ข้ามไปเนื้อหา

ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง
خَادِمُ ٱلْحَرَمَيْنِ ٱلشَّرِيفَيْنِ
Khādim al-Ḥaramayn aš-Šarīfayn (ในภาษาอาหรับ)
อยู่ในราชสมบัติ
ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ
ตั้งแต่ 23 มกราคม ค.ศ. 2015
รายละเอียด
กษัตริย์องค์แรกเศาะลาฮุดดีน

ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง (อังกฤษ: Custodian of the Two Holy Mosques, ชื่อย่ออังกฤษ CTHM; อาหรับ: خَادِمُ ٱلْحَرَمَيْنِ ٱلشَّرِيفَيْنِ) บางครั้งอาจจะแปลเป็น ผู้รับใช้สองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือ ผู้ปกป้องสองเมืองศักดิ์สิทธิ์ เป็นการปกครองแบบราชวงศ์ที่ใช้กันเกือบทั้งผู้นำโลกอิสลาม รวมถึงราชวงศ์อัยยูบิด, มัมลูก, ออตโตมัน และพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบียในช่วงปัจจุบัน บางครั้งมีการเทียบตำแหน่งนี้กับเคาะลีฟะฮ์อิสลาม โดยพฤตินัย[1]> ชื่อนี้ได้ให้กับผู้ปกรองที่ปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามทั้งสองแห่ง คือ: มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ (อาหรับ: اَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ, อักษรโรมัน: Al-Masjid al-Ḥarām, "มัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์") ในมักกะฮ์ และมัสยิดอันนะบะวี (อาหรับ: اَلْمَسْجِدُ ٱلنَّبَوِيُّ, อักษรโรมัน: Al-Masjid an-Nabawī) ในมะดีนะฮ์[1][2] ซึ่งทั้งสองเมืองอยู่ในฮิญาซ[3] บริเวณคาบสมุทรอาหรับ

ประวัติศาสตร์

มัสยิดศักดิ์สิทธิ์แห่งมักกะฮ์ (ซ้าย) และมะดีนะฮ์ (ขวา) ในเอกสารตัวเขียนทางศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 18

เชื่อกันว่าคนแรกที่ใช้ตำแหน่งนี้คือเศาะลาฮุดดีน[4]

หลังจากชนะราชวงศ์มัมลูกและปกครองมักกะฮ์และมะดีนะได้เมื่อ ค.ศ.1517 สุลต่านเซลิมที่ 1 แห่งจักรวรรดิออตโตมันได้สร้างชื่อใหม่แทน Ḥākimü'l-Ḥaremeyn (อาหรับ: حَـاكِـمُ الْـحَـرَمَـيْـن, ผู้ปกครองสองมัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์) เป็นชื่อ Ḫādimü'l-Ḥaremeyn (อาหรับ: خَـادِمُ الْـحَـرَمَـيْـن; ผู้รับใช้สองเมืองอันศักดิ์สิทธิ์)[5][6][7]

กษัตริย์องค์แรกของประเทศซาอุดีอาระเบียที่ใช้ตำแหน่งนี้คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดัลอะซีซ อาล ซะอูด (1906–1975) ส่วนคอลิด ทายาทของพระองค์ ไม่ใช้ชื่อนี้[4] แต่หลังจากนั้นฟะฮด์ใช้ชื่อนั้นใหม่พร้อมกับคำนำหน้า "สมเด็จ"[8] สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด กษัตริย์องค์ปัจจุบัน ได้ใช้ชื่อเดียวกันหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ.2015[2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Wood, Paul (August 1, 2005). "Life and legacy of King Fahd". BBC News. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  2. 2.0 2.1 "Custodian of the Two Holy Mosques King Abdullah bin Abdulaziz". The Saudi Embassy in Tokyo, Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2011. สืบค้นเมื่อ April 6, 2011.
  3. Hopkins, Daniel J.; 편집부 (2001). Merriam-Webster's Geographical Dictionary. p. 479. ISBN 0-87779-546-0. สืบค้นเมื่อ 2013-03-17.
  4. 4.0 4.1 Fakkar, Galal (27 January 2015). "Story behind the king's title". Arab News. Jeddah. สืบค้นเมื่อ 27 June 2016.
  5. Emecen, Feridun (2009). "Selim I". TDV Encyclopedia of Islam, Vol. 36 (Sakal – Sevm) (ภาษาตุรกี). อิสตันบูล: Turkiye Diyanet Foundation, ศูนย์อิสลามศึกษา. pp. 413–414. ISBN 978-975-389-566-8.
  6. İlber Ortaylı, "Yavuz Sultan Selim", Milliyet (In Turkish)
  7. "İlber Ortaylı, "Surre alayı Topkapı Sarayı'ndan geçiyor"" [İlber Ortaylı, "The Surre procession passes through Topkapı Palace"]. Milliyet (ภาษาตุรกี). 20 April 2008.
  8. "Fahad played pivotal role in development". Gulf Daily News. 2 August 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-05. สืบค้นเมื่อ 2 February 2013.