ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดกลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RiderZone (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
* [[วัดกลาง]] ([[ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราด]])
* [[ วัดกลางสุรินทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ]]
วัดกลาง
ประวัติวัดกลางสุรินทร์

วัดกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบางพระ ตำบลบางพระ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ประวัติและภูมิศาสตร์เมืองสุรินทร์(ย่อ)
วัดกลาง ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑
ก่อนกล่าวถึงเรื่องวัดกลาง ใคร่กล่าวถึงภูมิประเทศของเมืองสุรินทร์ อันเป็นมูลแห่งการสร้างวัดกลางตามควรแก่กรณี
เมืองสุรินทร์เป็นเมืองโบราณ มีชื่อเรียกว่า คูประทาย หรือ ไผทสมัน มีกำแพงและคูล้อมชั้นใน เป็นรูปวงกลม วัดผ่าศูนย์กลางจากตะวันออกสู่ตะวันตกประมาณ ๒๒ เส้นจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ ๒๖ เส้น มีกำแพงและคูชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมวงรี ๆ รวมเป็นกำแพง ๒ ชั้น ภูมิประเทศภายในเขตกำแพงชั้นในส่วนมากเป็นที่ลุ่ม บางแห่งมีน้ำขังอยู่ตลอดฤดูหนาว ที่เป็นเนินมีบริเวณจากซอยตาดอกทอดไปทางทิศตะวันออกจดวัดบูรพารามด้านทิศใต้แค่บริเวณถนนหลักเมือง เนินที่สูงสุดตรงบริเวณทิศใต้ตลาดเทศบาล ชาวบ้านเรียกคนแถบนี้ว่า “คุ้มโคกสูง”
วัดที่มีอยู่ในตัวเมืองสุรินทร์ ที่เป็นวัดโบราณเก่าแก่มี ๙ วัด ที่สร้างขึ้นใหม่เฉพาะในเขตเทศบาลมี ๒ วัด วัดทั้ง ๑๐ นี้ตั้งอยู่ดังนี้
วัดกลางและวัดบูรพาราม ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงชั้นใน วัดจำปา, วัดศาลาลอย วัดจุมพลสุธาวาส, วัดพรหมสุรินทร์ และวัดโคกบัวราย (ตั้งใหม่) ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงชั้นนอกและวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงชั้นนอกมี วัดหนองบัว, วัดประทุมเมฆ และวัดเทพสุรินทร์ (สร้างใหม่) วัดทั้ง ๘ ล้วนเป็นวัดโบราณไม่มีประวัติจารึกว่า วัดใดสร้างขึ้นเมื่อใดแน่นอน อนึ่ง ภายในเขตกำแพงและคูเมืองชั้นใน มีที่พอสันนิษฐานว่า เคยเป็นวัดมาก่อน ๔ แห่งคือ
๑)ในพื้นที่บริเวณตั้งโรงเรียนสุรินทร์ราษฏร์บำรุง มีซากอิฐเก่าแก่มาก่อนเคยมีต้นโพธิ์ปรากฏมาแต่เดิม ชาวบ้านแห่งนี้ว่า ”โคกโพธิ์”
๒)ในพื้นที่ตั้งโกลเด้นท์ไนคลับ มีซากอิฐเป็นมาก่อน บางคนว่าเคยเป็นวัดบางคนว่า น่าจะเป็นเทวาลัย เพราะมีอิฐกองเป็นกลุ่มขนาดย่อม ชาวบ้านเรียกที่แห่งนี้ว่า “โพธิ์ร้าง” ขณะนี้ต้นโพธิ์ยังมีอยู่
๓)ที่ตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ เคยมีต้นโพธิ์ใหญ่ มีซากอิฐมาก่อนผู้แก่ผู้เฒ่าเล่ากันว่า เป็นวัดมาก่อน แต่ย้ายออกไปทางทิศใต้ พ้นเขตกำแพงชั้นนอกและต่อมาก็ย้ายกลับมาภายในกำแพงชั้นนอก คือวัดจุมพลสุทธาวาสปัจจุบันนี้ ณ ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “โคกโพธิ์สามต้น”
๔)ณ ที่เนินนอกกำแพงชั้นใน ตรงใกล้มุมกำแพงเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้เคยเป็นวัดมาก่อนเรียกว่า วัดศาลาแดง ต่อมาวัดนี้ย้ายขยับมาทางทิศตะวันออก คือวัดพรหมสุรินทร์ปัจจุบันนี้ ที่บริเวณวัดศาลาแดง ทางวัดพรหมสุรินทร์ ถือว่าเป็นธรณีสงฆ์ของวัด แต่ชาวบ้านก็ยึดครองปลูกบ้านเรือนอยู่ ไม่ยอมรับรู้ว่าเป็นธรณีสงฆ์ของวัด
การก่อตั้งวัดกลางสุรินทร์
วัดกลางสุรินทร์ ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้าง เจ้าอาวาสองค์แรกและองค์ต่อ ๆ มามีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแต่สถานที่ตั้งวัดนั้นพอมีเหตุผลที่น่าเชื่อดังนี้เมืองสุรินทร์มีกำเนิดมาแต่ครั้งใด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า หลายร้อยปีมาแล้วโดยมีชื่อเดิมว่า ไผทสมัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๐๖ เชียงปุมซึ่งเดิมอยู่บ้านเมืองที ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระสุรินทร์ภักดี และย้ายมาอยู่ที่ไผทสมัน เมืองนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองสุรินทร์ ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองในการอพยบครั้งแรก สันนิษฐานว่า ได้เริ่มกำหนดตั้งสถานที่หลักเมืองขึ้นโดยถือเนื้อที่ส่วนกลางของเมืองจริง ๆ กล่าวคือประมาณอาณาเขตภายในคูกำแพงเมืองชั้นใน จากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตก และจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีศูนย์กลางตรงที่ตั้งหลักเมืองในปัจจุบันพอดี ถนนสายนี้เกิดขึ้นในสมัยหลังส่วนจวนเจ้าเมืองนั้น ตั้งเยืองจากศาลเจ้าหลักเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตรงบริเวณตลาดเก่า ตรงหน้าวัดกลางปัจจุบัน หรือบริเวณหลังโรงแรมโมเมเรียลทั้งหมดเป็นบริเวณจวนเจ้าเมืองมาแต่เดิม แต่ปัจจุบันนี้เป็นที่ของเอกชนหมดแล้ว
วัดกลาง น่าจะเริ่มได้รับการก่อสร้างขึ้นในสมัยนี้ ทั้งนี้เนื่องจากตั้งในเนื้อที่แนวเดียวกับจวนเจ้าเมือง ด้านทิศตะวันออกขนานกับจวนเจ้าเมือง โดยมีทางขั้นกลางระหว่างจวนเจ้าเมืองกับวัด ปัจจุบันทางสายนี้ คือถนนธนสารซึ่งเป็นทางสายเดียว ที่ตัดกลางเมืองทอดจากกำแพงด้านเหนือจดด้านใต้ และมีถนนสายหลักเมืองผ่ากลางจากตะวันออกสู่ตะวันตก ตัดกันเป็นสี่แยกหลักเมือง ถนนสองสายนี้เป็นถนนดังเดิมของเมืองสุรินทร์
การวางผังเมืองของเจ้าเมืองสุรินทร์ เข้าใจว่า ได้เพ่งถึงจุดศูนย์กลางของตัวเมืองและสร้างจวนในบริเวณดังกล่าว ที่แห่งนี้เป็นเนินสูง
ข้อยืนยันว่าเจ้าเมืองคนแรกสร้างวัดกลางสุรินทร์
ข้อยืนยันว่า เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกเป็นผู้สร้างวัดกลาง มีเหตุผลประกอบดังนี้
หลังจากเชียงปุมได้รับพระราชทานยศและตำแหน่ง กลับมาสู่บ้านเดิมที่เมืองที และเห็นว่าที่บ้านเมืองทีเป็นบ้านเล็ก ชัยภูมิไม่เหมาะสมจึงย้ายมาตั้งเมืองที่คูประทาย เมื่อกำหนดที่ตั้งจวนแล้วก็วางผังการสร้างวัดเคียงข้างกับเขตจวน ทางทิศตะวันออก
การตั้งวัดนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบข้าราชการทหารในสมัยนั้น ที่กลับจากการทำศึกสงครามก็มีการสร้างวัด ซึ่งการสร้างวัดนี้แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ก็สร้างมาก ข้าราชบริพารก็สร้างเช่นกัน จนมีคำกล่าวในสมัยนั้นว่า “สร้างวัดให้ลูกเล่น” เจ้าเมืองสุรินทร์ได้สร้างวัดขึ้นเป็นความนิยมตามสมัยนั้น เป็นการเลียนแบบจากส่วนกลางก็ได้เจ้าเมืองอาจตั้งความประสงค์ว่า เมื่อสร้างเมืองก็สร้างวัดเป็นคู่บ้านคู่เมืองด้วย จึงกำหนดพื้นที่วัดกลางติดกับเขตจวนการปฏิบัติราชการในสมัยนั้น ไม่มีศาลากลางเป็นเอกเทศใช้จวนเป็นที่ราชการด้วย เมื่อมีการชุมนุมเรื่องข้าราชการก็ใช้บริเวณวัดเป็นที่ชุมนุมเป็นความสะดวกสบายโดยตลอด วัดกลางได้เป็นที่ร่วมประชุมของทางราชการตลอดในสมัยนั้น รวมทั้งการระดมพลตามที่กล่าว ณ เบื้องต้นว่า เรื่องมีปรากฏซากอิฐเก่าที่ “โคกโพธิ์” คือบริเวณตั้งโรงเรียนราษฎร์บำรุงว่า เคยเป็นที่ตั้งวัดมาแต่เดิม เมื่อพระสุรินทร์มาสร้างเมืองแล้วเมื่อมีการวางผังเมืองและกำหนดที่วัด โดยท่านเจ้าเมืองอาจโยกย้ายวัดนี้มาตั้งเป็นวัดกลางก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลตามคติพื้นบ้านถือว่า การสร้างวัดต้องให้อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน จึงจะเป็นมงคล วัดอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ถือว่าเป็นอัปมงคล วัดอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้หมู่บ้านไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย อาจจะเป็นเพราะเหตุที่เจ้าเมืองสร้างจวนอยู่ทางทิศตะวันออกวัด จึงย้ายวัดจากทิศตะวันตกมาตั้งทิศตะวันออก แต่ทั้งนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานอาจจะร้างไปเอง และวัดกลางก็อาจตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ แต่เหตุผลที่ยืนยันมานั้นพอกล่าวได้ว่า วัดกลางเกิดในสมัยพระสุรินทร์คนแรกแน่นอน เพราะปรากฏเรื่องของเจ้าเมืองดังกล่าวแล้ว
ประเพณีที่เกิดขึ้นในวัด
วัดกลางสุรินทร์มีอุโบสถ สร้างด้วยอิฐโบกปูนแบบโบราณ ไม่มีปูนซีเมนต์เช่นปัจจุบัน เป็นโครงสวยงามในสมัยโบราณมาแล้ว วัดกลางเป็นศูนย์งานราชการ เช่นการเกณฑ์คนมาเพื่อกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเกณฑ์ทหารเป็นต้น งานประเพณีของชาวบ้านที่ต้องชุมนุม และที่เกี่ยวกับด้านศาสนาดังนี้
๑.ประเพณีการบวชนาค ในแต่ละปีนาคในเขตเมืองและจากตำบลต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงมีการนัดบวชพร้อมกัน โดยเจ้าเมืองเป็นผู้นัด ปกติก็นัดตั้งขบวนแห่ตระเวน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เจ้าเมืองมีการเกณฑ์ช้าง ประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยเชือก แห่ไปสมทบที่ต่าง ๆ หนึ่งวันเป็นที่สนุกสนาน มีขบวนม้าล่อช้าง เกิดทั้งความสนุกสนานตื่นเต้น ตอนค่ำก็ทำพิธีเรียกขวัญ และเจริญพระพุทธมนต์สมโภช รุ่งเช้าขบวนในเมืองก็แห่ไปรับนาคจากข้างนอก เมื่อสมทบพร้อมกันแล้ว แห่ตระเวนนอกเมืองประมาณบ่าย นาคทั้งหลายก็พร้อมกันกราบลาเจ้าเมือง แล้วเข้าบวช เสร็จตอนดึกเลยเที่ยงคืนก็มีชาวบ้านเรียกการบวชนาคนี้ว่า “นาคหลวง วัดกลางถือว่าเป็นวัดหลวง” เพราะเป็นที่รวมชุมชนทุกอย่าง โดยเจ้าเมืองเป็นประธานในงานทุกอย่าง
๒.ประเพณีสงกรานต์ เมือถึงเดือน ๕ ชาวบ้านทุกคุ้มในเมืองร่วมขนทรายก่อเจดีย์ ณ วัดกลาง เป็นการประกวดประชันกันในการแต่งเจดีย์ทราย วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เป็นวันแต่งเจดีย์ทรายและสมโภช รุ่งเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายเริ่มสรงน้ำพระโดยตระเวรไปตามวัดต่าง ๆ แล้วมารวมกัน ณ วักลางสุรินทร์ มีการละเล่นต่าง ๆ มีเล่นตรุษรำสาก เจรียง จรวง เจรียงนอระแก้ว เล่นซ้อนผ้าและสะบ้า ระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่ครื้นเครง เป็นประจำทุกปี
๓.ประเพณีวันสารท วันดับเดือน ๑๐ ถือว่าเป็นวันสารท หลังจากการทำบุญจากทุกวัดก็มาชุมนุมกัน มีการกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักคะเย่อระหว่างหนุ่มสาว บางครั้งหนุ่ม ๆ อริก็เรียกตัวมาชกมวยกัน เป็นทั้งมวยธรรมดาและขึงเป็นเขตให้ชก หลังจากนั้นก็แนะนำให้มีความสามัคคีกัน เลิกโกรธแค้นพยาบาทกัน วัดกลางเหมือนสนามศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน
๔.พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หลังจากสมัยเจ้าเมืองคนแรก วัดกลางยังเป็นศูนย์รวมประเพณีต่าง ๆ แม้ในสมัยต่อมาเมื่อทางราชการมีพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ก็ได้มาประกอบพิธี ณ วัดกลางเป็นเวลาหลายปี สมัยต่อมาวัดกลางก็ถึงความเจริญบ้าง เสื่อมบ้างตามยุคสมัย กล่าวคือยุคใดเจ้าอาวาสมีความสามารถในการปกครองวัด และฝ่ายบ้านเมืองให้ความอุปถัมภ์มั่นคง ก็มีความเจริญขึ้น สมัยใดขาดเจ้าอาวาสที่ทรงคุณ ก็ขาดผู้อุปถัมภ์ สมัยนั้นก็ตกอยู่ในสภาพร่วงโรย บางสมัยก็ว่างพระเหลือแต่เณร บางสมัยก็ว่างหมด วัดร่วงโรยถึงที่สุดเป็นครั้งคราว
อาณาเขตของวัดกลาง
อาณาเขตของวัดกลาง ในสมัยก่อนมีความกว้างขวาง จดเขตติดต่อถึงวัดบูรพาราม แต่เนื่องจากความล้มลุกคลุกคลานของวัดประกอบด้วยการครอบครองที่ดินของวัดด้วยมือเปล่า เมื่อทางราชการได้มีการวางผังเมืองขึ้น ที่ดินของวัดมีสภาพรกร้างว่างเปล่าครอบครองไม่ทั่วถึง ทางราชการได้ถือเอาที่ดินทางบริเวณทิศใต้สระของวัดทั้งหมดเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงยุติธรรม คงปล่อยเพียงสระน้ำให้เป็นของวัด โดยที่ไม่มีใครชี้แจงคัดค้านชี้แนวเขตของวัด
ประกอบชาวเมืองสุรินทร์สมัยนั้น ก็คือชาวบ้านที่ไร้การศึกษา ไม่มีความเจริญทางภาษาที่พูด ใช้ภาษาท้องถิ่นคือภาษาเขมร ไม่มีความรู้ภาษาไทยเลย ข้าราชการในสมัยนั้นชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นเจ้านายไม่กล้าคัดค้านถกเถียงข้าราชการ จะพูดอะไรได้ตามใจชอบเพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ต่างจากชาวบ้านในสมัยต่อมา หลวงวุฒิธรรมเนติกร มาเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัด ได้ขอที่ดินปลูกโรงงานเลื่อยไม้ ขอกั้นสระน้ำเป็นที่สงวนไว้ใช้ในครอบครัวผู้พิพากษาศาลจังหวัด (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๕) และที่นี้ก็ขาดกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ท่านผู้นี้ไม่ได้บอกคืนแก่วัด และวัดก็ไม่กล้าเรียกร้องคืนที่ดินส่วนนี้จึงตกเป็นราชพัสดุไปอีก ๒ ตอน อนึ่ง ทางทิศใต้ของวัด ก็ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน โดยที่วัดไม่ได้มีหลักฐานเรียกร้องคืนเลย ที่ดินดังกล่าวจึงถูกตัดขาดไป
ปัจจุบันวัดนี้มีพื้นที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา และหลังจากเกิดอัคคีภัยเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๖ ทางราชการได้ขอขยายถนนธนสารด้านหน้าวัดอีกประมาณ ๑ เมตรเศษตลอดแนวด้านหน้าของวัดจึงมีความจำเป็นต้องสละเพื่อความเจริญของบ้านเมือง
ความเป็นอยู่ของวัดกลางสุรินทร์
ความเป็นอยู่ของวัดกลางสุรินทร์ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มการสร้างวัดมาตามที่ได้กล่าวแล้ว โดยมีเหตุผลแสดงว่าวัดกลางเป็นคู่กำเนิดของเมืองสุรินทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๖-๒๓๒๐ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเจ้าอาวาสรูปแรกและต่อ ๆ มามีกี่รูปกี่สมัย มีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏ เพิ่งมาปรากฏในยุคหลัง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นต้นมา มีรายชื่อตามลำดับดังนี้
๑)พระอาจารย์แก้ว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐
๒)พระอาจารย์น้อม ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๓
๓)พระอาจารย์โหย ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๕
๔)พระอาจารย์ใบ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๖๐
๕)พระอาจารย์มี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๔
๖)พระอาจารย์ทิน ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๗๕
๗)พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๐๖
๘)พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๓๙
๙)พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๙
๑๐)พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน)ประมาณ พ.ศ.๒๕๔๙ – ปัจจุบัน
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นต้นมาพระเถระในวัดกลางมีตำแหน่งหน้าที่ทางการบริหารเป็นเจ้าคณะอำเภอติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้รวม ๓ สมัย และตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นต้นมา พระเถระในวัดกลาง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันรวม ๓ สมัย
ยุคพัฒนาวัด
ในการพัฒนาวัดด้านศาสนบุคคล ได้รับตำแหน่งการงานเป็นที่เชิดชูแก่วัด ไม่น้อยกว่าความเป็นมาความสำคัญดั้งเดิมที่กล่าวเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีภิกษุสามเณรและศิษย์จากที่ต่าง ๆ มาพำนักเพื่อการศึกษาอบรม เป็นภิกษุสามเณรประมาณโดยเฉลี่ยปีละ ๗๐-๙๐ รูป ศิษย์ประมาณปีละ ๔๕-๖๐ คน รวมปีละ ๑๒๐ ชีวิต ซึ่งมีความมากเกินปริมาณ สำหรับอาณาเขตของวัดซึ่งเล็กกว่าวัดอื่น ๆ หลายเท่า ผู้สำเร็จการศึกษาฝ่ายสงฆ์ก็ได้ส่งไปช่วยภาระธุระของพระศาสนาไม่น้อย ที่เป็นศิษย์ก็ออกไปประกอบอาชีพตามถนัดของตนเอง ตามฐานานุรูป ที่มีตำแหน่งทางราชการก็หลายระดับชั้น ศิษย์ทุกคนที่ออกจากวัดกลางอย่างน้อยก็มีภูมิรู้ธรรมศึกษาชั้นตรี ที่ไม่มีภูมิรู้ทางธรรมกลับไปนั้น ไม่เกิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์
การเผยแผ่
ในด้านศาสนธรรม ทั้งในศาสนกิจส่วนวัด และส่วนรวมเป็นศูนย์เผยแผ่การฟังเทศน์สามัคคีการออกรายการวิทยุ การจัดรายการปาฐกถาสนทนาธรรม กลุ่มเผยแผ่ของคณะสงฆ์รวมทั้งการเปิดสำนักอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดโคกบัวราย และอื่น ๆ มีมูลฐานจากวัดกลางซึ่งเป็นศูนย์งานและการปฎิบัติงาน การดำเนินภายในวัด เปิดสำนักศึกษารวม ๕ ประเภทด้วยกัน
การก่อสร้างเสนาสนะ
ในด้านศาสนวัตถุ ทางวัดได้พยายามก่อสร้างเริ่มสร้างบูรณะเท่าที่เป็นไปได้ แต่วัดมีอุปสรรคที่แก้ไม่ได้ เพราะเหตุการณ์และสถานที่ไม่อำนวย เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอัคคีภัยเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ทำให้วัดกลางตกอยู่ในสภาพเหมือนวัดสร้างใหม่ ไม่มีความสะดวกในการบำเพ็ญศาสนกิจ แม้สถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรก็ต้องปลูกปรำเรียน ทั้ง ๆ ที่วัดอยู่กลางใจเมือง เท่ากับเป็นการประจานน้ำใจของพุทธศาสนิกชนของชาวจังหวัดสุรินทร์ทั่วไปซึ่งเนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ที่ทางวัดยังแก้ไม่ตก ที่ได้กล่าวว่าสถานที่ไม่อำนวย ก็เพราะความคับแคบของวัดไม่อาจวางผังวัดให้มีเขตเป็นพุทธาวาส สังฆาวาสให้เป็นสัดส่วนได้ แม้ในการพัฒนาวัดยังไม่สามารถทำได้เท่าที่ควร เพราะอาคารสถานที่ยังไม่พอแก่ความจำเป็น แต่ก็ได้ตั้งโครงการเพื่อการทะนุบำรุงทางศาสนาวัตถุต่อไป
เสนาสนะที่ก่อสร้างมาก่อน และยังปลอดอัคคีภัย คือ
พ.ศ. ๒๔๙๔ สร้างกุฏิสำนักงาน และเป็นกุฏิเจ้าอาวาส ๑ หลัง ๒ ชั้น กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างด้วยเนื้อไม้แข็ง มูลค่า ๖๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๘ สร้างอุโบสถ ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มูลค่า ๘๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างประตูและกำแพงวัดด้านหน้า มูลค่าประมาณ ๔๘,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๐ สร้างกุฏิที่พักพระสังฆาธิการ ๒ ชั้น ๘ ห้อง ทรงปั้นหยา มูลค่า ๒๑๕,๐๐๐ บาท
อาคารสถานที่สร้างหลังเกิดอัคคีภัย
พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ทรงไทย มูลค่า ๙๕๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างกุฏิทรงไทย ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร มูลค่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างกุฏิเก็บสังฆภัณฑ์ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร มูลค่า ๘๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๘ สร้างครัวสงฆ์ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร มูลค่า ๕๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๙ ซ่อมอุโบสถที่เสียหายจากอัคคีภัย มูลค่า ๔๐,๓๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างกำแพงด้านข้าง ยาว ๖๐ เมตร และห้องน้ำ ๖ ห้อง ๕๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ. สร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม ๑ หลัง ๓ ชั้น จำนวน ห้อง ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง เมตร ยาว เมตร มูลค่า บาท
พ.ศ. สร้างศาลาเอนกประสงค์ ๑ หลัง ๓ ชั้น ด้วบคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง เมตร ยาว เมตร มูลค่า บาท พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างพระธาตุเจดีย์ศรีเมืองช้างวัดกลางสุรินทร์
พระเถระที่ได้รับตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัด
๑) พระมหาสาโรช ป.ธ.๖ เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘ (ลาสิกขา)
๒) พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๖ (มรณภาพ)
๓) พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๓๙ (มรณภาพ) ๔) พระปริยัติวรคุณ (สุคนธ์ ป.ธ.๖)เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์รูปที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๖ (ลาสิกขา)
๕) พระครูวิภัชกัลยาณธรรม(จันทร์ กลฺยาณมุตฺโต)เป็นเผยแผ่จังหวัด (ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย มรณะภาพแล้ว)
พระเถระที่ได้รับตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ระดับอำเภอ
๑)พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์
๒)พระครูธรรมรสสุนทร (เมธ ปญฺญาวโร) ป.ธ.๕ เป็นเจ้าคณะอำเภอศีขรภูมิ
๓)พระครูสิริปริยัตยาทร (ถวิล ชินวโร) ป.ธ.๔ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์รูปที่ ๑
๔)พระสมุห์เอียน สีลสาโร เป็นรองเจ้าคณะอำเภอปราสาท (เป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิจิตร)
๕)พระมหาสมศักดิ์ ชาติญาโณ ป.ธ.๕ ย้ายไปประจำอำเภอสังขะ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสังขะรูปที่ ๑
๖)พระมหาธีรวัฒน์ ป.ธ.๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสุรินทร์ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสังขะรูปที่ ๒
๗)พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน)เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์
การจัดการศึกษา
วัดกลางสุรินทร์ ได้เปิดการศึกษาปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๑ แต่ยังไม่มั่นคงมีอุปสรรคเกี่ยวกับเรื่องครูสอนยังขาดเป็นครั้งคราว และได้เปิดทำการสอนได้มั่นคงดังนี้
พ.ศ.๒๔๘๖ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกนักธรรม
พ.ศ.๒๔๘๗ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกธรรมศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๑ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี
พ.ศ.๒๕๑๕ เปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ สำหรับภิกษุสามเณร
พ.ศ.๒๕๒๔ เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาตอนต้น มีชื่อว่า โรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา
พ.ศ.๒๕๒๗ โรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา เปิดขยายโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาตอนปลาย
วัดกลาง เป็นศูนย์การศึกษาปริยัติธรรมส่วนกลางของจังหวัด แต่ละปีมีภิกษุสามเณรร่วมเรียนเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น
ปีการศึกษา ๒๕๑๙ มีจำนวนนักเรียนเข้าศึกษาเล่าเรียน โดยปริมาณดังนี้
นักธรรมทุกชั้นมีจำนวน ๓๙ รูป เปิดเรียนเวลา ๐๘.๓๐-๑๐.๓๐ น.
ธรรมศึกษา มีจำนวนนักเรียน ๔๒ คน เปิดเรียนเวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๓๐ น.
แผนกบาลี มีจำนวน ๙๒ รูป เปิดเรียนเวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น.
เปิดเรียนศึกษาผู้ใหญ่ มีจำนวนนักเรียน ๑๖๕ รูป เปิดเรียนเวลา ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น.
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีนักเรียน ๑๑๘ คน เปิดเรียนเวลา ๐๘.๓๐ น.

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:52, 21 สิงหาคม 2554

ประวัติวัดกลางสุรินทร์

ประวัติและภูมิศาสตร์เมืองสุรินทร์(ย่อ) ก่อนกล่าวถึงเรื่องวัดกลาง ใคร่กล่าวถึงภูมิประเทศของเมืองสุรินทร์ อันเป็นมูลแห่งการสร้างวัดกลางตามควรแก่กรณี เมืองสุรินทร์เป็นเมืองโบราณ มีชื่อเรียกว่า คูประทาย หรือ ไผทสมัน มีกำแพงและคูล้อมชั้นใน เป็นรูปวงกลม วัดผ่าศูนย์กลางจากตะวันออกสู่ตะวันตกประมาณ ๒๒ เส้นจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ ๒๖ เส้น มีกำแพงและคูชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมวงรี ๆ รวมเป็นกำแพง ๒ ชั้น ภูมิประเทศภายในเขตกำแพงชั้นในส่วนมากเป็นที่ลุ่ม บางแห่งมีน้ำขังอยู่ตลอดฤดูหนาว ที่เป็นเนินมีบริเวณจากซอยตาดอกทอดไปทางทิศตะวันออกจดวัดบูรพารามด้านทิศใต้แค่บริเวณถนนหลักเมือง เนินที่สูงสุดตรงบริเวณทิศใต้ตลาดเทศบาล ชาวบ้านเรียกคนแถบนี้ว่า “คุ้มโคกสูง” วัดที่มีอยู่ในตัวเมืองสุรินทร์ ที่เป็นวัดโบราณเก่าแก่มี ๙ วัด ที่สร้างขึ้นใหม่เฉพาะในเขตเทศบาลมี ๒ วัด วัดทั้ง ๑๐ นี้ตั้งอยู่ดังนี้ วัดกลางและวัดบูรพาราม ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงชั้นใน วัดจำปา, วัดศาลาลอย วัดจุมพลสุธาวาส, วัดพรหมสุรินทร์ และวัดโคกบัวราย (ตั้งใหม่) ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงชั้นนอกและวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงชั้นนอกมี วัดหนองบัว, วัดประทุมเมฆ และวัดเทพสุรินทร์ (สร้างใหม่) วัดทั้ง ๘ ล้วนเป็นวัดโบราณไม่มีประวัติจารึกว่า วัดใดสร้างขึ้นเมื่อใดแน่นอน อนึ่ง ภายในเขตกำแพงและคูเมืองชั้นใน มีที่พอสันนิษฐานว่า เคยเป็นวัดมาก่อน ๔ แห่งคือ ๑)ในพื้นที่บริเวณตั้งโรงเรียนสุรินทร์ราษฏร์บำรุง มีซากอิฐเก่าแก่มาก่อนเคยมีต้นโพธิ์ปรากฏมาแต่เดิม ชาวบ้านแห่งนี้ว่า ”โคกโพธิ์” ๒)ในพื้นที่ตั้งโกลเด้นท์ไนคลับ มีซากอิฐเป็นมาก่อน บางคนว่าเคยเป็นวัดบางคนว่า น่าจะเป็นเทวาลัย เพราะมีอิฐกองเป็นกลุ่มขนาดย่อม ชาวบ้านเรียกที่แห่งนี้ว่า “โพธิ์ร้าง” ขณะนี้ต้นโพธิ์ยังมีอยู่ ๓)ที่ตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์ เคยมีต้นโพธิ์ใหญ่ มีซากอิฐมาก่อนผู้แก่ผู้เฒ่าเล่ากันว่า เป็นวัดมาก่อน แต่ย้ายออกไปทางทิศใต้ พ้นเขตกำแพงชั้นนอกและต่อมาก็ย้ายกลับมาภายในกำแพงชั้นนอก คือวัดจุมพลสุทธาวาสปัจจุบันนี้ ณ ที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “โคกโพธิ์สามต้น” ๔)ณ ที่เนินนอกกำแพงชั้นใน ตรงใกล้มุมกำแพงเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้เคยเป็นวัดมาก่อนเรียกว่า วัดศาลาแดง ต่อมาวัดนี้ย้ายขยับมาทางทิศตะวันออก คือวัดพรหมสุรินทร์ปัจจุบันนี้ ที่บริเวณวัดศาลาแดง ทางวัดพรหมสุรินทร์ ถือว่าเป็นธรณีสงฆ์ของวัด แต่ชาวบ้านก็ยึดครองปลูกบ้านเรือนอยู่ ไม่ยอมรับรู้ว่าเป็นธรณีสงฆ์ของวัด

การก่อตั้งวัดกลางสุรินทร์

วัดกลางสุรินทร์ ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้าง เจ้าอาวาสองค์แรกและองค์ต่อ ๆ มามีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแต่สถานที่ตั้งวัดนั้นพอมีเหตุผลที่น่าเชื่อดังนี้เมืองสุรินทร์มีกำเนิดมาแต่ครั้งใด นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า หลายร้อยปีมาแล้วโดยมีชื่อเดิมว่า ไผทสมัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๐๖ เชียงปุมซึ่งเดิมอยู่บ้านเมืองที ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระสุรินทร์ภักดี และย้ายมาอยู่ที่ไผทสมัน เมืองนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองสุรินทร์ ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองในการอพยบครั้งแรก สันนิษฐานว่า ได้เริ่มกำหนดตั้งสถานที่หลักเมืองขึ้นโดยถือเนื้อที่ส่วนกลางของเมืองจริง ๆ กล่าวคือประมาณอาณาเขตภายในคูกำแพงเมืองชั้นใน จากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตก และจากทิศเหนือจดทิศใต้ มีศูนย์กลางตรงที่ตั้งหลักเมืองในปัจจุบันพอดี ถนนสายนี้เกิดขึ้นในสมัยหลังส่วนจวนเจ้าเมืองนั้น ตั้งเยืองจากศาลเจ้าหลักเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตรงบริเวณตลาดเก่า ตรงหน้าวัดกลางปัจจุบัน หรือบริเวณหลังโรงแรมโมเมเรียลทั้งหมดเป็นบริเวณจวนเจ้าเมืองมาแต่เดิม แต่ปัจจุบันนี้เป็นที่ของเอกชนหมดแล้ว วัดกลาง น่าจะเริ่มได้รับการก่อสร้างขึ้นในสมัยนี้ ทั้งนี้เนื่องจากตั้งในเนื้อที่แนวเดียวกับจวนเจ้าเมือง ด้านทิศตะวันออกขนานกับจวนเจ้าเมือง โดยมีทางขั้นกลางระหว่างจวนเจ้าเมืองกับวัด ปัจจุบันทางสายนี้ คือถนนธนสารซึ่งเป็นทางสายเดียว ที่ตัดกลางเมืองทอดจากกำแพงด้านเหนือจดด้านใต้ และมีถนนสายหลักเมืองผ่ากลางจากตะวันออกสู่ตะวันตก ตัดกันเป็นสี่แยกหลักเมือง ถนนสองสายนี้เป็นถนนดังเดิมของเมืองสุรินทร์ การวางผังเมืองของเจ้าเมืองสุรินทร์ เข้าใจว่า ได้เพ่งถึงจุดศูนย์กลางของตัวเมืองและสร้างจวนในบริเวณดังกล่าว ที่แห่งนี้เป็นเนินสูง ข้อยืนยันว่าเจ้าเมืองคนแรกสร้างวัดกลางสุรินทร์ ข้อยืนยันว่า เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรกเป็นผู้สร้างวัดกลาง มีเหตุผลประกอบดังนี้

หลังจากเชียงปุมได้รับพระราชทานยศและตำแหน่ง  กลับมาสู่บ้านเดิมที่เมืองที  และเห็นว่าที่บ้านเมืองทีเป็นบ้านเล็ก  ชัยภูมิไม่เหมาะสมจึงย้ายมาตั้งเมืองที่คูประทาย  เมื่อกำหนดที่ตั้งจวนแล้วก็วางผังการสร้างวัดเคียงข้างกับเขตจวน  ทางทิศตะวันออก  

การตั้งวัดนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบข้าราชการทหารในสมัยนั้น ที่กลับจากการทำศึกสงครามก็มีการสร้างวัด ซึ่งการสร้างวัดนี้แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ก็สร้างมาก ข้าราชบริพารก็สร้างเช่นกัน จนมีคำกล่าวในสมัยนั้นว่า “สร้างวัดให้ลูกเล่น” เจ้าเมืองสุรินทร์ได้สร้างวัดขึ้นเป็นความนิยมตามสมัยนั้น เป็นการเลียนแบบจากส่วนกลางก็ได้เจ้าเมืองอาจตั้งความประสงค์ว่า เมื่อสร้างเมืองก็สร้างวัดเป็นคู่บ้านคู่เมืองด้วย จึงกำหนดพื้นที่วัดกลางติดกับเขตจวนการปฏิบัติราชการในสมัยนั้น ไม่มีศาลากลางเป็นเอกเทศใช้จวนเป็นที่ราชการด้วย เมื่อมีการชุมนุมเรื่องข้าราชการก็ใช้บริเวณวัดเป็นที่ชุมนุมเป็นความสะดวกสบายโดยตลอด วัดกลางได้เป็นที่ร่วมประชุมของทางราชการตลอดในสมัยนั้น รวมทั้งการระดมพลตามที่กล่าว ณ เบื้องต้นว่า เรื่องมีปรากฏซากอิฐเก่าที่ “โคกโพธิ์” คือบริเวณตั้งโรงเรียนราษฎร์บำรุงว่า เคยเป็นที่ตั้งวัดมาแต่เดิม เมื่อพระสุรินทร์มาสร้างเมืองแล้วเมื่อมีการวางผังเมืองและกำหนดที่วัด โดยท่านเจ้าเมืองอาจโยกย้ายวัดนี้มาตั้งเป็นวัดกลางก็ได้ ทั้งนี้โดยเหตุผลตามคติพื้นบ้านถือว่า การสร้างวัดต้องให้อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน จึงจะเป็นมงคล วัดอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ถือว่าเป็นอัปมงคล วัดอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้หมู่บ้านไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย อาจจะเป็นเพราะเหตุที่เจ้าเมืองสร้างจวนอยู่ทางทิศตะวันออกวัด จึงย้ายวัดจากทิศตะวันตกมาตั้งทิศตะวันออก แต่ทั้งนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานอาจจะร้างไปเอง และวัดกลางก็อาจตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ แต่เหตุผลที่ยืนยันมานั้นพอกล่าวได้ว่า วัดกลางเกิดในสมัยพระสุรินทร์คนแรกแน่นอน เพราะปรากฏเรื่องของเจ้าเมืองดังกล่าวแล้ว ประเพณีที่เกิดขึ้นในวัด

วัดกลางสุรินทร์มีอุโบสถ  สร้างด้วยอิฐโบกปูนแบบโบราณ  ไม่มีปูนซีเมนต์เช่นปัจจุบัน  เป็นโครงสวยงามในสมัยโบราณมาแล้ว  วัดกลางเป็นศูนย์งานราชการ  เช่นการเกณฑ์คนมาเพื่อกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง  มีเกณฑ์ทหารเป็นต้น  งานประเพณีของชาวบ้านที่ต้องชุมนุม  และที่เกี่ยวกับด้านศาสนาดังนี้

๑.ประเพณีการบวชนาค ในแต่ละปีนาคในเขตเมืองและจากตำบลต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงมีการนัดบวชพร้อมกัน โดยเจ้าเมืองเป็นผู้นัด ปกติก็นัดตั้งขบวนแห่ตระเวน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เจ้าเมืองมีการเกณฑ์ช้าง ประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยเชือก แห่ไปสมทบที่ต่าง ๆ หนึ่งวันเป็นที่สนุกสนาน มีขบวนม้าล่อช้าง เกิดทั้งความสนุกสนานตื่นเต้น ตอนค่ำก็ทำพิธีเรียกขวัญ และเจริญพระพุทธมนต์สมโภช รุ่งเช้าขบวนในเมืองก็แห่ไปรับนาคจากข้างนอก เมื่อสมทบพร้อมกันแล้ว แห่ตระเวนนอกเมืองประมาณบ่าย นาคทั้งหลายก็พร้อมกันกราบลาเจ้าเมือง แล้วเข้าบวช เสร็จตอนดึกเลยเที่ยงคืนก็มีชาวบ้านเรียกการบวชนาคนี้ว่า “นาคหลวง วัดกลางถือว่าเป็นวัดหลวง” เพราะเป็นที่รวมชุมชนทุกอย่าง โดยเจ้าเมืองเป็นประธานในงานทุกอย่าง ๒.ประเพณีสงกรานต์ เมือถึงเดือน ๕ ชาวบ้านทุกคุ้มในเมืองร่วมขนทรายก่อเจดีย์ ณ วัดกลาง เป็นการประกวดประชันกันในการแต่งเจดีย์ทราย วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เป็นวันแต่งเจดีย์ทรายและสมโภช รุ่งเช้าทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายเริ่มสรงน้ำพระโดยตระเวรไปตามวัดต่าง ๆ แล้วมารวมกัน ณ วักลางสุรินทร์ มีการละเล่นต่าง ๆ มีเล่นตรุษรำสาก เจรียง จรวง เจรียงนอระแก้ว เล่นซ้อนผ้าและสะบ้า ระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่ครื้นเครง เป็นประจำทุกปี ๓.ประเพณีวันสารท วันดับเดือน ๑๐ ถือว่าเป็นวันสารท หลังจากการทำบุญจากทุกวัดก็มาชุมนุมกัน มีการกีฬาพื้นบ้าน เช่น ชักคะเย่อระหว่างหนุ่มสาว บางครั้งหนุ่ม ๆ อริก็เรียกตัวมาชกมวยกัน เป็นทั้งมวยธรรมดาและขึงเป็นเขตให้ชก หลังจากนั้นก็แนะนำให้มีความสามัคคีกัน เลิกโกรธแค้นพยาบาทกัน วัดกลางเหมือนสนามศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน ๔.พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หลังจากสมัยเจ้าเมืองคนแรก วัดกลางยังเป็นศูนย์รวมประเพณีต่าง ๆ แม้ในสมัยต่อมาเมื่อทางราชการมีพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ก็ได้มาประกอบพิธี ณ วัดกลางเป็นเวลาหลายปี สมัยต่อมาวัดกลางก็ถึงความเจริญบ้าง เสื่อมบ้างตามยุคสมัย กล่าวคือยุคใดเจ้าอาวาสมีความสามารถในการปกครองวัด และฝ่ายบ้านเมืองให้ความอุปถัมภ์มั่นคง ก็มีความเจริญขึ้น สมัยใดขาดเจ้าอาวาสที่ทรงคุณ ก็ขาดผู้อุปถัมภ์ สมัยนั้นก็ตกอยู่ในสภาพร่วงโรย บางสมัยก็ว่างพระเหลือแต่เณร บางสมัยก็ว่างหมด วัดร่วงโรยถึงที่สุดเป็นครั้งคราว

อาณาเขตของวัดกลาง

อาณาเขตของวัดกลาง ในสมัยก่อนมีความกว้างขวาง จดเขตติดต่อถึงวัดบูรพาราม แต่เนื่องจากความล้มลุกคลุกคลานของวัดประกอบด้วยการครอบครองที่ดินของวัดด้วยมือเปล่า เมื่อทางราชการได้มีการวางผังเมืองขึ้น ที่ดินของวัดมีสภาพรกร้างว่างเปล่าครอบครองไม่ทั่วถึง ทางราชการได้ถือเอาที่ดินทางบริเวณทิศใต้สระของวัดทั้งหมดเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงยุติธรรม คงปล่อยเพียงสระน้ำให้เป็นของวัด โดยที่ไม่มีใครชี้แจงคัดค้านชี้แนวเขตของวัด ประกอบชาวเมืองสุรินทร์สมัยนั้น ก็คือชาวบ้านที่ไร้การศึกษา ไม่มีความเจริญทางภาษาที่พูด ใช้ภาษาท้องถิ่นคือภาษาเขมร ไม่มีความรู้ภาษาไทยเลย ข้าราชการในสมัยนั้นชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นเจ้านายไม่กล้าคัดค้านถกเถียงข้าราชการ จะพูดอะไรได้ตามใจชอบเพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ต่างจากชาวบ้านในสมัยต่อมา หลวงวุฒิธรรมเนติกร มาเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัด ได้ขอที่ดินปลูกโรงงานเลื่อยไม้ ขอกั้นสระน้ำเป็นที่สงวนไว้ใช้ในครอบครัวผู้พิพากษาศาลจังหวัด (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๕) และที่นี้ก็ขาดกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ท่านผู้นี้ไม่ได้บอกคืนแก่วัด และวัดก็ไม่กล้าเรียกร้องคืนที่ดินส่วนนี้จึงตกเป็นราชพัสดุไปอีก ๒ ตอน อนึ่ง ทางทิศใต้ของวัด ก็ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน โดยที่วัดไม่ได้มีหลักฐานเรียกร้องคืนเลย ที่ดินดังกล่าวจึงถูกตัดขาดไป ปัจจุบันวัดนี้มีพื้นที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๔๘ ตารางวา และหลังจากเกิดอัคคีภัยเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๖ ทางราชการได้ขอขยายถนนธนสารด้านหน้าวัดอีกประมาณ ๑ เมตรเศษตลอดแนวด้านหน้าของวัดจึงมีความจำเป็นต้องสละเพื่อความเจริญของบ้านเมือง ความเป็นอยู่ของวัดกลางสุรินทร์ ความเป็นอยู่ของวัดกลางสุรินทร์ ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มการสร้างวัดมาตามที่ได้กล่าวแล้ว โดยมีเหตุผลแสดงว่าวัดกลางเป็นคู่กำเนิดของเมืองสุรินทร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๖-๒๓๒๐ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเจ้าอาวาสรูปแรกและต่อ ๆ มามีกี่รูปกี่สมัย มีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏ เพิ่งมาปรากฏในยุคหลัง ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นต้นมา มีรายชื่อตามลำดับดังนี้ ๑)พระอาจารย์แก้ว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๕๐ ๒)พระอาจารย์น้อม ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ - ๒๔๕๓ ๓)พระอาจารย์โหย ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๕ ๔)พระอาจารย์ใบ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๖๐ ๕)พระอาจารย์มี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ - ๒๔๖๔ ๖)พระอาจารย์ทิน ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๒๔๗๕ ๗)พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๐๖ ๘)พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท) ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๓๙ ๙)พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๙ ๑๐)พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน)ประมาณ พ.ศ.๒๕๔๙ – ปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นต้นมาพระเถระในวัดกลางมีตำแหน่งหน้าที่ทางการบริหารเป็นเจ้าคณะอำเภอติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้รวม ๓ สมัย และตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นต้นมา พระเถระในวัดกลาง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันรวม ๓ สมัย

ยุคพัฒนาวัด

ในการพัฒนาวัดด้านศาสนบุคคล ได้รับตำแหน่งการงานเป็นที่เชิดชูแก่วัด ไม่น้อยกว่าความเป็นมาความสำคัญดั้งเดิมที่กล่าวเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งมีภิกษุสามเณรและศิษย์จากที่ต่าง ๆ มาพำนักเพื่อการศึกษาอบรม เป็นภิกษุสามเณรประมาณโดยเฉลี่ยปีละ ๗๐-๙๐ รูป ศิษย์ประมาณปีละ ๔๕-๖๐ คน รวมปีละ ๑๒๐ ชีวิต ซึ่งมีความมากเกินปริมาณ สำหรับอาณาเขตของวัดซึ่งเล็กกว่าวัดอื่น ๆ หลายเท่า ผู้สำเร็จการศึกษาฝ่ายสงฆ์ก็ได้ส่งไปช่วยภาระธุระของพระศาสนาไม่น้อย ที่เป็นศิษย์ก็ออกไปประกอบอาชีพตามถนัดของตนเอง ตามฐานานุรูป ที่มีตำแหน่งทางราชการก็หลายระดับชั้น ศิษย์ทุกคนที่ออกจากวัดกลางอย่างน้อยก็มีภูมิรู้ธรรมศึกษาชั้นตรี ที่ไม่มีภูมิรู้ทางธรรมกลับไปนั้น ไม่เกิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ การเผยแผ่ ในด้านศาสนธรรม ทั้งในศาสนกิจส่วนวัด และส่วนรวมเป็นศูนย์เผยแผ่การฟังเทศน์สามัคคีการออกรายการวิทยุ การจัดรายการปาฐกถาสนทนาธรรม กลุ่มเผยแผ่ของคณะสงฆ์รวมทั้งการเปิดสำนักอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดโคกบัวราย และอื่น ๆ มีมูลฐานจากวัดกลางซึ่งเป็นศูนย์งานและการปฎิบัติงาน การดำเนินภายในวัด เปิดสำนักศึกษารวม ๕ ประเภทด้วยกัน

การก่อสร้างเสนาสนะ

ในด้านศาสนวัตถุ ทางวัดได้พยายามก่อสร้างเริ่มสร้างบูรณะเท่าที่เป็นไปได้ แต่วัดมีอุปสรรคที่แก้ไม่ได้ เพราะเหตุการณ์และสถานที่ไม่อำนวย เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอัคคีภัยเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ทำให้วัดกลางตกอยู่ในสภาพเหมือนวัดสร้างใหม่ ไม่มีความสะดวกในการบำเพ็ญศาสนกิจ แม้สถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรก็ต้องปลูกปรำเรียน ทั้ง ๆ ที่วัดอยู่กลางใจเมือง เท่ากับเป็นการประจานน้ำใจของพุทธศาสนิกชนของชาวจังหวัดสุรินทร์ทั่วไปซึ่งเนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ที่ทางวัดยังแก้ไม่ตก ที่ได้กล่าวว่าสถานที่ไม่อำนวย ก็เพราะความคับแคบของวัดไม่อาจวางผังวัดให้มีเขตเป็นพุทธาวาส สังฆาวาสให้เป็นสัดส่วนได้ แม้ในการพัฒนาวัดยังไม่สามารถทำได้เท่าที่ควร เพราะอาคารสถานที่ยังไม่พอแก่ความจำเป็น แต่ก็ได้ตั้งโครงการเพื่อการทะนุบำรุงทางศาสนาวัตถุต่อไป เสนาสนะที่ก่อสร้างมาก่อน และยังปลอดอัคคีภัย คือ พ.ศ. ๒๔๙๔ สร้างกุฏิสำนักงาน และเป็นกุฏิเจ้าอาวาส ๑ หลัง ๒ ชั้น กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างด้วยเนื้อไม้แข็ง มูลค่า ๖๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๘ สร้างอุโบสถ ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มูลค่า ๘๕๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๐๘ สร้างประตูและกำแพงวัดด้านหน้า มูลค่าประมาณ ๔๘,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๐ สร้างกุฏิที่พักพระสังฆาธิการ ๒ ชั้น ๘ ห้อง ทรงปั้นหยา มูลค่า ๒๑๕,๐๐๐ บาท อาคารสถานที่สร้างหลังเกิดอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ทรงไทย มูลค่า ๙๕๒,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างกุฏิทรงไทย ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร มูลค่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ สร้างกุฏิเก็บสังฆภัณฑ์ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๘ เมตร มูลค่า ๘๕,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๘ สร้างครัวสงฆ์ ๑ หลัง ๒ ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร มูลค่า ๕๒,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๙ ซ่อมอุโบสถที่เสียหายจากอัคคีภัย มูลค่า ๔๐,๓๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างกำแพงด้านข้าง ยาว ๖๐ เมตร และห้องน้ำ ๖ ห้อง ๕๒,๐๐๐ บาท พ.ศ. สร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม ๑ หลัง ๓ ชั้น จำนวน ห้อง ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง เมตร ยาว เมตร มูลค่า บาท พ.ศ. สร้างศาลาเอนกประสงค์ ๑ หลัง ๓ ชั้น ด้วบคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง เมตร ยาว เมตร มูลค่า บาท พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างพระธาตุเจดีย์ศรีเมืองช้างวัดกลางสุรินทร์ พระเถระที่ได้รับตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัด ๑) พระมหาสาโรช ป.ธ.๖ เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘ (ลาสิกขา) ๒) พระประภากรคณาจารย์ (เดื่อ ปภากโร) เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๖ (มรณภาพ) ๓) พระราชสิทธิโกศล (เทพ นนฺโท)เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๓๙ (มรณภาพ) ๔) พระปริยัติวรคุณ (สุคนธ์ ป.ธ.๖)เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์รูปที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๖ (ลาสิกขา) ๕) พระครูวิภัชกัลยาณธรรม(จันทร์ กลฺยาณมุตฺโต)เป็นเผยแผ่จังหวัด (ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาลอย มรณะภาพแล้ว) พระเถระที่ได้รับตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ระดับอำเภอ ๑)พระครูบรรณสารโกวิท (แป สุปญฺโญ) เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ ๒)พระครูธรรมรสสุนทร (เมธ ปญฺญาวโร) ป.ธ.๕ เป็นเจ้าคณะอำเภอศีขรภูมิ ๓)พระครูสิริปริยัตยาทร (ถวิล ชินวโร) ป.ธ.๔ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์รูปที่ ๑ ๔)พระสมุห์เอียน สีลสาโร เป็นรองเจ้าคณะอำเภอปราสาท (เป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิจิตร) ๕)พระมหาสมศักดิ์ ชาติญาโณ ป.ธ.๕ ย้ายไปประจำอำเภอสังขะ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสังขะรูปที่ ๑ ๖)พระมหาธีรวัฒน์ ป.ธ.๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพสุรินทร์ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสังขะรูปที่ ๒

๗)พระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง  อคฺคเสโน)เป็นรองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์

การจัดการศึกษา วัดกลางสุรินทร์ ได้เปิดการศึกษาปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๑ แต่ยังไม่มั่นคงมีอุปสรรคเกี่ยวกับเรื่องครูสอนยังขาดเป็นครั้งคราว และได้เปิดทำการสอนได้มั่นคงดังนี้ พ.ศ.๒๔๘๖ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกนักธรรม พ.ศ.๒๔๘๗ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกธรรมศึกษา พ.ศ.๒๔๙๑ เปิดการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลี พ.ศ.๒๕๑๕ เปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ สำหรับภิกษุสามเณร พ.ศ.๒๕๒๔ เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาตอนต้น มีชื่อว่า โรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา พ.ศ.๒๕๒๗ โรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา เปิดขยายโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาตอนปลาย วัดกลาง เป็นศูนย์การศึกษาปริยัติธรรมส่วนกลางของจังหวัด แต่ละปีมีภิกษุสามเณรร่วมเรียนเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ปีการศึกษา ๒๕๑๙ มีจำนวนนักเรียนเข้าศึกษาเล่าเรียน โดยปริมาณดังนี้ นักธรรมทุกชั้นมีจำนวน ๓๙ รูป เปิดเรียนเวลา ๐๘.๓๐-๑๐.๓๐ น. ธรรมศึกษา มีจำนวนนักเรียน ๔๒ คน เปิดเรียนเวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๓๐ น. แผนกบาลี มีจำนวน ๙๒ รูป เปิดเรียนเวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. เปิดเรียนศึกษาผู้ใหญ่ มีจำนวนนักเรียน ๑๖๕ รูป เปิดเรียนเวลา ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มีนักเรียน ๑๑๘ คน เปิดเรียนเวลา ๐๘.๓๐ น.