สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1884)
สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตจากสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิก แสดงเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างโบลิเวีย - เปรูและโบลิเวีย - อาร์เจนตินา | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
โบลิเวีย เปรู | ชิลี | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ประธานาธิบดีโบลิเวีย |
ประธานาธิบดีชิลี | ||||||||
กำลัง | |||||||||
ค.ศ. 1879 3 เรือหุ้มเกาะ, 7 เรือไม้ 2 เรือตอร์ปิโด[3] |
ค.ศ. 1879 3 เรือหุ้มเกาะ, 8 เรือไม้ 10 เรือตอร์ปิโด[3] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ตาย: 12,934–18,213[8] บาดเจ็บ: 7,891–7,896[8] ถูกฆ่าในสนามรบและบาดเจ็บ: 4,367–10,467[8] |
ตาย: 2,425–2,791[9] บาดเจ็บ: 6,247–7,193[9] |
สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (อังกฤษ: War of the Pacific, สเปน: Guerra del Pacífico) (ค.ศ. 1879–1884) เป็นสงครามที่มีผลมาจากการเรียกร้องชายแดนของชิลีเหนือดินแดนชายฝั่งทะเลของโบลิเวียในทะเลทรายอาตากามา โบลิเวียเป็นพันธมิตรกับเปรูเพื่อต่อต้านชิลี สงครามในครั้งนี้จบลงโดยที่ชิลีเป็นผ่ายชนะซึ่งทำให้ชิลีได้ครอบครองดินแดนที่มีทรัพยากรจำนวนมากจากเปรูและโบลิเวีย กองทัพชิลีได้ครอบครองและใช้พื้นที่ชายฝั่งที่อุดมไปด้วยไนเตรตของโบลิเวีย ส่วนเปรูพ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือของชิลี[10][11]
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก, ทะเลทรายอาตากามาของเปรูและบริเวณเทือกเขาแอนดีส ช่วง 5 เดือนแรกสงครามเกิดขึ้นในรูปแบบของสงครามทางทะเลเนื่องจากทางชิลีพยายามที่จะสร้างการขนส่งทางทะเลสำหรับส่งกองทัพเข้าไปในทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 โบลิเวียกำหนดจัดเก็บภาษีใหม่กับบริษัทเหมืองแร่ของชิลี (Compañía de Salitres y Ferrocarril de Antofagasta หรือ CSFA) แม้จะมีการรับรองอย่างชัดเจนในสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 ว่าทางโบลิเวียจะไม่เพิ่มภาษีกับคนหรืออุตสาหกรรมของชิลีเป็นเวลา 25 ปี ทำให้ชิลีมีการประท้วงและเสนอให้มีการไกล่เกลี่ยแต่ทางโบลิเวียปฏิเสธและถือว่าเป็นกรณีของศาลโบลิเวีย ทำให้ทางชิลีเรียกร้องและแจ้งให้รัฐบาลโบลิเวียทราบว่า ชิลีจะไม่ถือว่าตัวเองถูกผูกมัดด้วยสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 ถ้าโบลิเวียยังไม่ระงับการบังคับใช้กฎหมายการขึ้นภาษี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1879 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโบลิเวียพยายามประมูลทรัพย์สินที่ยึดมาของ CSFA กองกำลังติดอาวุธของชิลีก็เข้าบุกยึดเมืองท่าอันโตฟากัสตา
เปรูซึ่งมีสนธิสัญญาป้องกันพันธมิตรกับโบลิเวียได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ยแต่ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1879 ทางโบลิเวียประกาศสงครามกับประเทศชิลีและเรียกเปรูมาเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญา ส่วนทางชิลีได้ร้องขอให้เปรูประกาศความเป็นกลาง วันที่ 5 เมษายนหลังเปรูปฏิเสธคำร้องขอจากชิลี ทางชิลีจึงได้ประกาศสงครามกับทั้ง 2 ประเทศ ทำให้วันต่อมาเปรูตอบโต้ด้วยการยอมรับสนธิสัญญาการป้องกันการโจมตีหรือภัยคุกคามพันธมิตรชาติ
ในข้อพิพาท โบลิเวีย–ชิลี–เปรู ในทะเลทรายอะตาคามา ของโรนัล บรูซ เซนต์ จอห์น:
ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 และการเก็บภาษีเพิ่ม 10 เซ็นต์จะเป็นเหตุแห่งสงคราม แต่ลึก ๆ แล้วยังมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากการระบาดของสงครามใน ค.ศ. 1879 อีกมุมหนึ่งชิลีมีทั้งอำนาจ เกียรติภูมิ ความมั่นคง ในขณะที่เปรูและโบลิเวียมีปัญหากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความไม่ต่อเนื่องทางการเมืองหลังจากได้รับเอกราช ในอีกด้านหนึ่งยังมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นใหญ่ในภูมิภาคอีกทั้งความเกลียดชังลึก ๆ ระหว่างเปรูและชิลี ในสภาพแวดล้อมที่มีความคลุมเครือของเขตแดนระหว่าง 3 ประเทศ การค้นพบของที่มีมูลค่าอย่างปุ๋ยขี้นกหรือไนเตรตบริเวณพื้นที่พิพาทก่อให้เกิดปัญหาทางการทูตที่ไม่สามารถจัดการแบ่งสันปันส่วนได้[12]
ภายหลังการโจมตีทางบกของชิลีสามารถเอาชนะกองทัพโบลิเวียและเปรูได้ วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 โบลิเวียถอนตัวออกจากสงครามหลังยุทธการที่ตักนา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1881 กองทัพชิลีสามารถยึดครองกรุงลิมาได้ กองทัพเปรูที่เหลืออยู่และทหารที่ไม่ได้อยู่ในประจำการเริ่มทำสงครามแบบกองโจรแต่ก็ไม่สามารเปลี่ยนผลของสงครามได้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1883 ชิลีและเปรูลงนามในสนธิสัญญาอังคอง ส่วนโบลิเวียลงนามในสัญญาการพักรบกับชิลีเมื่อ ค.ศ. 1884
ชิลีได้รับเขตจังหวัดตาราปากาของเปรู เขตจังหวัดลิโทลอของโบลิเวีย (ทำให้โบลิเวียกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล[13]) ครอบครองจังหวัดอริกาและจังหวัดแทกนาเป็นเวลาชั่วคราว ชิลีลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพกับโบลิเวียและกำหนดเขตชายแดนที่แน่นอน ใน ค.ศ. 1904 และใน ค.ศ. 1929 ตามการประนีประนอมแทกนา–อริกา ชิลีมอบจังหวัดอริกาและจังหวัดแทกนาคืนแก่เปรู
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sater 2007, p. 51 Table 2
- ↑ Sater 2007, p. 45 Table 1
- ↑ Sater 2007, p. 74
- ↑ Sater 2007, p. 274
- ↑ Sater 2007, p. 58 Table 3
- ↑ Sater 2007, p. 263
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Sater, pp. 349 Table 23.
- ↑ 9.0 9.1 Sater, pp. 348 Table 22. The statistics on battlefield deaths are inaccurate because they do not provide follow up information on those who subsequently died of their wounds.
- ↑ William F. Sater, “War of the Pacific” in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 5, pp. 438-441. New York: Charles Scribner’s Sons 1996.
- ↑ Vincent Peloso, “History of Peru” in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 4, p.367. New York: Charles Scribner’s Sons 1996.
- ↑ St. John, Ronald Bruce; Schofield, Clive (1994). The Bolivia–Chile–Peru Dispute in the Atacama Desert. University of Durham, International Boundaries Research Unit. pp. 12–13. ISBN 1897643144.
- ↑ http://www.coha.org/boliviachile-pacific-access
- สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
- สงครามเกี่ยวข้องกับทวีปอเมริกาใต้
- ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
- ความสัมพันธ์ชิลี–เปรู
- ความสัมพันธ์โบลิเวีย–ชิลี
- สงครามเกี่ยวข้องกับชิลี
- สงครามเกี่ยวข้องกับเปรู
- สงครามเกี่ยวข้องกับโบลิเวีย
- โบลิเวียในศตวรรษที่ 19
- เปรูในศตวรรษที่ 19
- ชิลีในศตวรรษที่ 19
- ความขัดแย้งใน ค.ศ. 1879
- ความขัดแย้งใน ค.ศ. 1880
- ความขัดแย้งใน ค.ศ. 1881
- ความขัดแย้งใน ค.ศ. 1882
- ความขัดแย้งใน ค.ศ. 1883
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตชิลี
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตเปรู
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตโบลิเวีย
- กรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตในทวีปอเมริกาใต้