บีเวอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 24–0Ma ตั้งแต่ สมัยไมโอซีน ถึงปัจจุบัน
บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกา (Castor canadensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: มีแกนสันหลัง
ชั้น: เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
อันดับ: สัตว์ฟันแทะ
วงศ์: Castoridae
สกุล: Castor
สปีชีส์

บีเวอร์ยูเรเซีย
บีเวอร์อเมริกาเหนือ
พันธุ์แคลิฟอร์นิคัส (สูญพันธุ์แล้ว)

พื้นที่กระจายพันธุ์ใน ค.ศ. 2016
พันธุ์ยูเรเซีย (สีแดง)
พันธุ์อเมริกาเหนือ (สีฟ้า)

บีเวอร์ (อังกฤษ: beaver) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฟันแทะในเขตฮอลอาร์กติก มีสองชนิดที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย (C. fiber) กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ (C. canadensis) บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากแคพิบารา มีศีรษะใหญ่ ร่างกายที่แข็งแรง ฟันหน้าคล้ายสิ่ว ขนสีน้ำตาลหรือเทา เท้าหน้าคล้ายมือ เท้าหลังมีลักษณะแบนและเป็นผังพืด มีหางเป็นเกล็ด พันธุ์ยูเรเชียมีกระโหลกที่ยาวกว่า โพร่งจมูกในกระโหลกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม หางแคบและขนสีอ่อนกว่า สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธารและสระน้ำ กินพืช เปลือกไม้ พืชน้ำและกกเป็นอาหาร

บีเวอร์สร้างเขื่อนและที่อยู่อาศัยโดยใช้กิ่งไม้ หินและโคลน พวกมันตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เขื่อนที่กั้นน้ำทำหน้าที่เป็นที่อาศัยและที่หลบซ่อน โครงสร้างพวกนี้ทำให้เกิดเป็นที่ชุ่มน้ำที่เอื้อเฟื้อและส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ ทำให้บีเวอร์ถูกจัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลัก ตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยจะอาศัยเป็นคู่เดียวร่วมกับลูกของพวกมัน เมื่อลูกพวกมันโตพอ มันจะช่วยซ่อมเขื่อนและที่อยู่อาศัยรวมทั้งยังช่วยเลี้ยงดูน้อง ๆ ที่พึ่งเกิดด้วย บีเวอร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตโดยใช้ ร่องรอยเนินโคลน เศษซากและคาสโตเรียม สารคล้ายปัสสาวะที่ผลิตจากต่อมข้างก้น บีเวอร์สามารถจำแนกญาติโดยสารจากต่อมข้างก้น

ในอดีตมีการล่าบีเวอร์เพื่อเอา ขน เนื้อและคาสโตเรียม คาสโตเรียมสามารถใช้เพื่อการแพทย์ ทำน้ำหอมและปรุงอาหาร หนังและขนของมันเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในตลาดขนสัตว์ มีการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมาก จนมีการคุ้มครองในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ประชากรพวกมันเพิ่มมากขึ้นจนบัญชีแดงไอยูซีเอ็นระบุให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ ในวัฒนธรรมถือว่าบีเวอร์เป็นตัวแทนของ ความขยันขันแข็งอุตสาหะ และเป็นสัตว์ประจำชาติของแคนาดา

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ในภาษาอังกฤษคำว่า "beaver" มาจากภาษาอังกฤษเก่าคำว่า beofor หรือ beferor (บันทึกในช่วงต้นว่า bebr) มีต้นกำเนิดจากกลุ่มภาษาโปรโต-เจอร์มานิก เกี่ยวข้องกับคำว่า Biber ในภาษาเยอรมัน และ bever ในภาษาดัตช์ คาดว่าน่าจะเป็นรากศัพท์จากคำว่า bher (สีน้ำตาล) ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม[1][2] สถานที่หลายแห่งในยุโรปใช้คำว่า "บีเวอร์" มาตั้งชื่อ เช่น Bibra, Bibern, Biberbach, Bièvres, Bober, Bóbrka และ Bóbr[3] สกุล Castor มาจากภาษากรีกคำว่า kastor ซึ่งแปลว่า "บีเวอร์"[4]

อนุกรมวิธาน

แก้

มีสองชนิดที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย (C. fiber) กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ (C. canadensis) พันธุ์ยูเรเชียมีกระโหลกที่ยาวกว่า กระดูกจมูกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมกว่า หางแคบและขนสีอ่อนกว่า นอกเหนือจากนี้คือพันธุ์อเมริกาเหนือมีขนาดยาวกว่าเล็กน้อย[5]

คาโรลัส ลินเนียสเป็นผู้บัญญัติศัพท์สกุล Castor ใน ค.ศ. 1758[6] พร้อมตั้งชื่อทวินาม fiber ให้พันธุ์ยูเรเชีย[7] ไฮน์ริช คูห์ล นักสัตววิทยาชาวเยอรมันบัญญัติศัพท์ canadensis ให้พันธุ์อเมริกาเหนือ ใน ค.ศ. 1820[8] แต่ไม่มีการระบุที่ชัดเจนว่าเป็นคนละชนิด จนมีหลักฐานโครโมโซมปรากฏในทศวรรษ 1970 (พันธุ์ยูเรเชียมีโครโมโซม 48 โครโมโซม ส่วนพันธุ์อเมริกาเหนือมีโครโมโซม 40 โครโมโซม) ก่อนหน้านั้นหลายคนคิดว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์เดียวกัน[9][10] การที่มีโครโมโซมไม่เท่ากันทำให้ไม่สามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้[11] พันธุ์อเมริกาเหนือแบ่งชนิดย่อยได้ 24 ชนิดส่วนพันธุ์ยูเรเชียแบ่งชนิดย่อยได้ 9 ชนิด[8][7]

ลักษณะ

แก้

บีเวอร์เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะชนิดหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือแม้ว่าจะมีเพียงสองสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกันในปัจจุบันก็ตามแต่บีเวอร์มีประวัติฟอสซิลที่ยาวนานมากในบริเวณซีกโลกเหนือซึ่งเริ่มต้นในสมัยอีโอซีนและมีสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่น Trogontherium ในทวีปยุโรปและ Castoroides ในทวีปอเมริกาเหนือ

บีเวอร์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับกระรอกเนื่องจากพวกมันมีโครงสร้างบางอย่างที่คล้ายกันเช่นกะโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรล่าง พวกมันเป็นหนูที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองและยังมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับคาปิบาราที่เป็นหนูขนาดใหญ่ที่ในโลกซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้[12][13]

บีเวอร์มีรูปร่างคล้ายหนูขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มหางของมันมีสีดำหรือเทา พวกมันมีพังพืดที่เท้า พวกมันมีสายตาที่ไม่ค่อยดีแต่มีความรู้สึกกระตือรือร้นและมีการได้กลิ่นและการสัมผัสที่ดีเยี่ยม โดยปกติแล้วบีเวอร์นั้นจะเจริญเติบโตตลอดชีวิตของพวกมัน โดยพวกมันจะมีความสูงราว30 เซนติเมตรและยาวประมาณ 75 เซนติเมตรและบีเวอร์ตัวเต็มวัยจะมีน้ำหนักประมาณ 16 - 25 กิโลกรัม[14][15][16][17][18] เพศเมียจะมีขนาดใหญ่หรือใหญ่กว่าเพศผู้ที่มีช่วงอายุเท่ากันซึ่งนั้นเป็นเรื่องปกติในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บีเวอร์นั้นมีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี

หางของบีเวอร์มีลักษณะเป็นวงรีแบนเหมือนใบพายขนาดใหญ่และปกคลุมด้วยเกล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมสีดำ[16] ฟันของบีเวอร์จะเติบโตตลอดจึงทำให้พวกมันต้องมาลับฟันของมันกับต้นไม้[19] ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มและมีความคงทนต่อกรดมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น[20] ขนของบีเวอร์นั้นจะมี2ชั้นโดยจะมีชั้นที่อ่อนนุ่มซึ่งจะช่วนกันน้ำและชั้นที่หยาบแข็งกระด้างซึ่งจะช่วนให้ความอบอุ่น

บีเวอร์เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องการสร้างเขื่อนและสร้างบ้านบนแอ่งน้ำที่พวกมันสร้างเขื่อนกั้นไว้.[21] พวกมันใช้ฟันหน้าที่แหลมคมเพื่อตัดต้นไม้และพืชอื่น ๆ ที่พวกมันใช้สำหรับสร้างบ้านและใช้เป็นอาหาร การสร้างบ้านนั้นถ้าไม่มีแอ่งน้ำมันก็จะสร้างเขื่อนจากนั้นก็ตัดต้นไม้เป็นค้านและสร้างรังบนนั้น

เมื่อบีเวอร์รู้สึกถึงอันตรายและการถูกคุกคามจากนักล่าพวกมันจะดำน้ำลงไปและเตือนเพือนหรือฝูงด้วยการใช้หางของมันตบน้ำให้มีเสียงและเมือฝูงของมันได้ยินพวกมันก็จะดำน้ำตามลงไป ถึงแม้ว่าเวลาที่พวกมันอยู่บนบกนั้นพวกมันจะค่อนข้างช้าแต่ถ้าพวกมันว่ายน้ำพวกมันจะเร็วมากและสามารถดำน้ำได้ถึง 15 นาทีอีกทั้งพวกมันยังมีริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมถึงหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิด ซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้

สายพันธุ์

แก้

สายพันธุ์อเมริกาและสายพันธุ์ยูเรเซียคือ 2 สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ของบีเวอร์ซึ่งอยู่ในสกุล Castoridae อ้างจากการวิจัยทางพันธุกรรมได้แสดงให้เห็นว่า 2 สายพันธุ์นี้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้[ต้องการอ้างอิง] ถึงแม้จะมีความเหมือนกันก็ตามโดย 2 สายพันธุ์นี้มีข้อแตกต่างคือสายพันธุ์ยูเรเซียนั้นมีขนาดเล็กกว่า,มีหัวกลมขนาดเล็ก,มีปากเล็กและมีกระดูกขาสั้นทำให้เคลืนที่ได้น้อยกว่าสายพันธุ์อเมริกา บีเวอร์ยูเรเชียมีกระดูกจมูกยาวกว่าของสายพันธุ์อเมริกา

สายพันธุ์ยูเรเซีย

แก้
 
บีเวอร์สายพันธุ์ยูเรเซีย

บีเวอร์สายพันธุ์ยูเรเซียมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อเมริกา และกระจ่ายพันธุ์อยู่ที่ยุโรปกลางไปจนถึงตะวันตกของรัสเซียบีเวอร์ยูเรเซียนั้นถูกล่าจนเกือบจะศูนย์พันธุ์ในยุโรป เนืองจากการหลั่งสารจากต่อมกลิ่นที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติเป็นยา อย่างไรก็ตามพวกมันพวกมันก็ยังอาศัยอยู่ในประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศเช็กเกีย, บัลแกเรีย, เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์[22]และค่อยแพร่พันธุ์ไปสถานที่ใหม่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้นพวกมันก็สูญพันธุ์ไปในเกาะบริเตนใหญ่ในศตวรรษที่สิบหก แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข่าวลือใน ค.ศ. 1188 ว่าพบในแม่น้ำไทไฟ (Teifi) ในเวลส์ และในแม่น้ำสายหนึ่งในสกอตแลนด์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ได้มีบีเวอร์ในโครงการ The Lower Mill Estate เริ่มมีการปล่อยตัวไปยังป่าในประเทศอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์อีกด้วย[23][24]

สายพันธุ์อเมริกา

แก้
 
บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกาใต้

บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกามีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์ยูเรเซีย บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกานั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าบีเวอร์แคนาดา มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปทางเหนือ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นั้นมีการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมากเพื่อนำมาทำเสื้อผ้าเครืองนุ่งห่มอีกทั้งชนพื้นเมืองยังโปรดปรานรสชาติเนื้อของพวกมันด้วย[25][26][27]จึงทำให้พวกมันถูกล่าเป็นจำนวนมาก จนใน ค.ศ. 190 เริ่มมีการอนุรักษ์ทำให้พวกมันไม่ถูกล่าจนมากเกินไปจนปัจจุบันมันมีจำนวนประชากรประมาณ 100 ถึง 150 ล้านตัวซึ่งในอดีตเคยมีการบอกเล่าไว้ว่าพวกมันมีจำนวนมากถึง 90 ล้านตัว[28]

ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์

แก้
ลักษณะ สายพันธุ์ยูเรเซีย สายพันธุ์อเมริกา
ขนาดกะโหลก เล็กกว่า ใหญ่กว่า
โพร่งจมูกในกระโหลก เป็นรูป3เหลี่ยม เป็นรูป4เหลี่ยม
ขนาดหาง มีลักษณะแคบกว่า มีขนาดกว้างกว่า
ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว 3-4 ตัว
ที่ตั้งของรัง ใกล้ริมน้ำ อยู่กลางแอ่งน้ำ
เครื่องหมายอาณาเขต มีพื้นที่ขนาดเล็กกว่า มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า
การต่อสู้ เกิดการต่อสู้น้อยกว่า เกิดการต่อสู้มากกว่า
โครโมโซม 2n = 48 2n = 40
ที่มา: Biology @ Davidson[29] [30]

ที่อยู่อาศัย

แก้
การเปลี่ยนแปลงของเขื่อนบีเวอร์
เขื่อนของบีเวอร์
เขื่อนแห่งเดียวกันใน4เดือนต่อมา

พวกมันจะชอบอาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ การสร้างเขื่อนที่มีมานับ 100 ถึง 1000 ปี[31]ของพวกมันสามารถทำให้น้ำมีคุณภาพดีได้

บีเวอร์นั้นสามารถสร้างระบบนิเวศชุ่มน้ำขึ้นมาใหม่ได้โดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์หรือธรรมชาติอีกทั้งการสร้างเขือนของมันยังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และอุณหภูมิหรือสภาพอากาศบริเวณนั้น[32][33]

การตัดต้นไม้ของมีเวอร์นั้นมีหลายสาเหตุ โดยพวกมันล้มต้นไม้ใหญ่มาเพื่อสร้างเขื่อนแล้วใช้ไม้เล็กอุดตามรู แต่บีเวอร์ยูเรเซียมักจะตัดไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนอาหารพวกมันจะกินต้นไม้เล็ก ๆ ที่ไม่ใหญ่มากเป็นอาหาร และการสร้างเขื่อนนั้นทำให้ต้นไม้งอกบริเวณนั้นมากขึ้นแต่ก็จะฆ่าต้นไม้ที่จมอยู่ในแอ่งน้ำของมันเช่นกัน[34]

เขื่อน

แก้

ปกติจะเริ่มสร้างเขื่อนกักน้ำด้วยการล้มต้นไม้โดยตัดหรือกัดกิ่งไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วก็คาบและลากกิ่งไม้นั้นลงไปไว้ก้นลำธาร ปล่อยให้ปลายไม้ชี้ไปตามน้ำเสร็จแล้วเอาโคลน กรวดและหินวางถมไป ต่อจากนั้นก็เอาโคลนและหินทับลงไปอีกเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำในเขือนนั้นจะมีความสูงตามที่พวกมันต้องการ ซึ่งเขือนพวกนี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน โดยปกติแล้วมันจะสร้างช่องระบายน้ำ ไว้ 1 ช่องด้วย[35]

เขื่อนบีเวอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันผู้ล่าเช่นหมาป่าและหมีและเพื่อให้เข้าถึงอาหารได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว บีเวอร์ทำงานในเวลากลางคืนเสมอและยังเป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย โดยบีเวอร์จะอุดรูบนเขื่อนด้วยไม้โคลนหรือดินด้วนเหตุนี้การทำลายเขือนของบีเวอร์จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักล่า บีเวอร์สามารถสร้างเขื่อนได้ทั้งวันทั้งคืน โดยมันจะสร้างเขื่อนตามบริเวณริมแม่น้ำ[35][36]

การสร้างเขื่อนของบีเวอร์ มีผลต่อระบบนิเวศ เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากการสร้างเขื่อนจะดึงดูดสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานให้เข้ามาอาศัยและหากินใกล้บริเวณเขื่อนนอกจากนี้ การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในการป้องกันพวกมันจากนักล่าอีกด้วย[35]

รัง

แก้
 
ภาพตัดตามขวางของรัง
 
รังขนาด 20 ฟุต หรือ 6.1 เมตร

รังของมันจะสร้างอยู่ในแอ่งน้ำขังจากการสร้างเขื่อนของมัน โดยรังของมันสร้างมาจากไม้และโคลนเมื่อเวลาผ่านไปโคลนเหล่านี้จะแข็งจนเหมือนหินทำให้นักล่าไม่สามารถทำลายลงได้ง่าย ๆ รังของพวกมันนั้นจะมีที่เข้าซึ่งจะอยู่ใต้น้ำทำให้นักล่าอย่างหมาป่าไม่สามารถเข้ามาได้ถึงแม้รังของมันจะดูใหญ่โตแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้ในการพักอาศัยโดยรังของมันที่มีที่เก็บอาหารที่เอาไว้ตากตัวให้แห้งและที่เอาไว้อยู่กับครอบครัว[37]

บ้านของมันสร้างจากวัสดุที่เหมื่อนกันกับเขือนโครงสร้างส่วนมากถูกสร้างเพื่อใช้ในการรองรับหลังคาและทางเข้าโดยปกติจะมีทางเดี่ยวและเข้าออกผ่านทางใต้น้ำ

เมื่อน้ำแข็งในฤดูหนาวเริ่มละลายพวกมันจะออกจากบ้านแล้วเดินเตร่ไปทั้วป่าพอถึงฤดูใบไม้ร่วงพวกมันจะเริ่มกลับเข้ารังซ่องแซมและเริ่มกักตุนอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาวเมือเวลาผ่านไปถึงฤดูร้อนพวกมันก็จะเริ่มรื้อและรอจนกว่าจะเดือนสิงหาคมแล้วจึงเริ่มสร้างรังใหม่[38]

คุณภาพน้ำจากการสร้างเขื่อน

แก้

แอ่งน้ำของบีเวอร์สามารถกำจัดตะกอนและสารมลพิษทางน้ำและทำให้ของแข็งแขวนลอยให้ตกเป็นตะกอนอีกทั้งยังเพิ่มไนโตรเจนฟอสเฟตคาร์บอนและซิลิเกตลงในน้ำอีกด้วย[39][40]

คำว่า "ไข้บีเวอร์" เป็นคำที่ใช้เรียกโดยนักข่าวชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 1970 หลังจากค้นพบปรสิต Giardia lamblia ซึ่งเชื่อว่ามาจากบีเวอร์ อย่างไรก็ตามการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสัตว์และนกจำนวนมากก็มีพยาธิโดยมีแหล่งที่มาของการปนเปื้อนนี้คือมนุษย์นั้นเอง[41][42][43] เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีบีเวอร์จำนวนมากแต่กลับไม่มีการพบพยาธิ giardia และในขณะเดียวกันที่ประเทศนิวซีแลนด์มีพยาธิ giardia แต่กลับไม่มีบีเวอร์ นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อว่าการเจื้อปนนี้มาจากมนุษย์ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการทำปศุสัตว์นั้นก็คือการเลี้ยงวัวในการทดสอบฝูงวัวมีการพบพยาธิ giardia ถึง 100%[44]อีกทั้งยังค้นพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มและแบคทีเรีย Streptococci อีกด้วยซึ่งการเจือปนนี้น่าจะเกิดจากการที่วัวได้ขับถ่ายลงแหล่งน้ำ[45]

นิเวศวิทยาและพฤติกรรม

แก้

ชีวิตครอบครัว

แก้
 
คู่ของบีเวอร์

พื้นฐานของบีเวอร์คือการมีชีวิตครอบครัวที่ประกอบด้วยเพศผู้ตัวเต็มวัยและเพศเมียตัวเต็มวัย[46]พวกมันสามารถมีลูกได้มากถึง 10 ตัว และถ้ามันยิ่งมีลูกมากพวกมันก็จะสร้างรังใหญ่ขึ้น[46]พวกมันส่วนมากจะรักเดียวใจเดียวแต่ถ้าคู่ของมันเสียชีวิตมันก็จะหาหรือมีคู่ใหม่อีก[46]นอกจากนี้ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก และพวกมันทั้งสองจะทำเครื่องหมายและปกป้องอาณาเขตทั้งสร้างและซ่อมแซมเขื่อนและรังของพวกมัน[46]เมื่อลูกของพวกมันเกิดขึ้นมาตัวเมียจะคอยเลี้ยงดูลูกและตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตและเมื่อพวกมันโตขึ้นพวกมันจะช่วยพ่อและแม่หาอาหารและซ่อมที่พักแต่ถึงอย่างนั้นพ่อและแม่จะทำงานส่วนพวกมันก็จะหาอาหารและเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิติในป่า[46]อีกทั้งพวกมันส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่น และก็ยังคัดลอกเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่งแต่ถึงมันจะลอกเลียนแบบพ่อแม่พวกมันในตอนนี้ก็ยังไม่สามารถทำสิ่งที่พ่อแม่ทำได้จนกว่าพวกมันจะโตเต็มวัย

เมือบีเวอร์ที่อายุได้ 2 ปี พวกมันจะเก็บอาหารซ่อมแซมเขื่อนและบ้าน และยังช่วยแม่ดูแลพี่น้องของพวกมันอีกด้วย พวกบีเวอร์ที่อายุเยอะกว่านั้นจะรับหน้าที่ดูแลตัวที่เด็กกว่าซึ่งเป็นพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องธรรมดาและเห็นได้จากสัตว์หลายชนิดเช่น ช้างเผือกและปลาโลมา[47]แม้ว่าพวกวัยอายุ2ปีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตอยู่รอดของตัวที่มีอายุน้อยกว่าซึ่งยังดูแลตัวเองไม่ได้ทำให้พวกรุ่นพี่ขขวบเหล่านี้ต้องช่วยเหลือครอบครัวเวลาเกิดความแห้งแล้ง[46]เวลาพวกมันไปข้างนอกพวกมันจะไม่เดินไกลเกินอาณาเขตของพวกมันมาก[48]

บีเวอร์จะรับรู้กลิ่นญาติของมันด้วยการตรวจสอบความแตกต่างในองค์ประกอบของสารที่อยู่ตรงต่อมทางทวารหนัก ถ้าพวกมันเกี่ยวข้องกันก็จะมีกลิ่นของสารที่คล้ายกัน ทำให้วามสามารถในการรู้จักญาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพฤติกรรมทางสังคมของบีเวอร์[48]

อาณาเขต

แก้

บีเวอร์รักษาและปกป้องอาณาเขตซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับให้อาหารการทำรังและการผสมพันธุ์[46]พวกมันใช้พลังงานเยอะมากในการสร้างเขื่อนและทำความคุ้นเคยกับพื้นที่[49]บีเว่อร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตของตนโดยการสร้างแท่งกิ่งที่ทำจากโคลนและคอสโตเรียม[50]ซึ่งคือสารจากปัสสาวะเล็ดลอดผ่านถุงละหุ่งบีเว่อร์ระหว่างกระดูกเชิงกรานและฐานของหาง[49]ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเอาไว้ใช้ในการแบ่งแยกอาณาเขต[50]เมื่อตรวจพบกลิ่นอื่นในดินแดนของตนและารค้นพบผู้บุกรุกจะมีความสำคัญยิ่งกว่าอาหาร[50]เพราะว่าพวกมันลงไม่ลงแรงมากในการสร้างอาณาเขตของมันและทำให้มีแน้วโน้มให้เกิดการต่อสู้อีกด้วย[49]การเผชิญหน้าเหล่านี้มักมีความรุนแรงมากทำให้พวกมันต้องย้ำเตือนเครื่องหมายอาณาเขตของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยส่งสัญญาณให้ผู้บุกรุกทราบว่าผู้ครอบครองดินแดนมีพลังงานเพียงพอที่จะรักษาดินแดนของตนและสามารถป้องกันได้ดี ดังนั้นพื้นที่ที่มีจุดเครืองหมายมากจะมีการปะทะน้อยกว่าจุดที่ไม่มีการเตือนบอก[49][51]แต่พวกมันก็ยังมีเพื่อนบ้านเวลาพวกมันได้กลิ่นเพื่อนบ้านมันจะตอบสนองต่อการรุกรานของเพื่อนบ้านในอาณาเขตน้อยกว่าที่พวกมันทำกับคนแปลกหน้า[48]

อาหาร

แก้

บีเวอร์นั้นเป็นสัตว์กินพืชโดยอาหารของพวกมันคือเปลือกไม้,กิ่งไม้,ใบไม้ของต้นไม้จำพวกต้นเมเปิล, เบิร์ชและเชอร์รี่หรือกินรากของพืชน้ำจำพวกต้นกกและ รากบัวเป็นต้น[52][53]พวกมันสามารถกินได้ทุกส่วนของพืช โดยพืชส่วนใหญ่ที่พวกมันกินนั้นจะอยู่บริเวณแอ่งน้ำที่พวกมันทำรัง และยังมีการสังเกตอีกว่าบีเวอร์ยูเรเซียนั้นจะชอบกินเปลือกและเนื้อไม้ของต้นไม้จำพวกเบิร์ช ส่วนบีเวอร์อเมริกาเหนือนั้นจะชอบกินไม้จำพวกเบิร์ช, แอสเพน, เชอร์รี่และหรือไม้ชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มของเมเปิล[54]ซึ้งถึงแม้ว่าไม้ที่กล่าวมานั้นจะเป็นที่ชื่นชอบของพวกบีเวอร์แต่ถ้าเกิดบริเวณที่พวกมันอาศัยอยู่นั้นไม่มีต้นไม้พวกนี้บีเวอร์ก็จะกินไม้ชนิดอื่นแทนถึงแม้พวกมันจะไม่ชื่นชอบก็ตาม

บีเวอร์นั้นไม่จำศีลในฤดูหนาวโดยมันจะเก็บและกักตุนอาหารเอาไว้ที่ห้องเก็บอาหารในรังของมันซึ่งจะมีทางเข้าอยู่ใต้น้ำเหมือนห้องอื่น ๆ พวกมันจะเก็บไม้กองเล็ก ๆ ไว้ด้านบนและวางไม้กิ่งใหญ่ ๆ ไวด้านล่างเพื่อป้องกันการถูกขโมยหรือโดยน้ำพัดออกไป[54]ในฤดูหนาวพวกมันจะอยู่แต่ในรังซึ่งพวกมันจะไม่ออกไปไหนเลยดังนั้นอาหารที่พวกมันกักเก็บเอาไวนั้นสามารถเป็นแหล่งอาหารสำรองที่สามารถช่วยให้มันไม่ต้องออกไปหาอาหารด้านนอก

ส่วนมากรังบีเวอร์นั้นจะลอยน้ำและยังมีกิ่งไม้ที่ลอยอยู่บริเวณรังซึ่งจะทำให้น้ำบริเวณนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง[55]ซึ่งการที่พวกมันทำเช่นนี้ก็เพราะเพื่อเอาไวเวลาอาหารสำรองที่พวกมันกักตุ้นไว้หมดพวกมันจะได้ออกมาหาอาหารได้

เชิงพาณิชย์

แก้
 
หมวกจากขนบีเวอร์

ครั้งหนึ่งคนมองว่า บีเวอร์เปรียบเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ นับจากยุคกรีกโบราณเป็นต้นมา สารคัดหลั่งจากต่อมสองต่อมที่อยุ่ใกล้กระเพาะปัสสาวะของมัน ซึ่งมีชื่อว่า คาสโตเรียน (castoreum) ถูกนำมาใช้เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดหัว เป็นไข้ ลมบ้าหมู รวมทั้งใช้เป็นยาระบายด้วย ชนเผ่าซามีในแลปแลนด์ผสมสารคัดหลั่งของมันเข้ากับยานัตถุ์ ปัจจุบัน สารตัวนี้ใช้เพื่อทำน้ำหอมเท่านั้น น้ำหอมชาลิมาร์ของเกอร์แลงกับน้ำหอม แม็กกี นอร์ ของลังโคม ต่างก็มีส่วนผสมของสารคัดหลั่งจากบีเวอร์ที่ทำการสังเคราะห์แล้ว[56]พวกมันถูกใช้เป็นยาในอิรักและอิหร่านระหว่างศตวรรษที่10ถึงศตวรรษที่19[57]เทพนิยายของอีสป อธิบายอย่างตลกขบขันว่าบีเว่อร์นั้นเคี้ยวลูกอัณฑะเพื่อรักษาตัวเองจากนักล่าซึ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจากอัณฑะของบีเว่อร์อยู่ภายในร่างกายของมัน ความเชื่อนี้ยังบันทึกโดยพลีลินี เอลเดอในยุค bestiaries[58]พวกมันถูกล่าเกือบจะสูญพันธุ์ในยุโรปเพื่อนำมาทำการผลิต แคสโตเลียม ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบและลดไข้ อีกทั้งยังใช้เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและเพิ่มการเต้นของหัวใจซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกรด ซาลีไซลินและมีการกระทำที่คล้ายกับแอสไพริน[59] และยังสามารถใช้ในการผลิตน้ำหอมอีกด้วย[60]

แคสโตเลียมนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องปรุงรสวานิลลา, สตรอเบอรีและราสเบอร์รีได้ บางครั้งจะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์นมแช่แข็งเช่นเจลาติน, ขนมและเครื่องดื่มผลไม้ และเนื่องจากมันหายากทำให้การใช้ในการผลิตอาหารนั้นไม่ค่อยพบได้มากเท่าไหร่นัก[60][61]

และในรัฐอาร์คันซัสของสหรัฐอเมริกาได้มีการทำสตูว์หางบีเวอร์อีกด้วย[62]

 
ขนของบีเวอร์

ส่วนที่มีค่าที่สุดของบีเวอร์คือขนของมันซึ่งมีหลาย ๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทำให้เหมาะสำหรับการฟอกสีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำหมวก[63]

การดักจับ

แก้

บีเวอร์ถูกไล่ล่าโดยมนุษย์มานับพันปีและยังคงดำเนินต่อมาจนถึงวันนี้[64] ขนของบีเวอร์ถูกใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนโดยชนพื้นเมืองอเมริกันในศตวรรษที่ 17 เพื่อรับสินค้าจากชาวยุโรป ขนพวกนี้ถูกเอาไปทำเสื้อผ้าในอังกฤษและฝรั่งเศส นั้นทำให้เกิดการล่าบีเวอร์จนเกือบศูนย์พันธุ์ในยุโรป อีกทั้งการทำเกษตรกรรมกำลังแพร่หลายทำให้มีการวางกับดักจึงทำให้บีเวอร์จำนวนมากถูกจับไปด้วยเช่นใน ค.ศ. 1979-1977 มีบีเวอร์ติดกับดักจากการเกษตรกรรมถึง 500,000 ตัวในทวีปอเมริกาเหนือ[65][66]

อิทธิพลทางวัฒนธรรม

แก้

ในวัฒนธรรมของต่างประเทศนั้นคำว่า บีเวอร์ เป็นที่รู้จักสำหรับความขยัน, ความหมั่นเพียรและทักษะในการก่อสร้าง และคำกริยาภาษาอังกฤษ beaver หมายถึงการทำงานหนักและต่อเนื่อง

คำว่า Beverly หรือ Beverley นั้นสามารถตั้งเป็นชื่อเมืองหรือชื่อผู้คนได้ซึ่งสามารถตั้งเป็นนามสกุล สามารถนำมาตั้งชื่อได้ทั้งชื่อผู้ชายและชื่อผู้หญิง(โดยปกติจะตั้งให้ผู้หญิงมากกว่า) โดยคำว่า Beverley นี้ยังเป็นชื่อของเมืองๆหนึ่ง[67][68]ในอีสไรด์ดิง ออฟ ยอร์กเชอร์ในภาคการปกครองยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ของประเทศอังกฤษ ซึ่งชื่อของเมืองนี้มาจากภาษาอังกฤษเก่าโดยเกิดจากการรวมคำว่า befer (beaver) และ leah (clearing)เข้าด้วยกัน และยังมีอีกหลายเมืองที่ใช้คำว่า Beverleyมาตั้งชื่อเมือง เช่นเมืองเบเวอร์ลีฮิลส์ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นต้น

พวกมันถูกใช้เป็นตัวการ์ตูนเช่น เป็นตัวละครที่ชื่อ ทูธทีและ แฮนดีในเรื่อง แฮปปีทรีเฟรนดส์ และยังมีการนำมาสร้างการ์ตูนอังกฤษที่ชื่อ The Angry Beavers อีกด้วย

ใช้เป็นสัญลักษณ์

แก้

บีเวอร์นั้นมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศแคนาดาเนื่องจากมันสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการค้าขนสัตว์ และมันยังถูกเพิ่มชื่อเป็นสัตว์แห่งชาติของประเทศแคนาดาในปี ค.ศ.1975และมันยังมีความสำคัญกับบริษัทในประเทศแคนาดาเช่นมันถูกนำมาทำสัญลักษณ์ใน บริษัทฮัดสัน เบย์ ใน ค.ศ.1678 อีกด้วย[69]

มันถูกนำไปใช้เป็นรูปในเหรียญ Nickel ซึ่งมีค่า 5 เซนต์ในประเทศแคนาดา และถูกใช้เป็นรูปแสตมป์รูปแรกที่พิมพ์ออกมาในอาณานิคมแคนาดาใน ค.ศ. 1849 (ซึ่งถูกเรียกว่า "Three-Penny Beaver")

บีเวอร์ยังถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญ ๆ ในมหากรรมกีฬาระดับโลกอีกด้วย โดยมันถูกใช้เป็นมาสคอตที่มีชื่อว่า Amik ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่ถูกจักขึ้นในเมืองมอนทรีออลประเทศแคนาดา

บีเวอร์ยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานและหน่วยต่าง ๆ ภายในกองทัพของแคนาดา เช่นรูปบนหมวกของกองทัพ กรมทหารราบที่ 22 รักษาพระองค์,หน่วยรบ Calgary Highlanders[70], กรมทหารราบเวสต์มินสเตอร์รักษาพระองค์[71],กองพันทหารช่างแคนนาดา หรือรูปในกรมตำรวจเช่น หน่วยตำรวจโทรอนโต[72], หน่วยตำรวจลอนดอน[73], หน่วยตำรวจจราจรแคนาดา[74] รวมถึงสัญลักษณ์ของรถไฟสายแคนาเดียนแปซิฟิก[75] ซึ่งจะมีรูปบีเวอร์อยู่บนแขนเสื้อของชุดพนักงาน

และยังถูกใช้มาสคอสในองค์กร บริษัทเอกชน และสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น

อีกทั้งยังใช้เป็นชื่อเล่นและตราสัญญาลักษณ์ของรัฐต่าง ๆ ในอเมริกาเหนือ เช่นชื่อเล่นของรัฐออริกอนเป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. "Beaver". Lexico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ January 22, 2021.
  2. "Online Etymology Dictionary". สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  3. Poliquin 2015, p. 21.
  4. "Castor". Lexico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ January 22, 2021.
  5. Runtz 2015, p. 22–25.
  6. "Castor". Integrated Taxonomic Information System (ITIS). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
  7. 7.0 7.1 "Castor fiber". ITIS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
  8. 8.0 8.1 "Castor canadensis". ITIS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 21, 2020.
  9. Poliquin 2015, pp. 79–80.
  10. Busher, P.; Hartman, G. (2001). "Beavers". ใน MacDonald, D. W. (บ.ก.). The Encyclopedia of Mammals (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 590–593. ISBN 978-0-7607-1969-5.
  11. Lahti, S.; Helminen, M. (1974). "The beaver Castor fiber (L.) and Castor canadensis (Kuhl) in Finland". Acta Theriologica. 19 (4): 177–189. doi:10.4098/AT.ARCH.74-13.
  12. [1] Consultado el 19 de noviembre de 2007
  13. [2] เก็บถาวร 2008-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Consultado el 6 de febrero de 2008
  14. [3] เก็บถาวร 2007-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 29 de octubre de 2007
  15. [4]30 de noviembre de 2015
  16. 16.0 16.1 [5] เก็บถาวร 2008-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน30 de noviembre de 2015
  17. [6] เก็บถาวร 2007-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Consultado el 27 de noviembre de 2007
  18. [7]30 de noviembre de 2015
  19. "Beaver Biology". Beaver Solutions. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15.
  20. Megan Fellman (February 12, 2015). "Making Teeth Tough: Beavers Show Way To Improve Our Enamel (Discovery could lead to better understanding of tooth decay process, early detection)". www.northwestern.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-29. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.
  21. Dams and Canals|publisher=animaltrail|accessdate=June 26, 2013[ลิงก์เสีย]
  22. Carrell, Severin (26 May 2008). "Beavers returning to UK after 400 years". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2010-03-26.
  23. "MSN UK - Outlook.com formerly Hotmail, Skype, Bing and Latest News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-03. สืบค้นเมื่อ January 17, 2015.
  24. "Beavers could be released in 2009". BBC. 24 December 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2008.
  25. "Manifest Destiny: The Oregon Country and Westward Expansion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-11. สืบค้นเมื่อ 2017-04-28.
  26. Innis, Harold A. (1999). The Fur Trade in Canada: An Introduction to Canadian Economic History. Revised and reprinted. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 0-8020-8196-7.
  27. Idaho Museum of Natural History
  28. Seton-Thompson, cited in Sun, Lixing; Dietland Müller-Schwarze (2003). The Beaver: Natural History of a Wetlands Engineer. Cornell University Press. ISBN 0-8014-4098-X. pp. 97–98; but note that to arrive at this figure he assumed a population density throughout the range equivalent to that in Algonquin Park
  29. [8] Consultado el 7 de diciembre de 2007
  30. [9] 30 de noviembre de 2015
  31. NatureWorldNews (May 29, 2015). "New Beaver Species Discovered in Oregon". สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  32. Wohl, Ellen (2013). "Landscape-scale carbon storage associated with Beaver Dams". Geophysical Research Letters. 40: 3631–3636. doi:10.1002/grl.50710. สืบค้นเมื่อ 16 July 2013.
  33. Beaver. In Animals. Retrieved June 15, 2009, from http://animals.nationalgeographic.com/animals/mammals/beaver.html (beavers “second only to humans in their ability to manipulate and change their environment”)
  34. "Dead Wood for Wildlife (Wildlife Outreach Center)". Wildlife Outreach Center (Penn State Extension). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-09-23.
  35. 35.0 35.1 35.2 «¿Por qué nos llaman castores?» el 15 de diciembre de 2007.
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-23.
  37. The Life of Mammals Episode 4, "Chisellers".
  38. [10]
  39. David L. Correll; Thomas E. Jordan; Donald E. Weller (June 2000). "Beaver pond biogeochemical effects in the Maryland Coastal Plain". Biogeochemistry. 49 (3): 217–239. doi:10.1023/a:1006330501887. JSTOR 1469618.
  40. Sarah Muskopf (October 2007). The Effect of Beaver (Castor canadensis) Dam Removal on Total Phosphorus Concentration in Taylor Creek and Wetland, South Lake Tahoe, California (วิทยานิพนธ์). Humboldt State University, Natural Resources. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
  41. Martin Gaywood; Dave Batty; Colin Galbraith (2008). "Reintroducing the European Beaver in Britain" (PDF). British Wildlife. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.[ลิงก์เสีย]
  42. Erlandsen, S. L. & W. J. Bemrick (1988). Waterborne giardiasis: sources of Giardia cysts and evidence pertaining to their implication in human infection in P. M. Wallis and B. R. Hammond (ed.), Advances in Giardia research. Calgary, Alberta, Canada: University of Calgary Press. pp. 227–236.
  43. Erlandsen SL, Sherlock LA, Bemrick WJ, Ghobrial H, Jakubowski W (January 1990). "Prevalence of Giardia spp. in Beaver and Muskrat Populations in Northeastern States and Minnesota: Detection of Intestinal Trophozoites at Necropsy Provides Greater Sensitivity than Detection of Cysts in Fecal Samples". Applied and Environmental Microbiology. 56: 31–36. PMC 183246. PMID 2178552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-05.
  44. R. C. A. Thompson (November 2000). "Giardiasis as a re-emerging infectious disease and its zoonotic potential". International Journal of Parasitology. 30 (12–13): 1259–1267. doi:10.1016/S0020-7519(00)00127-2. PMID 11113253.
  45. Quentin D. Skinner; John E. Speck; Michael Smith; John C. Adams (March 1984). "Stream Water Quality as Influenced by Beaver within Grazing Systems in Wyoming". Journal of Range Management. 37 (2): 142–146. doi:10.2307/3898902. JSTOR 3898902.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 46.5 46.6 Dietland Müller-Schwarze, Lixing Sun (2003). The Beaver: Natural History of a Wetlands Engineer. Cornell University Press. p. 80. ISBN 978-0-8014-4098-4. สืบค้นเมื่อ 2011-06-25.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  47. Riedman, Marianne L. (1982). "The Evolution of Alloparental Care in Mammals and Birds". The Quarterly Review of Biology. 57 (4): 405–435. doi:10.1086/412936.
  48. 48.0 48.1 48.2 Bjorkoyli, Tore; Rosell, Frank (2002). "A Test of the Dear Enemy Phenomenon in the Eurasian Beaver". Animal Behavior. 63 (6): 1073–78. doi:10.1006/anbe.2002.3010.
  49. 49.0 49.1 49.2 49.3 Rosell, Frank; Nolet, Bart A. (1997). "Factors Affecting Scent-Marking Behavior in Eurasian Beaver (Castor Fiber)". Journal of Chemical Ecology. 23 (3): 673–89. doi:10.1023/B:JOEC.0000006403.74674.8a.
  50. 50.0 50.1 50.2 Rosell, Frank, and Andrezej Czech. (2000) "Response of Foraging Eurasian Beavers Castor Fiber to Predator Odours." Wildlife Biology 6 (1) : 13–21.
  51. Tom Parfitt (11 April 2013). "Beaver 'bites man to death'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 11 April 2013.
  52. States Geological Survey|accessdate=2 April 2015
  53. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-26.
  54. 54.0 54.1 . Davidson, Carolina del Norte, Estados Unidos: Colegio Davidson. Archivado desde el original el 30 de noviembre de 2015. Consultado el Consultado el 22 de enero de 2008. (en inglés)
  55. Consultado el 30 de diciembre de 2007
  56. Stewart, William Brenton (1974). Medicine in New Brunswick : a history of the practice of medicine...from prior to the arrival of the white man in America to the early part of the twentieth century. Moncton: The New Brunswick Medical Society. p. 1.
  57. Lev E (March 2003). "Traditional healing with animals (zootherapy) : medieval to present-day Levantine practice". J Ethnopharmacol. 85 (1): 107–18. doi:10.1016/S0378-8741(02)00377-X. PMID 12576209.
  58. Badke, David. The Medieval Bestiary: Beaver
  59. Stephen Pincock (28 March 2005). "The quest for pain relief: how much have we improved on the past?". สืบค้นเมื่อ 2007-06-17.
  60. 60.0 60.1 Mikkelson, David. "Castoreum Is Produced from Beaver Secretions?". สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  61. Fenaroli's Handbook Of Flavor Ingredients puts total annual national consumption of castoreum, castoreum extract, and castoreum liquid at about 292 pounds, with individual annual consumption of castoreum extract at only .000081 mg/kg/day.
  62. "What's Best, Worst, and Most Weird About American Food". December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  63. See Canadian canoe routes (early) and related articles.
  64. "Park District Kills Beaver in Lincoln Park". MyFoxChicago.com. April 2009. สืบค้นเมื่อ December 4, 2009.
  65. Nowak, Ronald M. 1991. pp. 638. Walker's Mammals of the World Fifth Edition, vol. I. Johns Hopkins University Press, Baltimore.
  66. Morton, Thomas (1972). New English Canaan: Or, New Canaan (Research Library of Colonial Americana). New York: Arno Press. p. 188. ISBN 0-405-03309-5.
  67. เมืองBeverleyในอังกฤษ
  68. ตราสัญลักษณ์Beverleyในอังกฤษ
  69. White, Shelley. "The Beaver As National Symbol: Why Is A Furry Mammal Still An Emblem of Canada?". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ July 12, 2011.
  70. "เว็บไซต์หน่วยรบ Calgary Highlanders". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-06. สืบค้นเมื่อ 2017-05-26.
  71. "เว็บไซต์กรมทหารราบเวสต์มินสเตอร์รักษาพระองค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-26.
  72. เว็บไซต์หน่วยตำรวจโทรอนโต
  73. หน่วยตำรวจลอนดอน
  74. หน่วยตำรวจจราจรแคนาดา[ลิงก์เสีย]
  75. สัญลักษณ์ของรถไฟสายแคนาเดียนแปซิฟิก
  76. "เว็บไซต์Roots Canada". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 2017-05-26.
  77. เว็บไซต์Beaver Lumber
  78. เว็บไซต์Parks Canada
  79. "AAC template". Beginnings.ioe.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-26. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

บรรณานุกรม

แก้