สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์
สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ป. 3150 ปีก่อนคริสตกาล–ป. 2686 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||
เมืองหลวง | ไทนิส, หลังจากนั้น เมมฟิส | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||
• ป. 3129 ปีก่อนคริสตกาล | นาร์เมอร์ (พระองค์แรก) | ||||||||
• ป. 2690 ปีก่อนคริสตกาล | คาเซคเอมวี (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• เริ่มต้น | ป. 3150 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
• สิ้นสุด | ป. 2686 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
|
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
---|
ประวัติศาสตร์อียิปต์ |
อ้างอิงคริสต์ศักราช "BC" หมายถึง ปีก่อนคริสต์ศักราช |
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ หรือที่เรียกว่า สมัยโบราณแห่งอียิปต์ หรือ สมัยไธนิส (มาจากเมืองไธนิส, บ้านเกิดของผู้ปกครอง)[1] เป็นยุคของอียิปต์โบราณที่เกิดขึ้นหลังจากการรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างในราว 3150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งจะเอารวมราชวงศ์ที่หนึ่งและราชวงศ์ที่สอง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวัฒนธรรมทางโบราณคดีนะกอดะฮ์ที่ 3 จนถึง ราว 2686 ปีก่อนคริสตกาล หรือช่วงเวลาเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรเก่า[2] เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ที่หนึ่ง เมืองหลวงของอียิปต์ได้ย้ายจากเมืองไธนิสไปยังเมืองเมมฟิส โดยมีอาณาจักรอันเป็นปึกแผ่นที่ปกครองโดยสมมติเทวราชแห่งอียิปต์ เมืองอไบดอสในทางตอนใต้ยังคงเป็นศูนย์กลางหลักของศาสนาอียิปต์โบราณ จุดเด่นของอารยธรรมอียิปต์โบราณ เช่น ศิลปะอียิปต์ สถาปัตยกรรมอียิปต์ และแง่มุมต่าง ๆ ของศาสนาอียิปต์โบราณ ได้ก่อตัวขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์
ก่อนหน้าการรวมอาณาจักรอียิปต์ ดินแดนแถบนี้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านอิสระ ในช่วงราชวงศ์แรก ๆ และประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของอียิปต์หลังจากนั้น ดินแดนนี้จึงเป็นที่รู้จักในนาม "สองดินแดน" (หมายถึงอียิปต์บนและล่าง) ฟาโรห์ทรงจัดตั้งการบริหารประเทศและแต่งตั้งข้าหลวง และโครงสร้างอาคารของการปกครองกลาง ซึ่งมักจะเป็นวิหารกลางแจ้งที่สร้างด้วยไม้หรือหินทราย อักษรอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏขึ้นก่อนหน้าช่วงเวลานี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยทราบถึงภาษาพูดที่ใช้
การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม
| ||
tȝwy 'สองดินแดน' ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | ||
---|---|---|
ประมาณ 3,600 ปีก่อนคริสตกาล สังคมอียิปต์สมัยยุคหินใหม่ตามสายแม่น้ำไนล์นั้นมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมในการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์[3] ไม่นานหลังจาก 3,600 ปีก่อนคริสตกาล สังคมอียิปต์เริ่มเติบโตและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วไปสู่ความเป็นอารยธรรม[4] เครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่และโดดเด่นซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผาในใต้ของเลวานไทน์ก็ปรากฏขึ้น และการใช้ทองแดงอย่างกว้างขวางกลายเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงเวลานี้[4] กระบวนการสร้างอิฐตากแห้งของชาวเมโสโปเตเมีย และหลักการสร้างสถาปัตยกรรม รวมถึงการใช้ซุ้มประตูและผนังช่องเพื่อการตกแต่ง ซึ่งกลายเป็นที่นิยม[4]
ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม กระบวนการของการรวมสังคมและเมืองต่างๆ ของแม่น้ำไนล์ตอนบนหรืออียิปต์บนจึงเกิดขึ้น ในเวลาเดียวกัน สังคมในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์หรืออียิปต์ล่างก็ผ่านกระบวนการรวมตัวชุมชนและเมืองแล้วเช่นกัน[4] สงครามระหว่างอียิปต์บนและอียิปต์ล่างจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง[4] ในรัชสมัยของฟาโรห์นาร์เมอร์ในอียิปต์บน พระองค์ทรงเอาชนะศัตรูของพระองค์ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และรวมอาณาจักรอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าไว้ด้วยกันภายใต้การปกครองเดียวกัน[5] ฟาโรห์นาร์เมอร์ได้ปรากฏอยู่บนแผ่นศิลาเป็นภาพที่พระองค์สวมมงกุฏคู่ ซึ่งประกอบด้วยดอกบัว ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์บนและต้นกก ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์ล่าง โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกครองที่เป็นเอกภาพของทั้งสองส่วนของอียิปต์ที่ตามมาด้วยผู้ปกครองที่ขึ้นมาครองราชย์ต่อทั้งหมด ในตำนาน การรวมอาณาจักรของอียิปต์ที่พรรณาว่าเทพเจ้านกเหยี่ยวที่มีพระนามว่าฮอรัส ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์ล่างอียิปต์ล่าง ได้ทรงพิชิตและปราบเทพเจ้าเซต ซึ่งเป็นตัวแทนของอียิปต์บน[6] ความเป็นกษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะดำรงอยู่ในอียิปต์ต่อไปอีกสามพันปี ได้รับการสถาปนาอย่างมั่นคงเพื่อเป็นพื้นฐานในการปกครองของอียิปต์[7] การรวมตัวกันของสังคมตามแม่น้ำไนล์ยังเชื่อมโยงกับการสิ้นสุดของช่วงเวลาที่มีชื้นในแอฟริกา
พิธีศพสำหรับชาวนาที่ยากจยคงจะเหมือนกับในสมัยก่อนราชวงศ์ แต่ผู้มีอันจะกินนั้นจะต้องการบางอย่างในพิธีมากกว่านี้ ดังนั้น ชาวอียิปต์จึงเริ่มสร้างมาสตาบา ซึ่งกลายเป็นต้นแบบสำหรับสิ่งก่อสร้างในสมัยราชอาณาจักรเก่าในเวลาต่อมา เช่น พีระมิดขั้นบันได การเกษตรธัญพืชและการรวมศูนย์ก็มีส่วนทำให้อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองในอีก 800 ปีข้างหน้า
ดูเหมือนว่าอียิปต์กลายเป็นปึกแผ่นในฐานะเจ้าของพื้นที่ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างแน่นอนก่อนหน้าที่ฟาโรห์พระองค์แรกจะทรงขึ้นครองบัลลังก์ในเมืองเมมฟิสของอียิปต์ล่างนานพอสมควร การรวมตัวกันทางการเมืองก็ดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป บางทีอาจจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ศตวรรษ เนื่องจากในท้องถิ่นเองก็ได้จัดตั้งเครือข่ายการค้าขึ้น และในขณะที่ความสามารถของผู้ปกครองในการจัดตั้งแรงงานภาคพื้นเกษตรในระดับที่ใหญ่ขึ้นก็เพิ่มขึ้น ความเป็นเทวราชาอาจจะได้รับแรงผลักดันทางจิตวิญญาณ เมื่อลัทธิของเทพเจ้า เช่น ฮอรัส, เซต และนิธ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนที่มีชีวิตเริ่มแพร่หลายในดินแดนแห่งนี้[8]
ในช่วงเวลาดังกล่าวเองที่ระบบการเขียนของอียิปต์ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม ในขั้นต้น อักษรอียิปต์โบราณประกอบด้วยสัญลักษณ์ไม่กี่ตัวที่สื่อใจความต่างๆ ในตอนปลายของราชวงศ์ที่สามมีการเพิ่มให้มีสัญลักษณ์มากกว่า 200 แบบ ทั้งแบบตัวเขียนและแบบสัญลักษณ์[7]
-
รูปสลักหินปูนส่วนพระเศียรของฟาโรห์ ซึ่งไม่ทราบที่มาและไม่มีจารึกปรากฏ (พิพิธภัณฑ์เพตรี กรุงลอนดอน)
-
จานที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ตอนต้นของอียิปต์โบราณ ภาพนี้แสดงให้เห็นชายคนหนึ่งอยู่บนเรือพร้อมกับฮิปโปโปเตมัสและจระเข้
-
รูปสลักหินบะซอลต์ส่วนหัวของชาวต่างชาติที่เสียหายจากเบ้าประตู ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นระหว่างราชวงศ์ที่หนึ่งถึง ราชวงศ์ที่สอง จากเมืองธีบส์ ประเทศอียิปต์
ฟาโรห์พระองค์แรกแห่งอียิปต์
ตามบันทึกของมาเนโธ ฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์บนและอียิปต์ล่างที่รวมอาณาจักรเดียวกันนั้นพระนามว่า เมเนส ซึ่งในปัจจุบันถูกระบุว่าเป็นฟาโรห์นาร์เมอร์ โดยแท้จริงแล้ว ฟาโรห์นาร์เมอร์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่หนึ่งที่มีบันทึกไว้ พระองค์ปรากฏครั้งแรกในตราประทับสุสานของฟาโรห์เดนและฟาโรห์กาอา[9][10][11] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงได้รับการยอมรับจากฟาโรห์ในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่งในฐานะผู้สถาปนาที่สำคัญ พระองค์ยังทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกสุดที่มีความเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์แห่งอำนาจเหนือดินแดนทั้งสอง (โดยเฉพาะแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์ ซึ่งเป็นแผ่นศิลาสลักที่ปรากฏฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงสวมมงกุฎของอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง) และอาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงสามารถรวมอาณาจักรอียิปต์ได้ ดังนั้น จึงมีความเห็นพ้องต้องกันในปัจจุบัน คือ "ฟาโรห์เมเนส" และ "ฟาโรห์นาร์เมอร์" หมายถึงฟาโรห์พระองค์เดียวกัน[4] ซึ่งมีแนวคิดอีกทางได้ถือว่า ฟาโรห์นาร์เมอร์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของช่วงนะกอดะฮ์ที่ 3[6] และ "ฟาโรห์เมเนส" คือฟาโรห์ฮอร์-อฮา
ชาวอียิปต์ในคานาอันและนิวเบีย
การตั้งถิ่นฐานและการล่าอาณานิคมของอียิปต์ปรากฏขึ้นแล้วตั้งแต่ประมาณ 3,200 ปีก่อนคริสตกาลเป็นต้นไปทั่วพื้นที่ทางตอนใต้ของคานาอัน ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณเกือบทุกชนิด เช่น สถาปัตยกรรม (ป้อมปราการ เขื่อนและโครงสร้างอาคาร) เครื่องปั้นดินเผา ภาชนะ เครื่องมือ อาวุธ ตราประทับ ฯลฯ[12][13][14][15] ค้นพบสัญลักษณ์เซเรคจำนวน 20 สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องฟาโรห์นาร์เมอร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของสมัยราชวงศ์ตอนต้น ได้ถูกพบในคานาอัน[16] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานและการยึดครองของชาวอียิปต์ในนิวเบียล่าง หลังจากวัฒนธรรมกลุ่มเอในนิวเบียได้ล่มสลายลงไปแล้ว[17][18] ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ อาณาจักรอียิปต์คงน่าจะได้ขยายอำนาจไปทางเหนือของกรุงเทลอาวีฟในปัจจุบัน และขยายไปไกลออกไปทางใต้เท่ากับแก่งน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ในนิวเบีย[19]
อ้างอิง
- ↑ Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt. Blackwell Publishing, 1992, p. 49
- ↑ Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 479. ISBN 0-19-815034-2.
- ↑ Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons Publishing: New York, 1966) p. 51.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons: New York, 1966) p. 52-53.
- ↑ Carl Roebuck, The World of Ancient Times (Charles Scribner's Sons Publishers: New York, 1966), p. 53.
- ↑ 6.0 6.1 Carl Roebuck, The World of Ancient Times, p. 53.
- ↑ 7.0 7.1 Kinnaer, Jacques. "Early Dynastic Period" (PDF). The Ancient Egypt Site. สืบค้นเมื่อ 4 April 2012.
- ↑ The Penguin Historical Atlas of Ancient Egypt pg 22-23 (1997) By Bill Manley
- ↑ Qa'a and Merneith lists http://xoomer.virgilio.it/francescoraf/hesyra/Egyptgallery03.html
- ↑ The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/1553 เก็บถาวร 2020-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The Narmer Catalog http://narmer.org/inscription/4048 เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Branislav Anđelković, Southern Canaan as an Egyptian Protodynastic Colony
- ↑ Branislav Anđelković, Hegemony for Beginners: Egyptian Activity in the Southern Levant during the Second Half of the Fourth Millennium B.C.
- ↑ Naomi Porat (1992). "An Egyptian Colony in Southern Palestine During the Late Predynastic to Early Dynastic". ใน Edwin C. M. van den Brink (บ.ก.). The Nile Delta in Transition: 4th.-3rd. Millennium B.C. : Proceedings of the Seminar Held in Cairo, 21.-24. October 1990, at the Netherlands Institute of Archaeology and Arabic Studies. Van den Brink. pp. 433–440. ISBN 978-965-221-015-9. สืบค้นเมื่อ 24 February 2013.
- ↑ Ancient Egyptian brewery found in downtown Tel Aviv
- ↑ Jiménez-Serrano, Alejandro (2007). Los primeros reyes y la unificación de Egipto. Universidad de Jaen. pp. 370, Table 8.
- ↑ Brian Yare, The Middle Kingdom Egyptian Fortresses in Nubia. 2001
- ↑ Drower, Margaret 1970: Nubia, A Drowning Land, London, pp. 16-17
- ↑ Morris, Ellen (2018). Ancient Egyptian Imperialism. John Wiley & Sons. p. 29.
เพิ่มเติม
- Shaw, Ian (2003). The Oxford History of Ancient Egypt. UK: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280458-7.
- Wilkinson, Toby (2001). Early Dynastic Egypt: Strategies, Society and Security. New York: Routledge. ISBN 0-415-26011-6.
- Wengrow, David (2006). The Archaeology of Early Egypt: Social Transformations in North-East Africa, c. 10,000 to 2,650 BC. New York: Cambridge University Press. ISBN 0-521-83586-0.