สารวีเอ็กซ์
SP-(−)-VX enantiomer
| |
ชื่อ | |
---|---|
Preferred IUPAC name
S-{2-[Di(propan-2-yl)amino]ethyl} O-ethyl methylphosphonothioate | |
ชื่ออื่น
[2-(Diisopropylamino)ethyl]-O-ethyl methylphosphonothioate
Ethyl {[2-(diisopropylamino)ethyl]sulfanyl}(methyl)phosphinate Ethyl N-2-diisopropylaminoethyl methylphosphonothiolate | |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
MeSH | VX |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
C11H26NO2PS | |
มวลโมเลกุล | 267.37 g·mol−1 |
ความหนาแน่น | 1.0083 g cm−3 |
จุดหลอมเหลว | −51 องศาเซลเซียส (−60 องศาฟาเรนไฮต์; 222 เคลวิน) |
จุดเดือด | 300 องศาเซลเซียส (572 องศาฟาเรนไฮต์; 573 เคลวิน) |
log P | 2.047 |
ความดันไอ | 0.09 Pa |
ความอันตราย | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
จุดวาบไฟ | 159 องศาเซลเซียส (318 องศาฟาเรนไฮต์; 432 เคลวิน) [3] |
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |
LD50 (median dose)
|
7 μg/kg (intravenous, rat)[2] |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
สารวีเอกซ์ (VX ย่อมาจาก venomous agent X) เป็นสารพิษอันตรายทำลายประสาท ถูกจัดอยู่ในกลุ่มออกาโนฟอสเฟต ถ้าอยู่ในรูปของสารบริสุทธิ์จะไม่มีสี แต่ถ้าอยู่ในรูปของสารที่ไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาล สารชนิดนี้ไม่มีกลิ่นและรส นอกจากนี้ยังไม่ระเหย สามารถแพร่กระจายอยู่ในสภาพแวดล้อมได้เป็นเวลานาน จึงมักถูกนำไปใช้เป็นอาวุธเคมีซึ่งเป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตได้
ประวัติการใช้สารวีเอ็กซ์
[แก้]สารวีเอ็กซ์ถูกค้นพบขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1950 โดยนักเคมีที่มีชื่อว่ารานาจิ กอช หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1955 สารนี้ได้ถูกนำไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ในการทำอาวุธสังหาร และในปี ค.ศ. 1961 สหรัฐอเมริกาได้ผลิตสารชนิดนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปเก็บไว้ที่คลังอาวุธเพื่อใช้ในยามสงคราม นอกจากนี้ยังมีประเทศอิรักที่ผลิตสารชนิดนี้ออกมาเป็นจำนวนมากกว่า 5,000 ตัน[4] สารวีเอ็กซ์เคยถูกนำไปใช้โจมตีชาวเคิร์ด และใช้ในสงครามอิรัก-อิหร่าน ในปี 1988 อีกด้วย
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 คิม จองนัม ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายของคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ เสียชีวิตจากการถูกสังหารด้วยสารพิษชนิดนี้ในประเทศมาเลเซีย จากการตรวจสอบ พบสารวีเอ็กซ์บนใบหน้าของคิมจองนัม ผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้สังหารคือผู้หญิงชาวเวียดนาม ซึ่งผู้หญิงคนนี้ก็เกิดอาการที่ได้รับสารวีเอ็กซ์เช่นกัน แม้จะใส่ถุงมือป้องกันแต่สารวีเอ็กซ์ก็ยังสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้[5]
สมบัติทางกายภาพของสารวีเอกซ์
[แก้]สารวีเอกซ์มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 267.368 เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ความหนาแน่นใกล้เคียงกับน้ำคือ 1.0083 g cm−3 มีลักษณะคล้ายน้ำมันเครื่องเพราะมีความเหนียวสูงและระเหยยาก ถูกจัดว่าเป็นสารพิษทำลายประสาทที่มีการระเหยยากที่สุด มีลักษณะเป็นไฮโดรโฟบิกคือเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ นอกจากนี้สารดังกล่าวสามารถคงอยู่ได้หลายวันหากอยู่ในอุณหภูมิปกติและอยู่ได้หลายเดือนหากอยู่ในอุณภูมิที่ต่ำ สารวีเอกซ์อยู่ได้ทั้งในรูปของเหลวและก๊าซหากอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง[6]
สารวีเอ็กซ์ในร่างกาย
[แก้]อาการ
[แก้]สารดังกล่าวสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจ การย่อยอาหาร การแทรกซึมผ่านผิวหนัง และการผ่านเข้าสู่ดวงตา ฉะนั้นเมื่อร่างกายได้สัมผัสกับสารชนิดนี้ในปริมาณที่เป็นอันตราย (ประมาณ 5-10 มิลลิกรัม) แล้วระบบเอนไซม์ของร่ายกายจะถูกรบกวน ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ก่อให้เกิดอาการชัก หายใจไม่ออก ร่างกายเป็นอัมพาตและระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมจะเกิดอาการหลากหลาย เช่น น้ำลายฟูมปาก ท้องเสีย คลื่นไส้ หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ [7]
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
[แก้]- การสูดดม: หากเกิดการสูดดมสายชนิดนี้เข้าไปต้องกลั้นหายใจจนกระทั่งได้รับอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (respiratory protective mask) หากรู้สึกหายใจลำบากให้ใช้การบำบัดด้วยออกซิเจน (oxygen administer) และไปรีบพบแพทย์โดนทันที
- การผ่านเข้าสู่ดวงตา: ล้างดวงตาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (respiratory protective mask) และรีบไปพบแพทย์โดยทันที
- สัมผัสกับผิวหนัง: สวมอุปกรณ์ป้องกันการหายใจ (respiratory protective mask) ถอดเสื้อผ้าที่ได้รับสารปนเปื้อนออกทันที หลังจากนั้นรีบล้างผิวหนังส่วนที่โดนสารด้วยสบู่กับน้ำ และรีบไปพบแพทย์โดยทันที
- การกลืนกิน: ห้ามพยายามอาเจียนโดยเด็ดขาด ต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThiermann15
- ↑ 2.0 2.1 Chambers, Michael. "Substance Name: VX". ChemIDplus (ภาษาอังกฤษ). U.S. National Library of Medicine, National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.
- ↑ "Material Safety Data Sheet: Nerve Agent (VX)". ilpi.com. Interactive Learning Paradigms Incorporated. December 22, 2000 [1998]. สืบค้นเมื่อ October 25, 2007.
- ↑ MacCurry, Justin. "What is the VX nerve agent that killed North Korean Kim Jong-nam?". the guardian. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2017.
- ↑ "VX (nerve agent)". wikipedia. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2017.
- ↑ "VX (nerve agent)". new world encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2017.
- ↑ "ทำความรู้จักกับสารพิษที่VXใช้สังหารคิมจองนัม". posttoday. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2017.
- ↑ "MSDS: Lethal Nerve agent (VX)". สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2017.