ข้ามไปเนื้อหา

ยูลีอาเนอ มารีอา แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูลีอาเนอ มารีอา แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
ระหว่าง8 กรกฎาคม ค.ศ. 1752 – 14 มกราคม ค.ศ. 1766
ราชาภิเษก8 กรกฎาคม ค.ศ. 1752
พระราชสมภพ4 กันยายน พ.ศ. 2272
วอฟเฟนบุตเทล
สวรรคต10 ตุลาคม พ.ศ. 2339
พระราชวังฟรานเดนสเบิร์ก, ประเทศเดนมาร์ก
(พระชนมายุ 67 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
พระราชบุตรเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์
ราชวงศ์ราชวงศ์เวลฟ์
อ็อลเดินบวร์ค (โดยการสมรส)
พระราชบิดาแฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
พระราชมารดาดัสเชสอังตัวเน็ตแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล

ยูลีอาเนอ มารีอาแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (4 กันยายน พ.ศ. 2272 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2339) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ระหว่างพ.ศ. 2295 ถึง พ.ศ. 2309 เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก เป็นพระมารดาในเจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ และพระนางทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระโอรสเลี้ยง พระนางทรงปกครองเดนมาร์กและนอร์เวย์โดยพฤตินัยระหว่างพ.ศ. 2315 ถึงพ.ศ. 2327 จากการที่ทรงปกครองประเทศอย่างเผด็จการและทรงพยายามนำประเทศกลับไปสู่ระบอบขุนนางในอดีต ทำให้พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีที่ประชาชนชาวเดนมาร์กและนอร์เวย์เกลียดชังมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์เดนมาร์ก[1]

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]
ดัสเชสยูลีอาเนอ มารีอาแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ในบทบาทพระราชินีอย่างเป็นทางการ

พระนางประสูติในฐานะราชธิดา ในจำนวนบุตรทั้งหมด 12 พระองค์ของแฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล กับดัสเชสอังตัวเน็ตแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล พระองค์ประสูติในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2272 ที่เมืองวอฟเฟนบุตเทล ในแซกโซนี พระนางเป็นพระขนิษฐาในสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ คริสทีเนอแห่งปรัสเซียซึ่งเป็นพระมเหสีในพระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซียและพระนางเป็นพระมาตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าซาร์อีวานที่ 6 แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นพระโอรสในดยุคแอนโทนี อุลริชแห่งบรันสวิคพระเชษฐา

สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก

[แก้]

หลังจากสมเด็จพระราชินีหลุยส์แห่งเดนมาร์ก พระมเหสีพระองค์แรกในพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก สวรรคตในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2294 ยูลีอาเนอ มารีอาแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิลทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2295 ณ พระราชวังเฟรเดอริคเบอร์ก การอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นเพื่อให้ดัสเชสมีเสกียรภาพในการดำรงพระอิสริยยศ ในวันอภิเษกสมรส พระองค์ทรงมีบุคลิกเหมือนเด็ก ทรงตื่นเต้นมากจนตรัสตะกุกตะกัก การอภิเษกสมรสได้จัดขึ้นโดย เคานท์อดัม ก็อตธ็อบ โมลท์เก พระสหายของพระเจ้าเฟรเดอริก ซึ่งเป็นผู้คิดว่าการที่พระมหากษัตริย์อภิเษกสมรสอีกครั้งเป็นสิ่งที่จำเป็น พระเจ้าเฟรเดอริกทรงมิได้ตั้งพระทัยในการอภิเษกสมรสครั้งใหม่แต่พระองค์ก็ตกลงอภิเษกสมรสหลังจากทอดพระเนตรพระฉายาลักษณ์ของดัสเชส ดัสเชสยูลีอาเนอ มารีอาทรงอภิเษกสมรสในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2295 และทรงสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระราชินีในวันเดียวกัน การอภิเษกสมรสครั้งนี้ไม่เป็นที่พอใจแก่ประชาชนเพราะประชาชนเห็นว่าอยู่ในช่วงไว้ทุกข์แก่อดีตสมเด็จพระราชินีหลุยส์ซึ่งทรงเป็นที่รักยิ่งของชาวเดนมาร์ก จากเหตุการณ์ครั้งนี้พระนางทรงพยายามประพฤติตนให้เป็นที่รักของชาวเดนมาร์ก โดยทรงแต่งตั้ง เจ.สไชด์เดอรับ สนีดอร์ฟ และกัลด์เบิร์กเพื่อให้การอบรมพระโอรสของพระนาง ทำให้พระโอรสของพระนางเป็นเจ้าชายเดนมาร์กรุ่นแรกที่ภาษาแรกคือ ภาษาเดนมาร์ก พระนางยูลีอาเนอทรงพยายามหัดตรัสและเขียนเป็นภาษาเดนมาร์กแต่ก็เป็นไปได้ไม่ค่อยดี แต่ก็ไม่เคยทำให้พระนางเป็นราชินีที่เป็นที่นิยม พระนางทรงระมัดระวังในการแสดงความจงรักภักดีที่มีต่อพระสวามี ซึ่งพระสวามีของพระนางทรงมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับสตรีอื่นบ่อยๆ ซึ่งทำให้พระนางทรงได้รับการเห็นใจบ้าง ในฐานะของสมเด็จพระราชินี พระนางทรงไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมือง พระเจ้าฟรีดริชมหาราชแห่งปรัสเซียทรงคาดว่าในฐานะที่พระนางเป็นเจ้าหญิงเยอรมันและเป็นพระขนิษฐาในพระมเหสีของพระองค์ พระนางจะเป็นตัวแทนพระองค์ในราชสำนักเดนมาร์กในการปลดเคานท์โยฮันน์ ฮาร์ตวิก เอิร์นส์ ฟาน เบิร์นสตอฟ ศัตรูของพระองค์ออกจากตำแหน่ง แต่พระนางไม่เคยทำเช่นนั้น

สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก พระสวามีซึ่งทรงไม่เคยรักและใส่พระทัยในพระนางเลย

ในฐานะของสมเด็จพระราชินี พระนางทรงใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบและทรงมีอิทธิพลไม่มาก จุดประสงค์หลักของพระนางคือ การหาทางให้พระโอรสของพระนางที่เป็นสายพระโลหิตของพระนางได้เป็นผู้สำเร็จราชการ พระนางทรงเลี้ยงดูพระโอรสเพียงพระองค์เดียวอย่างเข้มงวดมาก และมันเป็นการยากที่พระนางจะมาแทนที่อดีตสมเด็จพระราชินีหลุยส์ที่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเดนมาร์ก และพระนางทรงไม่ใส่พระทัยในพระโอรสและพระธิดาเลี้ยงอันประสูติแต่สมเด็จพระราชินีหลุยส์เลย พระนางทรงชิงชังพระโอรสและพระธิดาเลี้ยงมากถึงขนาดเคยทรงใส่ยาพิษลงในพระกระยาหารเช้าของเจ้าชายคริสเตียนซึ่งยังทรงพระเยาว์ แต่มีนางข้าหลวงที่จงรักภักดีเห็นพระนางใส่บางอย่างลงในพระกระยาหารจึงแอบเททิ้งแล้วไปกราบทูลพระเจ้าเฟรเดอริค พระเจ้าเฟรเดอริคทรงกริ้วมาก พระนางยูลีอาเนอทรงปฏิเสธว่าเป็นข้อกล่าวหาแต่ก็มีการเฝ้าระวังพระกระยาหารของเจ้าชายคริสเตียนจะเสวยตั้งแต่นั้นมา

สมเด็จพระพันปีหลวงและบทบาทด้านการเมือง

[แก้]

หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 แห่งเดนมาร์ก ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2309 ทำให้พระนางกลายเป็นสมเด็จพระพันปีหลวงและทรงเริ่มก้าวก่ายในราชกิจทางการเมืองในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์ก พระโอรสเลี้ยง ในระหว่างทรงปกครองประเทศทางพฤตินัยแบบเผด็จการนี้ทำให้ทรงถูกเกลียดชังอย่างมาก

รัฐประหาร พ.ศ. 2315 การขจัดอำนาจของสตรูเอนซีและราชินีแคโรไลน์ มาทิลดา

[แก้]
พระเจ้าคริสเตียนที่ 7 พระโอรสเลี้ยงซึ่งมีพระสติวิปลาสและมอบพระราชอำนาจให้พระมเหสีและสตรูเอนซี
แคโรไลน์ มาทิลดาแห่งเวลส์ สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก พระสุณิสา ซึ่งทรงพยายามเป็นปรปักษ์กับพระพันปียูลีอาเนอ

ในปีพ.ศ. 2311 สมเด็จพระพันปียูลีอาเนอมีพระบัญชาให้จับกุม สตอฟเล็ท-แคทลีน พระสนมในพระเจ้าคริสเตียน และเนรเทศออกจากเดนมาร์ก เนื่องจากทรงเชื่อว่านางแคทลีนมีอิทธิพลเหนือกษัตริย์และพยายามท้าทายพระราชอำนาจของพระนาง ในปีพ.ศ. 2313 พระเจ้าคริสเตียนทรงเริ่มมีพระสติวิปลาส แต่พระองค์ก็ทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ เจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งเวลส์ พระมเหสีผู้ครองพระยศสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์กในขณะนั้นกับ โจฮันน์ ฟรีดิช สตรูเอนซีชู้รักของพระนางแคโรไลน์ มาทิลดา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น พระนางมาทิลดาและสตรูเอนซีได้ดำเนินนโยบายที่พยายามปรับปรุงประเทศเดนมาร์กให้หลุดพ้นจากแนวคิดการปกครองและวัฒนธรรมประเพณีรูปแบบเก่าตั้งแต่สมัยยุคกลาง ซึ่งพยายามทำให้เดนมาร์กที่ยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นในยุโรปก้าวขึ้นสู่สมัยใหม่ สตรูเอนซีเน้นแนวทางเสรีนิยมซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชนชั้นล่าง เช่น ได้ประกาศลดภาษีเกลือซึ่งเป็นภาระหนักแก่ประชาชนและลดราคาข้าวสาลีลงครึ่งหนึ่ง และนำเงินทุนมาสร้างโรงพยาบาล โรงเรียนแก่ชนชั้นล่าง และได้ประกาศเปิดสวนในพระราชวังให้ประชาชนสามารถเข้าไปได้ อีกทั้งเขายังริเริ่มกฎหมายกำหนดหมายเลขบ้านและทำความสะอาดถนน ซึ่งทำให้คนชนชั้นล่างสำนึกในคุณของเขาและพระนางมาทิลดา แต่นโยบายเขากลับสร้างความไม่พอใจแก่คนชนชั้นสูงซึ่งสูญเสียประโยชน์รวมทั้งพระพันปียูลีอาเนอด้วยและพยามยามปฏิวัติยึดอำนาจกลับมา [2]

พระนางยูลีอาเนอทรงพยายามอย่างหนักเพื่อหาหลักฐานทุกอย่างในการคบชู้ของพระราชินีมาทิลดา ผุ้เป็นพระสุนิสา ทรงจ้างนางพระกำนัลสี่คนของพระนางมทิลดาเพื่อทำหน้าที่สายลับ เมื่อหลักฐานครบถ้วน พระนางทรงวางแผนเชิญชวนคนชั้นสูงมาร่วมก่อการ หนึ่งในนั้นคือ เคานท์ซัค คาร์ล แรนต์เซา สหายของสตรูเอนซี ซึ่งโกรธแค้นเขาเนื่องจากถูกมองข้ามความสำคัญ โดยกำหนดเอาเช้าตรู่วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2315 เป็นวันก่อการ [3]

ในคืนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2315 เป็นวันจัดงานเต้นรำสวมหน้ากากในราชสำนัก เมื่อพระเจ้าคริสเตียนกลับเข้าสู่ห้องบรรทมแล้ว ส่วนพระนางมาทิลดาและสตรูเอนซีเต้นรำจนถึงตีสาม พระนางมาทิลดาก็เสด็จกลับห้องพระนาง ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 17 มกราคม พระนางยูลีอาเนอทรงรีบสาวพระบาทไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าคริสเตียน พระนางแจ้งว่าจะเกิดการปฏิวัติและให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธยในคำสั่งจับกุมพระราชินีมาทิลดาและสตรูเอนซี แม้พระเจ้าคริสเตียนทรงไม่ยินยอมแต่พระนางยูลีอาเนอได้บีบบังคับให้ทรงลงพระปรมาภิไธยได้ พระนางได้กุมตัวกษัตริย์ซึ่งถือว่าทรงได้อำนาจมาไว้ในพระหัตถ์แล้ว ทหารได้บุกเข้าไปจับกุมตัวสตรูเอนซีในห้องและล่ามโซ่เขาในคุก[4]. และในเวลา 04.30 นาฬิกา เคานต์แรนต์เซาได้นำทหารไปเชิญพระราชินีมาทิลดาเพื่อไปจองจำ พระนางมาทิลดาทรงต่อต้านอย่างหนัก ทำให้ทรงถูกพาตัวไป พระนางยูลีอาเนอทรงอนุญาตให้นำ เจ้าหญิงหลุยส์ ออกุสตาตามพระมารดาไปในคุกด้วยเนื่องจากทรงยังไม่หย่านม พระนางมาทิลดาทรงถูกนำไปคุมขังที่ปราสาทโครนเบอร์ก พระนางยูลีอาเนอทรงจัดให้พระนางมาทิลดาประทับในห้องบนสุดที่ไม่มีเตาผิงและสกปรก ต่อมาด้วยความกลัวจักรวรรดิอังกฤษ ยกทัพมาเดนมาร์ก จึงจัดให้ประทับที่ห้องชุดที่ดีกว่าเดิม

พระเจ้าคริสเตียนทรงขัดเคืองพระทัยกับการอบรมชี้แนะของพระมารดาเลี้ยง ทรงแข็งข้อต่อพระนางขึ้นเรื่อยๆ มีรับสั่งถามพระนางยูลีอาเนอเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระนางมาทิลดา ทำให้ยูลีอาเนอทรงรำคาญพระทัยมากแต่พระนางก็ทรงไม่บอก ครั้งหนึ่งพระเจ้าคริสเตียนทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารทรงเขียนว่า "คริสเตียนที่ 7 กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ข้ารับใช้ของพระเป็นเจ้า ร่วมกับ ยูลีอาเนอ มารีอา ข้ารับใช้ของปีศาจ"[5]

การประหารชีวิตโจฮันน์ ฟรีดิช สตรูเอนซีซึ่งสร้างความปิติแก่พระพันปียูลีอาเนอมาก

สตรูเอนซีถูกตัดสินประหารชีวิตพร้อมกับเคานท์เอเนอโวลด์ แบรนดท์ ผู้ให้การสนับสนุนสตรูเอนซี ด้วยความผิดฐานกบฏ การประหารชีวิตกำหนดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2315 ในวันนั้นพระนางยูลีอาเนอบังคับให้พระเจ้าคริสเตียนและพระบรมวงศานุวงศ์ไปชมละครโอเปราและงานเลี้ยง แท่นประหารถูกสร้างให้สูงจากพื้น 27 ฟุต เพื่อให้พระนางยูลีอาเนอทอดพระเนตรด้วยกล้องส่องทางไกลได้สะดวกจากหอสูงของพระราชวังคริสเตียนเบอร์ก พระนางทรงมีรับสั่งกับนางกำนัลว่า "ข้าชอบห้องพวกนี้มาก ชอบยิ่งกว่าห้องชุดหรูหราของข้าเสียอีก เพราะจากหน้าต่างแห่งนี้ ข้าเคยได้เห็นซากที่เหลือของศัตรูที่ข้าเกลียดชังที่สุดอย่างถนัดตา"[6]

พระราชวังคริสเตียนเบอร์ก พระพันปียูลีอาเนอทรงโปรดที่จะประทับที่นี่มากเพราะทำให้พระนางสามารถมองเห็นลานประหารได้ชัดเจนจากหอสูง

สตรูเอนซีเดินขึ้นลานประหาร หลังจากการประหารแบรนดท์แล้ว "ทีนี้ถึงศัตรูรายสำคัญแล้ว" พระนางตรัสกับนางกำนัลอย่างปิติ[7] สตรูเอนซีคุกเข่าลงบนกองเลือดแล้ววางมือด้านขวาที่นำความแปดเปื้อนมาสู่ราชินี เพชรฆาตสับมือข้างนั้นขาดกระเด็น สตรูเอนซีลุกขึ้นบิดตัวเร่า เลือดพุ่งกระฉูดออกจากข้อมือที่กุด ผู้ช่วนเพชรฆาตจำเป็นต้องกดศีรษะเขาแนบกับขอนไม้และในที่สึดดาบฟันลงมา ศีรษะสตรูเอนซีขาดกระเด็น พระนางยูลีอาเนอร้องอย่างปิติ จากนั้นทรงบอกกับพระสหายว่า เรื่องเดียวที่ทรงเสียพระทัยที่สุดคือเรื่องที่ทรงไม่ได้เห็นพระนางมาทิลดา ผู้เป็นพระสุนิสาไม่ได้ขึ้นแท่นประหารแบบคนอื่น และพระนางไม่ได้เห็นพระหัตถ์และพระเศียรมาทิลดาหลุดออกจากร่าง ไม่ได้เห็นซากศพราชินีแห่งเดนมาร์กถูกกรีดจากพระศอจนถึงพระอุรุ ไม่ได้เห็นอวัยวะภายในถูกล้วงออกมาตอกติดกับล้อรถ ไม่ได้เห็นแขนขาถูกตัดออกมาตอกกับอวัยวะภายใน ไม่ได้เห็นพระเศียรถูกเสียบปลายไม้ทิ้งให้เน่าเปื่อยกลางทุ่งท้ายเมือง ตรัสต่อไปว่า ภาพเหล่านั้นจะทำให้พระนางมีความสุขที่สุดในพระชนม์ชีพ"[8]

เมื่อศีรษะสตรูเอนซีหลุดออกจากบ่า เขาได้กลายเป็นนักบุญผู้พลีชีพในสายตาชาวเดนมาร์ก ส่วนสมเด็จพระพันปีหลวงกลับกลายเป็นจอมเผด็จการที่ชาวเดนมาร์กเกลียดชัง พระนางได้ยกเลิกกฎหมายที่สตรูเอนซีบัญญัติขึ้น ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในถนนหลายสายของโคเปนเฮเกน พระนางยูลีอาเนอจำต้องนำกฎหมายบางอย่างของสตรูเอนซีกลับมาใช้อีกครั้ง เมื่อพระเจ้าคริสเตียนทรงทราบการประหารพระองค์ทรงเศร้าโศกมากและตรัสขอพบพระนางมาทิลดา เนื่องจากยังเป็นพระมเหสีอยู่ เมื่อพระนางมาทิลดาทราบข่าวการประหารพระองค์ทรงเป็นลมล้มฟุบทันที มีเสียงเรียกร้องจากประชาชนตามถนนต้องการให้ พระนางมาทิลดาขึ้นสำเร็จราชการแทนพระนางยูลีอาเนอจนเป็นการจลาจลอีกครั้ง พระนางยูลีอาเนอจึงเนรเทศพระสุนิสาออกจากแผ่นดินเดนมาร์กเสีย

การก้าวขึ้นสู่พระราชอำนาจ

[แก้]
สมเด็จพระพันปีหลวงยูลีอาเนอและพระฉายาลักษณ์ของเจ้าชายเฟรเดอริค พระโอรสของพระนาง
พระเจ้าเฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซีย ผู้ให้การสนับสนุนฐานอำนาจของพระพันปียูลีอาเนอตลอดมา

หลังจากสมเด็จพระพันปีหลวงยูลีอาเนอทรงขจัดพระราชอำนาจของพระราชินีมาทิลดา พระสุณิสาและสตรูเอนซีได้แล้ว พระนางได้แต่งตั้ง เจ้าชายเฟรเดอริค รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ พระราชโอรสของพระนางขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งเดนมาร์ก แต่ตามทางความเป็นจริงแล้ว พระนางทรงตั้งพระโอรสเพื่อเป็นเพียงหุ่นเชิดและพระนางก็จะปกครองโดยพฤตินัย โดยมี โอฟว์ ฮอกห์-กูลด์เบิร์ก พระอาจารย์ของเจ้าชายเฟรเดอริค ช่วยงานราชการแผ่นดินและดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเดนมาร์กในทางพฤตินัยเช่นเดียวกับพระพันปีหลวง ในช่วงการปฏิวัติครั้งนี้ ทำให้พระนางทรงได้รับการสรรเสริญเยินยอจากผู้สนับสนุนว่า ทรงเทียบเท่ากับ ราชินีเอสเทอร์ ฮามาน ราชินีชาวยิวซึ่งเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชแห่งเปอร์เซีย,พระนางเดบอราและจูดิธ ผู้ตัดหัวโฮโรเฟอร์เนส รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพระนางมีแนวคิดอนุรักษนิยมอย่างสุดโต่ง พระนางทรงคืนที่ดินต่างๆให้ชนชั้นสูงที่ถูกริบทรัพย์สินในสมัยของสตรูเอนซีและพระนางมาทิลดา ทำให้ทรงได้รับความจงรักภักดีและทรงกลายเป็นวีรสตรีของพวกขุนนางชั้นสูง แต่ฝ่ายต่อต้านพระนางได้กล่าวว่าทรงเป็นปีศาจร้ายซึ่งสร้างความหายนะแก่ประเทศเดนมาร์ก พระนางมีพระราชกรณียกิจที่เป็นที่ยอมรับคือ การจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องลายครามแห่งแรกที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐในปีพ.ศ. 2322 พระนางทรงมักเขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฟรเดอริคมหาราชแห่งปรัสเซียเป็นประจำ ซึ่งพระเจ้าเฟรเดอริคมหาราชได้ให้การสนับสนุนพระนางและทรงพอพระทัยที่พระนางได้ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการในทางพฤตินัย

พระพันปีหลวงยูลีอาเนอต้องทรงรับผิดชอบในการดูแลมกุฎราชกุมารเฟรเดอริก พระโอรสของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 กับพระนางแคโรไลน์ มาทิลดา มกุฎราชกุมารทรงชิงชังสมเด็จพระพันปีซึ่งเป็นพระอัยยิกามาก เนื่องจากพระนางทรงปฏิบัติไม่ดีต่อพระบิดาและพระมารดา และพระนางพยายามควบคุมพระองค์ให้อยู่ในความปกครองซึ่งกำหนดให้เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 14 ชันษาถึงจะมีสิทธิในการเป็นผู้สำเร็จราชการ และพระนางทรงพยายามไม่ให้พระองค์ได้พบปะกับเจ้าหญิงหลุยส์ ออกุสตา พระขนิษฐา ซึ่งพระองค์สนิทมากที่สุด ในปีพ.ศ. 2324 พระพันปีหลวงยูลีอาเนอทรงตอบรับข้อเสนอของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชที่จะให้มกุฎราชกุมารสมรสกับเจ้าหญิงเยอรมันเพื่อกระชับสัมพันธ์เดนมาร์ก-ปรัสเซีย

ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิรัสเซีย

[แก้]

ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2323 พระพันปีหลวงยูลีอาเนอทรงให้ที่ลี้ภัยแก่พระโอรสและพระธิดาของดยุคแอนโทนี อุลริชแห่งบรันสวิคพระเชษฐา กับแกรนด์ดัสเชสแอนนา ลีโอโพลดินาแห่งรัสเซีย ผู้สำเร็จราชการแห่งรัสเซีย ผู้เป็นพระชายา พระโอรสธิดาซึ่งเป็นพระขนิษฐาและพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าซาร์อีวานที่ 6 แห่งรัสเซีย เมื่อทรงได้รับการปล่อยจากคุกในรัสเซีย โดยพระพันปีทรงกระทำข้อตกลงกับสมเด็จพระจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย ซึ่งพระนางสามารถรับ แกรนด์ดัสเชสแคทเทอรีน(พ.ศ. 2284 - พ.ศ. 2350),แกรนดดัสเชสเอลิซาเบธ(พ.ศ. 2286 - พ.ศ. 2325),แกรนด์ดยุคปีเตอร์(พ.ศ. 2288 - พ.ศ. 2341) และแกรนด์ดยุคอเล็กเซ(พ.ศ. 2289 - พ.ศ. 2330) ซึ่งทั้งหมดประสูติในระหว่างที่แกรนด์ดัสเชสแอนนาถูกคุมขัง พระนัดดาของพระพันปียูลีอาเนอทั้งหมดได้พำนักอย่างสะดวกสบายขึ้นที่ที่กักกันในเมืองฮอร์เซน ทรงภาคตะวันออกของคาบสมุทรจัตแลนด์ พระนัดดาทั้งหมดทรงไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าสู่สังคม และทรงได้พำนักในพระตำหนักเล็กซึ่งมีคนเพียง 40/50 คน ซึ่งเป็นชาวเดนมาร์กทั้งหมดยกเว้นพวกพระ พระนัดดาทุกพระองค์อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของพระพันปียูลีอาเนอและทั้งหมดจะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีน

สิ้นสุดพระราชอำนาจ

[แก้]
มกุฎราชกุมารเฟรเดอริค พระนัดดาทรงสามารถโค่นล้มพระราชอำนาจของพระพันปียูลีอาเนอ และต่อมาทรงครองราชย์เป็น พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระพันปีหลวงยูลีอาเนอในบั้นปลายพระชนม์ชีพ

ในปีพ.ศ. 2327 มกุฎราชกุมารเฟรเดอริกทรงได้รับสิทธิตามกฎหมายโดยพระองค์มีพระชนมายุครบ 16 พรรษา ซึ่งเลยกำหนดที่พระพันปีหลวงยูลีอาเนอจะมอบพระราชอำนาจคืนถึง 2 ปี พระนางทรงพยายามชักจูงให้พระนัดดาทรงมอบพระราชอำนาจให้พระนางไปก่อน หรือไม่ก็อาศัยคำแนะนำของพระนางในด้านต่างๆ และพระนางทรงบังคับให้พระเจ้าคริสเตียนทรงลงนามในพระราชกฤษฎีกาดยกำหนดให้ มกุฎราชกุมารต้องยินยอมในคำแนะนำปรึกษาตั้งแต่ทรงเริ่มดำรงพระยศจนถึงปัจจุบัน โดยทรงต้องรับฟังบุคคล 3 คน ได้แก่ สมเด็จพระราชาธิบดี,เจ้าชาย เฟรเดอริค ผู้สำเร็จราชการและสมเด็จพระพันปีหลวงยูลีอาเนอ[9]. อย่างไรก็ตามมกุฎราชกุมารทรงพยายามขจัดอำนาจของพระนางยูลีอาเนอ พระอัยยิกาและพระโอรสของพระนาง และในการร่วมสภาครั้งแรกของพระองค์ พระองค์ทรงไล่คณะรัฐบาลหลวงโดยที่ไม่ได้แจ้งแก่พระนางยูลีอาเนอ และทรงแต่งตั้งคนของพระองค์เข้ารับตำแหน่ง อีกทั้งมกุฎราชกุมารทรงบังคับให้พระบิดาซึ่งมีพระจริตฟั่นเฟือนลงนามในเอกสารแต่งตั้งพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนมกุฎราชกุมารปับผู้สนับสนุนพระพันปีหลวงยูลีอาเนอ พระนางทรงพยายามแย่งชิงกษัตริย์จากพระหัตถ์ของพระนัดดา แต่ฝ่ายที่ไก้รับชัยชนะคือ มกุฎราชกุมารเฟรเดอริค ซึ่งนับเป็นจุดจบในระบอบเก่าสมัยยุคกลางของเดนมาร์ก รัชกาลที่ปกครองโดยพระพันปียูลีอาเนอและพระโอรสของพระนางสิ้นสุดลง ซึ่งถือเป็นการรัฐประหารในพ.ศ. 2327 โดยชาวเดนมาร์กต่างยินดีกันทั่งหน้าซึ่งจบสิ้นยุคสมัยของพระพันปีหลวง แต่พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนทรงสนับสนุนให้พระนางก่อรัฐประหารอีกครั้งโดยสวีเดนจะให้การสนับสนุน แต่พระนางทรงประกาศวางมือจากราชสำนักและการเมือง และทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างปกติ

สวรรคต

[แก้]

พระนางสวรรคตในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ณ พระราชวังฟรีเดนเบอร์ก พระบรมศพถูกฝังที่มหาวิหารร็อคสไลด์ สิริพระชนมายุ 67 พรรษา พระบรมศพของพระนางถูกผู้มาเยือนชาวเดนมาร์กถ่มน้ำลายรดหลุมศพนานหลายปี ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดเผด็จการสตรีที่มีอำนาจที่สุดในแถบสแกนดิเนเวีย ในปีพ.ศ. 2351 พระเจ้าคริสเตียนเสด็จสวรรคต มกุฎราชกุมารได้ครองราชย์เป็น พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นที่รักใคร่และนับถือในปวงประชาชนชาวเดนมาร์ก

พระโอรส

[แก้]
  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส (ประสูติและสิ้นพระชนม์) และพระโอรส-ธิดา
เจ้าชายเฟรเดอริก รัชทายาทแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ 175311 ตุลาคม
พ.ศ. 2296
18057 ธันวาคม
พ.ศ. 2348
อภิเษกสมรส 21 ตุลาคม พ.ศ. 2317
ดัสเชสโซเฟีย เฟรเดอริกาแห่งเม็คเคลนบวร์ก-ชเวรีน (พ.ศ. 2301–2337)
พระราชโอรส 2 พระองค์และพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงยูลีอาเนอ มารีอา
สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
เจ้าหญิงจูเลียน โซฟีแห่งเฮสส์-ฟิลิปสตัล-บราชเฟลด์
เจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์ก
เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก

เครื่องราชอิศริยาภรณ์

[แก้]

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. ดยุคเฮนรีที่ 3 แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
8. ออกัสตัสผู้เยาว์ ดยุคแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล(=24)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงเออร์ชูลาแห่งแซ็กซ์-เลาว์เบิร์ก-ราทเซเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. ดยุคเฟอร์ดินานด์ อัลเบิร์ตที่ 1 แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. ดยุคจอห์น อัลเบิร์ตที่ 2 แห่งแม็คเลนบวร์ก-กีสโทร์ว
 
 
 
 
 
 
 
9. ดัสเชสเอลิซาเบธ โซฟีแห่งแม็คเลนบวร์ก-กีสโทร์ว(=25)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ดัสเชสเอลิซาเบธแห่งแม็คเลนบวร์ก-กาเดบัช
 
 
 
 
 
 
 
2. ดยุกแฟร์ดีนันด์ อัลเบร็คท์ที่ 2 แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. แลนด์เกรฟมอริตช์แห่งเฮสส์-คาสเซล
 
 
 
 
 
 
 
10. แลนด์เกรฟเฟรเดอริคแห่งเฮสส์-เอสชเวจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เคานท์เตสยูลีอาเนอแห่งนัสเซา-ดีเลนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
5. แลนด์เกรฟวีนคริสตินา วิลเฮลมินาแห่งเฮสส์-เอสชเวจ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. จอห์น คาซีเมียร์ เคานท์พาลาทีนแห่งคลีเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
11. เคานท์เตส พาลาทีนเอเลโอนอรา แคทเทอรีนแห่งซไวบรัคเคน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงคาทาลีนาแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
1. ยูลีอาเนอ มารีอาแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. ออกัสตัสผู้เยาว์ ดยุคแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล(=8)
 
 
 
 
 
 
 
12. ดยุคแอนโทนี อุลริชแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. ดัสเชสเอลิซาเบธ โซฟีแห่งแม็คเลนบวร์ก-กีสโทร์ว(=9)
 
 
 
 
 
 
 
6. ดยุคหลุยส์ รูดอล์ฟแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. ดยุคเฟรเดอริคแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ชอนเดนเบอร์ก-นอร์ดบอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ยูลีอาเนอแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ชอนเดนเบอร์ก-นอร์ดบอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงเอเลโอนอราแห่งอัลเฮาท์-เซิร์บท์
 
 
 
 
 
 
 
3. ดัสเชสอังตัวเน็ตแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. เคานท์โจอาคิม เออร์เนสต์แห่งโอเอททินเจน-โอเอททินเจน
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายอัลเบิร์ต เอิร์นเนสที่ 1 แห่งโอเอททินเจน-โอเอททินเจน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคานท์เตสแอนนา โดโรเธียแห่งโฮเฮนโลเฮ-เนาเอนสไตน์
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงคริสทีน หลุยส์แห่งโอเอททินเจน-โอเอททินเจน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ดยุคเอเบอฮาร์ดที่ 3 แห่งเวือร์เทมเบอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
15. ดัสเชสแคทเทอรีน ฟรีเดอริเกแห่งเวือร์เทมเบอร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เคานท์เตสแอนนา แคทเทอรีนาแห่งซาล์ม-คีร์เบิร์ก
 
 
 
 
 
 

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชินียูลีอาเนอ มารีอา
ตราประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHendes Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
  • ดัสเชสยูลีอาเนอ มารีอาแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (4 กันยายน พ.ศ. 2272 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2295)
  • สมเด็จพระราชินียูลีอาเนอ มารีอาแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ (8 กรกฎาคม พ.ศ. 2295 - 14 มกราคม พ.ศ. 2309)
  • สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ (14 มกราคม พ.ศ. 2309 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2339)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eleanor Herman.เร้นรักราชินี(Sex with the Queen).2553 หน้า 349
  2. Eleanor Herman.เร้นรักราชินี(Sex with the Queen).2553 หน้า 332 - 333
  3. Eleanor Herman.เร้นรักราชินี(Sex with the Queen).2553 หน้า 338
  4. Chapman หน้า 137
  5. Wilkins,A Queen of Tears,vol. II หน้า 270
  6. Chapman หน้า 169
  7. Chapman หน้า 169
  8. Chapman หน้า 169
  9. Alf Henrikson: Dansk historia (Danish history) 1989 (in Swedish)


ก่อนหน้า ยูลีอาเนอ มารีอา แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ถัดไป
เจ้าหญิงหลุยส์แห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(8 กรกฎาคม พ.ศ. 229514 มกราคม พ.ศ. 2309)
เจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งเวลส์
เจ้าหญิงหลุยส์แห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
(ราชวงศ์โอลเดนบวร์ก)

(8 กรกฎาคม พ.ศ. 229514 มกราคม พ.ศ. 2309)
เจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งเวลส์