ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 9 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 8 คน) | |||
บรรทัด 1: | บรรทัด 1: | ||
{{เพิ่มอ้างอิง}} |
|||
{{รอการตรวจสอบ}} |
|||
{{ระวังสับสน|วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง}} |
|||
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน |
{{กล่องข้อมูล พุทธศาสนสถาน |
||
|full_name = วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร |
|full_name = วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร |
||
|common_name = วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเชลียง วัดพระปรางค์ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง |
|common_name = วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเชลียง วัดพระปรางค์ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง |
||
|image_temple = |
|image_temple = |
||
|short_describtion = พระวิหารหลวงและพระปรางค์ประธาน |
|short_describtion = พระวิหารหลวงและพระปรางค์ประธาน |
||
|type_of_place = [[พระอารามหลวง]]ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
|type_of_place = [[พระอารามหลวง]]ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
||
บรรทัด 10: | บรรทัด 11: | ||
|principal_buddha = |
|principal_buddha = |
||
|important_buddha = |
|important_buddha = |
||
|abbot =พระเทพวชิรเวที,ดร. (บุญโรจน์ จนฺทปญฺโญ/พุ่มไม้ ป.ธ.9, พธ.บ., กศ.ม., พธ.ด.) |
|||
|abbot = |
|||
|venerate = |
|venerate = |
||
|pre_road = |
|pre_road = |
||
บรรทัด 35: | บรรทัด 36: | ||
}} |
}} |
||
'''วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ''' |
'''วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ''' เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20111109221110/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/284.PDF |date=2011-11-09 }}, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔</ref> สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย [[อำเภอศรีสัชนาลัย]] [[จังหวัดสุโขทัย]] เป็นวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 โดยวัดนี้เป็นวัดสำคัญในเขตเมืองเชลียงมาแต่เดิม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมชนพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล |
||
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับแหล่งโบราณสถาน[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง]] โดยมีพระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตามแนวแกนเดิมของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง |
|||
== ประวัติ == |
== ประวัติ == |
||
บรรทัด 57: | บรรทัด 60: | ||
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร |
กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร |
||
=มณฑปพระอัฏฐารส= |
==มณฑปพระอัฏฐารส== |
||
มณฑปพระอัฏฐารสอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา |
มณฑปพระอัฏฐารสอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา |
||
บรรทัด 96: | บรรทัด 99: | ||
==แหล่งข้อมูลอื่น== |
==แหล่งข้อมูลอื่น== |
||
{{geolinks-bldg|17. |
{{geolinks-bldg|17.4295|99.8122|}} |
||
{{พระอารามหลวงชั้นเอก}} |
{{พระอารามหลวงชั้นเอก}} |
||
{{8 จอมเจดีย์แห่งสยาม}} |
{{8 จอมเจดีย์แห่งสยาม}} |
||
[[หมวดหมู่:วัดใน |
[[หมวดหมู่:วัดในอำเภอศรีสัชนาลัย|พระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร]] |
||
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร|พระศรีรัตนมหาธาตุ |
[[หมวดหมู่:พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร|พระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร]] |
||
[[หมวดหมู่:วัดพระธาตุ|พระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:56, 27 ธันวาคม 2566
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดมหาธาตุ วัดมหาธาตุเชลียง วัดพระปรางค์ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง |
ที่ตั้ง | ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
เจ้าอาวาส | พระเทพวชิรเวที,ดร. (บุญโรจน์ จนฺทปญฺโญ/พุ่มไม้ ป.ธ.9, พธ.บ., กศ.ม., พธ.ด.) |
ความพิเศษ | โบราณสถาน ผงจากปูชนียสถานนี้ใช้เป็นมวลสารทำพระสมเด็จจิตรลดา |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 โดยวัดนี้เป็นวัดสำคัญในเขตเมืองเชลียงมาแต่เดิม ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมชนพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล
วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับแหล่งโบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง โดยมีพระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกตามแนวแกนเดิมของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ประวัติ
[แก้]ไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี
วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล
โบราณสถานภายในวัด
[แก้]วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญมีดังนี้
ปรางค์ประธาน
[แก้]ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ประมาณไว้ที่ พุทธศักราช 2017 ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธเจ้า" ตามผนังภายใน องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง แต่ลบเลือนไปมากเขียนด้วยสีแดงแบบโบราณ ลายพรรณพฤกษา ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้
ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากขุดค้นพบฐานโบราณคดีก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ ฐานพระวิหารหลวงพ่อโตอยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประทับอยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง 2 ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมาร วิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม
กำแพง
[แก้]กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้มขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
มณฑปพระอัฏฐารส
[แก้]มณฑปพระอัฏฐารสอยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
วิหารสองพี่น้อง
[แก้]วิหารสองพี่น้องอยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารส ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 2 องค์อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับโบราณสถานที่ก่ออิฐ ข้างขวาพระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้องพบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย ลักษณะพระพุทธรูปทั้งสององค์เป็นพุทธศิลป์แบบสุโขทัยที่มีความงดงามยิ่ง แต่ทั้งนี้เศียรพระองค์น้องหรือองค์ด้านหน้า ชาวบ้านเล่ากันว่า กรมศิลปากรตัดเอาของจริงไป แล้วปั้นของใหม่มาสรวมแทน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ปรากฏมีคนร้ายหักนิ้วพระพุทธรูปให้ได้รับความเสียหาย
โบสถ์
[แก้]โบสถ์ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม ยังปรากฏรากฐานศิลาแลงด้านหลังพระอุโบสถพอเป็นที่สังเกต รวมทั้งใบเสมาหินชนวนคู่ รอบพัทธสีมาก็จัดว่าเป็นของที่มีมาแต่โบราณ โดยพัทธสีมาของพระอุโบสถนี้สันนิษฐานว่านำมาจากเมืองสุโขทัยเก่า เพราะเหมือนกับรูปแบบที่พบมากมายในเมืองสุโขทัย อีกทั้งเมืองศรีสัชนาลัยไม่มีแหล่งหินชนวนในลักษณะนี้ ภาพถ่ายเก่าบางแหล่งยังพอสังเกตได้ว่าก่อนที่จะมีการสร้างโบสถ์ใหม่ทับลงไป ส่วนที่เหลืออยู่ขณะนั้น คือ เสา ผนังด้านหลัง และองค์พระประธานที่มีสภาพชำรุด แต่พอสังเกตเห็นได้ว่ามีพุทธศิลป์พระพักตร์ค่อนไปทางอยุธยา และมีขนาดย่อมกว่าองค์พระประธานในวิหารหลวงหน้าองค์พระปรางค์ประธานวัด
โบราณสถานและโบราณวัตถุอื่นๆ ภายในวัด
[แก้]- องค์พระปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ
- ยอดนพศูลกาไหล่ทองคำ
- เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดเล็กในห้ององค์พระปรางค์
- เพดานดาวไม้จำหลัก สกุลช่างสุโขทัย (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย)
- ประตูจำหลัก สกุลช่างสุโขทัย (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย)
- ร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังสีเอกรงค์
- ปล่องปริศนาลงใต้ท้ององค์พระปรางค์
- พระวิหารหลวง ใหญ่ขนาด 7 ห้อง สร้างด้วยศิลาแลง
- หลวงพ่อโต ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4.08 เมตร
- พระพุทธรูปปางลีลาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัยคลาสสิก
- พระพุทธรูปยืนปูนปั้น
- ผนังพระวิหารหลวงแบบช่องแสง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย
- พระอุโบสถ
- ซุ้มพระร่วง พระลือ
- เจดีย์ทิศทั้งสี่
- ระเบียงคดและวิหาร
- กำแพงแก้ว
- ซุ้มประตูรูปพรหมพักตร์
- เสาพระประทีบรอบองค์พระปรางค์
- เจดีย์ยอดด้วน
- พระอัฏฐารศ
- ฐานวิหารหลวงพ่อธรรมจักร
- พระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์