ปลาคู้
ปลาคู้ | |
---|---|
ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) | |
ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Characiformes |
วงศ์: | Characidae |
วงศ์ย่อย: | Serrasalminae |
สกุล | |
|
ปลาคู้ หรือ ปลาเปคู (โปรตุเกส: Pacu ปากู) หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจะละเม็ดน้ำจืด เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา
ปลาคู้มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาคู้นั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาคู้จะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว
อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาคู้แม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด[1][2]
ปลาคู้มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น
ปลาที่ได้ชื่อว่าเป็น ปลาคู้ จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys [3]
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลก[4]รวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย[5] ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่
สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาคู้ที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาคู้ แม้จะได้ชื่อว่าไม่เป็นปลาอันตรายต่อมนุษย์เท่ากับปลาปิรันยา[6] แต่ที่ปาปัวนิวกินีและสหรัฐอเมริกา กลับมีปลาคู้ที่มีพฤติกรรมกัดอัณฑะของผู้ที่ตกปลาหรือลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว[7][8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "รู้จักหรือยัง ปลาคู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ อยากทราบรายละเอียดของปลาจะละเม็ดน้ำจืด[ลิงก์เสีย]
- ↑ Pacu, Tambaqui, Pirapitinga, Silver Dollars (อังกฤษ)
- ↑ "Scientists dispel fears of piranha invasion in Cat Tien Reserve (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "การเลี้ยงปลาแบบพึ่งตนเองเพิ่อรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
- ↑ หน้า 7 วิทยาการ-การเกษตร, คู้แดง...ปลาเศรษฐกิจสายปิรันยา โดย ดอกสะแบง. "หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน". ไทยรัฐ ปีที่ 49 ฉบับที่ 14,624: วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู
- ↑ "พบปลาประหลาดปาปัวฯ ชอบกัดอัณฑะนักตกปลา". mthai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-01. สืบค้นเมื่อ 14 May 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "คุยโขมงบ่าย 3 โมง ชาวประมงสหรัฐฯ จับปลาโหด งับคนตาย 2 ราย, นายกฯ ยืนยันแต่งตั้งโยกย้าย 71 ขรก.ไม่ได้กลั่นแกล้ง". ช่อง 9. 27 June 2015. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.[ลิงก์เสีย]