เนือร์บวร์คริง
ที่ตั้ง | เนือร์บูร์ก ไอเฟล เยอรมนี | |
---|---|---|
เขตเวลา | GMT +1 | |
เหตุการณ์สำคัญ | ADAC, DTM, F3 Euroseries, 24 Hours Nürburgring, 1000km Nürburgring, VLN | |
GP-Strecke | ||
พื้นผิว | แอสฟัลต์ | |
ความยาว | 5.148 กม. (3.2 ไมล์) | |
จำนวนโค้ง | 16 | |
สถิติต่อรอบ | 1:29.468 ( มิคาเอล ชูมัคเกอร์, Ferrari, 2004, Formula 1) | |
Nordschleife | ||
พื้นผิว | แอสฟัลต์ / คอนกรีต | |
ความยาว | 22.81 กม. (12.93 ไมล์) | |
จำนวนโค้ง | 73 |
เนือร์บูร์ก-ริง (เยอรมัน: Nürburgring) หรือที่รู้จักในชื่อ เดอะริง เป็นสนามแข่งรถที่มีชื่อเสียงของเยอรมนี ตั้งอยู่ที่เมืองเนือร์บูร์ก เมืองโบราณในเขตภูเขาไอเฟิล (Eifel) ทางตะวันตกของเยอรมนี
เนือร์บูร์ก-ริง เปิดใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นสนามขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย สนามย่อย 4 ส่วน รวมเรียกว่า Gesamtstrecke ("Whole Course") ความยาวทั้งสิ้น 28.265 กิโลเมตร (17.563 ไมล์) ได้แก่
- Nordschleife ("Northern Loop") ความยาว 22.810 กิโลเมตร
- Südschleife ("Southern Loop") ความยาว 7.747 กิโลเมตร
- Zielschleife ("Finish Loop") หรือ Betonschleife ความยาว 2.281 กิโลเมตร ใช้สำหรับอุ่นเครื่อง
- GP-Strecke ความยาว 5.148 กิโลเมตร (3.2 ไมล์) เป็นสนามที่สร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อใช้แข่งรถทางเรียบ ตรงบริเวณที่เดิมเป็นจุดเริ่มต้น และเส้นชัยของสนาม ปัจจุบันใช้เป็นสนามหลักของการแข่งขัน
เนือร์บูร์ก-ริงส่วนเหนือ (Nordschleife) ได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งรถที่ขับยาก ท้าทาย และอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากถูกบังคับด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขา จนได้รับฉายาว่า "The Green Hell" (นรกสีเขียว) ถูกใช้เป็นสนามแข่งรถสูตรหนึ่ง รายการเยอรมันกรังด์ปรีซ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 (1947) ถึง พ.ศ. 2513 (1970) (ยกเว้นปี พ.ศ. 2502) จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนนักแข่งรถเสียชีวิตหลายคน นักแข่งรถจึงพากันประท้วงไม่ยอมร่วมแข่งขันที่นี่ จนกว่าจะมีการปรับปรุงสภาพสนามให้มีความปลอดภัย
Nordschleife ได้รับการปรับปรุง แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงได้มีการสร้างส่วน Südschleife และ Zielschleife เพิ่มเติม พร้อมกับปรับเส้นทางของ Nordschleife ส่วนที่อันตรายออกไป และในปี พ.ศ. 2525 ได้สร้างสนามมาตรฐาน เรียกว่า GP-Strecke เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2527 และใช้เป็นสนามแข่งกรังด์ปรีซ์ จนถึงปัจจุบัน
สนามแห่งนี้มีที่นั่งจุผู้ชมได้ 150,000 คน[1]
ตั้งอยู่ในเมืองนูร์เบอร์ก เมืองโบราณในเขตเทือกเขาไอเฟล (Eifel) ทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี เมืองสำคัญของแคว้นบาเยิร์น ห่างจากมิวนิก เมืองหลวงของแคว้นไปทางเหนือราว 170 กิโลเมตร นับเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากมิวนิก และห่างจากเมืองโคโลญจ์ 70 กิโลเมตร และ 120 กิโลเมตร จากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต สนามนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1925-1927 โดยวัตถุประสงค์ในตอนแรก คือเพื่อเป็นสนามแข่ง
ต่อมาในปี ค.ศ.1927 ได้เปิดให้บริการทดสอบรถยนต์อีกด้วย โดยเป็นสนามขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย สนามย่อย 4 ส่วน รวมเรียกว่า Gesamtstrecke (Whole Course) ความยาวทั้งสิ้น 28.265 กิโลเมตร ประกอบด้วย Nordschleife (Northern Loop) ความยาว 22.810 กิโลเมตร Sudschleife (Southern Loop) ความยาว 7.747 กิโลเมตร Zielschleife (Finish Loop) หรือ Betonschleife ความยาว 2.281 กิโลเมตร ใช้สำหรับอุ่นเครื่อง GP-Streke ความยาว 5.148 กิโลเมตร เป็นสนามที่สร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ.1982 เพื่อใช้แข่งรถทางเรียบ ตรงบริเวณที่เดิมที่เป็นจุดเริ่มต้น และเส้นชัยของสนาม ปัจจุบันใช้เป็นสนามหลักของการแข่งขัน
สนามนูร์เบอร์กริง ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสนามที่ขับยาก ท้าทาย และอันตรายที่สุดสนามหนึ่งในโลก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาคดเคี้ยว สนามแห่งนี้ถูกสร้างมาเพื่อใช้สำหรับแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่ง รายการเยอรมันกรังด์ปรีซ์ตั้งแต่ปี 1947 จนถึง 1970 ก่อนที่สนามจะถูกงดทำการแข่งขันไประยะหนึ่ง เนื่องจากความยากและอันตรายของสภาพภูมิประเทศ และเส้นทาง ทำให้มีนักแข่งหลายต่อหลายคนต้องจบชีวิตไปกับสนามแห่งนี้
ต่อมาสมาพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศเยอรมัน (ADAC - Allgemeiner Deutscher Automobil Club) ได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นหนึ่งในรายการ ADAC 24Hours Rennen Nürburgring ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นเส้นทาง Nordschleife (Northern Loop) ความยาว 22.810 กิโลเมตร รวมกับ GP-Streke ความยาว 5.148 กิโลเมตร ที่ใช้แข่งรถ F1 รวมกันได้ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร โดยมีโค้งอันตราย 73 โค้ง ตลอดระยะการขับขี่ 26 กิโลเมตร ใน 24 ชั่วโมง ภายใต้หลังพวงมาลัย นักแข่งทุกคน ต้องเผชิญกับความยากของสนาม ทั้งความเร็วสูง โค้งแคบ หักศอก โค้งกะทันหัน ทางขึ้น-ลง สูงต่ำบนเนินเขา และจุด Blind corner ที่พร้อมจะทำให้นักขับมือใหม่ต้องเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติได้ทุกเวลา
ด้วยความยากและท้าทายของสนามแห่งนี้ จึงผลักดันให้สนามนูร์เบอร์กริง กลายเป็นสนามเวิลด์กรังด์ปรีซ์ที่ติดอันดับความสำคัญระดับโลก และมีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลกจากความนิยมการแข่งรถในรูปแบบ 24 ชั่วโมง รองจากการแข่งขันเลอมังต์ 24 ชั่วโมง และอเมริกา 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นรายการแข่งขันสำหรับรถโปรดักชั่นคาร์ คือรถที่จำหน่ายอยู่ในโชว์รูม และมีการนำมาโมดิฟายด์บางส่วนเพื่อนำไปแข่งขัน จึงเป็นรายการที่ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลก ส่งรถโปรดักชั่นคาร์เข้ามาแข่งขัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถภาพของรถในแต่ละรุ่น มีทั้งรถยนต์จากยุโรป อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู, เมอร์เซเดส เบนซ์, เฟอร์รารี่, เรย์โนลด์ ฯลฯ เข้าร่วมทดสอบประสิทธิภาพของรถ
จากรูปแบบแทร็คการแข่งขันที่มีรูปแบบเป็นถนนระหว่างเมือง ซึ่งปกติใช้เป็นถนนสาธารณะ ที่ตัดผ่าเมืองและหุบเขา ความยาวกว่า 20 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อเข้าสนาม F1 ความยาว 5.7 กิโลเมตร ที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดเต็มกำลังของเครื่องยนต์ ทำให้บริษัทฯ รถยนต์ทั่วโลกพยายามส่งรถยนต์ ในสายการผลิตและจำหน่ายในโชว์รูม เข้ามาร่วมรายการแข่งขันเพื่อเป็นโอกาสในการทดสอบประสิทธิภาพของรถ ทั้งขุมพลังของเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อัตราทดเกียร์ สปีดต่างๆ ไปจนถึงระบบช่วงล่าง การยึดเกาะถนน และระบบรักษาความปลอดภัยทั้งระบบเบรก และระบบนิรภัยที่มีติดตั้งอยู่ในรถยนต์ เพื่อเป็นการพิสูจน์คุณภาพของรถยนต์ก่อนจำหน่ายออกสู่บริโภค
ด้วยความยากและท้าทายดังกล่าว จึงทำให้นักแข่ง และบริษัทฯ ผลิตรถยนต์ทั่วโลก พร้อมใจกันส่งรถเพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพ หากแต่สนามนูร์เบอร์กริงไม่ได้เปิดกว้าง และง่ายดายต่อการลงสนาม เพราะผู้ที่จะมีสิทธิ์ในการลงสนาม และแข่งขันในรายการ 24 hrs. Nürburgring ได้ จะต้องมีประสบการณ์จากการขับในสนาม Nürburgring 26 กิโลเมตร นี้ก่อน และต้องสะสมชั่วโมงได้ไม่น้อยกว่าคนละ 6 ชั่วโมง ผ่านทางรายการ VLN (Veranstaltergemeinschaft Langstreckenpokal Nürburgring) จึงจะได้รับสิทธิ์เข้าสู่รายการแข่งขัน 24 ชั่วโมง นูร์เบอร์กริง ได้
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
http://www.thairath.co.th/content/427096
- เว็บไซต์ทางการ
- http://www.the-fastlane.co.uk/racingcircuits/Germany/NurburgringBetonschliefe.html
50°20′08″N 6°56′51″E / 50.335556°N 6.9475°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เนือร์บวร์คริง
- แผนที่ จาก กูเกิลแมปส์
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย