คณะเบเนดิกติน
คณะแห่งนักบุญเบเนดิกต์ (อังกฤษ: Order of Saint Benedict; ละติน: Ordo Sancti Benedicti) หรือที่มักเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิก ซึ่งตั้งชื่อตามนักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย ยึดถือชีวิตอารามวาสีสำหรับทั้งนักพรตชายและหญิง สมาชิกอยู่ร่วมกันในอารามและปฏิบัติตาม “วินัยของนักบุญเบเนดิกต์” (Rule of St Benedict)
ประวัติ
หลังจากที่เบเนดิกต์ได้บำเพ็ญพรต สวดภาวนา อ่านพระคัมภีร์ และอดอาหาร ได้ระยะหนึ่งก็มีผู้ศรัทธาหลายคนสนใจขอร่วมบำเพ็ญตามแนวทางของท่าน เบเนดิกต์จึงได้ก่อตั้งอารามขึ้น 12 แห่ง แต่ละแห่งมีนักพรต 12 มีอธิการ (Abbot) เป็นหัวหน้าอาราม อธิการแต่ละคนขึ้นตรงต่อเบเนดิกต์ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้เพียง 25 ปีเท่านั้น ต่อมามีบาทหลวงคนหนึ่งในโบสถ์ใกล้อารามเกิดริษยาจึงหาทางแกล้งท่านต่างๆ นาๆ จนท่านต้องย้ายไปบำเพ็ญพรตที่ภูเขากัสซีโน (Cassino) พร้อมกับศิษย์จำนวนหนึ่ง ท่านสถานที่นี้ท่านได้ตราวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ขึ้นเพื่อเป็นระเบียบและแนวทางของผู้ที่จะดำเนินชีวิตเป็นนักพรต (monk)[1]
ต่อมานักพรตในคณะได้หันไปทำงานด้านเผยแผ่ศาสนา (Mission) ด้วยและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น นักบุญแพทริคมิชชันนารีประจำไอร์แลนด์ นักบุญโคลัมบานุสมิชชันนารีประจำฝรั่งเศส นักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีมิชชันนารีประจำอังกฤษ เป็นต้น ทำให้คณะเบเนดิกตินเริ่มหันมาพัฒนาความสามารถด้านการศึกษาด้วย มีการบวชเป็นบาทหลวง มีการตั้งห้องสมุด พิมพ์หนังสือ เพื่อใช้ค้นคว้าและเผยแพร่ในการประกาศศาสนา[1]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- The Benedictine Order (คณะเบเนดิกติน) โดย Catholic Encyclopedia