ข้ามไปเนื้อหา

มหาสมุทรแอตแลนติก

พิกัด: 0°N 25°W / 0°N 25°W / 0; -25
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Atlantic Ocean)
มหาสมุทรแอตแลนติก
พิกัด0°N 25°W / 0°N 25°W / 0; -25[1]
พื้นที่พื้นน้ำ106,460,000 ตารางกิโลเมตร (41,100,000 ตารางไมล์)[2][3]
แอตแลนติกเหนือ: 41,490,000 ตารางกิโลเมตร (16,020,000 ตารางไมล์),
แอตแลนติกใต้ 40,270,000 ตารางกิโลเมตร (15,550,000 ตารางไมล์)[4]
ความลึกโดยเฉลี่ย3,646 เมตร (11,962 ฟุต)[4]
ความลึกสูงสุด8,486 เมตร (27,841 ฟุต)[4]
ปริมาณน้ำ310,410,900 km³ (74,471,500 cu mi)[4]
ความยาวชายฝั่ง1111,866 กิโลเมตร (69,510 ไมล์) รวมขอบทะเล[1]
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

มหาสมุทรแอตแลนติก (อังกฤษ: Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง[5]

มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์

มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร[2][3] ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต)

ความกว้างและข้อมูล

[แก้]

พ.ศ. 2496 องค์การอุทกวิทยาสากลได้กำหนดอาณาเขตของมหาสมุทร[6] แต่ถึงอย่างนั้นบางองค์กรก็ไม่ได้ใช้ตามการกำหนดเขตนี้อย่างเช่นเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก ทางตะวันตกของแอตแลนติกติดกับทวีปอเมริกา ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลกรีนแลนด์ ทะเลนอร์วีเจียน ทะเลแบเร็นตส์ ทางตะวันออกติดกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียนบริเวณช่องแคบยิบรอลตาร์ (ซึ่งติดกับทะเลดำที่ติดกับทวีปเอเชีย)

ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดียโดนใช้เส้นเมริเดียนที่ 20 องศาตะวันออกเป็นจุดเชื่อมต่อ และในแผนที่ช่วงหลัง ๆ ได้ใช้เส้นขนานที่ 60 องศาใต้เป็นเส้นแบ่งกับมหาสมุทรใต้[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 CIA World Factbook: Atlantic Ocean
  2. 2.0 2.1 NOAA: How big is the Atlantic Ocean?
  3. 3.0 3.1 "Atlantic Ocean". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2016. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Atlantic Ocean - Britannica" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Eakins & Sharman 2010
  5. U.S. Navy 2001
  6. 6.0 6.1 IHO 1953

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Atlantic Ocean