ข้ามไปเนื้อหา

โฮเชยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
โฮเชยา
Russian icon of the prophet Hosea
รูปของผู้เผยพระวจนะโฮเชยาในรัสเซียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 (Iconostasis ของ Transfiguration Church, Kizhi monastery, คาเรเลีย, ประเทศรัสเซีย)
นับถือ ในศาสนายูดาห์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาอิสลาม
สักการสถานหลักSafed ประเทศอิสราเอล
วันฉลอง17 ตุลาคม (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์)
สัญลักษณ์ยกมือขึ้นอวยพร ถือม้วนหนังสือที่ปราฏวลีว่า Ex Egipto vocavi filium meum
ผลงานหลักหนังสือโฮเชยา
ภาพวาดของโฮเชยาและโกเมอร์จาก Bible Historiale (ค.ศ. 1372)
ผู้เผยพระวจนะโฮเชยา โดยดุชโช ดี บูโอนินเซญญา ในอาสนวิหารซีเอนา (ป. ค.ศ. 1309–1311)

ในคัมภีร์ฮีบรู โฮเชยา (อังกฤษ: Hosea, /ˌhˈzə/ หรือ /hˈzə/; ฮีบรู: הוֹשֵׁעַHōšēaʿ, 'ความรอด'; กรีก: ὩσηέHōsēé) หรือ Osee[1] บุตรเบเออรี เป็นผู้เผยพระวจนะในอิสราเอลเมื่อศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล และเป็นผู้เขียนหลักของหนังสือโฮเชยาที่มีชื่อหนังสือตามชื่อของเขา โฮเชยาเป็นคนแรกในผู้เผยพระวจนะน้อยสิบสองคน ซึ่งงานเขียนของผู้เผยพระวจนะเหล่านี้ถูกรวบรวมและจัดอยู่ในหนังสือเล่มเดียวในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) ของศาสนายูดาห์ในยุคพระวิหารที่สอง (จัดเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของหมวดเนวีอีม) แต่ถูกแยกมาเป็นหนังสือของเดี่ยว ๆ ในศาสนาคริสต์[2] โฮเชยามักถูกมองว่าเป็น "ผู้เผยพระวจนะแห่งการพิพากษา" แต่ภายใต้ข้อความว่าด้วยการทำลายล้างของโฮเชยาก็ยังมีคำสัญญาถึงการฟื้นฟู ทาลมุดอ้างว่าโฮเชยาเป็นผู้เผยพระวจนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่คนรุ่นของเขา[3] ช่วงเวลาที่โฮเชยาปฏิบัติพันธกิจนั้นกินเวลาประมาณหกสิบปี และโฮเชยาเป็นผู้เผยพระวจนะของอิสราเอลเพียงคนเดียวในสมัยของเขาที่เขียนคำเผยพระวจนะไว้ แม้ว่าช่วงเวลาที่หนังสือเขียนขึ้นเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการ แต่ส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือน่าจะถูกเขียนขึ้นในช่วงรัชสมัยของเยโรโบอัมที่ 2 แห่งอิสราเอล (ประมาณ 793–753 ปีก่อนคริสตกาล)[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1.  ประโยคก่อนหน้าอย่างน้อยหนึ่งประโยคเรียบเรียงจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นสาธารณสมบัติCalès, Jean Marie (1911). "Osee". ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 11. New York: Robert Appleton Company.
  2.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Hosea" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 13 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 784–786.
  3. Pesachim 87a
  4. Gruber, Mayer I. (2017). Hosea: A Textual Commentary. Bloomsbury Publishing. p. 11. ISBN 978-0-567-67175-2. ... most scholars in the nineteenth-twenty-first centuries have more or less taken it for granted that virtually all of the book of Hosea is to be dated to the reign of Jeroboam II
  5. ”Hosea.” Irvine, Stuart A. The Oxford Handbook of the Minor Prophets. Edited by Julia M. O'Brien. 2021. “Much of Hosea appears to reflect the circumstances and events of the eighth century (Na'aman 2015)”

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]