ข้ามไปเนื้อหา

ต่อมทอนซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทอนซิล
sagittal view of tonsils and throat anatomy.
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินtonsilee
TA98A05.2.01.011
FMA9609
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในคอ จัดเป็นเนื้อเยื่อชนิดลิมฟอยด์ในระบบน้ำเหลืองที่ปกคลุมด้วยเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรค แต่บ่อยครั้งที่ตัวมันเองถูกเชื้อโรคเล่นงาน จนเกิดการอักเสบของต่อมเอง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอมีไข้ กลืนลำบาก เบื่ออาหารร่วมกับต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

ลักษณะ

[แก้]

ต่อมทอนซิล (Tonsil) เป็นต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมที่ตั้งอยู่ในช่องปาก มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรค ที่จะเข้าสู่ร่างกายทางช่องทางเดินอาหารว่าเป็นด่านแรก หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกันแต่ไม่ใช่ส่วนที่สำคัญ หน้าที่หลักคือ การทำลายเชื้อโรคในช่องปากมากกว่า เป็นกับดักของเชื้อโรค ต่อมทอนซิลจะทำงานร่วมกับต่อมน้ำเหลืองอีก 2 ต่อมบริเวณคอ คือ ต่อมอดีนอยด์และต่อมน้ำเหลืองที่โคนลิ้น ต่อมอดีนอยด์และต่อมทอนซิลจะหลั่งอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่ลงมาในลำคอ เพื่อคอยต่อสู้กับเชื้อโรคที่มาทางจมูกและลำคอ ต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ด้านระบบภูมิคุ้มกันมากที่สุดเมื่ออายุ 4-10 ปี หลังจากนั้นจะมีขนาดเล็กลง แต่ยังทำงานเกือบตลอดชีวิต ถ้าต่อมทอนซิลมีการอักเสบบ่อยๆ การอักเสบจะทำให้เม็ดเลือดขาวในต่อมทอนซิลลดลง ต่อมทอนซิลจะฆ่าเชื้อโรคและสร้างภูมิคุ้มกันได้ลดลง และในบางครั้งแทนที่ต่อมทอนซิลจะเป็นที่กินเชื้อโรค แต่กลับกลายเป็นที่เก็บเชื้อโรคแทน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการกลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ

อ้างอิง

[แก้]