March 2000
- ↑ McLynn, Frank. Killer elite เก็บถาวร 2008-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New Statesman 17 January
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทหารรับจ้าง