การนมัสการของโหราจารย์
การนมัสการของโหราจารย์[1] (อังกฤษ: Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้น ๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก
วิวัฒนาการของศิลปะ
ภาพเหตุการณ์ การนมัสการของโหราจารย์ ภาพแรกสุด เป็นภาพของโหราจารย์ที่แต่งกายด้วยกางเกงแบบเปอร์เซียและหมวกแบบฟรีเจียน (Phrygian) เดินเรียงกันยื่นของขวัญไปข้างหน้า เป็นภาพที่มีลักษณะคล้ายภาพเขียนในสมัยโบราณที่ผู้แทนจากประเทศอาณานิคมนำของขวัญมาถวายแสดงความสวามิภักดิ์ต่อผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะภาพจากวัฒนธรรมของเมดิเตอร์เรเนียน ภาพเขียนลักษณะนี้พบเป็นครั้งแรกในภาพเขียนภายในสุสานใต้ดินและภาพแกะนูนบนโลงหินจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 โหราจารย์มาเริ่มสวมมงกุฏเป็นครั้งแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในศิลปะตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ เครื่องแต่งตัวที่ออกไปทางตะวันออกก็เปลี่ยนมาเป็นตะวันตก [2] ต่อมาในสมัยไบแซนไทน์ โหราจารย์สวมหมวกแบบ pill-box ความสำคัญของหมวกก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ สมัยก่อนหน้านั้น โหราจารย์ทั้งสามคนมักจะมีอายุไล่ ๆ กัน แต่พอมาถึงสมัยหลังการวาดเป็นชายสามวัยก็เริ่มเป็นที่นิยมกัน ตัวอย่างที่งดงามจะเห็นได้ที่ด้านหน้ามหาวิหารออร์วีเอโตในประเทศอิตาลี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ก็เริ่มการใช้โหราจารย์เป็นสัญลักษณ์ของผู้มาจากสามทิศของโลกที่รู้จักกันในสมัยนั้น บัลทาซาร์ (Balthasar) จะเป็นชนชั้นทั่วไปของแอฟริกาหรือมัวร์ และกัสปาร์ (Caspar) จะเป็นภาพของมีลักษณะของผู้ที่มาจากตะวันออกหรือแต่งตัวอย่างผู้ที่มาจากทางตะวันออก
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาโหราจารย์ก็มีผู้ติดตามเป็นขบวน ของขวัญก็มักจะเป็นเครื่องทองฝีมือดี และเครื่องแต่งตัวก็หรูหราขึ้น[2] พอมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็กลายมาเป็นงานที่เป็นการแสดงฝีมือของผู้สร้างงานศิลปะเพราะเป็นฉากที่มีองค์ประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อนทั้งวัสดุและส่วนประกอบ ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนที่รวมทั้งม้าและอูฐ และสิ่งต่าง ๆ เช่นไหม ขนสัตว์ เครื่องประดับ และทอง ของกษัตริย์ ที่ตัดกับฉากหลังเป็นป่า หรือโรงนา, พระเยซูนอนบนฟาง, และ เสื้อผ้าที่หยาบของนักบุญโยเซฟและเด็กเลี้ยงแกะ
ในฉากการนมัสการของโหราจารย์ มักจะมีสัตว์หลายชนิด: วัว และ ลา จากฉากประสูติ และม้า อูฐ สุนัข และเหยี่ยวของแมไจและผู้ติดตาม และบางที่ก็มีสัตว์อื่นเช่น นกเกาะอยู่บนโรงนา จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ฉากการนมัสการของโหราจารย์มักจะรวมกับฉากฉากการนมัสการของคนเลี้ยงแกะ จากพระวรสารนักบุญลูกา 2:8-20 ทำให้มีคนและสัตว์เพิ่มขึ้น ในการวางองค์ประกอบของภาพเช่นบานพับภาพ จิตรกรอาจจะแยกฉากการนมัสการของโหราจารย์และการนมัสการของคนเลี้ยงแกะจากกัน โดยมีฉากการประสูติของพระเยซูเชื่อมตรงกลาง
อ้างอิง
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9749588339. หน้า 304.
- ↑ 2.0 2.1 G Schiller, Iconography of Christian Art, Vol. I,1971 (English trans from German), Lund Humphries, London, pp100-114 & figs 245-298, ISBN 853312702
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การนมัสการของโหราจารย์
งานการนมัสการของโหราจารย์โดยศิลปินบางคน
ฉากการนมัสการของโหราจารย์เป็นฉากที่นิยมวาดกันมากซึ่งจะเห็นได้จากงานเขียนของ:
-
งานโมเสกที่ราเวนนา
คริสต์ศตวรรษที่ 6 -
หัวเสา
-
บาร์โทโล ดิ เฟรดิ
ค.ศ. 1385-1388 -
อันเดรอา มันเตญญา
ราว ค.ศ. 1461 -
อัลเบรชท์ ดือเรอร์
ค.ศ. 1504 -
เฮียโรนิมัส บอส
ราว ค.ศ. 1510 -
โรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น
คริสต์ศตวรรษที่ 15