ไซเอินทอลอจี
ไซเอินทอลอจี (อังกฤษ: Scientology) เป็นกลุ่มความเชื่อและการปฏิบัติที่คิดค้นโดยแอล. รอน ฮับบาร์ด นักเขียนชาวอเมริกัน ไซเอินทอลอจีได้รับการนิยามว่าเป็นลัทธิบูชา ธุรกิจหรือขบวนการศาสนาใหม่[11] เมื่อแรกเริ่มฮับบาร์ดได้พัฒนาชุดแนวคิดที่เรียกว่า ไดอะเนติกส์ (Dianetics) เพื่อการบำบัด ฮับบาร์ดได้กล่าวถึงไดอะเนติกส์ในหนังสือหลายเล่มและจัดตั้งมูลนิธิวิจัยไดอะเนติกส์ฮับบาร์ด (Hubbard Dianetic Research Foundation) ในปี ค.ศ. 1950 แต่มูลนิธิล้มละลายและฮับบาร์ดเสียสิทธิในหนังสือ ไดอะเนติกส์ ในปี ค.ศ. 1952 หลังจากนั้นฮับบาร์ดได้ปรับปรุงชุดแนวคิดนี้ใหม่ในรูปแบบศาสนา (อาจด้วยเหตุผลด้านรายได้)[12] และเปลี่ยนชื่อเป็นไซเอินทอลอจี โดยยังคงหลักการ คำศัพท์และการ "ออดิติง" (auditing) ของไดอะเนติกส์ไว้[7][13][14] ในปี ค.ศ. 1954 ฮับบาร์ดได้รับสิทธิในไดอะเนติกส์คืนและรวมสองชุดแนวคิดนี้ภายใต้ศาสนจักรไซเอินทอลอจี (Church of Scientology) ซึ่งยังคงเป็นองค์การส่งเสริมไซเอินทอลอจีที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีผู้ปฏิบัติแยกจากศาสนจักรไซเอินทอลอจีเรียกว่า เขตเสรี (Free Zone) ในปี ค.ศ. 2011 มีการประมาณศาสนิกชนไซเอินทอลอจีที่ 40,000 คนทั่วโลก[15][16] คำว่าไซเอินทอลอจีคิดค้นโดยฮับบาร์ดโดยมาจากการรรวมคำในภาษาละติน scientia ("ความรู้") และคำภาษากรีก λόγος (lógos แปลว่า วิชา)[17][18] โดยฮับบาร์ดกล่าวอ้างว่าไซเอินทอลอจีหมายถึง "การรู้ความรู้" หรือ "วิทยาศาสตร์ของความรู้"[19]
คำสอนไซเอินทอลอจีกล่าวว่ามนุษย์มีตัวตนภายในที่เป็นอมตะเรียกว่า เธทัน (thetan) ซึ่งสถิตอยู่ในร่างกายและผ่านอดีตชาติมาหลายภพ ผู้นับถือเชื่อว่าความบาดเจ็บที่เธทันได้รับในช่วงชีวิตก่อเกิดเป็นเอนแกรม (engram) ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคประสาทและความเจ็บป่วยทางจิต ไซเอินทอลอจีกล่าวอ้างว่าการระลึกและพูดคุยถึงความเจ็บปวดในอดีตกับบุคคลที่เรียกว่า "ออดิเตอร์" ช่วยขจัดเอนแกรมได้ โดยมีการเก็บค่าบริการผู้เข้ารับการออดิติง เมื่อออดิเตอร์สามารถขจัดเอนแกรมได้แล้ว บุคคลนั้นจะได้สถานะ "บริสุทธิ์" (Clear) บุคคลสามารถร่วมกระบวนการ "โอเปอเรติงเธทัน" (Operating Thetan) ต่อไปโดยจะมีการเก็บค่าบริการเพิ่มเติม[20] นักวิชาการมีความเห็นต่อความเชื่อของไซเอินทอลอจีที่แตกต่างกัน บางส่วนถือว่ามีลักษณะเป็นศาสนา ขณะที่บางส่วนมองว่าเป็นเพียงอุบายเรียกเงิน
คัมภีร์โอเปอเรติงเธทันถูกเก็บเป็นความลับจากศาสนิกชนส่วนใหญ่ และเปิดเผยต่อเมื่อศาสนิกชนมอบเงินจำนวนมากแก่องค์การเพื่อประกอบสิ่งที่เรียกว่า "เดอะบริดจ์ทูโททัลฟรีดอม" (The Bridge to Total Freedom) ให้สำเร็จ[21] องค์การไซเอินทอลอจีพยายามอย่างยิ่งในการรักษาความลับของคัมภีร์เหล่านี้ แต่กลับมีเนื้อหาปรากฏตามเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ตอย่างวิกิลีกส์[22] คัมภีร์เหล่านี้บรรยายว่าเมื่อ 75 ล้านปีก่อน เธทันอยู่ในสิ่งมีชีวิตนอกโลกที่ถูกปกครองโดยซีนู ผู้ปกครองสหพันธรัฐกาแลกติกของดาวเคราะห์ 76 ดวง[23] ต่อมาซีนูต้องการแก้ปัญหาประชากรล้นเกินจึงลักพาสิ่งมีชีวิตนอกโลกหลายพันล้านตนมากำจัดที่โลก (ในคัมภีร์เรียกว่า Teegeeack)[24][25][26] ด้วยระเบิดไฮโดรเจน[27] ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตนอกโลกเกือบทั้งหมดเสียชีวิต เธทันซึ่งเป็นจิตวิญญาณภายในได้หลุดลอยและรวมตัวกันเป็นบอดีเธทันซึ่งจดจำร่างเดิมไม่ได้ ทั้งนี้บอดีเธทันสามารถส่งผลเสียทางกายและจิตใจต่อมนุษย์[28] จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยการออดิติง[29] นักวิชาการมองว่ากรอบความคิดนี้มีความเป็นโมกขวิทยา[30] ขณะที่ผู้คนล้อเลียนเรื่องนี้ในเชิงขบขัน[31]
เกิดการคัดค้านและโต้แย้งไซเอินทอลอจีไม่นานหลังก่อตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกิจกรรมผิดกฎหมายของกลุ่ม[32] คริสต์ทศวรรษที่ 1970 ผู้ติดตามของฮับบาร์ดเกี่ยวข้องกับโครงการแทรกซึมทางอาชญากรรมต่อรัฐบาลสหรัฐ ส่งผลให้ผู้บริหารองค์การหลายคนถูกศาลสหรัฐดำเนินคดีและตัดสินจำคุก[33][34][35][36] ตัวฮับบาร์ดเองถูกตัดสินข้อหากลฉ้อฉลในการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย (Trial in absentia) โดยศาลฝรั่งเศสและต้องโทษจำคุก 4 ปี[37] ปี ค.ศ. 1992 ศาลในแคนาดาตัดสินองค์การไซเอินทอลอจีในโทรอนโตว่ามีความผิดฐานจารกรรมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการทำผิดหน้าที่ทรัสตี (breach of trust) ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์รัฐออนแทรีโอพิพากษายืนในปี ค.ศ. 1996[38][39] ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 ศาสนจักรไซเอินทอลอจีถูกศาลฝรั่งเศสตัดสินข้อหาฉ้อฉล ซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนในปี ค.ศ. 2013[40]
สถานะของไซเอินทอลอจียังคงเป็นที่ถกเถียง การไต่สวนโดยรัฐบาล รัฐสภาระหว่างประเทศ นักวิชาการ ขุนนางกฎหมายและคำพิพากษาศาลสูงจำนวนมากลงความเห็นว่าศาสนจักรไซเอินทอลอจีเป็นทั้งลัทธิบูชาอันตรายและธุรกิจแสวงหากำไรที่มิชอบ[47] องค์การไซเอินทอลอจีมีสถานะเป็นสถาบันศาสนาที่ได้รับการยกเว้นภาษีในออสเตรเลีย[48] สเปน[49] และสหรัฐ[50] ขณะที่เยอรมนีจัดไซเอินทอลอจีเป็น "กลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญ"[51][52] ด้านฝรั่งเศสจัดกลุ่มนี้เป็นลัทธิบูชาที่อันตราย[53][54] นอกจากนี้ไซเอินทอลอจีมักถูกโจมตีบ่อยครั้งจากการใช้วิธีต่าง ๆ ในการป้องกันสมาชิกออกจากองค์การ[55]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Behar, Richard (May 6, 1991). "The Thriving Cult of Greed and Power". TIME. New York.
- ↑ Kent, Stephen (2001). "Brainwashing Programs in The Family/Children of God and Scientology". ใน Zablocki, Benjamin; Robbins, Thomas (บ.ก.). Misunderstanding Cults: Searching for Objectivity in a Controversial Field. University of Toronto Press. pp. 349–358. ISBN 978-0-8020-4373-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2020. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
- ↑ 3.0 3.1 Anderson, K.V. (1965). Report of the Board of Enquiry into Scientology (PDF) (Report). Melbourne: State of Victoria. p. 179. Anderson Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 5, 2010. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.
In reality it is a dangerous medical cult
- ↑ 4.0 4.1 Edge, Peter W. (2006). Religion and law: an introduction. Ashgate Publishing. ISBN 978-0-7546-3048-7. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
- ↑ 5.0 5.1 Hunt, John; de Puig, Luis; Espersen, Ole (February 5, 1992). European Council, Recommendation 1178: Sects and New Religious Movements (Report). Strasbourg: Council of Europe. สืบค้นเมื่อ June 30, 2019.
It is a cool, cynical, manipulating business and nothing else.
- ↑ Beit-Hallahmi 2003.
- ↑ 7.0 7.1 Urban 2011.
- ↑ Halupka 2014.
- ↑ Westbrook, Donald A. (August 10, 2018). "The Art of PR War: Scientology, the Media, and Legitimation Strategies for the 21st Century". Studies in Religion/Sciences Religieuses. SAGE Publishing. 47 (3): 373–395. doi:10.1177/0008429818769404. S2CID 149581057.
- ↑ Urban, Hugh B. (2015). New Age, Neopagan, and New Religious Movements: Alternative Spirituality in Contemporary America. Berkeley: University of California Press. p. 144. ISBN 978-0-520-28117-2. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
- ↑ [1][2][3][4][5][6][7][8][9][10]
- ↑ Urban 2011, p. 58.
- ↑ Miller 2016, p. [ต้องการเลขหน้า].
- ↑ Aviv, Rachel (January 26, 2012). "Religion, grrrr". London Review of Books. 34 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2015. สืบค้นเมื่อ September 27, 2019.
- ↑ Bigliardi 2016, p. 666.
- ↑ Ortega, Tony (July 4, 2011). "Scientologists: How Many Of Them Are There, Anyway?". The Village Voice.
- ↑ Cusack 2009, p. 394
- ↑ Benjamin J. Hubbard/John T. Hatfield/James A. Santucci An Educator's Classroom Guide to America's Religious Beliefs and Practices, p. 89, Libraries Unlimited, 2007 ISBN 978-1-59158-409-4
- ↑ Urban 2011, p. 64.
- ↑ "The Bridge to Total Freedom : Scientology Classification Gradation and Awareness Chart of Levels and Certificates" (Chart). Church of Scientology.
- ↑ Cowan & Bromley 2015, p. 27; Tobin 2016; Shermer 2020.
- ↑ Urban 2021, p. 174.
- ↑ Barrett 2001, p. 452.
- ↑ Partridge 2003, pp. 263–264
- ↑ Lamont 1986, pp. 49–50
- ↑ Reece 2007, pp. 182–186
- ↑ Bromley 2009, p. 91; Rothstein 2009, pp. 372-373.
- ↑ Bromley 2009, pp. 91-92; Thomas 2021, p. 85.
- ↑ Bromley 2009, pp. 91, 95.
- ↑ Rothstein 2009, p. 371.
- ↑ Thomas 2021, pp. 14, 86.
- ↑ Reitman, Janet (2011). Inside Scientology: The Story of America's Most Secretive Religion. Houghton Mifflin Harcourt. ISBN 978-0-547-54923-1.
- ↑ "United States Court of Appeals for the District of Columbia against Mary Sue Hubbard, Henning Heldt, Jane Kember et al". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09.
- ↑ "Mary Sue Hubbard et al. Sentencing Memorandum - corrected". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-02.
- ↑ "Timeline of Scientology versus the IRS".
- ↑ wikisource:U.S. v. Hubbard 650 F.2d 293 (1981)
- ↑ Morgan, Lucy (March 29, 1999). "Abroad: Critics public and private keep pressure on Scientology". St. Petersburg Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 19, 2007. สืบค้นเมื่อ November 4, 2007.
- ↑ Brown, Barry; Cooper, David Y. (August 19, 1992). "Toronto Church Faces Heavy Fine: Scientology Branch is Convicted of Spying on Police, Others". The Buffalo News. Buffalo, NY. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
- ↑ Regina v. Church of Scientology of Toronto, 33 O.R. (3d) 65 (Court of Appeal for Ontario April 18, 1997).
- ↑ "Scientology's fraud conviction upheld in France". The Daily Telegraph. London. AFP. October 17, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2014. สืบค้นเมื่อ July 3, 2020.
- ↑ "Scientology (Written answer)". Parliamentary Debates (Hansard). United Kingdom: House of Commons. July 25, 1968. col. 189–191W.
- ↑ Cottrell, Richard (1984). The Activity of Certain New Religions within the European Community (Report). Strasbourg: European Parliament.
- ↑ Conseil d'Europe (1999). European Council, Recommendation 1412: Concernant les activités illégales des sectes (Report). Strasbourg: Conseil d'Europe.
- ↑ "Church of Scientology". Parliamentary Debates (Hansard). United Kingdom: House of Lords. December 17, 1996. col. 1392–1394.
- ↑ Hubbard and another v. Vosper and another, 1 All ER 1023 (Court of Appeal (England and Wales) November 19, 1971).
- ↑ RE B & G (Minors: Custody), F.L.R. 493 (Court of Appeal (England and Wales) September 19, 1984).
- ↑ [1][3][4][5][41][42][43][44][45][46]
- ↑ Church of the New Faith v Commissioner of Pay-roll Tax (Vict) [1983] HCA 40, (1983) 154 CLR 120, High Court (Australia) "the evidence, in our view, establishes that Scientology must, for relevant purposes, be accepted as "a religion" in Victoria"
- ↑ "La Audiencia Nacional reconoce a la Cienciología como iglesia". El País. El Pais. November 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2011. (ในภาษาสเปน)
- ↑ Frantz, Douglas (March 9, 1997). "Scientology's Puzzling Journey From Tax Rebel to Tax Exempt". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2023. สืบค้นเมื่อ October 26, 2008.
- ↑ "Hubbard's Church 'Unconstitutional': Germany Prepares to Ban Scientology". Spiegel Online. December 7, 2007. สืบค้นเมื่อ March 13, 2017.
- ↑ "National Assembly of France report No. 2468". assemblee-nationale.fr. สืบค้นเมื่อ March 13, 2017.
- ↑ A 1995 parliamentary report lists Scientology groups as cults, and in its 2006 report MIVILUDES similarly classified Scientology organizations as a dangerous cult. Rapport au Premier ministre 2006 by MIVILUDES (in French)
- ↑ "Le point sur l'Eglise de Scientologie". L'Obs (ภาษาฝรั่งเศส). 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-01-28.
- ↑ Flowers 1984, p. 101
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไซเอินทอลอจี
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ไซเอินทอลอจี
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ไซเอินทอลอจี