ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| nativename =
| nativename =
| nativename_a = {{lang|ru|Народный комиссариат внутренних дел}}
| nativename_a = {{lang|ru|Народный комиссариат внутренних дел}}
| nativename_r =
| nativename_r =Narodnij komissariat vnutrennih del
| logo = NKVD Emblem (Solid Colors).svg
| logo = NKVD Emblem (Solid Colors).svg
| logo_width = 117px
| logo_width = 117px

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:18, 9 กันยายน 2567

กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน
Народный комиссариат внутренних дел
Narodnij komissariat vnutrennih del
ตราหน่วยงาน
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง10 กรกฎาคม 1934
ยุบเลิก15 มีนาคม 1946
ประเภท • ตำรวจลับ
 • หน่วยข่าวกรอง
 • ผู้บังคับใช้กฎหมาย
 • ตำรวจภูธร
 • ตำรวจชายแดน
 • การจำคุก
เขตอำนาจสหภาพโซเวียต
สำนักงานใหญ่มอสโก สหภาพโซเวียต
ต้นสังกัดหน่วยงานคณะกรรมการราษฎร

กรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (อังกฤษ: People's Commissariat for Internal Affairs) ย่อว่า เอ็นเควีดี (NKVD) ชื่อเรียกหน่วยงานที่เทียบได้กับกระทรวงมหาดไทยในสหภาพโซเวียต ก่อตั้งในปีค.ศ. 1934 และถูกแปรสภาพเป็นกระทรวงกิจการภายใน เมื่อค.ศ. 1946

หน่วยงานนี้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1917 ในฐานะกระทรวงของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย[1] โดยมีผู้บริหารคือกรรมการราษฎรฝ่ายกิจการภายใน (เทียบเท่ารัฐมนตรีมหาดไทย) รับผิดชอบการรักษาความปลอดภัยตามปรกติ และกำกับดูแลเรือนจำกับค่ายคนงาน[2] ต่อมายุบเลิกใน ค.ศ. 1930 โดยถ่ายโอนหน้าที่ไปให้หน่วยงานต่าง ๆ แทน ก่อนตั้งขึ้นอีกใน ค.ศ. 1934[3] ใน ค.ศ. 1946 มีการเปลี่ยนชื่อกรมการราษฎรทุกหน่วยเป็นกระทรวง โดยหน่วยงานนี้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกิจการภายใน[4]

ใน ค.ศ. 1934 มีการถ่ายโอนหน้าที่ของกรมการเมืองกลางแห่งรัฐ (Joint State Political Directorate) ซึ่งเป็นหน่วยงานตำรวจลับ มาให้แก่หน่วยงานนี้ ทำให้หน่วยงานนี้มีอำนาจแต่ผู้เดียวในการบังคับใช้กฎหมายจนกระทั่งสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง[2] ในช่วงดังกล่าว หน่วยงานนี้ดำเนินงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับความเรียบร้อยสาธารณะโดยทั่วไป และที่เป็นของตำรวจลับ[5] เป็นที่รับรู้กันว่า หน่วยงานนี้มีบทบาทในการกดขี่ทางการเมืองและการกวาดล้างใหญ่ภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลิน[6][7][8] หน่วยงานนี้ยังกระทำวิสามัญฆาตกรรมพลเมืองในจำนวนที่ไม่เคยเปิดเผย ทั้งยังก่อตั้ง จัดหาผู้คน และดำเนินงานในระบบค่ายแรงงานเกณฑ์ของกูลัก เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนี้กดขี่ชนชั้นชาวนาที่ร่ำรวยขึ้น และขับประชาชนออกไปยังภูมิภาคที่ไร้ผู้อยู่อาศัย[9][10] อนึ่ง หน่วยงานนี้ยังคอยดูแลรักษาชายแดน ดำเนินจารกรรม (ซึ่งรวมถึงการลอบสังหารทางการเมือง) และบังคับใช้นโยบายของโซเวียตผ่านขบวนการคอมมิวนิสต์และรัฐบาลหุ่นในต่างแดน[11] เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือ การกดขี่และสังหารผู้คนในโปแลนด์ที่เรียกว่า ปฏิบัติการโปแลนด์[12]

อ้างอิง

  1. Semukhina, Olga B.; Reynolds, Kenneth Michael (2013). Understanding the Modern Russian Police (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. p. 74. ISBN 9781482218879.
  2. 2.0 2.1 Huskey, Eugene (2014). Russian Lawyers and the Soviet State: The Origins and Development of the Soviet Bar, 1917-1939 (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 230. ISBN 9781400854516.
  3. Semukhina, Olga B.; Reynolds, Kenneth Michael (2013). Understanding the Modern Russian Police (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. p. 58. ISBN 9781439803493.
  4. Statiev, Alexander (2010). The Soviet Counterinsurgency in the Western Borderlands (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9780521768337.
  5. Khlevniuk, Oleg V. (2015). Stalin: New Biography of a Dictator (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. p. 125. ISBN 9780300166941.
  6. Yevgenia Albats, KGB: The State Within a State. 1995, page 101
  7. Robert Gellately. Lenin, Stalin, and Hitler: The Age of Social Catastrophe. Knopf, 2007 ISBN 1-4000-4005-1 p. 460
  8. Catherine Merridale. Night of Stone: Death and Memory in Twentieth-Century Russia. Penguin Books, 2002 ISBN 0-14-200063-9 p. 200
  9. Viola, Lynne (207). The Unknown Gulag: The Lost World of Stalin's Special Settlements. New York: Oxford University Press.
  10. Applebaum, Anne (2003). Gulag: A History. New York: Doubleday.
  11. McDermott, Kevin (1995). "Stalinist Terror in the Comintern: New Perspectives". Journal of Contemporary History. 30 (1): 111–130. doi:10.1177/002200949503000105. JSTOR 260924. S2CID 161318303.
  12. Applebaum, Anne (2012). Iron Curtain: The Crushing of Eastern Europe, 1944-1956. New York: Random House.