ข้ามไปเนื้อหา

สภาพยอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แรงต้านสนามไฟฟ้า)
ตัวกลางสารไดอิเล็กทริกชนิดหนึ่งกำลังแสดงการวางตัวของอนุภาคที่มีประจุ สร้างปรากฏการณ์การเป็นขั้วไฟฟ้า (อังกฤษ: polarization effect) ตัวกลางเช่นนี้สามารถมีอัตราส่วนของฟลักซ์ไฟฟ้าต่อประจุที่ต่ำ(สภาพยอมสูง)กว่าพื้นที่ว่างเปล่า

สภาพยอม (อังกฤษ: permittivity) ในทางทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นตัวชี้วัดความต้านทานที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการก่อตัวของสนามไฟฟ้าในตัวกลาง พูดอีกอย่าง สภาพยอมเป็นตัววัดว่าสนามไฟฟ้าจะถูกกระทบอย่างไร และแรงนี้จะได้รับผลกระทบอย่างไรจากตัวกลางไดอิเล็กทริกหนึ่ง สภาพยอมของตัวกลางหนึ่งจะอธิบายถึงว่าสนามไฟฟ้า(ให้ถูกต้องมากขึ้น, คือฟลักซ์)มีจำนวนมากน้อยเท่าใดที่ถูก 'สร้าง' ขึ้นต่อหน่วยประจุในตัวกลางนั้น ฟลักซ์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นมากในตัวกลางที่มีแรงต้าน (ต่อหน่วยประจุ) ต่ำเนื่องจากปรากฏการณ์ของการเป็นขั้ว สภาพยอมจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอ่อนไหวทางไฟฟ้าซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าสารไดอิเล็กทริกหนึ่งจะกลายเป็นขั้วไฟฟ้าในการตอบสนองต่อสนามไฟฟ้าได้ง่ายแค่ไหน ดังนั้น สภาพยอมจะเกี่ยวข้องกับความสามารถของวัสดุที่จะต้านทานต่อสนามไฟฟ้า

ในหน่วยของ SI ค่าสภาพยอม ε มีหน่วยเป็นฟารัดต่อเมตร (F/m or F·m−1) และ ความอ่อนไหวทางไฟฟ้า χ ไม่มีหน่วย ค่าทั้งสองเกี่ยวข้องกันผ่านทาง

เมื่อ εr เป็นค่าสภาพยอมสัมพัทธ์ของวัสดุ และ ε0 = 8.8541878176.. × 10−12 F/m เป็น สภาพยอมในสุญญากาศ หรือ ค่าคงตัวทางไฟฟ้า