ภาษาเปอร์เซีย
ภาษาเปอร์เซีย | |
---|---|
فارسی (fārsi), форсӣ (forsī) | |
ฟอร์ซี ในอักษรวิจิตรเปอร์เซีย (แนสแตอ์ลิก) | |
ออกเสียง | [fɒːɾˈsiː] ( ฟังเสียง) |
ประเทศที่มีการพูด |
|
จำนวนผู้พูด | 70 ล้านคน[7] (ไม่พบวันที่) (รวม 110 ล้านคน)[6] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | เปอร์เซียโบราณ
|
รูปแบบมาตรฐาน | |
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
|
ผู้วางระเบียบ |
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | fa |
ISO 639-2 | per (B) fas (T) |
ISO 639-3 | fas – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: pes – ภาษาเปอร์เซียตะวันตกprs – ภาษาดารีtgk – ภาษาทาจิกaiq – ภาษาอายมักbhh – ภาษาบูโครีhaz – ภาษาฮาซารากีjpr – ภาษาเปอร์เซียของชาวยิวphv – ภาษาปาห์ลาวานีdeh – ภาษาเดฮ์วอรีjdt – ภาษายูฮูรีttt – ภาษาตัต |
Linguasphere | 58-AAC (Wider Persian) > 58-AAC-c (Central Persian) |
พื้นที่ที่มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแรก (รวมสำเนียง) | |
โลกภาษาเปอร์เซีย คำบรรยาย ภาษาทางการ
ผู้พูดมากกว่า 1,000,000 คน
ผู้พูดระหว่าง 500,000 – 1,000,000 คน
ผู้พูดระหว่าง 100,000 – 500,000 คน
ผู้พูดระหว่าง 25,000 – 100,000 คน
ผู้พูดน้อยกว่า 25,000 คน / ไม่มี | |
เปอร์เซีย (อังกฤษ: Persian; /ˈpɜːrʒən, -ʃən/) รู้จักจากชื่อเรียกในกลุ่มชน (endonym) ว่า ฟอร์ซี (فارسی, Fārsī, [fɒːɾˈsiː] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษาอิหร่านตะวันตกที่อยู่ในสาขาอิหร่านของสาขาย่อยอินโด-อิเรเนียนจากตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เปอร์เซียเป็นภาษาพหุศูนย์ที่ผู้คนพูดเป็นภาษาหลักและใช้อย่างเป็นทางการในประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน และประเทศทาจิกิสถาน ซึ่งความหลากหลายของภาษามาตรฐานที่สามารถเข้าใจร่วมกันมีอยู่ 3 แบบ คือ เปอร์เซียแบบอิหร่าน, เปอร์เซียแบบดารี (เรียกว่า ดารี อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 1958)[10] และเปอร์เซียแบบทาจิก (เรียกว่า ทาจิก อย่างเป็นทางการตั้งแต่สมัยโซเวียต)[11] นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดภาษาทาจิกตั้งแต่เกิดในประชากรของประเทศอุซเบกิสถาน,[12][13][14] เช่นเดียวกันกับภูมิภาคอื่นที่มีประวัติศาสตร์สังคมเปอร์เซียในเขตวัฒนธรรมเกรตเตอร์อิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานอสถานเขียนด้วยชุดตัวอักษรเปอร์เซีย ซึ่งมาจากอักษรอาหรับ ส่วนในประเทศทาจิกิสถานเขียนด้วยอักษรทาจิก ซึ่งมาจากอักษรซีริลลิก
ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบันสืบต่อมาจากภาษาเปอร์เซียกลาง ภาษาทางการของจักรวรรดิซาเซเนียน (ค.ศ. 224–651) ซึ่งสืบต่อมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณที่ใช้ในจักรวรรดิอะคีเมนิด (550–330 ปีก่อนคริสตกาล)[15][16] มีต้นกำเนิดในพื้นที่จังหวัดฟอร์ส (เปอร์เซีย) ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน[17] ไวยากรณ์ของภาษานี้มีความคล้ายกับภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนหลายภาษา[18]
ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาอันทรงเกียรติในจักรวรรดิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันตก เอเชียกลาง และเอเชียใต้[19] ภาษาเปอร์เซียเก่าเขียนด้วยคูนิฟอร์มเปอร์เซียเก่าในจารึกระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึง 4 ก่อนคริสตกาล ภาษาเปอร์เซียกลางเขียนด้วยอักษรที่มาจากภาษาแอราเมอิก (ปะห์ลาวีกับมาณีกี) ในจารึกกับคัมภีร์ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนามาณีกีในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 10 มีการเขียนวรรณกรรมภาษาเปอร์เซียใหม่ครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิมเป็นต้นมา จึงเริ่มมีการนำอักษรอาหรับมาดัดแปลง[20] ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแรกที่ทลายการผูกขาดของชาวอาหรับผ่านระบบการเขียนในโลกมุสลิม ทำให้กวีเปอร์เซียกลายเป็นธรรมเนียมในข้าราชสำนักตะวันออกหลายแห่ง[19] ในอดีต แม้แต่ผู้ไม่ใช่เจ้าของภาษาก็ใช้ภาษานี้เป็นภาษาราชการ เช่น จักรวรรดิออตโตมันในเอเชียไมเนอร์,[21] จักรวรรดิโมกุลในเอเชียใต้ และชาวปาทานในประเทศอัฟกานิสถาน ภาษานี้มีอิทธิพลบางส่วนในภาษาอาหรับด้วย[22] พร้อมกับยืมคำมาจากภาษาอาหรับในยุคกลาง[15][18][23][24][25][26]
มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียประมาณ 110 ล้านคนทั่วโลก รวมถึงชาวเปอร์เซีย, ชาวทาจิก, ชาวแฮซอแรฮ์, ชาวตัตแถบคอเคซัส และอายมัก คำว่า Persophone อาจใช้เพื่ออ้างถึงผู้พูดภาษาเปอร์เซีย[27][28]
การจัดจำแนก
[แก้]ภาษาเปอร์เซียอยู่ในกลุ่มอิหร่านตะวันตกในกลุ่มภาษาอิหร่าน ซึ่งเป็นสาขาของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนในกลุ่มย่อยกลุ่มอินโด-อิเรเนียน เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อย: กลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นส่วนใหญ่ และกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มี ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด[29]
ภาษาของอัฟกานิสถานมักเรียกว่า "iftizah" และ "vahshatnak"
การเรียกชื่อ
[แก้]ชื่อท้องถิ่น
[แก้]- ภาษาดารี (มาจาก دربار /dærbɒr/ "ศาล")[30] เป็นชื่อท้องถิ่นในอัฟกานิสถานและเอเชียใต้ แต่ชาวอัฟกันส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานจะเรียกภาษานี้ว่าภาษาฟาร์ซี
- ภาษาฟาร์ซี/ปาร์ซี (فارسی / پارسی)[31] เป็นชื่อท้องถิ่นในอิหร่าน
- ภาษาทาจิก (тоҷикӣ)[32] เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษานี้ในเอเชียกลาง โดยเฉพาะในทาจิกิสถาน
ชื่อในภาษาอังกฤษ
[แก้]ในภาษาอังกฤษเรียกชื่อภาษานี้ว่าภาษาเปอร์เซียซึ่งเป็นการออกเสียงแบบอังกฤษของคำที่มาจากภาษาละติน Persianus < ละติน Persia < กรีก Πέρσις Pérsis ซึ่งมีต้นกำเนิกจากคำในภาษาเปอร์เซียโบราณ Parsa คำว่าเปอร์เซียมีใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21[33] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่จะเรียกตนเองว่าปาร์ซี หรือ ฟาร์ซี โดยที่ฟาร์ซีนั้นเป็นรูปที่ถูกทำให้เป็นภาษาอาหรับของคำว่าปาร์ซี เพราะภาษาอาหรับไม่มีเสียง /ป/[34][35] เมื่อมีผู้พูดภาษาเปอร์เซียอพยพไปตะวันตกจึงมีการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีใช้เรียกภาษาของตนและเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 สมาคมวิชาการทางด้านภาษาและวรรณกรรมเปอร์เซียได้ประกาศว่าคำว่าภาษาเปอร์เซียนั้นเหมาะสมกว่าฟาร์ซี[36] และนักวิชาการทางด้านภาษาเปอร์เซียบางคนได้ปฏิเสธการใช้คำว่าภาษาฟาร์ซี[37][38]
ชื่อในระดับนานาชาติ
[แก้]การกำหนดรหัสภาษาในระบบ ISO 639-1 ใช้ "fa" ส่วนในระบบ ISO 639-3 ใช้ "fas" สำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่อิหร่านถึงอัฟกานิสถาน ใช้คำว่าภาษาฟาร์ซีตะวันออกสำหรับภาษาเฉพาะในอัฟกานิสถานและภาษาฟาร์ซีตะวันตกสำหรับภาษาเฉพาะในอิหร่าน ใน Ethnologue จะใช้ภาษาฟาร์ซีตะวันออกหรือ "Dari" กับภาษาฟาร์ซีตะวันตกหรือ "Irani"
สัทวิทยา
[แก้]ภาษาเปอร์เซียมีพยัญชนะ 23 เสียง สระ 6 เสียง ในอดีต ภาษาเปอร์เซียมีเสียงสระ 8 เสียงคือมีเสียงยาว 5 เสียง (/iː/, /uː/, /ɒː/, /oː/ และ /eː/) และเสียงสั้น 3 เสียง (/æ/, /i/ และ /u/)จนเมื่อราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 21 มีการรวมกันของเสียงสระบางเสียง จึงเหลือเพียง 6 เสียงในปัจจุบัน
พยัญชนะ
[แก้]Labial | Alveolar | Postalveolar | Palatal | Velar | Uvular | Glottal | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Nasal | m | n | (ŋ) | ||||
Plosive | p b | t d | k ɡ | (q ɢ) | |||
Affricate | tʃ dʒ | ||||||
Fricative | f v | s z | ʃ ʒ | x ɣ | h | ||
Tap | ɾ | ||||||
Trill | (r) | ||||||
Approximant | l | j |
ไวยากรณ์
[แก้]โครงสร้าง
[แก้]ภาษาเปอร์เซียมีการเติมปัจจัยท้ายคำมาก คำอุปสรรคมีใช้น้อย คำกริยาจะแสดงกาลและจุดประสงค์ ผันตามบุคคล บุรุษ และจำนวน คำนามไม่มีการกำหนดเพศ คำสรรพนามจัดให้เป็นเพศกลาง
การเรียงประโยค
[แก้]โครงสร้างประโยคโดยทั่วไปเป็น ประธาน- (วลีบุพบท) -กรรม-กริยา ถ้ากรรมมีการชี้เฉพาะ กรรมจะตามด้วยคำ ra และมาก่อนวลีบุพบท
ประวัติ
[แก้]ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช
ภาษาเปอร์เซียโบราณ
[แก้]ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด
ภาษาเปอร์เซียยุคกลาง
[แก้]ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยการเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ
ภาษาเปอร์เซียใหม่
[แก้]ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง
ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก
[แก้]การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ
ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล
ภาษาเปอร์เซียกับการปกครองในอินเดีย
[แก้]ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย
ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน
[แก้]ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น
ความผันแปรและสำเนียง
[แก้]ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่มีสำเนียงที่สำคัญสามสำเนียงคือ
- ภาษาเปอร์เซียอิหร่านยุคใหม่ (ฟาร์ซีตะวันตก) เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่าน ภาษาเปอร์เซียเรียก Farsi ภาษาอังกฤษเรียก Persian
- ภาษาดารี (ฟาร์ซีตะวันออก) เป็นชื่อท้องถิ่นของภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน
- ภาษาทาจิก เป็นสำเนียงของภาษาเปอร์เซีย ใช้พูดในทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และรัสเซีย เขียนด้วยอักษรซีริลลิก
นอกจากนั้นยังมีภาษาต่อไปนี้ที่ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย
- ภาษาลูรีหรือภาษาโลรี ใช้พูดในจังหวัดโลเรสถาน จังหวัดโกห์คิลูเยห์ และโบเยร์-อะหมัดทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านและทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟาร์และบางส่วนของคูเซสถาน
- ภาษาตัต ใช้พูดในบางส่วนของอาเซอร์ไบจาน และรัสเซียรวมทั้งภาษาตัตของชาวคริสต์และภาษายูฮูรี
- ภาษาลาริทางภาคใต้ของอิหร่าน
คำศัพท์
[แก้]การสร้างคำดั้งเดิมในภาษา
[แก้]การสร้างคำในภาษาเปอร์เซียจะประกอบด้วยการเติมอุปสรรคปัจจัยเข้าที่รากศัพท์ และมีการสร้างคำแบบรูปคำติดต่อด้วย รวมทั้งการสร้างคำแบบประสมที่รวมคำสองคำเข้าด้วยกัน
อิทธิพล
[แก้]ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับน้อย และได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาโบราณในเมโสโปเตเมีย แต่ในภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากรากศัพท์ภาษาอาหรับมาก โดยรากศัพท์เหล่านี้จะถูกทำให้เป็นเปอร์เซีย คำศัพท์ภาษาอาหรับที่พบในภาษาที่ใช้พูดในประเทศอินเดียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกนั้นจะยืมต่อไปจากภาษาเปอร์เซียอีกต่อหนึ่ง การรวมหน่วยทางภาษาจากภาษามองโกเลียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกเข้าในภาษาเปอร์เซีย[39] เกิดจากการที่ชาวเติร์กเคยมีอำนาจปกครองอิหร่าน คำศัพท์กลุ่มนี้มักเป็นคำศัพท์ทางการเมือง
มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษารัสเซียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ในปัจจุบันมีคำยืมจากภาษาอังกฤษในภาษาเปอร์เซียมากยิ่งขึ้น และสมาคมวิชาการเปอร์เซียพยายามบัญญัติศัพท์ภาษาเปอร์เซียขึ้นใช้แทน อย่างไรก็ตาม มีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาอังกฤษ เพราะผู้พูดภาษาเปอร์เซียจะออกเสียงภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายกว่า
นอกจากนี้ ภาษาเปอร์เซียยังมีอิทธิพลต่อคำศัพท์ในภาษาอื่นโดยเฉพาะกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน ตัวอย่างของภาษาเหล่านี้ได้แก่ ภาษาอูรดู ภาษาฮินดี และกลุ่มภาษาเตอร์กิก เช่น ภาษาตุรกีออตโตมาน ภาษาชะกะไต ภาษาตาตาร์ ภาษาตุรกี[40] ภาษาเติร์กเมน ภาษาอาเซอรี[41] ภาษาอุซเบก ตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก เช่นภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย ภาษาอาหรับ[42] ตระกูลภาษาดราวิเดียน เช่น ภาษาเตลูกู และภาษาบราฮุอี ภาษาในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ภาษาอาร์มีเนีย ภาษาจอร์เจีย ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น [[ภาษามลายู และภาษาในทวีปแอฟริกา เช่น ภาษาสวาฮิลี นอกจากนั้น ภาษาเปอร์เซียยังส่งอิทธิพลต่อภาษาในยุโรปตะวันออกผ่านทางภาษาตุรกี เช่น ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย โดยเฉพาะที่ใช้พูดในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา
การเขียน
[แก้]ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ในอิหร่านและอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ภาษาทาจิกที่ถือเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษารัสเซียและกลุ่มภาษาเตอร์กิกในเอเชียกลาง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก
อักษรเปอร์เซีย
[แก้]ภาษาเปอร์เซียและภาษาดารีเปอร์เซียสมันใหม่ เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลงซึ่งมีการออกเสียงที่ต่างไปและเพิ่มอักษรเข้ามา ในขณะที่ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก หลังจากที่ชาวเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลามใช้เวลาถึง 150 ปีที่ชาวเปอร์เซียได้ประยุกต์นำอักษรอาหรับเข้าไปแทนที่อักษรที่เคยใช้อยู่เดิมคืออักษรปะห์ลาวีสำหรับภาษาเปอร์เซียยุคกลางและอักษรอเวสตะที่ใช้สำหรับงานเขียนทางศาสนา อักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาอเวสตะมาก่อน ในอักษรเปอร์เซียสมัยใหม่สระที่ใช้แทนสระเสียงสั้น (a, e, o) จะไม่แสดง แสดงเฉพาะสระเสียงยาว (i, u, â) ซึ่งจะทำทำให้เกิดความสับสนได้ เช่นเมื่อสะกดว่า "krm" อาจหมายถึง kerm "หนอน", karam "ใจกว้าง", kerem "ครีม" หรือ krom "สี" ผู้อ่านต้องตัดสินใจเอาเองจากบริบท ระบบเครื่องหมายการออกเสียงภาษาอาหรับที่เรียกฮารากัตมีใช้ในภาษาเปอร์เซียด้วย แม้จะออกเสียงต่างจากภาษาอาหรับ เช่น ฎ็อมมะห์ ในภาษาอาหรับใช้แทนเสียง [ʊ] ส่วนภาษาเปอร์เซียใช้แทน [o] แต่การแสดงเครื่องหมายนี้จะไม่ใช้ในการเขียนภาษาเปอร์เซียตามปกติ จะใช้สำหรับการสอนและพจนานุกรมบางเล่ม ตัวอักษรบางตัวจะใช้เฉพาะคำยืมจากภาษาอาหรับ แต่จะออกเสียงแบบภาษาเปอร์เซีย เช่น มีอักษร 4 ตัวแทนเสียง 'z' อักษรแทนเสียง 's' 3 ตัวและแทนเสียง 't' อีก 2 ตัว
อักษรเพิ่ม
[แก้]อักษรเปอร์เซียมีเพิ่มจากอักษรอาหรับ 4 ตัวคือ
เสียง | รูปเดี่ยว | รูปท้าย | รูปกลาง | รูปต้น | ชื่อ |
---|---|---|---|---|---|
/p/ | پ | ـپ | ـپـ | پـ | เพ |
/tʃ/ | چ | ـچ | ـچـ | چـ | เช |
/ʒ/ | ژ | ـژ | ـژ | ژ | เฌ |
/ɡ/ | گ | ـگ | ـگـ | گـ | เก (กาฟ) |
ในอดีต เคยมีอักษรพิเศษสำหรับเสียง /β/ ปัจจุบันไม่มีการใช้แล้ว เพราะเสียง /β/ เปลี่ยนเป็นเสียง /b/ เช่น زڤان /zaβān/ ในอดีต > زبان /zæbɒn/ 'ภาษา'[43]
เสียง | รูปเดี่ยว | รูปท้าย | รูปกลาง | รูปต้น | ชื่อ |
---|---|---|---|---|---|
/β/ | ڤ | ـڤ | ـڤـ | ڤـ | βe |
การเปลี่ยนแปลง
[แก้]อักษรเปอร์เซียมีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรจากภาษาอาหรับ เช่นอลิฟที่มีฮัมซะหฺอยู่ข้างล่าง ( إ ) เปลี่ยนเป็น ( ا ) คำที่เขียนด้วยฮัมซะหฺจะเขียนต่างไป เช่น مسؤول เป็น مسئول และ ة เปลี่ยนเป็น ه หรือ ت อักษรที่เปลี่ยนรูปร่างไป แสดงในตารางข้างล่าง การเขียนตามรูปแบบเดิมในภาษาอาหรับไม่ถือว่าผิดแต่ไม่นิยม
แบบอักษรอาหรับ | แบบอักษรเปอร์เซีย | ชื่อ |
---|---|---|
ك | ک | เก (กาฟ) |
ي | ی | เย |
อักษรละติน
[แก้]องค์กรนานาชาติสำหรับการจัดมาตรฐานได้เสนอการปริวรรตภาษาเปอร์เซียเป็นอักษรละตินแต่ไม่เป็นที่นิยม อีกรูปแบบหนึ่งมาจากอักษรละตินมาตรฐานสำหรับกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่นำไปใช้ในทาจิกิสถานเมื่อราว พ.ศ. 2463 ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้อักษรซีริลลิกในอีกทศวรรษต่อมา นอกจากนั้นยังมีระบบของ Universal Persian Alphabet ใช้ในหนังสือตำราหรือคู่มือการท่องเที่ยว และ International Persian Alphabet ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย A. Moslehi นักภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ
อักษรทาจิก
[แก้]อักษรซีริลลิกถูกนำมาใช้เขียนภาษาทาจิกในสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก โดยนำมาใช้แทนอักษรละตินที่เริ่มใช้หลังการปฏวัติบอลเชวิกในราว พ.ศ. 2473 หลัง พ.ศ. 2482 การเขียนด้วยอักษรเปอร์เซียในประเทศถูกสั่งห้าม
ตัวอย่าง
[แก้]ประโยคในนี้คือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
ภาษาเปอร์เซียแบบอิหร่าน | همهی افراد بشر آزاد به دنیا میآیند و حیثیت و حقوقشان با هم برابر است، همه اندیشه و وجدان دارند و باید در برابر یکدیگر با روح برادری رفتار کنند. |
---|---|
ทับศัพท์ | Hame-ye afrād-e bashar āzād be donyā mi āyand o heysiyat o hoquq-e shān bā ham barābar ast hame andishe o vejdān dārand o bāyad dar barābare yekdigar bā ruh-e barādari raftār konand. |
สัทอักษรสากล | [hæmeje æfrɒde bæʃær ɒzɒd be donjɒ miɒjænd o hejsijæt o hoɢuɢe ʃɒn bɒ hæm bærɒbær æst hæme ʃɒn ændiʃe o vedʒdɒn dɒrænd o bɒjæd dær bærɒbære jekdiɡær bɒ ruhe bærɒdæri ræftɒr konænd] |
ภาษาทาจิก | Ҳамаи афроди башар озод ба дунё меоянд ва ҳайсияту ҳуқуқашон бо ҳам баробар аст, ҳамаашон андешаву виҷдон доранд ва бояд дар баробари якдигар бо рӯҳи бародарӣ рафтор кунанд. |
แปลภาษาไทย | มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Samadi, Habibeh; Nick Perkins (2012). Martin Ball; David Crystal; Paul Fletcher (บ.ก.). Assessing Grammar: The Languages of Lars. Multilingual Matters. p. 169. ISBN 978-1-84769-637-3.
- ↑ "IRAQ". Encyclopædia Iranica. สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.
- ↑ "Tajiks in Turkmenistan". People Groups.
- ↑ Pilkington, Hilary; Yemelianova, Galina (2004). Islam in Post-Soviet Russia. Taylor & Francis. p. 27. ISBN 978-0-203-21769-6.
Among other indigenous peoples of Iranian origin were the Tats, the Talishes and the Kurds.
- ↑ Mastyugina, Tatiana; Perepelkin, Lev (1996). An Ethnic History of Russia: Pre-revolutionary Times to the Present. Greenwood Publishing Group. p. 80. ISBN 978-0-313-29315-3.
The Iranian Peoples (Ossetians, Tajiks, Tats, Mountain Judaists)
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Windfuhr, Gernot: The Iranian Languages, Routledge 2009, p. 418.
- ↑ "Persian | Department of Asian Studies" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
There are numerous reasons to study Persian: for one thing, Persian is an important language of the Middle East and Central Asia, spoken by approximately 70 million native speakers and roughly 110 million people worldwide.
- ↑ Constitution of the Islamic Republic of Iran: Chapter II, Article 15: "The official language and script of Iran, the lingua franca of its people, is Persian. Official documents, correspondence, and texts, as well as text-books, must be in this language and script. However, the use of regional and tribal languages in the press and mass media, as well as for teaching of their literature in schools, is allowed in addition to Persian."
- ↑ Constitution of the Republic of Dagestan: Chapter I, Article 11: "The state languages of the Republic of Dagestan are Russian and the languages of the peoples of Dagestan."
- ↑ Olesen, Asta (1995). Islam and Politics in Afghanistan. Vol. 3. Psychology Press. p. 205.
There began a general promotion of the Pashto language at the expense of Farsi – previously dominant in the educational and administrative system (...) — and the term 'Dari' for the Afghan version of Farsi came into common use, being officially adopted in 1958.
- ↑ Baker, Mona (2001). Routledge Encyclopedia of Translation Studies. Psychology Press. p. 518. ISBN 978-0-415-25517-2.
All this affected translation activities in Persian, seriously undermining the international character of the language. The problem was compounded in modern times by several factors, among them the realignment of Central Asian Persian, renamed Tajiki by the Soviet Union, with Uzbek and Russian languages, as well as the emergence of a language reform movement in Iran which paid no attention to the consequences of its pronouncements and actions for the language as a whole.
- ↑ Foltz, Richard (1996). "The Tajiks of Uzbekistan". Central Asian Survey. 15 (2): 213–216. doi:10.1080/02634939608400946.
- ↑ Jonson, Lena (2006). Tajikistan in the new Central Asia. p. 108.
- ↑ Cordell, Karl (1998). Ethnicity and Democratisation in the New Europe. Routledge. p. 201. ISBN 0415173124.
Consequently the number of citizens who regard themselves as Tajiks is difficult to determine. Tajiks within and outside of the republic, Samarkand State University (SamGU) academics and international commentators suggest that there may be between six and seven million Tajiks in Uzbekistan, constituting 30 per cent of the republic's twenty-two million population, rather than the official figure of 4.7 per cent (Foltz 1996:213; Carlisle 1995:88).
- ↑ 15.0 15.1 Lazard, Gilbert (1975). "The Rise of the New Persian Language". ใน Frye, R. N. (บ.ก.). The Cambridge History of Iran. Vol. 4. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 595–632.
The language known as New Persian, which usually is called at this period (early Islamic times) by the name of Dari or Farsi-Dari, can be classified linguistically as a continuation of Middle Persian, the official religious and literary language of Sassanian Iran, itself a continuation of Old Persian, the language of the Achaemenids. Unlike the other languages and dialects, ancient and modern, of the Iranian group such as Avestan, Parthian, Soghdian, Kurdish, Balochi, Pashto, etc., Old Persian, Middle and New Persian represent one and the same language at three states of its history. It had its origin in Fars (the true Persian country from the historical point of view) and is differentiated by dialectical features, still easily recognizable from the dialect prevailing in north-western and eastern Iran.
- ↑ Ammon, Ulrich; Dittmar, Norbert; Mattheier, Klaus J.; Trudgill, Peter (2006). Sociolinguistics: An International Handbook of the Science of Language and Society. Vol. 3 (2nd ed.). Walter de Gruyter. p. 1912.
The Pahlavi language (also known as Middle Persian) was the official language of Iran during the Sassanid dynasty (from 3rd to 7th century A. D.). Pahlavi is the direct continuation of old Persian, and was used as the written official language of the country. However, after the Moslem conquest and the collapse of the Sassanids, Arabic became the dominant language of the country and Pahlavi lost its importance, and was gradually replaced by Dari, a variety of Middle Persian, with considerable loan elements from Arabic and Parthian (Moshref 2001).
- ↑ Skjærvø, Prods Oktor (2006). "Iran, vi. Iranian languages and scripts". Encyclopædia Iranica. Vol. XIII. pp. 344–377.
(...) Persian, the language originally spoken in the province of Fārs, which is descended from Old Persian, the language of the Achaemenid empire (6th–4th centuries B.C.E.), and Middle Persian, the language of the Sasanian empire (3rd–7th centuries C.E.).
- ↑ 18.0 18.1 Davis, Richard (2006). "Persian". ใน Meri, Josef W.; Bacharach, Jere L. (บ.ก.). Medieval Islamic Civilization. Taylor & Francis. pp. 602–603.
Similarly, the core vocabulary of Persian continued to be derived from Pahlavi, but Arabic lexical items predominated for more abstract or abstruse subjects and often replaced their Persian equivalents in polite discourse. (...) The grammar of New Persian is similar to that of many contemporary European languages.
- ↑ 19.0 19.1 de Bruijn, J.T.P. (14 December 2015). "Persian literature". Encyclopædia Britannica.
- ↑ Skjærvø, Prods Oktor. "Iran vi. Iranian languages and scripts (2) Documentation". Encyclopædia Iranica. Vol. XIII. pp. 348–366. สืบค้นเมื่อ 30 December 2012.
- ↑ Egger, Vernon O. (16 September 2016). A History of the Muslim World since 1260: The Making of a Global Community. ISBN 9781315511078.
- ↑ Holes, Clive (2001). Dialect, Culture, and Society in Eastern Arabia: Glossary. BRILL. p. XXX. ISBN 90-04-10763-0.
- ↑ Lazard, Gilbert (1971). "Pahlavi, Pârsi, dari: Les langues d'Iran d'apès Ibn al-Muqaffa". ใน Frye, R.N. (บ.ก.). Iran and Islam. In Memory of the late Vladimir Minorsky. Edinburgh University Press.
- ↑ Namazi, Nushin (24 November 2008). "Persian Loan Words in Arabic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2011. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
- ↑ Classe, Olive (2000). Encyclopedia of literary translation into English. Taylor & Francis. p. 1057. ISBN 1-884964-36-2.
Since the Arab conquest of the country in 7th century AD, many loan words have entered the language (which from this time has been written with a slightly modified version of the Arabic script) and the literature has been heavily influenced by the conventions of Arabic literature.
- ↑ Lambton, Ann K. S. (1953). Persian grammar. Cambridge University Press.
The Arabic words incorporated into the Persian language have become Persianized.
- ↑ Perry, John R. (2005). A Tajik Persian Reference Grammar: Handbook of Oriental Studies. Vol. 2. Boston: Brill. p. 284. ISBN 90-04-14323-8.
- ↑ Green, Nile (2012). Making Space: Sufis and Settlers in Early Modern India. Oxford University Press. pp. 12–13. ISBN 9780199088751.
- ↑ Windfuhr, Gernot (1987). Comrie, Berard (บ.ก.). The World's Major Languages. Oxford: Oxford University Press. pp. 523–546. ISBN 978-0-19-506511-4.
- ↑ Or (เปอร์เซีย: فارسی دری \ فارسئ دری fārsi-ye dari
- ↑ Or (เปอร์เซีย: زبان فارسی zabān-e fārsi
- ↑ Or (เปอร์เซีย: забони тоҷикӣ / เปอร์เซีย: فارسی تاجیکی zabon-i tojiki
- ↑ Oxford English Dictionary online, s.v. "Persian", draft revision June 2007.
- ↑ Cannon, Garland Hampton and Kaye, Alan S. (1994) The Arabic contributions to the English language: an historical dictionary Harrassowitz Verlag, Wiesbaden, Germany, page 106, ISBN 3-447-03491-2
- ↑ Odisho, Edward Y. (2005) Techniques of teaching comparative pronunciation in Arabic and English Gorgias Press, Piscataway, New Jersey, page 23[ลิงก์เสีย] ISBN 1-59333-272-6
- ↑ "Pronouncement of the Academy of Persian Language and Literature". Heritage.chn.ir. 2005-11-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.
- ↑ "Persian or Farsi?". Iranian.com. 1997-11-16. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
- ↑ "Fársi: "recently appeared language!"". PersianDirect.com. 2005-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-23.
- ↑ e.g. The role of Azeri-Turkish in Iranian Persian, on which see John Perry, "The Historical Role of Turkish in Relation to Persian of Iran", Iran & the Caucasus, Vol. 5 (2001), pp. 193–200.
- ↑ Andreas Tietze, Persian loanwords in Anatolian Turkish, Oriens, 20 (1967) pp- 125–168. Archive.org
- ↑ L. Johanson, "Azerbaijan: Iranian Elements in Azeri Turkish" in Encyclopedia Iranica Iranica.com เก็บถาวร 2009-04-12 ที่ archive.today
- ↑ Pasad. "Bashgah.net". Bashgah.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-07-13.
- ↑ "PERSIAN LANGUAGE i. Early New Persian". Iranica Online. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Kuhrt, A. (2013). The Persian Empire: A Corpus of Sources from the Achaemenid Period. Routledge. ISBN 978-1-136-01694-3.
- Frye, Richard Nelson (1984). Handbuch der Altertumswissenschaft: Alter Orient-Griechische Geschichte-Römische Geschichte. Band III,7: The History of Ancient Iran. C.H. Beck. ISBN 978-3-406-09397-5.
- Schmitt, Rüdiger (2000). The Old Persian Inscriptions of Naqsh-i Rustam and Persepolis. Corpus Inscriptionum Iranicarum by School of Oriental and African Studies. ISBN 978-0-7286-0314-1.
- B. A. Litvinsky, Ahmad Hasan Dani (1996). History of Civilizations of Central Asia: The crossroads of civilizations, A.D. 250 to 750. UNESCO. pp. 1–569. ISBN 9789231032110.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Asatrian, Garnik (2010). Etymological Dictionary of Persian. Leiden Indo-European Etymological Dictionary Series, 12. Brill Academic Publishers. ISBN 978-90-04-18341-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2010.
- Bleeck, Arthur Henry (1857). A concise grammar of the Persian language (Oxford University ed.). สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Dahlén, Ashk (April 2014) [1st edition October 2010]. Modern persisk grammatik (2nd ed.). Ferdosi International Publication. ISBN 9789197988674. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 18 February 2011.
- Delshad, Farshid (September 2007). Anthologia Persica. Logos Verlag. ISBN 978-3-8325-1620-8.
- Doctor, Sorabshaw Byramji (1880). The student's Persian and English dictionary, pronouncing, etymological, & explanatory. Irish Presbyterian Mission Press. p. 558. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Doctor, Sorabshaw Byramji; Saʻdī (1880). Second book of Persian, to which are added the Pandnámah of Shaikh Saádi and the Gulistán, chapter 1, together with vocabulary and short notes (2 ed.). Irish Presbyterian Mission Press. p. 120. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Doctor, Sorabshaw Byramji (1879). The Persian primer, being an elementary treatise on grammar, with exercises. Irish Presbyterian Mission Press. p. 94. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Doctor, Sorabshaw Byramji (1875). A new grammar of the Persian tongue for the use of schools and colleges. Irish Presbyterian Mission Press. p. 84. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Forbes, Duncan (1844). A grammar of the Persian language: To which is added, a selection of easy extracts for reading, together with a copious vocabulary (2 ed.). Printed for the author, sold by Allen & co. p. 114 & 158. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Forbes, Duncan (1869). A grammar of the Persian language: to which is added, a selection of easy extracts for reading, together with a vocabulary, and translations (4 ed.). Wm. H. Allen & Co. p. 238. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Forbes, Duncan (1876). A grammar of the Persian language: to which is added, a selection of easy extracts for reading, together with a vocabulary, and translations. W.H. Allen. p. 238. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Ibrâhîm, Muḥammad (1841). A grammar of the Persian language. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Jones, Sir William (1783). A grammar of the Persian language (3 ed.). สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Jones, Sir William (1797). A grammar of the Persian language (4 ed.). สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Jones, Sir William (1801). A grammar of the Persian language (5 ed.). Murray and Highley, J. Sewell. p. 194. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Jones, Sir William (1823). Samuel Lee (บ.ก.). A grammar of the Persian language (8 ed.). Printed by W. Nicol, for Parbury, Allen, and co. p. 230. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Jones, Sir William (1828). Samuel Lee (บ.ก.). A grammar of the Persian language (9 ed.). Printed by W. Nicol, for Parbury, Allen, and Co. p. 283. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Lazard, Gilbert (January 2006). Grammaire du persan contemporain. Institut Français de Recherche en Iran. ISBN 978-2909961378. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-03. สืบค้นเมื่อ 2013-03-29.
- Lumsden, Matthew (1810). A grammar of the Persian language; comprising a portion of the elements of Arabic inflexion [etc.]. Vol. 2. Calcutta: T. Watley. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Mace, John (18 October 2002). Persian Grammar: For Reference and Revision (illustrated ed.). RoutledgeCurzon. ISBN 0-7007-1695-5.
- Moises, Edward (1792). The Persian interpreter: in three parts: A grammar of the Persian language. Persian extracts, in prose and verse. A vocabulary: Persian and English. Printed by L. Hodgson. p. 143. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Palmer, Edward Henry (1883). Guy Le Strange (บ.ก.). A concise dictionary, English-Persian; together with a simplified grammar of the Persian language. Completed and ed. by G. Le Strange. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Palmer, Edward Henry (1883). Guy Le Strange (บ.ก.). A concise dictionary, English-Persian: together with a simplified grammar of the Persian language. Trübner. p. 42. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Platts, John Thompson (1894). A grammar of the Persian language ... Vol. Part I.—Accidence. London & Edinburgh: Williams and Norgate. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Ranking, George Speirs Alexander (1907). A primer of Persian: containing selections for reading and composition with the elements of syntax. The Claredon Press. p. 72. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Richardson, John (1810). Sir Charles Wilkins; David Hopkins (บ.ก.). A vocabulary, Persian, Arabic, and English: abridged from the quarto edition of Richardson's dictionary. Printed for F. and C. Rivingson. p. 643. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Rosen, Friedrich; Nāṣir al-Dīn Shāh (Shah of Iran) (1898). Modern Persian colloquial grammar: containing a short grammar, dialogues and extracts from Nasir-Eddin shah's diaries, tales, etc., and a vocabulary. Luzac & C.̊. p. 400. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Schmitt, Rüdiger (1989). Compendium linguarum Iranicarum. L. Reichert. ISBN 3-88226-413-6.
- Sen, Ramdhun (1841). Madhub Chunder Sen (บ.ก.). A dictionary in Persian and English, with pronunciation (ed. by M.C. Sen) (2 ed.). สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Sen, Ramdhun (1829). A dictionary in Persian and English. Printed for the author at the Baptist Mission Press. p. 226. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Sen, Ramdhun (1833). A dictionary in English and Persian. Printed at the Baptist Mission Press. p. 276. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Sen, Ramdhun (1833). A dictionary in English and Persian. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Skjærvø, Prods Oktor (2006). "Iran, vi. Iranian languages and scripts". Encyclopaedia Iranica. Vol. 13.
- Thackston, W. M. (1 May 1993). An Introduction to Persian (3rd Rev ed.). Ibex Publishers. ISBN 0-936347-29-5.
- Tucker, William Thornhill (1801). A pocket dictionary of English and Persian. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Tucker, William Thornhill (1850). A pocket dictionary of English and Persian. J. Madden. p. 145. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Tucker, William Thornhill (1850). A pocket dictionary of English and Persian. J. Madden. p. 145. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
- Windfuhr, Gernot L. (15 January 2009). "Persian". ใน Bernard Comrie (บ.ก.). The World's Major Languages (2 ed.). Routledge. ISBN 978-0-415-35339-7.
- Wollaston, (Sir) Arthur Naylor (1882). An English-Persian dictionary. W. H. Allen. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Academy of Persian Language and Literature official website (ในภาษาเปอร์เซีย)
- Assembly for the Expansion of the Persian Language official website (ในภาษาเปอร์เซีย)
- Persian language Resources (ในภาษาเปอร์เซีย)
- Persian Language Resources, parstimes.com
- Persian language tutorial books for beginners
- Haim, Soleiman. New Persian–English dictionary. Teheran: Librairie-imprimerie Beroukhim, 1934–1936. uchicago.edu
- Steingass, Francis Joseph. A Comprehensive Persian–English dictionary. London: Routledge & K. Paul, 1892. uchicago.edu
- UCLA Language Materials Project: Persian, ucla.edu
- How Persian Alphabet Transits into Graffiti, Persian Graffiti
- Basic Persian language course (book + audio files) USA Foreign Service Institute (FSI)