ประเทศศรีลังกา
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය (สิงหล) இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு (ทมิฬ) | |
---|---|
เมืองหลวง | ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ (นิติบัญญัติ)[1] โคลัมโบ (บริหารและตุลาการ)[2] 6°56′N 79°52′E / 6.933°N 79.867°E |
เมืองใหญ่สุด | โคลัมโบ |
ภาษาราชการ | สิงหล ทมิฬ[3] |
ภาษาที่ได้รับการรับรอง | อังกฤษ |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2012[4]) | 74.9% สิงหล 11.2% ศรีลังกาเชื้อสายทมิฬ 9.2% ศรีลังกาเชื้อสายมัวร์ 4.2% อินเดียเชื้อสายทมิฬ 0.5% อื่น ๆ |
ศาสนา (ค.ศ. 2012) | 70.2% พุทธ (ศาสนาประจำชาติ)[5] 12.6% ฮินดู 9.7% อิสลาม 7.4% คริสต์ 0.1% อื่น ๆ/ไม่มี |
เดมะนิม | ชาวศรีลังกา |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี |
อนุระ กุมาระ ทิสานายกะ | |
หรินี อมรสุริยะ | |
มหินทะ ยาปา อเพวรรธนะ[6] | |
ชยันตะ ชยสูริยะ | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
เป็นเอกราช | |
543 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |
437 ปีก่อนคริสต์ศักราช | |
ค.ศ. 1796 | |
• ลงนามอนุสัญญากัณฏิ | ค.ศ. 1815 |
• เอกราช | 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 | |
7 กันยายน ค.ศ. 1978 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 65,610 ตารางกิโลเมตร (25,330 ตารางไมล์) (อันดับที่ 120) |
4.4 | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2020 ประมาณ | 22,156,000[9] (อันดับที่ 57) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2012 | 20,277,597[10] |
337.7 ต่อตารางกิโลเมตร (874.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 24) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 306,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 56) |
• ต่อหัว | 13,909 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 88) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 84,532 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 64) |
• ต่อหัว | 3,830 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 113) |
จีนี (ค.ศ. 2016) | 39.8[12] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.782[13] สูง · อันดับที่ 72 |
สกุลเงิน | รูปีศรีลังกา (Rs) (LKR) |
เขตเวลา | UTC+5:30 (เวลามาตรฐานศรีลังกา) |
รูปแบบวันที่ |
|
ไฟบ้าน | 230 โวลต์–50 เฮิรตซ์ |
ขับรถด้าน | ซ้าย |
รหัสโทรศัพท์ | +94 |
รหัส ISO 3166 | LK |
โดเมนบนสุด | |
เว็บไซต์ www |
ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා, ออกเสียง [ʃriː laŋkaː]; ทมิฬ: இலங்கை, ออกเสียง [ilaŋɡaj]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในเอเชียใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอลและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลอาหรับ โดยมีอ่าวมันนาร์และช่องแคบพอล์กคั่นเกาะออกจากอนุทวีปอินเดีย ศรีลังกามีพรมแดนทางทะเลร่วมกับอินเดียและมัลดีฟส์ ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏเป็นเมืองหลวงทางกฎหมาย ส่วนโคลัมโบเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางทางการเงิน
ศรีลังกามีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน (ค.ศ. 2020) และเป็นรัฐหลายชนชาติซึ่งเป็นถิ่นฐานของวัฒนธรรม ภาษา และชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ชาวสิงหลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ชาวทมิฬซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของเกาะเช่นกัน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่ปักหลักอยู่ที่นี่มาอย่างยาวนาน ได้แก่ ชาวมัวร์ ชาวเบอร์เกอร์ (Burgher) ชาวมลายู ชาวจีน และชนพื้นเมืองแว็ททา[14]
ประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ของศรีลังกามีอายุย้อนไปถึง 3,000 ปี โดยปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุอย่างน้อย 125,000 ปี[15] งานเขียนทางศาสนาพุทธที่เก่าแก่ที่สุดของศรีลังกาซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีมีอายุย้อนไปถึงการสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 29 ปีก่อนคริสต์ศักราช[16][17] ศรีลังกายังได้รับสมญานามว่า "หยดน้ำตาของอินเดีย" และ "ยุ้งฉางตะวันออก" โดยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และท่าเรือน้ำลึกของศรีลังกาทำให้เกาะนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของเส้นทางสายไหมโบราณมาจนถึงเส้นทางสายไหมทางทะเลในปัจจุบัน[18][19][20] เนื่องจากทำเลที่ตั้งได้ส่งผลให้ศรีลังกากลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ทั้งชาวตะวันออกไกลและชาวยุโรปจึงรู้จักเกาะแห่งนี้มานานแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรอนุราธปุระ (377 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 1017) ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ในอาณาจักรโกฏเฏ โปรตุเกสได้เดินทางมาถึงศรีลังกาและพยายามที่จะควบคุมการค้าทางทะเลของเกาะ โดยส่วนหนึ่งของศรีลังกาตกอยู่ในความครอบครองของโปรตุเกสในเวลาต่อมา ภายหลังสงครามสิงหล–โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์และอาณาจักรกัณฏิได้เข้าควบคุมพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นดินแดนในความครอบครองของเนเธอร์แลนด์ก็ตกไปอยู่ในมือของบริเตนซึ่งต่อมาขยายอำนาจควบคุมไปทั่วทั้งเกาะและตั้งเป็นอาณานิคมซีลอนตั้งแต่ ค.ศ. 1815 ถึง ค.ศ. 1948 ขบวนการเรียกร้องเอกราชทางการเมืองระดับชาติเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และใน ค.ศ. 1948 ซีลอนก็กลายเป็นประเทศในเครือจักรภพ ประเทศในเครือจักรภพนี้มีรัฐสืบเนื่องต่อมาคือสาธารณรัฐนามว่าศรีลังกาตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ประวัติศาสตร์ศรีลังกาในสมัยหลังมานี้แปดเปื้อนไปด้วยสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลานาน 26 ปี โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1983 และสิ้นสุดลงอย่างเด็ดขาดเมื่อกองทัพศรีลังกาเอาชนะกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลมได้ใน ค.ศ. 2009[21]
ศรีลังกาเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยอยู่อันดับที่ 72 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นประเทศในเอเชียใต้ที่มีอันดับสูงสุดในแง่การพัฒนาและมีรายได้ต่อหัวที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของสกุลเงิน อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมอันเนื่องมาจากการขาดแคลนสิ่งของจำเป็นอย่างรุนแรง วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจยังนำไปสู่การปะทุของการประท้วงตามท้องถนน โดยประชาชนได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีและรัฐบาลลาออกจากตำแหน่งจนเป็นผลสำเร็จ[22] เกาะนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการมีส่วนร่วมกับกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในสมัยใหม่ โดยเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (ซาร์ก) และเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เครือจักรภพแห่งประชาชาติ กลุ่ม 77 และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ภูมิศาสตร์
[แก้]ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย
ภูมิอากาศ
[แก้]อากาศช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค.
ประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากประเทศอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมืองโปลอนนารุวาเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรแจฟฟ์นาทางคาบสมุทรแจฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศ ส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรกัณฏิ ซึ่งมีกัณฏิเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฏเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15
ยุคโบราณ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาณานิคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อิทธิพลของตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ตามลำดับ โดยมาทำการค้าตามเมืองท่าด้านตะวันตกของประเทศ และในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) โปรตุเกสได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและปกครองประเทศก่อนที่ชาวดัตช์จะเข้าครอบครองดินแดนศรีลังกาในปี พ.ศ. 2201 (ค.ศ. 1658) และต่อมาอังกฤษสามารถครอบครองศรีลังกาเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ภายใต้อนุสัญญากัณฏิ รวมเวลาที่ศรีลังกาตกเป็นเมืองขึ้นของต่างประเทศหลายศตวรรษ และอังกฤษได้ใช้ศรีลังกาเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)
การเมืองการปกครอง
[แก้]นิติบัญญัติ
[แก้]รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
พรรคการเมือง
[แก้]ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่
- พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP)
- พรรค United National Party (UNP)
- พรรค Tamil United Liberation Front (TULF)
- พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC)
- พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP)
- พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation
- พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC)
การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน
[แก้]ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ศรีลังกาประกอบด้วย 9 จังหวัด (สิงหล: පළාත; ทมิฬ: மாகாணம்) ดังนี้ (ชื่อเมืองหลักของจังหวัดอยู่ในวงเล็บ)
- จังหวัดกลาง (กัณฏิ)
- จังหวัดกลางเหนือ (อนุราธปุระ)
- จังหวัดตะวันตก (โคลัมโบ)
- จังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (กุรุแณคละ)
- จังหวัดตะวันออก (ตรินโคมาลี)
- จังหวัดใต้ (กอลล์)
- จังหวัดสพรคมุวะ (รัตนปุระ)
- จังหวัดเหนือ (แจฟฟ์นา)
- จังหวัดอูวะ (พทุลละ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sri Jayewardenepura Kotte". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ "Colombo". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ "Official Languages Policy". languagesdept.gov.lk. Department of Official Languages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
- ↑ "South Asia: Sri Lanka". CIA. 22 September 2021.
- ↑ https://www.state.gov/reports/2018-report-on-international-religious-freedom/sri-lanka/
- ↑ "Hon. Mahinda Yapa Abeywardena elected as the New Speaker". Parliament of Sri Lanka. 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 23 August 2020.
- ↑ De Silva, K. M. (1981). A History of Sri Lanka. University of California Press. ISBN 978-0-19-561655-2. A History of Sri Lanka.
- ↑ Nicholas, C. W.; Paranavitana, S. (1961). A Concise History of Ceylon. Colombo University Press.
- ↑ "Mid‐year Population Estimates by District & Sex, 2016 ‐ 2021". statistics.gov.lk. Department of Census and Statistics. สืบค้นเมื่อ 1 October 2021.
- ↑ "Census of Population and Housing 2011 Enumeration Stage February–March 2012" (PDF). Department of Census and Statistics – Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "World Economic Outlook Database, April 2021". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
- ↑ "Gini Index". World Bank.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Vedda". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ Roberts, Brian (2006). "Sri Lanka: Introduction". Urbanization and sustainability in Asia: case studies of good practice. ISBN 978-971-561-607-2.
- ↑ Jack Maguire (2001). Essential Buddhism: A Complete Guide to Beliefs and Practices. Simon and Schuster. p. 69. ISBN 978-0-671-04188-5.
... the Pali canon of Theravada is the earliest known collection of Buddhist writings ...
- ↑ "Religions – Buddhism: Theravada Buddhism". BBC. 2 October 2002.
- ↑ Bandaranayake, Senake (1990). "Sri Lankan Role in the Maritime Silk Route". Sri Lanka and the silk road of the sea. p. 21. ISBN 978-955-9043-02-7.
- ↑ British Prime Minister Winston Churchill described the moment a Japanese fleet prepared to invade Sri Lanka as "the most dangerous and distressing moment of the entire conflict". – Commonwealth Air Training Program Museum, The Saviour of Ceylon เก็บถาวร 22 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "A Brief History of Sri Lanka". localhistories.org. สืบค้นเมื่อ 14 August 2017.
- ↑ Reuters Sri Lanka wins civil war, says kills rebel leader เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters (18 May 2009). Retrieved 18 November 2012.
- ↑ Ellis-Petersen, Hannah (9 April 2022). "'We're finished': Sri Lankans pushed to the brink by financial crisis". The Observer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 April 2022.
หมายเหตุ
[แก้]- ข้อมูลและอ่านเพิ่ม
- Codrington, H.W. (1926). A Short History of Ceylon. London: Macmillan & Co. ISBN 978-0-8369-5596-5. OCLC 2154168.
- Buswell, R.E.; Lopez, D.S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-15786-3. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
- Ganguly, Sumit. "Ending the Sri Lankan civil war." Dædalus 147.1 (2018): 78-89. online
- Nubin, Walter (2002). Sri Lanka: Current issues and historical background. Nova Publishers. ISBN 978-1-59033-573-4.
- Peebles, Patrick. The History of Sri Lanka (Greenwood, 2005).
- Paw, Maung. "Theri Sanghamitta and the Bodhi Tree" (PDF). usamyanmar.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
- De Silva, K. M. (1981). A history of Sri Lanka. University of California Press. ISBN 978-0-520-04320-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]รัฐบาล
- Official Sri Lankan Government Web Portal, a gateway to government sites.
- Official website of the Parliament of Sri Lanka.
- Official Government News Portal
- Official website เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the President of Sri Lanka.
- Official website เก็บถาวร 2018-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Prime Minister of Sri Lanka / Prime Minister's Office.
- Official website of the Office of the Cabinet of Ministers of Sri Lanka.
- Official website of the Supreme Court of Sri Lanka.
ภาพรวมและข้อมูล
- Sri Lanka. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Official site of the Department of Census and Statistics.
- Annual Report 2010 from the Ministry of Finance and Planning.
- Sri Lanka from UCB Libraries GovPubs.
- ประเทศศรีลังกา ที่เว็บไซต์ Curlie
- Sri Lanka profile from the BBC News.
- Sri Lanka in the Encyclopædia Britannica.
- Introducing Sri Lanka Overview of the country from Lonely Planet.
- Key Development Forecasts for Sri Lanka from International Futures.
ประวัติศาสตร์
- Mahavamsa an ancient Sri Lankan chronicle written in the 6th century.
- Sketches of the Natural History of Ceylon by Sir James Emerson Tennent, 1861.
- ชมพูทุท นาคีรักษ์, "ศรีลังกา: ประวัติศาสตร์สมัยอาณาจักร," วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2548), หน้า 109-142
- เชาวลี จงประเสริฐ, "ความรุนแรงในศรีลังกา," วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2548), หน้า 27-43
- ปรีดี หงษ์สต้น. สงครามกลางเมืองศรีลังกา. กรุงเทพฯ: ยิบซี กรุ๊ป, 2562.
แผนที่
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศศรีลังกา ที่โอเพินสตรีตแมป
- Sri Lanka Map in Google Maps.
- Old maps of Sri Lanka, Eran Laor Cartographic Collection, The National Library of Israel
การค้า