ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก.ศ.ร. กุหลาบ"
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 41: | บรรทัด 41: | ||
นายกุหลาบเคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์[[สยามออบเซิร์ฟเวอร์]] และได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "สยามประเภท" ในปี พ.ศ. 2440 เขียนบทความวิพากษ์สังคม เสียดสีชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ อีกทั้งยังมีแนวคิดแบบพวกหัวก้าวหน้า ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงเป็นที่เพ่งเล็งจากทางการ แต่โชคดีที่ไม่ได้ถูกลั่นแกล้งจนต้องติดคุกเหมือน [[เทียนวรรณ]] แต่กลับถูกส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลอาการทางจิตแทน |
นายกุหลาบเคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์[[สยามออบเซิร์ฟเวอร์]] และได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "สยามประเภท" ในปี พ.ศ. 2440 เขียนบทความวิพากษ์สังคม เสียดสีชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ อีกทั้งยังมีแนวคิดแบบพวกหัวก้าวหน้า ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงเป็นที่เพ่งเล็งจากทางการ แต่โชคดีที่ไม่ได้ถูกลั่นแกล้งจนต้องติดคุกเหมือน [[เทียนวรรณ]] แต่กลับถูกส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลอาการทางจิตแทน |
||
ช่วงปลายชีวิต ก.ศ.ร. กุหลาบ ถึงแก่อสัญกรรมอย่าง |
ช่วงปลายชีวิต ก.ศ.ร. กุหลาบ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ. 2464 สิริอายุได้ 87 ปี |
||
== ชีวิตครอบครัว == |
== ชีวิตครอบครัว == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 10 สิงหาคม 2564
กุหลาบ ตฤษณานนท์ | |
---|---|
เกิด | 23 มีนาคม พ.ศ. 2377 ประเทศจีน |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2464 (87 ปี) เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
นามปากกา | ก.ศ.ร. กุหลาบ |
อาชีพ | นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักประวัติศาสตร์ |
คู่สมรส | แม่หุ่น แม่เปรม |
บุตร | 9 คน |
ก.ศ.ร. กุหลาบ (23 มีนาคม พ.ศ. 2377 - พ.ศ. 2464) มีนามเดิมว่า กุหลาบ ตฤษณานนท์ (หนังสือบางเล่มเขียนว่า ตรุษ ตฤษณานนท์) เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประวัติศาสตร์ ผู้นำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
กุหลาบ ตฤษณานนท์ บิดาเป็นลูกจีนเกิดในเมืองไทยชื่อ นายเส็ง มารดาชื่อ นางตรุษ เป็นหญิงไทยที่มีเชื้อสายขุนนางตั้งแต่สมัยอยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2377 เมื่ออายุได้สี่ขวบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากินรี พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงขอไปเป็นบุตรบุญธรรม และเติบโตในวังหลวง เมื่อโตขึ้นจึงออกมาอยู่นอกวังในฐานะมหาดเล็กวังนอก บรรพชาเป็นสามเณร โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า เกศโร ซึ่งต่อมาได้นำชื่อนี้มาเป็นชื่อหน้าของตนตามแบบตะวันตกว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ
นายฝรั่งได้พานายกุหลาบเดินทางไปติดต่อค้าขายในประเทศใกล้เคียง เช่นสิงคโปร์ ปีนัง สุมาตรา มะนิลา ปัตตาเวีย มาเก๊า ฮ่องกง กัลกัตตา และเคยเดินทางไปอังกฤษด้วยครั้งหนึ่ง
ครั้งหนึ่งนายกุหลาบมีโอกาสได้เดินทางไปกับขุนนางไทยในฐานะพนักงานบัญชี ไปประเทศจีน หยุดพักที่ไซ่ง่อน และญี่ปุ่นเพื่อจัดหาซื้อของสำหรับงานพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
เนื่องจากนายกุหลาบได้ใช้ชีวิตอยู่ในวัง จึงมีโอกาสได้อ่านหนังสือตำราภาษาไทยจำนวนมาก และได้แอบคัดลอกหนังสือเหล่านั้น ทั้งพงศาวดาร และชีวประวัติบุคคลสำคัญ ออกมาพิมพ์เผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก โดยพยายามปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและถ้อยคำของหนังสือใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกจับได้ บ้างก็ว่านายกุหลาบได้แต่งเนื้อเรื่องขึ้นมาเองอย่างไม่เหมาะสม[1]
นายกุหลาบเคยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามออบเซิร์ฟเวอร์ และได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ "สยามประเภท" ในปี พ.ศ. 2440 เขียนบทความวิพากษ์สังคม เสียดสีชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ อีกทั้งยังมีแนวคิดแบบพวกหัวก้าวหน้า ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จึงเป็นที่เพ่งเล็งจากทางการ แต่โชคดีที่ไม่ได้ถูกลั่นแกล้งจนต้องติดคุกเหมือน เทียนวรรณ แต่กลับถูกส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลอาการทางจิตแทน
ช่วงปลายชีวิต ก.ศ.ร. กุหลาบ ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อปี พ.ศ. 2464 สิริอายุได้ 87 ปี
ชีวิตครอบครัว
บิดาของเขาชื่อ เส็ง มีเชื้อสายจีน ส่วนมารดาชื่อตรุษ มีเชื้อสายลาวทางฟากเวียงจันทน์ ขณะตัวอักษรย่อนำหน้าชื่อ ‘ก.ศ.ร.’ มาจากฉายา ‘เกศโร’ ตอนเขาบวชพระ ทางด้านชีวิตครอบครัว ตอนอายุ 25 ปี กุหลาบได้สมรสกับแม่หุ่น ธิดาของพระพี่เลี้ยงคง ทั้งสองร่วมเรียงเคียงหมอนจนมีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน เป็นผู้หญิง 8 คน และมีลูกชายคนเดียวซึ่งก็คือ นายชาย หรือ ก.ห.ชาย
ก.ศ.ร. กุหลาบใช่จะครองรักเมียคนเดียวเสียเมื่อไหร่ เมื่อแม่หุ่นหยุดลมหายใจอำลาโลก เขามีเมียใหม่ชื่อแม่เปรม[2]
แนวคิดและการเคลื่อนไหวทางการเมือง
จากการที่นายกุหลาบได้ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง (หรือแต่งเนื้อเรื่องขึ้นมาเองอย่างไม่เหมาะสม) และเสียดสีชนชั้นสูง จึงทำพระให้พระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 5 ไม่พอใจ และใช้คำว่า "กุ" ซึ่งเป็นพยางค์ขึ้นต้นของชื่อนายกุหลาบ มาเป็นศัพท์สแลง ที่แปลว่าโกหก หรือสร้างเรื่อง[1] แล้วเป็นบุคคลทรงคุณวุฒิแนวคิดต่อรัฐบุรุษ ปรีดี พนมยงค์ สมัยเด็กนักเรียนจนจบระดับมัธยมศึกษา[3]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- ยี อี เยรินี กับ ก.ศ.ร. กุหลาบ และ “วงวิชาการ” ของสยามในปลายศตวรรษที่ ๑๙ วารสารเมืองโบราณ
- ชีวประวัติ ก.ศ.ร. กุหลาบ
- สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองการปกครองไทย พ.ศ. ๑๗๖๒ - ๒๕๐๐. กรุงเทพ : คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, พ.ศ. 2547. 801 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-92371-5-3
- ธงชัย วินิจจะกูล, "กุ ลอบ ลอก แต่งแบบไพร่ๆ: ความผิดของ ก.ศ.ร. กุหลาบที่ตัดสินโดยนักประวัติศาสตร์อำมาตย์," อ่าน ปีที่ 3 ฉบับื้ 2 (มกราคม-มีนาคม 2554), หน้า 12-28.
- บุญพิสิฐ ศรีหงส์ (ค้นคว้า) กองบรรณาธิการ (เรียบเรียง), "แกะปมจินตภาพ ก.ศ.ร. กุหลาบ จากพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ," อ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มีนาคม 2554), หน้า 29-31.
- บุญพิสิฐ ศรีหงส์. นาย ก.ศ.ร.กุหลาบ แห่งกรุงสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2560.