เดินอากาศไทย
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เลิกดำเนินงาน | 31 มีนาคม พ.ศ. 2531 (รวมกับ การบินไทย) | ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) | ||||||
เมืองสำคัญ | ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 11 | ||||||
จุดหมาย | 26 | ||||||
บริษัทแม่ | การบินไทย | ||||||
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 6 ถนนหลานหลวง, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย[1] | ||||||
บุคลากรหลัก | รวมกิจการกับการบินไทย เมื่อ พ.ศ. 2531 | ||||||
เว็บไซต์ | www.thaiair.com |
บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited ชื่อย่อ: บดท.; TAC) เป็นอดีตสายการบินแห่งชาติภายในประเทศไทย โดยทำการบินหลักที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และมีคำขวัญว่า เพียงงีบหนึ่ง ก็ถึงแล้ว (อังกฤษ: Just a nap, you'll be there) ปัจจุบันโอนกิจการไปรวมกับการบินไทย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนั้นโดยเริ่มมีแผนควบรวมปี พ.ศ. 2530
ประวัติ
[แก้]เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 มีการจัดตั้งบริษัท เดินอากาศ จำกัด (อังกฤษ: Aerial Transport of Siam Co., Ltd.) เพื่อดำเนินการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ และรับเป็นตัวแทนให้บริษัทการบินต่างประเทศที่บินเข้ามาในประเทศไทย ผู้ก่อตั้งเดิมคือกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย ต่อมาเพิ่มกิจการเดินรถประจำทาง อันเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2481 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงขาดแคลนอุปกรณ์และอะไหล่ ทำให้ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามยุติลง จึงฟื้นฟูกิจการบินพาณิชย์ขึ้นอีกครั้ง โดยรัฐบาลไทยให้กองทัพอากาศรับดำเนินการไปพลางก่อน
ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 คณะรัฐมนตรีขณะนั้น มีมติอนุมัติแผนงานการบินพาณิชย์ของกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินงานโดยจัดตั้งในรูปของ บริษัท เดินอากาศ จำกัด (อังกฤษ: Siamese Airways Co.,Ltd.; ชื่อย่อ: บดอ.; SAC) โดยรับโอนกิจการบินพาณิชย์ จากกองทัพอากาศมาดำเนินงานต่อ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ใช้ตราสัญลักษณ์ เป็นภาพช้างเอราวัณสามเศียรอยู่กลางตราอาร์ม สองข้างซ้ายขวาประกอบด้วยภาพปีกนกซ้อนทับบนปีกเครื่องบิน
ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะรัฐมนตรีขณะนั้น มีมติให้รวมบริษัท สายการบินแปซิฟิกโพ้นทะเล (สยาม) จำกัด (อังกฤษ: Pacific Overseas Airline (Siam) Limited ชื่อย่อ: POAS) ซึ่งรัฐบาลไทยร่วมทุนกับเอกชนของสหรัฐอเมริกา เข้ากับบริษัท เดินอากาศ จำกัด เพื่อยุติการแข่งขันกันเอง โดยใช้ชื่อใหม่ว่าบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2520 เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นภาพดอกบัว ซึ่งแต่เดิมการบินไทยจัดจ้างให้ วอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (อังกฤษ: Walter Landor & Associates) ออกแบบขึ้นเพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ของการบินไทย โดยได้ภาพดอกบัวนี้เป็นแบบแรก แต่เนื่องจากยังไม่เป็นที่พอใจมากนัก จึงต้องออกแบบขึ้นใหม่ แล้วนำภาพนี้มาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของเดินอากาศไทยแทน
จากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจขณะนั้น มีมติให้เดินอากาศไทยโอนกิจการ ไปรวมกับการดำเนินงานของ บริษัท การบินไทย จำกัด ซึ่งดำเนินการสายการบินระหว่างประเทศ และมีสถานะเป็นบริษัทลูก เนื่องจากการบินไทยถือหุ้นใหญ่โดยเดินอากาศไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นเอกภาพ[2]
อนึ่ง เดินอากาศไทยมีรหัสลูกค้าของโบอิง บริษัทผลิตเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาคือ P5 ส่วนรหัสเที่ยวบิน ซึ่งขึ้นทะเบียนกับ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA Code) คือ TH หลังจากเดินอากาศไทยโอนกิจการไปรวมกับการบินไทย ต่อมากลายเป็นของสายการบิน บีเอคอนเน็กต์ (BA Connect) ในเครือบริติชแอร์เวย์ ของสหราชอาณาจักร แต่เมื่อปี พ.ศ. 2550 บริติชแอร์เวย์ขายกิจการบีเอคอนเน็กต์ ให้กับสายการบินฟลายบี (Flybe) ปัจจุบันรหัสเที่ยวบิน TH ตกเป็นของสายการบินรายา (Raya Airways) ของมาเลเซีย
ฝูงบินและเส้นทางบิน
[แก้]สายการบินเดินอากาศไทยมีเครื่องบินหลายแบบ ได้แก่ DC3 (DAKOTA) จำนวน 3 เครื่อง, C45 (BEECHCRAFT) จำนวน 2 เครื่อง, L-5 จำนวน 6 เครื่อง, FAIRCHILD จำนวน 3 เครื่อง และแบบ REARWIN จำนวน 2 เครื่องในปี พ.ศ.2500 ได้รับ LOCKHEED L1049 อีก3ลำ(ไม่ทราบเที่ยวบิน) [3] โดยเปิดเส้นทางสายแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-ลำปาง-เชียงใหม่ ในวันที่ 1 มีนาคม และ เชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ในวันที่ 3 มีนาคม จากนั้นในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน เปิดเส้นทางบินต่างประเทศครั้งแรก ในเส้นทางกรุงเทพฯ-สงขลา-ปีนัง
ในปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อเครื่องบินกังหันใบพัดแบบ Avro 748 จากอังกฤษ จำนวน 3 เครื่อง และเริ่มบินในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ซึ่ง Avro บดท.ใช้งานต่อมายาวนานเกือบ 20 ปี, เดือนกันยายน พ.ศ. 2520 บดท.รับมอบเครื่องบิน โบอิ้ง 737-200 (B737-2P5Adv) ความจุ 115 ที่นั่ง เริ่มให้บริการในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ในเส้นทางสายหลักคือ เชียงใหม่ หาดใหญ่ และปีนัง, วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 รับมอบเครื่องบิน ชอร์ท 330 จำนวน 4 เครื่อง เพื่อนำมาบินแทน แอฟโร 748 โดยเครื่องแรกมาถึงไทยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2525 และเริ่มทำการบินในวันที่ 10 เดือนเดียวกัน, ในปลายปี พ.ศ. 2528 ได้สั่ง ชอร์ท 360 มาให้บริการเพิ่มเติมจำนวน 2 ลำในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 บดท. ได้ลงนามในสัญญาสั่งซื้อ Airbus A310-200 จำนวน 2 ลำ
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ภายในประเทศ
[แก้]- กรุงเทพมหานคร (ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง)
- ขอนแก่น (ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น)
- เชียงราย (สนามบินเก่า เชียงราย)
- เชียงใหม่ (ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่)
- ตรัง (ท่าอากาศยานตรัง)
- ตาก (ท่าอากาศยานตาก)
- นครศรีธรรมราช (สนามบินชะเอียน)
- นราธิวาส (ท่าอากาศยานนราธิวาส)
- น่าน (ท่าอากาศยานน่านนคร)
- ปัตตานี (ท่าอากาศยานปัตตานี)
- พิษณุโลก (ท่าอากาศยานพิษณุโลก)
- แพร่ (ท่าอากาศยานแพร่)
- ภูเก็ต (ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต)
- แม่สอด (ท่าอากาศยานแม่สอด)
- แม่ฮ่องสอน (ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน)
- ลำปาง (ท่าอากาศยานลำปาง)
- เลย (ท่าอากาศยานเลย)
- สกลนคร (ท่าอากาศยานสกลนคร)
- สงขลา (ท่าอากาศยานสงขลา)
- สุราษฎร์ธานี (ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี)
- หาดใหญ่ (ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่)
- อุดรธานี (ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี)
- อุบลราชธานี (ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี)
ระหว่างประเทศ
[แก้]- มาเลเซีย
- กัวลาลัมเปอร์
- ปีนัง
- ลาว
- เวียงจันทน์
- เวียดนาม
- ฮานอย
อุบัติเหตุ
[แก้]- เดินอากาศไทย เครื่องบิน Noorduyn Norseman ทะเบียน HS-SGB ตกที่อำเภอแม่ยะ เมื่อ 8 สิงหาคม 2496 เสียชีวิต 6 คน
- 25 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 002 เครื่องบิน Douglas DC-3 ทะเบียน HS-TDH บินจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ประสบอุบัติเหตุตก มีผู้โดยสารเสียชีวิต 2 คน ลูกเรือ 2 คน จากจำนวนผู้โดยสาร 28 คน ลูกเรือ 3 คน[4]
- เดินอากาศไทย ตกที่แม่ฮ่องสอน เมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 เครื่องทะเบียน HS-TDE แบบเครื่องบิน Douglas DC-3 ไม่มีผู้เสียชีวิต[5]
- เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 231 ตกที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อ 27 เมษายน 2523 เสียชีวิต 44 ราย
- วันที่ 21 มิถุนายน 2523 เดินอากาศไทยประสบอุบัติเหตุเครื่องไถลออกนอกรันเวย์ที่เชียงรายโดยทำการบินมาจากเชียงใหม่ไม่มีผู้เสียชีวิต เครื่องบิน Hawker Siddeley HS-748 ทะเบียน HS-THG[6]อย่างไรก็ตามเครื่องบินเสียหายในระดับที่ซ่อมแซมไม่ได้
- เหตุเดินอากาศไทยตกที่จังหวัดพังงา พ.ศ. 2528 เมื่อ 15 เมษายน 2528
- วันที่ 28 เมษายน 2530 เดินอากาศไทย เครื่องบินประสบอุบัติเหตุที่เชียงรายเนื่องจากนักบินผู้ช่วยลืมกางล้อโดยทำการบินจากเชียงใหม่ เป็นเครื่องบินแบบ Hawker Siddeley HS-748 ทะเบียน HS-THI[7]
- เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 ตกที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อ 31 สิงหาคม 2530[8]
สำนักงาน
[แก้]สำนักงานใหญ่ของบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่ 6 ถนนหลานหลวง แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร [9] โดยปัจจุบันคือสำนักงานหลานหลวงของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "World Airline Directory." Flight International. 29 March 1986. Page 130.
- ↑ ประวัติบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในเว็บไซต์การบินไทย
- ↑ Thai Airways Fleets เก็บถาวร 2012-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.thai-aviation.net
- ↑ [CRASH OF A DOUGLAS DC-3 IN CHIANG MAI: 4 KILLED TG002]
- ↑ crash-douglas-dc-3-mae-hong-son
- ↑ Accident description for HS-THG at the Aviation Safety Network. Retrieved on 20 February 2014.
- ↑ Accident description for HS-THI at the Aviation Safety Network. Retrieved on 4 February 2014.
- ↑ Aircraft Crashes Record : Thai Airways International เก็บถาวร 2011-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, www.baaa-acro.com
- ↑ "World Airline Directory." Flight International. 13 April 1961. Page 509.
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เดินอากาศไทย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°45′22″N 100°30′26″E / 13.756059°N 100.507264°E
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติของการบินไทยและเดินอากาศไทย เก็บถาวร 2008-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการบินไทย
- รหัสสายการบิน เก็บถาวร 2008-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน