ข้ามไปเนื้อหา

ระดับน้ำทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี)

ระดับทะเลปานกลาง[หมายเหตุ 1] (อังกฤษ: Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก. หรือ MSL[1] เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide : HT) และลงต่ำสุด (Low Tide : LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็นระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 19 ปี[1] ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน

ประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทย กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ สร้างสถานีตรวจวัดระดับน้ำแห่งแรกขึ้นที่เกาะหลัก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน พ.ศ. 2453[1][2][3] จากนั้นทำการวัดอย่างต่อเนื่องใช้เวลาในการวัด 5 ปี แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง[1][2][3] ให้มีค่า 0.000 เมตร ที่ 11°47′47.67″N 99°48′52.92″E / 11.7965750°N 99.8147000°E / 11.7965750; 99.8147000[หมายเหตุ 2][3] ทำการถ่ายโยงมายังหมุด BMA[1][3] (ซึ่งถือว่าเป็นหมุดหลักฐานหมุดแรกของประเทศไทย[1]) ที่ 13°46′23.74″N 100°31′45.39″E / 13.7732611°N 100.5292750°E / 13.7732611; 100.5292750[หมายเหตุ 3] ซึ่งมีค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.4477 เมตร[1][3] ต่อมากรมแผนที่ทหาร ได้ทำการถ่ายระดับจากหมุดระดับของสถานีวัดระดับน้ำเกาะหลัก ไปตามโครงข่ายหมุดหลักฐานจนครอบคลุมทั้งประเทศ[2][3]

การวัดระดับน้ำทะเลปานกลางสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในมาตรฐานการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของภูมิประเทศ (พิกัดอ้างอิงทางดิ่ง)[1][2] หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจฯ งานก่อสร้างฯ และงานทั่วไป

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. มักถูกเขียนว่า ระดับน้ำทะเลปานกลาง หากอ้างอิงจากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มพิมพ์ครั้งที่ 4 ใช้คำว่า "ระดับทะเลปานกลาง"
  2. พิกัดภูมิศาสตร์นี้อิงกับพื้นหลักฐานในอดีต ไม่ใช่พื้นหลักฐานที่ใช้ในปัจจุบัน (WGS 84) ทำให้ตำแหน่งมีการคลาดเคลือน
  3. พิกัดภูมิศาสตร์นี้อิงกับพื้นหลักฐานในอดีต ไม่ใช่พื้นหลักฐานที่ใช้ในปัจจุบัน (WGS 84) ทำให้ตำแหน่งมีการคลาดเคลือน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 พื้นหลักฐานอ้างอิงไทย เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชวัลย์ กันภัย กลุ่มบริการแผนที่และภาพถ่ายออร์โธสี สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่กรมพัฒนาที่ดิน
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 สมยศ บุญถม -การสำรวจและประเมินผล สถานีตรวจวัดระดับน้ำทะเล ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไทย / โดยสมยศ บุญถม กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีธรณีกรมทรัพยากรธรณี, 2557 27 หน้า: ภาพประกอบ: แผนที่: ตาราง; รายงานวิชาการ ฉบับที่ สทธ 10/2557
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 ประวัติการตรวจวัดระดับน้ำในประเทศไทย อ่าวประจวบ ประจวบคีรีขันธ์ (OKnation)