เซน
เซน (ญี่ปุ่น: 禅, ぜん; อังกฤษ: Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี)
คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต
เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง
ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ
เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน
วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
พระสังฆปริณายกในนิกายเซน
[แก้]ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้
- พระมหากัสสปะ Móhējiāyè 摩訶迦葉
- พระอานนท์ Ānántuó 阿難陀
- พระศาณวาสะ Shāngnàhéxiū 商那和修
- พระอุปคุต Yōupójúduō 優婆掬多
- พระธฤตก Dīduōjiā 提多迦
- พระมิจกะ Mízhējiā 彌遮迦
- พระวสุมิตร Póxūmì 婆須密
- พระพุทธานันทิ Fútuónándī 浮陀難提
- พระพุทธมิตร Fútuómìduō 浮陀密多
- พระปารศวะ Pólìshīpó 婆栗濕婆
- พระปุณยยศัส Fùnàyèshē 富那夜奢
- พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ Ānàpútí 阿那菩提 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
- พระกปิมละ Jiāpímóluó 迦毘摩羅
- พระนาคารชุนะ Lóngshù 龍樹 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
- พระอารยเทวะ Jiānàtípó 迦那提婆
- พระราหุลตะ Luóhóuluóduō 羅睺羅多
- พระสังฆนันทิ Sēngqiénántí 僧伽難提
- พระสังฆยศัส Sēngqiéshèduō 僧伽舍多
- พระกุมารตะ Jiūmóluóduō 鳩摩羅多
- พระศยต Shéyèduō 闍夜多
- พระวสุพันธุ Shìqīn 世親
- พระมโนรหิตะ Mónáluó 摩拏羅
- พระหเกฺลนยศัส Hèlèyènàyèzhě 鶴勒夜那夜者
- พระสิงหโพธิ Shīzǐpútí 師子菩提
- พระวสิอสิต Póshèsīduō 婆舍斯多
- พระปุณยมิตร Bùrúmìduō 不如密多
- พระปรัชญาตาระ Bānruòduōluó 般若多羅
- พระโพธิธรรม Pútídámó 菩提達磨
หลังจากพระโพธิธรรมนำศาสนาพุทธนิกายเซนจากอินเดียเข้ามาสู่ประเทศจีนแล้ว จึงมีการสืบทอดธรรมและตำแหน่งพระสังฆนายกในจีนต่อมาอีก 6 องค์ (หนังสือบางแห่งนับว่ามี 7 องค์) ดังนี้
The Continued Biographies of Eminent Monks Xù gāosēng zhuàn 續高僧傳 of Dàoxuān 道宣 (596-667) |
The Record of the Transmission of the Dharma-Jewel Chuán fǎbǎo jì 傳法寶記 of Dù Fěi 杜胐 |
History of Masters and Disciples of the Laṅkāvatāra-Sūtra Léngqié shīzī jì 楞伽師資紀記 of Jìngjué 淨覺 (ca. 683 - ca. 650) |
The Xiǎnzōngjì 显宗记 of Shénhuì 神会 | |
1 | พระโพธิธรรม | พระโพธิธรรม | พระโพธิธรรม | พระโพธิธรรม |
2 | ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) | เต้ายฺวี่ 道育 | เต้ายฺวี่ 道育 | เต้ายฺวี่ 道育 |
ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) | ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) | ฮุ่ยเข่อ 慧可 (487? - 593) | ||
3 | เซิงชั่น 僧璨 (d.606) | เซิงชั่น 僧璨 (d.606) | เซิงชั่น 僧璨 (d.606) | เซิงชั่น 僧璨 (d.606) |
4 | เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) | เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) | เต้าซิ่น 道信 (580 - 651) | Dàoxìn 道信 (580 - 651) |
5 | หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) | หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) | หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) | หงเหริ่น 弘忍 (601 - 674) |
6 | - | ฝ่าหรู 法如 (638-689) | เสินซิ่ว 神秀 (606? - 706) | ฮุ่ยเหนิง 慧能 (638-713) |
เสินซิ่ว 神秀 (606? - 706) 神秀 (606? - 706) | เสวี่ยนเจ๋อ 玄賾 | |||
7 | - | - | - | เสวี่ยนเจ๋อ 玄覺 (665-713) |