ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Berrykuza (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
'''ศาลชั้นต้น''' เป็น[[ศาลยุติธรรม]] เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก โดยทั่วไป ผู้ใดที่มีคดีความและประสงค์จะใช้สิทธิฟ้องร้องจะต้องยื่นฟ้องที่ศาลนี้
'''ศาลชั้นต้น''' เป็น[[ศาลยุติธรรม]] เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก โดยทั่วไป ผู้ใดที่มีคดีความและประสงค์จะใช้สิทธิฟ้องร้องจะต้องยื่นฟ้องที่ศาลนี้


==ประวัติความเป็นมา==
== ประวัติ ==
===สมัยสุโขทัย===
===สมัยสุโขทัย===
[[ไฟล์:Ramkhamhaeng-Script1.png|thumb|ภาพสำเนา ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1]]
[[ไฟล์:Ramkhamhaeng-Script1.png|thumb|ภาพสำเนา ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1]]
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
*ศาลความสังกัด หรือศาลกระทรวงสัสดี พิจารณาความพิพาทเกี่ยวกับหมู่ หมายของบ่าวไพร่ การปันหมู่
*ศาลความสังกัด หรือศาลกระทรวงสัสดี พิจารณาความพิพาทเกี่ยวกับหมู่ หมายของบ่าวไพร่ การปันหมู่


*ศาลความเวทมนต์ หรือศาลกระทรวงแพทยา พิจารณาความกล่าวหาว่า เป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนต์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น ถ้าความเกิดในหัวเมืองขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
*ศาลความเวทมนตร์ หรือศาลกระทรวงแพทยา พิจารณาความกล่าวหาว่า เป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนตร์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น ถ้าความเกิดในหัวเมืองขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา


ตามระบบการศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดเลย ไม่มีการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดิมในศาลชั้นสูงอีก ยกเว้นกรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีของตนกระทำมิชอบหรือไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตนก็อาจฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานนั้น ๆ ต่อศาลหลวง คดีในลักษณะเช่นนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นความอุทธรณ์ และศาลหลวงก็คือศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น ส่วนศาลฎีกานั้นยังไม่มี แต่อาจมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์บ้าง
ตามระบบการศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดเลย ไม่มีการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดิมในศาลชั้นสูงอีก ยกเว้นกรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีของตนกระทำมิชอบหรือไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตนก็อาจฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานนั้น ๆ ต่อศาลหลวง คดีในลักษณะเช่นนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นความอุทธรณ์ และศาลหลวงก็คือศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น ส่วนศาลฎีกานั้นยังไม่มี แต่อาจมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์บ้าง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:37, 21 พฤษภาคม 2558

ศาลชั้นต้น เป็นศาลยุติธรรม เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก โดยทั่วไป ผู้ใดที่มีคดีความและประสงค์จะใช้สิทธิฟ้องร้องจะต้องยื่นฟ้องที่ศาลนี้

ประวัติ

สมัยสุโขทัย

ไฟล์:Ramkhamhaeng-Script1.png
ภาพสำเนา ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1

ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ

— ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1

ในสมัยสุโขทัย จากข้อความบนหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแสดงให้เห็นว่าประชาชนสามารถร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง ยังไม่มีการตั้งองค์กรที่มีลักษณะเป็นศาลขึ้นมาตัดสินคดีโดยตรง


สมัยกรุงศรีอยุธยา

เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงได้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น พระองค์ได้ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่โดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง และมีเสนาบดี 4 ฝ่ายคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา เรียกว่า "จตุสดมภ์" โดยให้สนาบดีกรมวังเป็นผู้ชำระความแทนพระมหากษัตริย์ กรมวังจึงมีหน้าที่ดูแลศาลหลวง และการแต่งตั้งยกกระบัตรไปทำหน้าที่ดูและความยุติธรรมหรือเป็นหัวหน้าศาลในหัวเมือง

วิธีการพิจารณาและพิพากษาคดีในประเทศสยามตามแบบครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ยังใช้ต่อมาในกรุงรัตนโกสินทร์จนกระทั่งตั้งกระทรวงยุติธรรมในรัชกาล ที่ ๕ เป็นวิธีแปลกที่เอาแบบอินเดียมาประสมกับแบบไทย ด้วยความฉลาดอันพึงเห็นได้ในเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเป็นประเพณีที่ไม่มีเหมือนในประเทศอื่น คือใช้บุคคล ๒ จำพวกเป็นพนักงานตุลาการ จำพวกหนึ่งเป็นพราหมณ์ชาวต่างประเทศซึ่งเชี่ยวชาญทางนิติศาสตร์ เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มี ๑๒ คน หัวหน้าเป็นพระมหาราชครูปุโรหิตคน ๑ พระมหาราชครูมหิธรคน ๑ ถือศักดินาเท่าเจ้าพระยา หน้าที่ของลูกขุน ณ ศาลหลวงสำหรับชี้บทกฎหมายแต่จะบังคับบัญชาอย่างใดไม่ได้ อำนาจการบังคับบัญชาทุกอย่างอยู่กับเจ้าพนักงานที่เป็นไทย...

— สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปรับปรุงระบบการปกครองขึ้นอีกครั้งหนึ่งมีการจัดตั้งกรมขึ้นสองกรม ได้แก่ กรมมหาดไทย ซึ่งดูแลกิจการพลเรือน โดยมีสมุหนายกเป็นอัครเสนาบดีดูแล และกรมกลาโหม ซึ่งดูแลกิจการทหาร โดยมีสมุหพระกลาโหมดูแล จตุสดมภ์นั้นให้มาขึ้นกับกรมมหาดไทยแล้วมีการเปลี่ยนชื่อและเพิ่มหน้าที่ โดยเฉพาะการขยายศาลไปทุกกรม ทำหน้าที่ตัดสินคดีความที่เกี่ยวข้องกับกรมของตน เช่น ศาลนครบาลขึ้นกับกรมพระนครบาล(กรมเมือง) ทำหน้าที่ชำระความคดีโจรผู้ร้าย ศาลความอาญา ศาลความแพ่งขึ้นกับกรมธรรมาธิบดี(กรมวัง) ชำระความคดีอาญาและคดีความแพ่งทั้งปวง ศาลการกระทรวง ขึ้นอยู่กับกรมอื่น ๆ ชำระคดีที่อยู่ในหน้าที่ของกรมนั้น ๆ

การพิจารณาและพิพากษาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาแบ่งเป็นหลายหน้าที่ให้หลายหน่วยงานทำงานร่วมกัน เริ่มจากกรมรับฟ้อง ลูกขุน ตระลาการ ผู้ปรับ กล่าวคือ กรมรับฟ้อง เป็นกรมต่างหาก มีหน้าที่รับฟ้องจากผู้เดือดร้อนทางอรรถคดี กรมรับฟ้องนำฟ้องเสนอลูกขุนที่เป็นกรมต่างหาก เมื่อลูกขุนตรวจฟ้องแล้ว กรมรับฟ้องก็จะส่งฟ้องไปยังศาลต่าง ๆ ที่แยกย้ายกันสังกัดกระทรวงกรมต่าง ๆ ศาลใดศาลหนึ่งแล้วแต่คดีความนั้นจะอยู่ในอำนาจศาลใด เช่น ศาลกรมวัง ศาลกรมนา เป็นต้น แต่ละศาลจะมีตระลาการที่จะพิจารณาไต่สวนอรรถคดีเป็นของตนเอง โดยมีลูกขุนและผู้ปรับซึ่งอยู่ในกรมอื่นต่างหากทำหน้าที่ชี้ขาดและปรับสินไหมพินัยร่วมกันอยู่

ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มีการตรากฎหมายวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2165 ซึ่งในกฎหมายตราสามดวงเรียกกฎหมายดังกล่าวว่า “พระธรรมนูญ” จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้ทราบได้ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมเป็นต้นมา มีศาลที่พิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ กัน 14 ประเภท ดังนี้

  • ศาลความอุทธรณ์หรือศาลหลวง พิจารณาคดีเกี่ยวกับตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำมิชอบในคดี เช่น ฟ้องว่าตระลาการเป็นใจกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทำชู้กับคู่ความ เจ้าหน้าที่ในศาลรับสินบนหรือฟ้องว่าพยานเบิกความเท็จ
  • ศาลอาชญาราษฎร์ หรือศาลราษฎร์ พิจารณาความอาชญาประเภทข่มเหง รังแกกัน เช่น เกาะกุมคุมขังบุคคลโดยมิชอบ บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน
  • ศาลอาชญาจักร พิจารณาคดีว่าความแทนกัน เช่น อ้างว่าเป็นญาติพี่น้องแล้ว ว่าความแทนกัน หรือแต่งสำนวนให้ผู้อื่นฟ้องร้อง เป็นต้น หรือพิจารณาคดียุยงให้เขาเป็นความกัน
  • ศาลความนครบาล หรือกระทรวงนครบาล พิจารณาความนครบาล เช่น ปล้น ฆ่า ยาแฝดยาเมาถึงตาย ทำแท้งถึงตายเป็นต้น
  • ศาลแพ่งวัง พิจารณาคดีด่าสบประมาท แทะโลม ล้วงแย่งเมียและลูกสาวผู้อื่น ข่มขืนมิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน ผัวเมียหย่ากัน ผัวเมียลักทรัพย์กัน พ่อแม่พี่น้องลูกหลานลักทรัพย์กัน บุกรุกที่ดินเรือกสวน รับสิ่งของฝากเช่าจำนำ ถ่มน้ำลายรดหัวผู้อื่น ทำชู้หรือข่มขืน กอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา
  • ศาลแพ่งกลาง พิจารณาความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหา ในสถานเบา เช่น ด่าสบประมาท แทะโลม ข่มขืนมิได้ถึงชำเรา ทุบถองตบตีด้วยไม้หรือมือไม่ถึงสาหัส กู้หนี้ยืมสิน
  • ศาลแพ่งเกษม พิจารณาความแพ่งที่จำเลยเป็นสมนอกและเป็นคดีที่กล่าวหา ในสถานหนัก เช่น บุกรุกที่ดินเรือกสวน ทำชู้หรือข่มขืนกอดจูบเมียหรือลูกหลานผู้อื่นถึงชำเรา
  • ศาลกรมมรฎก หรือกระทรวงมรฎก พิจารณาความมรดกของผู้มีบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป
  • ศาลความต่างประเทศ หรือกระทรวงกรมท่ากลาง พิจารณาความระหว่างชาว ไทยกับชาวต่างประเทศหรือระหว่างชาวต่างประเทศด้วยกัน
  • ศาลกรมนา หรือกระทรวงกรมนา พิจารณาความโภชากร คือ อรรถคดี เกี่ยวกับวัวควาย บุกรุกที่นา วางเพลิงเผาต้นข้าว ขโมยข้าว
  • ศาลกรมพระคลัง หรือ ศาลคลังมหาสมบัติ พิจารณาความเกี่ยวกับพระ ราชทรัพย์ เช่น กู้หนี้ยืมทรัพย์สินในท้องพระคลังคดีเกี่ยวกับอากรขนอนตลาด
  • ศาลกระทรวงธรรมการ พิจารณาความพระภิกษุสามเณร เช่น ผิดศีล ผิด วินัยร้ายแรง เช่น เสพเมถุนธรรม
  • ศาลความสังกัด หรือศาลกระทรวงสัสดี พิจารณาความพิพาทเกี่ยวกับหมู่ หมายของบ่าวไพร่ การปันหมู่
  • ศาลความเวทมนตร์ หรือศาลกระทรวงแพทยา พิจารณาความกล่าวหาว่า เป็นกระสือกระหัง ทำเวทมนตร์อาคม ใส่ว่านยา ทำเสน่ห์ยาแฝดยาเมา รีดลูก โดยผู้เสียหายไม่ถึงตาย หรือคดีพราหมณ์โยคีเป็นโจทก์จำเลยหาความกัน เป็นต้น ถ้าความเกิดในหัวเมืองขุนหมื่นกรมแพทยาหัวเมืองเป็นผู้พิจารณา
       ตามระบบการศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดเลย ไม่มีการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดิมในศาลชั้นสูงอีก ยกเว้นกรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีของตนกระทำมิชอบหรือไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตนก็อาจฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานนั้น ๆ ต่อศาลหลวง คดีในลักษณะเช่นนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นความอุทธรณ์ และศาลหลวงก็คือศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น ส่วนศาลฎีกานั้นยังไม่มี แต่อาจมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์บ้าง
       ต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการตราพระไอยการลักษณะอุทธรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๖ เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาคดีในศาลความอุทธรณ์ที่คู่ความฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายยุติธรรม กล่าวคือ ถ้าตระลาการหรือเจ้าหน้าที่แพ้ความในชั้นอุทธรณ์จะต้องถูกปรับไหมลงโทษ และให้ออกค่าธรรมเนียมในการขึ้นศาลอุทธรณ์แก่ผู้ฟ้องร้องส่วนคดีเดิมที่ตระลาการหรือเจ้าหน้าที่บกพร่องก็ให้ตระลาการและเจ้าหน้าที่คนใหม่ทำหน้าที่พิจารณาแทน แต่ถ้าตระลาการหรือเจ้าหน้าที่เป็นฝ่ายชนะความก็ให้คู่ความที่ร้องเรียนออกค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ตระลาการหรือเจ้าหน้าที่และอาจมีการปรับไหมตามกรณี ส่วนคดีเดิมก็ถือว่าผู้ฟ้องร้องอุทธรณ์นั้นแพ้ไป แล้วให้ตระลาการเก่าปรับไหมตามรูปความเดิม

ส่วนสถานที่พิจารณาคดีหรือที่ทำการของศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากศาลหลวงที่ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว ศาลอื่น ๆ ไม่มีที่ทำการโดยเฉพาะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า ที่ทำการของศาลหรือที่พิจารณาคดีคงใช้บ้านของตระลาการของศาลแต่ละคนเป็นที่ทำการ สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงนั้นมีหลักฐานตามหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 63ว่าด้วยตำนานกรุงเก่ากล่าวว่า ศาลาลูกขุนนอก คือศาลหลวงคงอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนัก คงจะอยู่มาทางใกล้กำแพงริมน้ำ เนื่องจากเมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ ศาลหลวงคงถูกไฟไหม้เมือเสียกรุง ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา มีสระน้ำอยู่ในศาลาลูกขุนใน สระน้ำนี้ในจดหมายเหตุซึ่งอ้างว่าเป็นคำให้การของขุนหลวงหาวัด ว่าเป็นที่สำหรับพิสูจน์คู่ความให้ดำน้ำในสระนั้น เพื่อพิสูจน์ว่ากล่าวจริงหรือกล่าวเท็จ ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี 3 กลุ่มได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการ ผู้ปรับ การพิจารณาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ผู้กล่าวหาหรือผู้ที่จะร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อจ่าศาลว่าจะฟ้องความอย่างไรบ้าง จ่าศาลจะจดถ้อยคำลงในหนังสือแล้วส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงพิจารณาว่า เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายควรรับไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าเห็นควรรับไว้พิจารณาจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นหน้าที่ของศาลกรมไหนแล้วส่งคำฟ้องและตัวโจทก์ไปยังศาลนั้น เช่น ถ้าเป็นหน้าที่กรมนา จะส่งคำฟ้องและโจทก์ไปที่ศาลกรมนา ตระลาการศาลกรมนาก็จะออกหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การไต่สวนเสร็จแล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่ามีข้อใดต้องสืบพยานบ้าง เมื่อลูกขุนส่งกลับมาแล้ว ตระลาการก็จะทำการสืบพยานเสร็จแล้วก็ทำสำนวนให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บมือที่ดินประจำผูกสำนวน เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นสำนวนของโจทก์ จำเลย แล้วส่งสำนวนคดีไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ลูกขุน ณ ศาลหลวงจะพิจารณาคดีแล้วชี้ว่าฝ่ายใดแพ้คดี เพราะเหตุใดแล้วส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ปรับ ผู้ปรับจะพลิกกฎหมายและกำหนดว่าจะลงโทษอย่างไรตามมาตราใด เสร็จแล้วส่งคืนให้กรมนา ตระลาการกรมนาจะทำการปรับไหมหรือลงโทษตามคำพิพากษา หากคู่ความไม่พอใจตามคำพิพากษา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้น ๆ ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้อีก

[แก้ไข] สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

       ในช่วงต้นของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายโดยการชำระกฎหมายเก่าซึ่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ส่วนระบบการยุติธรรมนั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือธนบุรี 

ต่อมา ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง เริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ ปัญหานี้เริ่มชัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อชาวต่างประเทศขอทำสนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขตไม่ยอมขึ้นศาลไทย อ้างว่าระบบศาลในการพิจารณาคดีกับกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับมาแต่โบราณไม่เหมาะสม เนื่องจากการพิจารณาไต่สวนคดีล้าสมัย เช่น การทรมานให้รับสารภาพ และการลงโทษที่รุนแรงและทารุณต่าง ๆ เริ่มจากประเทศอังกฤษขอตั้งศาลกงสุลประเทศแรก เพื่อพิจารณาคดีคนในบังคับของอังกฤษตกเป็นจำเลย ต่อมาชาติอื่น ๆ ก็ขอตั้งศาลกงสุลของตนบ้าง เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส ทำให้คนไทยต้องเสียเอกราชทางศาลหรือสิทธิสภาพนอกอาณาเขตบางส่วนไปเมื่อมีกรณีพิพาทกับชาวต่างประเทศ มีผู้พิพากษาเป็นชาวต่างประเทศ

ประเภท

ศาลแพ่ง

มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น ได้แก่

  • ศาลแพ่ง
  • ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
  • ศาลแพ่งธนบุรี

ศาลอาญา

มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี ได้แก่

  • ศาลอาญา
  • ศาลกรุงเทพใต้
  • ศาลอาญาธนบุรี
  • ศาลจังหวัด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆ
  • ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  • ศาลชำนัญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษนั้น ๆ เช่น ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลแรงงาน ศาลเยาวชนและครอบครัว

แต่ทั้งนี้ ในส่วนของศาลชำนัญพิเศษ บางตำราอาจจัดเป็นคนละประเภทกับศาลชั้นต้น เพราะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อันเป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง มีศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทของศาลยุติธรรม เขตอำนาจศาลและองค์คณะผู้พิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้

มาตรา ๓ ศาลชั้นต้น (1) สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดมีนบุรี (ค) ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี (ง) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ (จ) ศาลแพ่งและศาลอาญา (2) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัด

ปัจจุบันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีศาลจังหวัดมีนบุรีแล้ว ยังมีศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดพระโขนง เพิ่มเติมขึ้นมา โดยยกฐานะจากศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน และศาลแขวงพระโขนง ให้เป็นศาลจังหวัด เนื่องด้วยเป็นการเพิ่มเขตอำนาจให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้น

และในอนาคต อาจมีการยกฐานะศาลแขวงปทุมวัน รวมถึงศาลแขวงอื่น ๆ ให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดอีกด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม