นักฟิสิกส์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้นๆ
การศึกษา
นักฟิสิกส์ได้รับการจ้างงานในหลายสาขา อย่างต่ำที่สุดต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในงานวิจัย ต้องการผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่ประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ เคมี และ ฟิสิกส์ ในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า นิสิตนักศึกษามักต้องเน้นความเชี่ยวชาญไปทางสาขาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ได้แก่ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ( Astrophysics) , ชีวฟิสิกส์ (Biophysics) , ฟิสิกส์เชิงเคมี (Chemical physics) , ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) , วัสดุศาสตร์ (Material science) , ฟิสิกส์นิวเคลียร์ (Nuclear physics) , ทัศนศาสตร์ (Optics) , ฟิสิกส์ของอนุภาค (Particle physics) , และฟิสิกส์พลาสมา (Plasma physics) ตำแหน่งนักวิจัยหรือบริหารด้านวิจัยอาจต้องการผู้จบการศึกษาระดับหลังปริญญาเอก
การจ้างงาน
ผู้จ้างงานของนักฟิสิกส์ที่สำคัญมี 3 กลุ่มได้แก่ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยของรัฐบาล และอุตสาหกรรมภาคเอกชนซึ่งนับเป็นผู้จ้างรายใหญ่ที่สุดในประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว ผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นนักฟิสิกส์ยังสามารถใช้ทักษะของตนในเศรษฐิกิจภาคอื่นได้ด้วย โดยเฉพาะด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์และการเงิน นักฟิสิกส์บางคนอาจศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่ฟิสิกส์สามารถเชื่อมโยงต่อเนื่องได้ เช่น นักกฎหมายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรในภาคอุตสาหกรรม หรือในสำนักงานอิสระ [1]
นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง
- เรอเน เดการ์ต (René Descartes; ค.ศ. 1596–1650)
- แบลซ ปัสกาล (Blaise Pascal; ค.ศ. 1623–1662)
- ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton; ค.ศ. 1642–1726/1727)
- ก็อทฟรีท วิลเฮ็ล์ม ไลบ์นิทซ์ (Gottfried Wilhelm Leibniz; ค.ศ. 1646–1716)
- เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell; ค.ศ. 1831–1879)
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein; ค.ศ. 1879–1955)
- มักซ์ พลังค์ (Max Planck; ค.ศ. 1858–1947)
- มักซ์ บอร์น (Max Born; ค.ศ. 1882–1970)
- นีลส์ บอร์ (Niels Bohr; ค.ศ. 1885–1962)
- แวร์เนอร์ ไฮเซินแบร์ค (Werner Heisenberg; ค.ศ. 1901–1976)
- ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman; ค.ศ. 1918–1988)
- สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking; ค.ศ. 1942–2018)
ดูเพิ่ม
- รายนามผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
- รายชื่อนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล (วิกีพีเดียอังกฤษ)
- สถาบันนักฟิสิกส์แห่งราชอาณาจักร (วิกีพีเดียอังกฤษ)
- สถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา (วิกีพีเดียอังกฤษ)
- รายชื่อนักฟิสิกส์ของโลก (วิกีพีเดียอังกฤษ)
- วิศวกรรม
อ้างอิง
- "What works for women in physics?". Physics Today. 56 (9): 46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-31. สืบค้นเมื่อ 2006-10-09.
- "The Physics Job Market: From Bear to Bull in a Decade". Physics Today. 54 (4): 36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-10-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Occupational Outlook Handbook เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Physicists and Astronomers เก็บถาวร 2012-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; จากสำนักงานสถิติ กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ
- Education and employment statistics จากสถาบันนักฟิสิกส์แห่งอเมริกา
- ผลงานนักฟิสิกส์ไทย จากไทย เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นักฟิสิกส์