ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายูปัตตานี"
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
|||
บรรทัด 8: | บรรทัด 8: | ||
- ยศ '''"นิ"''' ปรากฏใช้ครั้งแรกสมัยสุลต่านมูซอฟฟาร์ ซึ่งเป็นดาตูยามู-จามปา โอรสของสุลต่านสุลต่านอับดุลลอฮ์ (Wan Bo Tri Tri) ราชาจามปา โดยตั้งชื่อโอรสว่า นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาห์) ตาดูยามู-จามปา หรือชาวจามปารู้จักในชื่อ (Po Rome) |
- ยศ '''"นิ"''' ปรากฏใช้ครั้งแรกสมัยสุลต่านมูซอฟฟาร์ ซึ่งเป็นดาตูยามู-จามปา โอรสของสุลต่านสุลต่านอับดุลลอฮ์ (Wan Bo Tri Tri) ราชาจามปา โดยตั้งชื่อโอรสว่า นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาห์) ตาดูยามู-จามปา หรือชาวจามปารู้จักในชื่อ (Po Rome) |
||
- ยศ '''"ตูแว"''' พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำ |
- ยศ '''"ตูแว"''' พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดั่งเดิมที่สุด ต่อมาได้พัฒนาเป็น "ต่วน" |
||
นอกจากนี้ยังปรากฏลำดับชั้นยศซึ่งมีการใช้เฉพาะในปัตตานียุคกลาง โดยในตาริคปาตานี (Tariq Patani) ของวันฟากิฮ อาลี ดังนี้ |
นอกจากนี้ยังปรากฏลำดับชั้นยศซึ่งมีการใช้เฉพาะในปัตตานียุคกลาง โดยในตาริคปาตานี (Tariq Patani) ของวันฟากิฮ อาลี ดังนี้ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:55, 16 กรกฎาคม 2566
ฐานันดรศักดิ์เจ้านายมลายูปัตตานี หมายถึง ระบบชั้น และชั้นยศของเจ้านายมลายู ซึ่งหมายความเฉพาะ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และรัฐกลันตัน เนื่องจากรัฐกลันตันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปัตตานีจึงมีการใช้ชั้นยศที่เหมือนกันอีกทั้งในอดีตรัฐมลายูต่างๆจะใช้ชั้นยศที่คล้ายกันและชั้นยศเหล่านี้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสมัยนครรัฐมลายูรุ่งเรือง
ชั้นยศ
ในสมัยเริ่มแรกชั้นยศ 1.วัน(Wan) 2.นิ(Nik) 3.ตูแว(Tuwea) เป็นยศชั้นเดียวกันทั้งหมด หมายถึงผู้นำ พระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนเชื้อพระวงศ์และบรรดาเจ้าเมืองต่างๆ
- ยศ "วัน" นอกจากหมายถึงการสืบเชื้อสายเจ้าแล้วอาจหมายถึงการสืบเชื้อสายเจ้าทางพระมารดา หรือขุนนางที่มีคววามดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้ง)
- ยศ "นิ" ปรากฏใช้ครั้งแรกสมัยสุลต่านมูซอฟฟาร์ ซึ่งเป็นดาตูยามู-จามปา โอรสของสุลต่านสุลต่านอับดุลลอฮ์ (Wan Bo Tri Tri) ราชาจามปา โดยตั้งชื่อโอรสว่า นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาห์) ตาดูยามู-จามปา หรือชาวจามปารู้จักในชื่อ (Po Rome)
- ยศ "ตูแว" พบที่ปัตตานีเท่านั้นและยอมรับกันทางภาษาศาสตร์ว่าน่าจะเป็นคำดั่งเดิมที่สุด ต่อมาได้พัฒนาเป็น "ต่วน"
นอกจากนี้ยังปรากฏลำดับชั้นยศซึ่งมีการใช้เฉพาะในปัตตานียุคกลาง โดยในตาริคปาตานี (Tariq Patani) ของวันฟากิฮ อาลี ดังนี้
ลำดับสูงสุด | |
---|---|
1.Tengku เต็งกู | ใช้ราชาศัพท์ |
2.Tuanku ต่วนกู | ใช้ราชาศัพท์ |
3.Tuan ต่วน | ใช้ราชาศัพท์ |
ลำดับสอง | |
4.Ku กู | ไม่ใช้ราชาศัพท์ |
5.Nik นิ | ไม่ใช้ราชาศัพท์ |
ลำดับสาม | |
6.Wan วัน | ไม่ใช้ราชาศัพท์ |
7.che เจ๊ะ | ไม่ใช้ราชาศัพท์ |
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ชั้นยศตามกาลเวลาและสมัยนิยมจนมาสู่ชั้นยศมลายูแบบ 3 ชั้น (ยุคหลังและปัจจุบัน)
ลำดับชั้น | ยศฐานันดรศักดิ์ | เช่น | |
---|---|---|---|
ชั้นที่1 | ต่วนกู (Tuanku), | ถือเป็นชั้นยศสูงสุด หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนองค์ประมุข[1] | - ตวนกู อิสมาอิล เปตรา อดีตสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน |
ชั้นที่2 | เต็งกู,เติงกู,ตนกู(Tengku),
อังกู (Ungku), ตุนกู (Tunku), ต่วน (Tuan), ตูแว (Tuwea), หลง (Long), รายา (Raja), กู (Ku), |
ถือเป็นชั้นยศเดียวกันทั้งหมดและเป็นชั้นยศรองลงมา ชั้นยศนี้ถือว่าเป็นเจ้าแต่ประสูติ เมื่อเทียบกับพระยศเจ้านายไทย ชั้นยศนี้หมายถึงชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปเพราะยังถือว่าเป็นเจ้า[2][3] (เมื่อกาลเวลาผ่านไปยศ "หลง" ซึ่งมาจากคำว่าหลวง ไม่เป็นที่นิยมใช้จึงได้ถูกยกเลิกไป)
(ในอดีตรัฐกลันตันนิยมใช้ชั้นยศ "ต่วน" จนกระทั้งปี ค.ศ.1944 จึงได้เปลี่ยนค่านิยมตามกาลเวลามาใช้ชั้นยศ ตนกู,เติงกู,เต็งกู ส่วนในปัตตานียังนิยมใช้ ต่วน, กู ,นิ ตามเดิม) |
- ต่วนไซนัลอาบิดิน โอรสในสุลต่านมูฮัมหมัดชาร์ที่3แห่งรัฐกลันตัน
- ต่วนมันโซร์ เจ้าเมืองรามัน - เจ้าชาย ตนกูมูฮัมมัด ฟาอิซ เปตรา แห่งรัฐกลันตัน - ตวนสนิปากแดง (สุลต่านมูฮัมหมัดที่2) พระยากลันตัน |
ชั้นที่3 | นิ(Nik),
วัน(Wan), |
ถือเป็นชั้นยศสุดท้าย และเป็นสามัญชน เว้นแต่เป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณยุคเริ่มแรกโดยไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้า | - นิดะ และ นิละไม เจ้าเมืองสายบุรี
- นิมุสตอฟา (สุลต่านอับดุลฮามิดชาร์) ตาดูยามู-จามปา - นิสุไลมาน ดาตูปูยุด |
ในปัจจุบันชั้นยศ "นิ" จะใช้เพื่อให้เกียรติสำหรับการสืบเชื้อสายเจ้าทางพระมารดา เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้นยศ "ต่วน" สมรสกับชายสามัญชน บุตรที่เกิดมาใช้ชั้นยศ "นิ" เป็นต้น ส่วนยศ"วัน" หากเป็นการสืบชั้นยศแบบโบราณไม่ขาดสายจึงจะถือว่าเป็นเจ้า หรืออาจจะหมายถึงขุนนางในราชสำนักที่มีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเพื่อเป็นการให้เกียรติกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นเจ้า
การสืบทอดชั้นยศ
ในปัจจุบันการสืบทอดชั้นยศจะสืบทอดทางฝ่ายชายเป็นหลัก เช่น ฝ่ายชายเกิดเป็นเจ้าชั้น เต็งกู โอรสประสูตรมาจะใช้ เต็งกู ตามฝ่ายชายตลอดสาย และชั้นยศจะลดลงมาหนึ่งชั้นเมื่อ ฝ่ายหญิงเป็นเจ้า สมรสกับชายสามัญชน เช่น ฝ่ายหญิงเป็นเจ้าชั้น ตนกู สมรสกับชายสามัญ บุตรที่เกิดจะใช้ยศ "นิ" ฐานันดรศักดิ์มลายูเหล่านี้ยังมีการใช้สืบทอดจนถึงปัจจุบัน
ราชาศัพท์มลายู
ในภาษามลายูนั้นมีการใช้ราชาศัพท์เรียกว่า บาฮาซา อิสตานา (Bahasa Istana)
อ้างอิง
- ↑ ยศเจ้ามลายูทางภาคใต้
- ↑ ระบบชนชั้นในสังคมมลายู
- ↑ ชื่อแสดงถึงเชื้อสาย (PDF).P.129